ตะวันออกกลาง

ตะวันออกกลาง (รวมประเทศลิเบีย อียิปต์ อัฟกานิสถาน)

บทความเรียงจากใหม่ลงเก่า อ่านบทความคลิกที่ชื่อเรื่อง ...

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2024

เรื่องราวของซีเรียเต็มด้วยการแข่งขันช่วงชิงทั้งภายในกับอำนาจนอกประเทศ ความขัดแย้งภายในหลายมิติ เป็นอีกบทเรียนแก่นานาประเทศ

สงครามกลางเมืองที่ดำเนินมาเกือบ 14 ปียังไม่จบ สาเหตุหนึ่งเพราะมีรัฐบาลต่างชาติสนับสนุนฝ่ายต่อต้านกับกลุ่มก่อการร้าย HTS เป็นปรากฎการณ์ล่าสุด

ถ้าคิดแบบฝ่ายขวาอิสราเอลที่หวังกวาดล้างฮิซบอลเลาะห์ การสงบศึกตอนนี้ไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ และฮิซบอลเลาะห์กำลังเปลี่ยนจุดยืนหรือ

เนทันยาฮูย้ำว่าอิสราเอลหวังอยู่ร่วมกับนานาชาติโดยสันติ แต่กระแสโลกต่อต้านอิสราเอลส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของอิสราเอล นโยบายกับความจริงจึงย้อนแย้ง

บัดนี้สถานการณ์ชี้ชัดแล้วว่าอิสราเอลกำลังจัดการฮิซบอลเลาะห์ต่อจากฮามาส ทำลายอิหร่านกับสมุนให้เสียหายหนัก

อิสราเอลสังหารผู้นำฮามาสหลายคนหลายระดับ เช่นเดียวกับที่ฮามาสสามารถสังหารผู้นำกองทัพอิสราเอลหรือลูกหลานผู้นำหลายคนเช่นกัน

รัฐบาลอิหร่านดำเนินนโยบายต่อต้านไซออนิสต์ ชาติตะวันตกเรื่อยมา อิบราฮิม ไรซี ประธานาธิบดีอิหร่านได้ทำหน้าที่จนถึงนาทีสุดท้าย

มติยูเอ็นสนับสนุนตั้งรัฐปาเลสไตน์
ยืนยันเจตนารมณ์ของนานาชาติที่ “ขัดแย้ง” อิสราเอล สหรัฐและพวก สะท้อนว่าระเบียบโลกเก่าที่สหรัฐเป็นแกนนำกำลังสั่นคลอน

ไม่มีฝ่ายใดสำเร็จตามเป้าหมายที่ประกาศอย่างสมบูรณ์แต่ได้บางเรื่องสำคัญตามต้องการ ทั้งหมดเกิดขึ้นบนความสูญเสียของชาวกาซาล้านคน

การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นประเด็นที่สัมพันธ์กับศาสนา เชิดชูอิหร่าน เป็นเหตุผลว่าทำไมอิหร่านจึงแสดงบทบาทเข้มแข็งโดดเด่นไม่หยุด

ฮามาสทำศึกกับอิสราเอลได้ครึ่งปี เกิดสงครามตัวแทนระหว่างอิสราเอลกับกองกำลังที่อิหร่านสนับสนุน คราวนี้ถึงรอบอิหร่านปะทะกับอิสราเอลโดยตรงแล้ว

ถ้าพุ่งความสนใจสถานการณ์ล่าสุดดูเหมือนว่ารัฐบาลไบเดนขัดแย้งเนทันยาฮู แต่หากมองภาพใหญ่จะพบว่านับวันพื้นที่ปาเลสไตน์ลดน้อยลงทุกทีและกำลังจะเป็นเช่นนี้อีกที่กาซา

รัฐบาลสหรัฐเสนอร่างมติให้กาซาหยุดยิง เป็นมิติใหม่ที่ใช้ UNSC กดดันอิสราเอล แต่เรื่องนี้มีความแหลมคมซ่อนอยู่ แท้จริงแล้วเป็นการช่วยอิสราเอลมากกว่า

ดูเหมือนว่าผู้ก่อการร้ายไอซิสคือตัวละครที่เพิ่มเข้ามา น่าติดตามว่าจะมีบทบาทมากน้อยเพียงไร กำลังจะฟื้นคืนชีพเพื่อเล่นงานอิหร่านใช่หรือไม่

สมรภูมิกำลังขยายตัวจากฉนวนกาซา-อิสราเอลออกไปสู่อีกหลายจุดในตะวันออกกลาง ยกระดับความขัดแย้ง ดึงกองทัพสหรัฐกับพวกเข้ารบโดยตรง


ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2023
รัฐบาลไบเดนชี้อิหร่านมีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้นทุกที น่าติดตามว่าศึกฮามาส-อิสราเอลจะกลายเป็นศึกอิหร่าน-สหรัฐอย่างเต็มตัวหรือไม่

ฮูตีผู้ปลดปล่อยปาเลสไตน์
ถ้าการรบภาคพื้นดินที่เยนเมนเกิดขึ้น บทบาทของฮูตีจะเด่นดังกว่านี้ สหรัฐกับพันธมิตรยุโรปเข้าร่วมรบโดยตรง เป็นอีกสมรภูมิหนึ่งและสัมพันธ์กับรัฐบาลอิหร่าน ส่งผลกระทบต่อโลกในวงกว้าง

ไม่ว่าจะประกาศดังๆ หรือกระซิบเบาๆ รัฐบาลเนทันยาฮูกับไบเดนจะถูกประณามว่า “ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ” “ละเมิดสิทธิมนุษยชน” “ขาดมนุษยธรรม”

บางคนอาจคิดว่าหากอิสราเอลยึดกาซา จัดการพวกฮามาสได้ถือว่าอิสราเอลชนะ ความจริงแล้วจะแพ้หรือชนะขึ้นกับ “เป้าหมาย” ที่ต้องการ

รัฐบาลเนทันยาฮูประกาศไม่ยึดครองกาซาแต่คำนี้ไม่ได้หมายความว่าทหารอิสราเอลจจะไม่อยู่ยาว อาจอยู่ต่ออีกนานเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย

ความจริงคือนานาชาติยอมรับอธิปไตยอิสราเอลมากขึ้น รวมทั้งจากพวกชาติอาหรับด้วย ทั้งๆ ที่ทุกคนรับรู้ว่าอิสราเอลยึดปาเลสไตน์ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ

สถานการณ์ฉนวนกาซาจะเป็นแสดงความเป็นไปของโลก หลักคิดของอิสราเอล ฮามาส ฮิซบอลเลาะห์และประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ฮามาสคือพวกของอิหร่าน หากอิสราเอลต้องการจัดการภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดของตน การจัดการฮามาสเหมือนการตัดแขนข้างหนึ่งของอิหร่าน

ถ้าครั้งนี้คือ 9/11 ของอิสราเอล
เป้าหมายคงไม่ใช่แค่กวาดล้างพวกฮามาสเท่านั้น เป็นไปได้ว่าอิสราเอลอาจใช้สงครามจัดระเบียบตะวันออกกลาง หรือฝ่ายสหรัฐใช้โอกาสครั้งนี้จัดระเบียบตะวันออกกลาง

ทำไมต้องระเบิดโรงพยาบาลกาซา
ถ้าโรงพยาบาลเป็นศูนย์ลับที่ทำให้ฝ่ายเราบาดเจ็บล้มตายก็อาจต้องทำลายมันเสียเพราะฝ่ายตรงข้ามใช้เป็นเครื่องมือสงคราม ความรุนแรงจากสงครามฮามาส-อิสราเอลกำลังขยายตัว

สถานการณ์ภูมิภาคกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกครั้งเมื่อฮามาสบุกเข้าอิสราเอล เป็นอีกหลักฐานที่ตอกย้ำว่าโอกาสสร้างสันติภาพถาวรมีน้อยเหลือเกิน

3 ทศวรรษสันติภาพออสโลที่จางหาย
ท้ายที่สุดกลับสู่คำถามว่าทำไมผ่านไปกว่า 3 ทศวรรษจึงยังไม่เกิดแผนสันติภาพ ไม่เกิดทวิรัฐ น่าคิดว่าสภาพเช่นนี้แหละที่รัฐบาลอิสราเอลเห็นว่าเหมาะสมแล้ว

การพัฒนาเกิดขึ้นเมื่อมีสันติภาพ บรรยากาศเอื้อการค้าการลงทุน สภาพเช่นนี้ย่อมดีกว่าภูมิภาคที่ตึงเครียดพร้อมเกิดสงครามดังเช่นที่เคยเกิดกับภูมิภาคตะวันออกกลางมาแล้วหลายครั้ง

อิสราเอลผู้โดดเดี่ยวที่ยังพออบอุ่น
ในยามนี้หากเทียบกับอิหร่าน-อาหรับอาจตีความว่าอิสราเอลถูกโดดเดี่ยวมากขึ้นเมื่อเทียบกับอิหร่าน ยากที่ซาอุฯ จะคืนความสัมพันธ์กับอิสราเอลตราบเท่าที่ลัทธิไซออนิสต์ยังเป็นที่นิยม

สหรัฐยากจะสร้างสงครามในตะวันออกกลางอีก
การปรับสัมพันธ์อิหร่าน-ขั้วซาอุฯ ทำให้สถานการณ์ตะวันออกกลางเปลี่ยนครั้งใหญ่ ยากที่สหรัฐจะทำสงครามและดึงอาหรับรบอิหร่าน

แทนความขัดแย้งควรสร้างบรรยากาศการพัฒนา สันนิบาตอาหรับยินดีร่วมมือกับทุกมหาอำนาจ ทุกศาสนาเชื้อชาติ นี่คือจุดยืนของชาติอาหรับที่คิดและทำเพื่อตัวเอง เป็นสิทธิที่พลเมืองอาหรับควรได้รับ

ไซออนิสต์มีอิทิพลมากจริงแต่อ่อนแอลง เหตุการณ์เนทันยาฮูยอมถอยระงับการปฏิรูประบบศาล ชี้ว่าไซออนิสต์พ่ายฝ่ายประชาธิปไตยหนึ่งยก

เนทันยาฮูพ่ายฝ่ายประชาธิปไตยหนึ่งยก
พูดกันหนาหูว่ารัฐบาลชุดนี้ตั้งมาเพื่อลบล้างความผิดของเนทันยาฮู แลกกับที่รัฐบาลจะใช้แนวทางไซออนิสต์เข้มข้น ล่าสุดการชุมชุนประท้วงยังคงอยู่ ทั้งสองฝ่ายมีมวลชนของตังเอง

เพราะการสร้างประชาธิปไตยไม่ได้ “สวยงาม” อย่างที่บางคนขายฝันให้ เต็มด้วย “ความไม่แน่นอน” มากมาย ซีเรียคือหนึ่งในตัวอย่างนั้น

รัฐบาลเนทันยาฮูล่าสุดกับประเด็นอ่อนไหว
เนทันยาฮูเป็นนายกฯ มาแล้วหลายสมัยแต่รอบนี้แตกต่างเพราะพรรคร่วมเป็นขวาจัด ส่อแววขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน และดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดใหม่วางแผนล่วงหน้า

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2022
สัมพันธ์จีน-ซาอุฯ หน้าใหม่สู่โลกพหุภาคี
จีนไม่ใช่ผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่แต่กำลังเข้าไปมีส่วนร่วมกิจการด้านพลังงานของซาอุฯ โดยที่รัฐบาลซาอุฯ เปิดทางให้ อุตสาหกรรมพลังงานซาอุฯ จึงร่วมมือกับชาติตะวันตกและจีนพร้อมกัน

ข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมระหว่างซาอุฯ กับจีน
ข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ครอบคลุมทุกด้าน เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตั้งแต่ระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค สะท้อนระเบียบโลกใหม่ที่กำลังเปลี่ยนไป

ยุทธศาสตร์ 2 นายอำเภอประจำตะวันออกกลาง
เป็นธรรมดาที่จะมีผู้แข็งแรงกับอ่อนแอกว่า รัฐบาลสหรัฐอาศัยอิสราเอลกับซาอุฯ ที่แข็งแรงและเป็นพันธมิตรของตนช่วยควบคุมกำกับภูมิภาคตะวันออกกลาง

ซาอุฯ กับสหรัฐผู้นำ 2 โลกในโลกใบเดียวกัน
รัฐบาลซาอุฯ กับสหรัฐมีเป้าหมายของตนเอง ขัดแย้งกันในอุดมการณ์หรือหลักยึด ยิ่งสหรัฐต้องการขยายอำนาจอิทธิพลครอบงำ ฝ่ายซาอุฯ ย่อมต้องตอบโต้ตามหลักคำสอนอิสลาม

ศัตรูซาอุดิอาระเบียกับอิสราเอลผู้เป็นมิตร
หากมองว่ายิวไม่ใช่ศาสนาหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมโลกไม่ได้ ซาอุฯ ในยุคนี้กำลังประกาศว่าสามารถอยู่ร่วมกับทุกศาสนาทุกเชื้อชาติ เป็นไปตามคำสอนอิสลาม

ระบอบการปกครองซาอุฯ ที่สัมพันธ์กับอิสลาม
ซาอุฯ จะปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ตามแนวทางอิสลามต่อไป คงอยู่คู่อิสลาม ยึดมั่นหลักศาสนาอย่างถูกต้องไม่บิดเบือน พัฒนาประเทศสู่ความทันสมัยที่ไม่ขัดหลักศาสนา

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2021
ปฏิบัติการหมายสังหารนายกฯ อิรัก อัล-คาดิมี
ปฏิบัติการหมายสังหารนายกฯ อัล-คาดิมีตีความได้หลากหลาย ตั้งแต่การช่วงชิงอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองด้วยกัน ความปลอดภัยของ Green Zone และบทบาทต่างชาติที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลเฉพาะกาลอัฟกานิสถาน เป้าหมายและความท้าทาย
ตาลีบัน 2021 หวังสร้างประเทศที่รุ่งเรืองเป็นเอกภาพซึ่งจะต้องไม่แบ่งแยกด้วยกองกำลังใดๆ อีก และยอมรับสิ่งต่างๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาจากต่างแดน เป็นความท้าทายไม่ต่างจากหลายประเทศ

20 ปีสงครามอัฟกานิสถาน ความล้มเหลวของสหรัฐ
20 ปีที่สหรัฐกับพวกทำสงครามในอัฟกานิสถาน ทุ่มเทงบประมาณนับล้านล้านดอลลาร์ สุดท้ายประวัติศาสตร์หน้านี้อาจเขียนว่าพวกตาลีบันต่อต้านต่างชาติอย่างทรหดถึง 20 ปีจนได้ชัยชนะ

20 ปีสงครามอัฟกานิสถาน ชัยชนะของสหรัฐ
กองทัพถอนตัวหลังเสร็จศึกเป็นเรื่องปกติ อัฟกานิสถานคือพื้นที่สมรภูมิเพื่อรักษาหรือแสดงความเป็นมหาอำนาจของสหรัฐ เป้าหมายสำคัญคือสหรัฐยังคงเป็นความเป็นมหาอำนาจของตน

ความล้มเหลวของประชาธิปไตยอัฟกานิสถาน
ความเป็นไปของอัฟกานิสถานชี้ชัดว่ารัฐบาลประชาธิปไตยอยู่ได้เพราะกองทัพกับเงินดอลลาร์ของอเมริกัน เป็นอีกครั้งที่ประชาธิปไตยอเมริกันพ่ายแพ้แก่ระบอบการปกครองอื่น

รัฐอิสลามของตาลีบันจะเป็นที่จับตาของนานาชาติอีกนาน ทั้งเรื่องการเป็นแหล่งกบดานของผู้ก่อการร้าย สิทธิมนุษยชน การแก้ปัญหายาเสพติด แนวทางระบอบการปกครองอิสลามอีกรูปแบบหนึ่ง

ด้วยการยึดหลักประชาธิปไตยทำให้รัฐบาลเบนเน็ตต์ประกอบด้วยพรรคการเมืองทุกสาย แต่ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะอยู่ครบเทอม มีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของรัฐบาล

รู้จักนาฟทาลี เบนเน็ตต์ (Naftali Bennett)
หากเบนเน็ตต์ได้นั่งตำแหน่งนายกฯ จะเป็นความสำเร็จทางการเมืองครั้งใหญ่ เมื่อผู้นำคนเก่าสะสมเรื่องอื้อฉาวเต็มตัวถึงคราวร่วงโรย ย่อมเป็นโอกาสแก่ผู้นำดาวรุ่งคนใหม่ เป็นวัฏจักรการเมืองอย่างหนึ่ง

รัฐบาลบุชกับพวกส่งกองทัพบุกอัฟกานิสถานทำสงครามต่อต้านก่อการร้าย รัฐบาลชุดถัดมาเจรจากับตาลีบันที่สหรัฐตีตราว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ในที่สุดรัฐบาลไบเดนประกาศถอนทหารที่เหลือเพียงไม่กี่พันกลับบ้าน

รู้จักไบเดนผ่านข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน
คู่สัญญา JCPOA กลับมาเจรจาอย่างเป็นทางการอีกครั้ง จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่านโยบายของไบเดนเหมือนโอบามาหรือทรัมป์ อะไรคือสิ่งที่ซ่อนอยู่เมื่อชาติตะวันตกขอให้อิหร่านเลิกโครงการนิวเคลียร์

Realpolitik คือชื่อเดิมของสัจนิยม (Realism) บางคนให้นิยามสั้นๆ ว่าคือ “power politics” หรือการเมืองแห่งอำนาจ อำนาจคือที่มาของทุกสิ่ง เช่น ความปลอดภัย ความมั่งคั่ง ชีวิตที่อยู่ดีกินดี มีชื่อเสียงเกียรติภูมิ

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2020
S-400 ของตุรกีกับความเป็นพันธมิตรนาโต
ถ้าอธิบายความง่ายๆ พันธมิตรด้านความมั่นคงทางทหารคือการสัญญาว่าจะร่วมหัวจมท้ายรักษาอธิปไตยของกันและกัน แต่ในโลกแห่งความจริงการเป็นพันธมิตรอาจเป็นส่วนหนึ่งของระบอบมหาอำนาจ

อาหรับญาติดีอิสราเอลกระเทือนอิหร่าน
การปรับความสัมพันธ์ระหว่างอาหรับกับอิสราเอลอาจช่วยแก้ปัญหาปาเลสไตน์ นำสันติภาพสู่ตะวันออกกลาง แต่อีกมุมที่ชัดเจนคือนับจากนี้ชาติอาหรับกับอิสราเอลจะร่วมกันเล่นงานอิหร่านอย่างเปิดเผย

ผลเมื่อชาติอาหรับญาติดีกับกับอิสราเอล
การปรับความสัมพันธ์อิสราเอลกับชาติอาหรับเป็นกรณีน่าศึกษา จากศัตรูที่อยู่ร่วมโลกไม่ได้แต่นับวันความเป็นศัตรูหดหาย อุดมการณ์เปลี่ยนได้ เป้าหมายเปลี่ยนไป เปิดเผยชัดเจนกว่าเดิม

สันติภาพที่แอร์กานพูดถึงคือการทำเพื่อผลประโยชน์ตนเอง เป็นแนวคิด “Turkey First” ที่ดูคล้าย “America Frist” ของรัฐบาลทรัมป์ ภายใต้แนวคิดนี้ ผลประโยชน์คือความถูกต้อง

เป็นไปได้ว่าอาจสงบสุขขึ้นบ้างในระยะหนึ่ง แต่สันติภาพถาวรเป็นของหายาก ไม่มีตั้งแต่เมื่อกองทัพสหรัฐกับพวกบุกอัฟกานิสถานเมื่อปี 2001 เพราะที่รัฐบาลสหรัฐต้องการมีมากกว่าการถอนหรือลดจำนวนทหาร

เหตุเสียชีวิตของนายพลสุไลมานีทำให้เกิดการเผชิญหน้าและตอบโต้ด้วยอาวุธโดยตรงระหว่างผู้นำอิหร่านกับสหรัฐ ในอนาคตยังมีอีกหลายประเด็นที่อาจนำสู่การเผชิญหน้าแบบนี้อีก

การสูญเสียผู้บัญชาการนายพลสุไลมานี คือการสูญเสียนายทหารคนสำคัญของผู้นำจิตวิญญาณอิหร่าน ด้านรัฐบาลสหรัฐเห็นว่าคือการตอบโต้ต่อผู้บุกเผาทำลายสถานทูต ทำสงครามต่อต้านก่อการร้าย

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2019
ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธคือผู้ชุมนุมมีเรือนแสนแต่การประท้วงเกิดในเขตพื้นที่อิทธิพลชีอะห์เท่านั้น ไม่ใช่การเคลื่อนไหวทั่วประเทศ โอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายเปลี่ยนแปลง ประเทศจึงมีน้อย

ถ้าสังเกตให้ดีทุกวันนี้ประเทศซีเรียถูกแบ่งแยกโดยปริยายแล้ว เพียงแต่ไม่ใช้คำว่า แบ่งแยกหรือเป็น เขตปกครองตัวเองทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงและชัดเจนยิ่งขึ้น

ผลจากการความขัดแย้งภายในประเทศซีเรียที่ควบคุมไม่ได้ เปิดทางให้เพื่อนบ้านเข้าแทรกแซงด้วยหลายเหตุผลที่เพื่อนบ้านหยิบยกขึ้นมาอ้าง เช่น ต่อต้านผู้ก่อการร้าย เป็นที่รองรับผู้ลี้ภัย อธิปไตยชาติถูกบั่นทอน

ระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดี แต่หากสังคมไม่เป็นเอกภาพ ไม่ต้องการอยู่ร่วมเป็นคนชาติเดียวกันจะกลายเป็นกับดักประชาธิปไตย มีปัญหาตามมาไม่สิ้นสุด

รัฐบาลซาอุฯ ทำสงครามเต็มรูปแบบกับฮูตีหลายปีแล้ว การใช้เครื่องโดรนโจมตีโรงกลั่นเป็นอีกฉากของสงครามตัวแทนระหว่างฝ่ายซาอุฯ กับอิหร่านที่ดำเนินเรื่อยมา ไม่จำต้องชี้อีกว่าทำสงครามกันอยู่หรือไม่

แม้ไม่มีรัฐอิสลามดังที่เคยเป็นแต่ไอซิส (ISIS) ยังไม่ตาย ยังคงหาสมาชิกเพิ่มและปฏิบัติการเพื่อความอยู่รอดรอวันกลับมา การปราบปรามกลายเป็นภาระที่ต้องดำเนินอีกนานเท่ากับการคงอยู่ของสหรัฐ

ไม่ว่ายุโรปจริงใจหรือเล่นเกม โครงการพัฒนานิวเคลียร์อิหร่าน การคว่ำบาตร การทำการค้ากับอิหร่านจะเป็นเรื่องที่ยึดโยงกับยุโรปอีกนาน สะท้อนบทบาท ท่าทีของยุโรปในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เป็นอีกครั้งที่รัฐบาลซาอุฯ พยายามโดดเดี่ยวอิหร่าน ร้องขอนานาชาติช่วยกันคว่ำบาตรให้รุนแรงจริงจังกว่าเดิม แม้จะเป็นแนวทางที่ดำเนินมาหลายทศวรรษแล้ว เชิดชูความเป็นผู้นำมุสลิมโลกของซาอุฯ

กระแสข่าวโจมตีอิหร่านเด่นชัดขึ้นทุกที เป้าหมายการโจมตีทางอากาศน่าจะเป็นกองกำลังสำคัญๆ ระบบขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศและโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันในขณะที่อิหร่านพร้อมรับมือ

มีแนวคิดว่าแท้จริงแล้วการที่รัฐบาลสหรัฐจ้องเล่นงานอิหร่านเป็นเพราะแรงกดดันจากซาอุดีอาระเบีย ความขัดแย้งระหว่างซาอุฯ กับอิหร่านเป็นการช่วงชิงอิทธิพลในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ยอมกันไม่ได้

ความไม่พอใจรัฐบาลเป็นเรื่องปกติของการเมืองการปกครอง แต่เมื่อบานปลายจนไร้การควบคุม ต่างชาติเข้าแทรก การชุมนุมประท้วงจึงกลายเป็นสงครามกลางเมือง ประเทศซีเรียไม่ใช่ของชาวซีเรียอีกต่อไป

การทำสงครามแย่งชิงดินแดนเกิดขึ้นในทุกยุคสมัยของประวัติศาสตร์ คำประกาศของประธานาธิบดีทรัมป์ชี้ว่ารัฐบาลสหรัฐเห็นชอบกับการทำสงครามแย่งชิงดินแดนในศตวรรษที่ 21 นี้

ยุทธศาสตร์เปลี่ยนภัยคุกคามเป็นโอกาสของตุรกี
รัฐบาลแอร์โดกานเลือกเผชิญหน้าภัยคุกคาม มองเป็นโอกาสตักตวงผลประโยชน์ ไม่เกรงกลัวขัดแย้งชาติมหาอำนาจ ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นยุทธศาสตร์เปลี่ยนภัยคุกคามเป็นโอกาส

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2018
ข่าวทรัมป์สั่งถอนทหารภาคพื้นดินทั้งหมดออกจากซีเรียกลายเป็นข้อวิพากษ์ทั้งภายและนอกประเทศ เกิดปริศนาถามกันให้วุ่นว่าทำไมจึงถอนทหาร แน่นอนว่าผู้นำสหรัฐไม่ได้เผยความจริงทั้งหมด

เมื่องานสวนสนามกลายเป็นสนามรบอิหร่านจึงต้องโต้กลับ
กลุ่มก่อการร้ายโจมตีงานสวนสนามของกองทัพ อิหร่านจึงโต้กลับด้วยขีปนาวุธ เป็นอีกฉากของความบาดหมางระหว่างอิหร่านกับปรปักษ์ที่รุนแรงเรื่อยมาหลายทศวรรษแล้วและจะยังดำเนินต่อไป

ตลาดหุ้นเอเชียแดงถ้วนหน้า เพราะกังวลค่าเงินตุรกี
ตลาดหุ้นเอเชียกับยุโรปแดงถ้วนหน้า เหตุเพราะค่าเงินลีราตุรกียังคงอ่อนค่าต่อเนื่องอย่างรุนแรง วันเดียวหล่นถึง 8 เปอร์เซ็นต์ หลังทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีให้หนักกว่าเดิม

ทรัมป์ใช้ถ้อยคำรุนแรงโจมตีอิหร่านเรื่อยมา การพูดอีกรอบในช่วงนี้จึงอาจดูเหมือนไม่ใช่ของแปลกใหม่ แต่ถ้าคิดอย่างมีเหตุผล อาจเป็นการทดสอบปฏิกิริยาคนอเมริกันและอาจเล่นงานอิหร่านให้หนักกว่าเดิม

ตั้งแต่รัฐบาลสหรัฐส่งมอบอธิปไตยคืนแก่อิรัก นายกรัฐมนตรีที่ผ่านมามีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลสหรัฐทั้งสิ้น อัล-ซาดาร์กำลังจะเป็นนายกฯ คนแรกที่พยายามปลดแอกอิรักจากการครอบงำของต่างชาติ

เป็นเรื่องตลกถ้าพูดว่ามุสลิมอาหรับเป็นมิตรกับยิว เพราะที่ได้ยินได้ฟังคือเป็นศัตรูที่อยู่ร่วมโลกไม่ได้ แต่บัดนี้ผู้นำซาอุฯ กำลังเปลี่ยนความบาดหมางเป็นความร่วมมือเพื่อจัดการศัตรูอีกฝ่าย

ไม่มีนิยามสากลว่าจันทร์เสี้ยวชีอะห์ครอบคลุมพื้นที่ใด คำตอบที่ถูกต้องไม่มี เพราะแท้จริงแล้วไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนชัดเจน เป้าหมายที่สร้างขึ้นเพื่อจะทำลาย

นายกฯ เนธันยาฮูชี้ว่าประเทศกำลังถูกคุกคามจากกองกำลังอิหร่านในซีเรีย เป็นภัยร้ายแรงจำต้องป้องกันตัวเอง ด้วยการลงมือจัดการอิหร่าน

หลักแบ่งแยกแล้วปกครองไม่ใช่ของใหม่ เคิร์ดซีเรียถูกแยกจากซีเรียให้มาเป็นพวกสหรัฐเป็นอีกกรณีศึกษา ในประเทศนี้ที่ถูกปลุกปั่นว่าคนซีเรียหลากหลายกลุ่มอยู่ร่วมโลกด้วยกันไม่ได้อีกต่อไป

รัฐบาลทรัมป์ประกาศคงกองกำลังภาคพื้นดินในซีเรียด้วยเหตุผลสารพัด เป้าหมายเบื้องลึกคือยึดครองซีเรีย ควบคุมตะวันออกกลาง จริงหรือที่รัฐบาลซาอุฯ กับพวกมั่นคงกว่าเดิม

การชุมนุมประท้วงในอิหร่านไม่เพียงสะท้อนว่าเรื่องปากท้องสำคัญ ที่ลึกกว่านั้นคือพวกเขาเห็นว่ารัฐบาลน่าจะแก้ปัญหาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ ทำไมรัฐจึงไม่ทำ

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2017
ผู้นำซาอุฯ ชมเชยว่าประธานาธิบดีทรัมป์เป็นมิตรแท้มุสลิม ความเป็นไปของเยรูซาเล็มตะวันออกจะเป็นเครื่องทดสอบว่าจริงหรือไม่ หรือมีอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้น

ยุทธศาสตร์ปรับสัมพันธ์ของรัฐบาลโรฮานีมุ่งปรับสัมพันธ์กับอียูเป็นหลัก เปิดทางให้ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกสามารถสานสัมพันธ์ แต่ไม่ใช่กับสหรัฐ อิสราเอลและพวกซาอุฯ ตามที่ประกาศไว้

ทรัมป์อาจยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน
นโยบายสหรัฐฯ ต่ออิหร่านอาจจะเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง มีกระแสข่าวว่าทรัมป์จะยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์ ซึ่งหมายความว่าจะ “หาเรื่อง” อิหร่านต่อไป สัปดาห์หน้าคงจะมีคำตอบชัดขึ้น ควรติดตามใกล้ชิด

ประตูตรวจจับโลหะถูกรื้อถอนออกไปแล้ว ประเด็นตอนนี้อยู่ที่กล้องวงจรปิด หากมัสยิดอัล-อักซอร์ ไม่กลับคืนสู่สภาพปกติดังเดิม คาดว่าจะเกิดการชุมนุมใหญ่ระดับโลกในวันศุกร์นี้ ในขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงเริ่มประชุม สิ่งนี้จะเป็นทางออกหรือไม่

อิสราเอลติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณปากทางเข้าเขตแดนศักดิ์สิทธิ์ ส่วนประตูตรวจจับโลหะยังไม่ชัดเจนว่าจะคงอยู่หรือรื้อถอนออกไป การติดกล้องวงจรปิดช่วยเรื่องความปลอดภัย แต่เท่ากับเป็นการรุกคืบควบคุมมัสยิดอัล-อักซอร์ด้วย

การลุกฮือครั้งที่ 2 หรือการลุกฮือแห่งอัล-อักซอร์และข้อคิด
ช่วงปี 2000-2004 เกิดเหตุการลุกฮือครั้งที่ 2 (Second Intifada) หรือการลุกฮือแห่งอัล-อักซอร์ (Al-Aqsa Intifada) หลังเอเรียล ชารอน เดินทางไปที่เขตวิหารศักดิ์สิทธิ์ ผลลัพธ์สำคัญคือการเจรจาสันติภาพยุติ และไร้ข้อสรุปจนถึงบัดนี้ พร้อมกับที่อิสราเอลก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในเขตยึดครองเรื่อยมา เหตุการณ์เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วให้บทเรียนสำคัญ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนไหวต่อต้านอิสราเอลควบคุมมัสยิดอัล-อักซอร์ในช่วงนี้ ...


หลังละหมาดวันศุกร์ มุสลิมหน้ามัสยิดอัล-อักซอร์กับที่อื่นๆ เริ่มประท้วง เกิดการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่อิสราเอลกับมุสลิม ล่าสุดมีผู้เสียชีวิต 2 รายแล้ว และคาดว่าผู้บาดเจ็บล้มตายจะเพิ่มขึ้นอีก สถานการณ์ค่ำคืนนี้แปรผันได้หลายอย่าง

ซาอุฯ ในฐานะพี่ใหญ่ GCC ย่อมเห็นว่าการตีตัวออกห่างของกาตาร์บ่อนทำลายความมั่นคงของกลุ่มและตนเอง แต่ประโยชน์ที่สำคัญกว่านั้นคือภาวะผู้นำของซาอุฯ ในโลกมุสลิม หากซาอุฯ ไม่สามารถจัดการกาตาร์ย่อมยากจะมีอิทธิพลต่อประเทศมุสลิมอีก 50 กว่าประเทศ ในขณะที่กาตาร์ยกเรื่องอธิปไตยชาติว่ามีสิทธิ์ตัดสินใจโดยอิสระ ถ้ามองในความเป็นมุสลิม รัฐบาล 2 ประเทศนี้กำลังขัดแย้งในฐานะพี่น้องมุสลิม

ทิศทางสถานการณ์ซาอุ ตัดสัมพันธ์กาตาร์
ขั้วซาอุฯ ไม่สนใจคำชี้แจงจากกาตาร์ ยืนยันว่าเป็นรัฐอุปถัมภ์ก่อการร้าย แทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน บั่นทอนความมั่นคงภูมิภาค ราวกับว่ากาตาร์เป็น “อิหร่าน 2” พร้อมออกมาตรการคว่ำบาตรเศรษฐกิจ แต่การคว่ำบาตรกระทบต่อเอกชนนานาชาติ บรรยากาศการค้าการลงทุนทั่วภูมิภาค อีกประเด็นที่ต้องเอ่ยถึงคือการใช้กำลังซึ่งควรคำนึงผลกระทบที่จะตามมา จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กำลังอีกหรือไม่

เป็นที่สงสัยกันมากว่าอะไรคือสาเหตุความขัดแย้งระหว่างขั้วซาอุฯ กับกาตาร์ อะไรคือเหตุผล บทความนี้นำเสนอคำตอบเหล่านี้โดยอาศัยการวิเคราะห์ทั้งแบบธรรมดากับแบบซับซ้อน เหตุผลพื้นฐานคือเพื่อความมั่นคง ความเป็นผู้นำของซาอุฯ สหรัฐฯ ต้องการคงอิทธิพลในภูมิภาค ฯลฯ ส่วนเหตุผลแบบซับซ้อนคือรัฐบาลซาอุฯ กับสหรัฐฯ ไม่ได้หวังผลอิหร่านเท่านั้น ที่ต้องการจริงๆ คือการจัดระเบียบโลกมุสลิมทั้งมวล

สถานการณ์ไม่มีทีท่าจะคลายตัวในระยะสั้น
ขณะนี้มี 6 ประเทศที่ตัดหรือระงับความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์แล้ว ลิเบียอาจเป็นรายต่อไป มีความพยายามเจรจาจากหลายฝ่าย แต่ไม่มีท่าทีคลายตัวในระยะสั้น การเดินทาง การขนส่งทั้งทางอากาศกับทางเรือสู่กาตาร์เริ่มเห็นผลประทบ คำถามสำคัญคือสถานการณ์จะพัฒนาต่อในทางที่ดีหรือร้าย

เป้าหมายการประชุม Arab Islamic American Summit คือต่อต้านก่อการร้าย ความหมายที่แท้จริงน่าจะหมายถึงผู้ก่อการร้ายบางกลุ่มที่อยู่ในใจรัฐบาลสหรัฐฯ กับขั้วซาอุฯ เท่านั้น ถ้ายึดแนวคิดว่า 2 ฝ่ายนี้สนับสนุนผู้ก่อการร้ายบางกลุ่มเช่นกัน ผู้นำทั้ง 2 เอ่ยชื่ออิหร่านชัดเจนในฐานะผู้สนับสนุนก่อการร้าย การประชุมกลายเป็นการประกาศอย่างเป็นทางว่านับจากนี้รัฐบาลสหรัฐฯ กับขั้วซาอุฯ จะเล่นงานอิหร่านด้วยประเด็นนี้

ในที่ประชุม “Arab Islamic American Summit” ประธานาธิบดีทรัมป์แสดงท่าทีเป็นมิตรกับรัฐบาลซาอุฯ ท่ามกลางผู้นำชาติอาหรับ ผู้นำมุสลิมประเทศอื่นๆ รวม 55 ประเทศ วัตถุประสงค์หลักคือร่วมต่อต้านก่อการร้ายซึ่งหมายถึงมุสลิมสุดโต่งกับอิหร่าน เป็นอีกครั้งที่ทรัมป์พูดถึงความดีความชั่ว ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือดำเนินนโยบาย ยอมรับว่าแนวทางศาสนาของซาอุฯ เข้าได้กับนโยบายของตน

ประธานาธิบดีทรัมป์สานสัมพันธ์มิตรแท้ซาอุฯ
ความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ กับซาอุฯ ได้รับการตอกย้ำอีกครั้งเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์เยือนซาอุฯ ผู้นำทั้ง 2 ประเทศยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ประกาศต่อต้านลัทธิสุดโต่ง ลัทธิก่อการร้าย และประเทศอิหร่าน ทั้งยังเชิดชูบทบาทผู้นำซาอุฯ ในโลกมุสลิม ช่วยลบภาพลักษณ์ด้านลบของทรัมป์ต่ออิสลาม ยืนยันว่ารัฐบาลสหรัฐฯ คือมิตรแท้ของมุสลิม

ตรรกะของรัฐบาลทรัมป์ใครใช้อาวุธเคมีในซีเรีย
รัฐบาลทรัมป์กล่าวโทษรัฐบาลซีเรียละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แต่การโจมตีซีเรียคือละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ตั้งแต่โอบามาเป็นต้นมา สหรัฐไม่เคยแสดงหลักฐานว่ารัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีได้แต่บอกว่าใช้และยึดถือเช่นนั้น กลายเป็นเหตุผลอีกข้อที่จะสนับสนุนฝ่ายต่อต้าน ไม่ว่าศึกนี้จะต้องยืดเยื้ออีกกี่ปี คนต้องตายเพิ่มอีกกี่แสน ไม่ใช่เด็กๆ ไม่กี่สิบคนที่ตายด้วยก๊าซพิษอย่างที่ทรัมป์บอกว่าน่าสงสารเท่านั้น

ทรัมป์โจมตีอัสซาด แม้ปราศจากหลักฐานใช้อาวุธเคมี
2 วันหลังข่าวการใช้อาวุธเคมีที่ Idlib ทางตอนเหนือของซีเรีย มีผู้เสียชีวิตราว 80 ราย รัฐบาลทรัมป์สรุปทันทีว่าคือฝีมือของกองทัพรัฐบาลซีเรีย จึงโจมตีสนามบินแห่งหนึ่งด้วยขีปนาวุธ เรื่องสำคัญและร้ายแรงคือประธานาธิบดีทรัมป์สั่งการทั้งๆ ที่ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้ใช้อาวุธเคมี พยายามอธิบายให้เห็นภาพเด็กๆ ผู้บริสุทธิ์ที่ต้องจบชีวิตอย่างทุกข์ทรมาน ไม่คำนึงว่าการโจมตีของตนละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ว่าสหรัฐสามารถโจมตีประเทศใดๆ ก็ได้โดยไม่ต้องมีหลักฐาน ไม่ต้องมีเหตุผลที่นานาชาติยอมรับ

Mohammed bin Salman รองมกุฎราชกุมารซาอุดิอาระเบียหารือประธานาธิบดีทรัมป์อย่างเป็นทางการ ฝ่ายซาอุฯ ไม่เชื่อว่ามาตรการ (ห้ามคน 6 ประเทศเข้าเมือง) มุ่งเป้าชาติมุสลิมหรือศาสนาอิสลาม แท้จริงแล้วทรัมป์เคารพศาสนาอิสลามอย่างจริงจัง เป็น “มิตรแท้ของมุสลิม” 2 ฝ่ายเห็นร่วมที่จะต้องจัดการอิหร่านตัวการทำลายเสถียรภาพภูมิภาค 

หลังศาลระงับคำสั่งห้ามคน 7 ประเทศเข้าสหรัฐ ประธานาธิบดีทรัมป์ออกคำสั่งใหม่เหลือ 6 ประเทศ สาระสำคัญยังคงเช่นเดิม จาการวิเคราะห์คำสั่งห้ามใหม่ไม่ช่วยลดก่อการร้าย เพราะผู้ก่อการร้ายไม่จำต้องอยู่ใน 6 ประเทศนี้เท่านั้น การไม่ห้ามซาอุฯ และเหตุผลอื่นๆ ชวนให้สงสัยว่ารัฐบาลทรัมป์หวังการป้องกันก่อการร้ายมากเพียงไร มีเจตนาแอบแฝงอื่นหรือไม่

ประธานาธิบดีทรัมป์ห้ามคน 7 สัญชาติเข้าประเทศ ชี้แจงว่าไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา เมื่อพิจารณานโยบายหาเสียงและอื่นๆ พบว่านโยบายต่อต้านก่อการร้ายสัมพันธ์กับก่อการร้ายอิสลามหัวรุนแรง (radical Islamic terrorism) อันเป็นนโยบายหลักข้อหนึ่งของพรรครีพับลิกัน และเป็นกระแสเกลียดชังมุสลิมที่รุนแรงขึ้นนับตั้งแต่เกิดเหตุ 9/11 ไม่ว่าจะจงใจหรือไม่สิ่งที่รัฐบาลทรัมป์ทำส่งผล “โหม” กระแสต่อต้านมุสลิม แต่เป้าหมายจริงๆ อาจอยู่ที่ 1-2 ประเทศเท่านั้น

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2016
ผู้นำตุรกีกล่าวหากลุ่มพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯสนับสนุน IS
การกล่าวหารัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกสนับสนุนผู้ก่อการร้าย IS ไม่ใช่เรื่องใหม่ ล่าสุดคือจากปากประธานาธิบดีแอร์โดกาน ประเทศตุรกีที่เป็นสมาชิกนาโต เป็นพันธมิตรร่วมต่อต้าน IS ตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ตาม แม้ประธานาธิบดีแอร์โดกานกล่าวว่ามีหลักฐานชัดเจนมากมาย แต่ไม่ยอมนำเสนอต่อสาธารณะ การสรุปว่ารัฐบาลประเทศใดสนับสนุนผู้ก่อการร้าย IS จึงยังคลุมเครือ ซ่อนเร้น เป็นสถานการณ์โลกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจริงและคงอยู่กับเราอีกนาน

หลังจากที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันประสบภาวะขาดดุล เศรษฐกิจชะลอตัว หลายฝ่ายเชื่อว่าจะเกิดการเจรจาเพื่อผลักดันให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น การเจรจารอบพฤศจิกายนคือความสำเร็จครั้งแรก แต่การจะให้ราคาน้ำมันไปสู่ระดับ 100 ดอลลาร์เป็นเรื่องห่างไกล หากเชื่อว่าต้นตอปัญหาอ่อนตัวยังคงอยู่ นอกจากนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังสะท้อนให้เห็นว่าอำนาจต่อรองของโอเปกลดน้อยลง โครงสร้างเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศกำลังเปลี่ยนแปลง

ความขัดแย้งซีเรียได้ดำเนินต่อเนื่องกว่า 5 ปีครึ่งแล้ว สถานการณ์ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลง เริ่มจากการชุมนุมประท้วงรัฐบาลอย่างสงบ ตามด้วยต่างชาติเข้าแทรก การปรากฏตัวของผู้ก่อการร้าย กองกำลังมุสลิมต่างชาติกว่าร้อยประเทศ การเผชิญหน้าระหว่าง 2 ขั้ว 2 มหาอำนาจชัดเจนมากขึ้น บัดนี้ความเป็นไปของสมรภูมิกับอนาคตซีเรียจึงขึ้นกับการตัดสินใจบนผลประโยชน์ของ 2 ฝ่าย 2 มหาอำนาจ เป็นความขัดแย้งที่จะยืดเยื้อยาวนาน เป็นเรื่องที่ควรตระหนัก


รัฐบาลตุรกีส่งกองทัพเข้าซีเรีย อ้างเหตุผลเพื่อปราบปราม IS ป้องปรามภัยคุกคามจากเคิร์ดซีเรีย ความจริงที่ต้องเข้าใจคือปฏิบัติการครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากขั้วสหรัฐ ได้ความเห็นชอบจากรัฐบาลรัสเซีย ผลลัพธ์ที่ได้จึงจำกัด เป็นหลักฐานอีกชิ้นชี้ว่าอนาคตของซีเรียไม่เป็นของคนซีเรียอีกต่อไป ประเทศนี้กลายเป็นสมรภูมิ ดินแดนที่หลายประเทศเข้ากอบโกยผลประโยชน์ โดยอ้างปราบปรามผู้ก่อการร้าย สนับสนุนฝ่ายต่อต้านหรือไม่ก็สนับสนุนรัฐบาลซีเรีย นี่คือพัฒนาการล่าสุดจากความวุ่นวายภายในของประเทศนี้

ทุกวันนี้มีข้อสรุปที่ยอมรับแล้วว่าอิรักไม่มี WMD ซัดดัมไม่ได้สนับสนุนผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะห์ตามที่รัฐบาลแบลร์กับบุชกล่าวอ้าง การทำสงครามล้มระบอบซัดดัมไม่ช่วยเรื่องต่อต้านก่อการร้าย ซ้ำยังกระตุ้นให้เกิดผู้ก่อการร้ายสารพัดกลุ่ม เช่น IS ทิ้งให้อิรักกลายเป็นรัฐล้มเหลว ประเด็นที่สำคัญกว่านั้นคือคำถามที่ว่าระบอบประชาธิปไตยอังกฤษกับสหรัฐช่วยให้ 2 ประเทศนี้ก่อสงครามที่สมควรทำหรือไม่


มุกตาดา อัล-ซาดาร์ นักบวชผู้นำชีอะห์กลุ่มหนึ่ง กล่าวต่อประชาชนว่าไม่มีรัฐมนตรีคนใดที่เป็นตัวแทนของพวกเขา เป็นต้นตอซ้ำเติมการทุจริตคอร์รัปชัน การปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องของการสืบทอดอำนาจเท่านั้น 12 ปีประชาธิปไตยอิรักก่อให้เกิดเกิดคำถามว่าประเทศยังเหมาะที่จะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อไปอีกหรือไม่ เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษมากกว่ากัน ควรแสวงหาทางเลือกอื่นหรือไม่


12 ปีนับจากโค่นล้มระบอบซัดดัม ฮุสเซนและรัฐบาลบุชประกาศว่าจะสร้างอิรักให้เป็นประชาธิปไตย เป็นแบบอย่างแก่ประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลาง จากบัดนั้นจนบัดนี้อิรักยังไม่เคยเป็นประชาธิปไตยจริงๆ อีกทั้งสถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิม สังคมแตกแยกร้าวลึก สงครามกลางเมืองทำให้ผู้คนล้มตายปีละนับพันนับหมื่น โดยยังไม่เห็นวี่แววว่าเมื่อไหร่ความสงบสุขจะกลับคืนมา


การทดสอบขีปนาวุธพิสัยกลางของอิหร่านกลายเป็นประเด็นข่าว เพราะไม่เพียงยิงไกลถึงอิสราเอล อาจผิดข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง ที่สำคัญคือมีข้อความ “อิสราเอลต้องถูกลบออกจากหน้าประวัติศาสตร์” บ่งบอกถึงทัศนคติที่อิหร่านมีต่ออิสราเอล แต่ถ้าวิเคราะห์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ อิสราเอลในวันนี้มีศักยภาพที่จะ “ลบ” อิหร่านออกจากแผนที่โลกมากกว่า


รัสเซียทำสงครามปราบ IS ในซีเรียเพื่อใคร (2)
เป็นเรื่องแปลกที่รัสเซียกับฝ่ายสหรัฐฯ (รวมชาติตะวันตกกับรัฐอาหรับ) ต่างมีนโยบายปราบปรามผู้ก่อการร้าย IS/ISIL/ISIS แต่ต่างฝ่ายต่างทำ ฝ่ายสหรัฐฯ กล่าวหาว่ารัสเซียไม่ได้มุ่งทำลาย IS แต่มุ่งเป้าที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอัสซาดมากกว่า ในขณะที่รัสเซียปฏิเสธ อีกทั้งมีประเด็นที่นักวิชาการหลายคนชี้ว่านโยบายปราบ IS ของฝ่ายสหรัฐฯ ไม่ได้ผล ถ้ามองในกรอบแคบความแตกต่างนี้มาจากการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนรัฐบาลอัสซาด ถ้ามองในกรอบกว้างคือการเผชิญหน้าระหว่าง 2 มหาอำนาจ

รัสเซียทำสงครามปราบ IS ในซีเรียเพื่อใคร (1)
อาจอธิบายว่ารัสเซียทำสงครามต่อต้านผู้ก่อการร้ายไม่ต่างชาติประเทศอื่นๆ ที่มีส่วนร่วม จุดต่างคือรัฐบาลปูตินสนับสนุนรัฐบาลอัสซาด ในขณะที่ชาติตะวันตกหลายประเทศกับรัฐอาหรับต่อต้านระบอบอัสซาด กลายเป็นประเด็นสร้างความขัดแย้งที่ซับซ้อนในซีเรีย เหตุการณ์ใช้อาวุธเคมีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2013 เป็นหลักฐานบ่งชี้ความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างชัดเจน

วิกฤตสงครามกลางเมืองซีเรียเข้าสู่จุดสำคัญอีกครั้ง เมื่อประเทศที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปให้หยุดยิงทั่วประเทศ (แต่ยังสู้กับผู้ก่อการร้ายต่อไป) พร้อมกับที่รัฐบาลซาอุฯ กับพวกประกาศพร้อมส่งกองทัพเข้าซีเรีย ข้อสรุปหยุดยิงเป็นผลจากการที่ทุกฝ่ายตระหนักว่าที่สุดแล้วต้องลงเอยด้วยการเจรจา การทำสงครามต่อไปมีแต่จะสูญเสียมากขึ้น บัดนี้ไม่อาจล้มรัฐบาลอัสซาดด้วยกำลังอีกต่อไป อย่างไรก็ตามต้องติดตามต่อว่าซาอุฯ ตุรกี จะส่งทหารเข้าซีเรียหรือไม่

โครงการนิวเคลียร์อิหร่านสู่ยุติสันติ
กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมามีข่าวดีของอิหร่าน เมื่อ IAEA ประกาศว่าอิหร่านปฏิบัติตามเงื่อนไขเบื้องต้นของ JCPOA แล้ว ยืนยันว่าโครงการนิวเคลียร์อิหร่านใช้เพื่อสันติเท่านั้น ด้วยเหตุนี้สหรัฐ อียู และคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติจึงยกเลิกการคว่ำบาตร ข่าวดีที่สำคัญกว่ากองทัพสหรัฐไม่เป็นภัยคุกคามต่ออิหร่านดังสมัยสงครามอ่าวเปอร์เซีย อย่างไรก็ตามรากความขัดแย้งกับรัฐอาหรับยังคงอยู่และดำเนินต่อไป เพียงแต่ไม่สามารถใช้ประเด็นโครงการนิวเคลียร์เป็นเครื่องมืออีกต่อไป

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2015
รัฐบาลซาอุฯ กับพวกมีความคิดจัดตั้ง กองกำลังร่วมอิสลาม” (Islamic military coalition) มานานแล้ว สามารถย้อนตั้งแต่สมัยปฏิวัติอิหร่าน 1979 เหตุผลล่าสุดคือเพื่อต่อต้านผู้ก่อการร้าย เหตุผลด้านความมั่นคงทางทหารนั่นเป็นเรื่องหนึ่ง ประโยชน์หลักที่ได้กลับเป็นประโยชน์ที่แฝงมามากกว่า เช่น แสดงให้เห็นว่าเป็นพวกต่อต้านก่อการร้าย (ไม่ใช่พวกสนับสนุนก่อการร้าย) กีดกันอิหร่าน ซีเรียและอิรักออกจากโลกมุสลิม 

รัฐบาลตุรกีกับข้อกล่าวหาเรื่องน้ำมัน
รัฐบาลปูตินกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐบาลตุรกีพัวพันการค้าน้ำมันเถื่อนกับ IS ซึ่งหมายถึงครอบครัวของประธานาธิบดีแอร์โดกานด้วย แต่รัฐบาลตุรกีกับโอบามาปฏิเสธข้อมูลของฝ่ายรัสเซียทั้งหมด ล่าสุดกองทัพตุรกีหลายร้อยพร้อมรถถังเคลื่อนกำลังเข้าใกล้เมืองโมซูลของอิรักและไม่ยอมถอนออก เหตุการณ์นี้อาจเชื่อมโยงกับทรัพยากรน้ำมันในแถบนั้น และอาจเชื่อมโยงกับการค้าน้ำมันเถื่อน

คณะมนตรีความมั่นคงได้ออกมติเปิดทางสะดวกให้ทุกประเทศสามารถทำสงครามปราบปราม IS ในซีเรียกับอิรัก รวมถึงการส่งทหารเข้ารบในประเทศเหล่านี้ แต่ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างฝ่ายสหรัฐกับรัสเซีย แผนกวาดล้าง IS จึงกลายเป็นมี 2 แผนที่ต่างคนต่างทำ ข้อมติเป็นผลดีต่อความมั่นคงของรัฐบาลอัสซาด แต่ซีเรียยังคงแบ่งแยกอยู่ดี

ประธานาธิบดีออลลองด์ประกาศทำสงครามกับ IS หลังเหตุก่อการร้ายในปารีส ทั้งๆ ที่ฝรั่งเศสโจมตีทิ้งระเบิด IS มานานแล้ว เกิดคำถามว่าทำไมรัฐบาลฝรั่งเศสไม่พูดกับคนของตนให้ตรงข้อเท็จจริง รัฐบาลโอบามากับพันธมิตรต้องการปราบปราม IS และมองว่ารัฐบาลอัสซาดคือต้นตอของปัญหา แต่ไม่ยอมปรองดอง ยืนกรานให้ระบอบอัสซาดต้องพ้นจากอำนาจ เกิดคำถามว่าการปราบปราม IS หมายถึงสิ่งใด จะบรรลุผลได้หรือ ในโลกนี้มีผู้ที่พยายามสร้างสถานการณ์ให้เกิดสงครามระหว่างอารยธรรม สวนทางกับความจริงที่ว่าทุกศาสนาความเชื่อสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติ ไม่ต้องห้ำหั่นด้วยอาวุธสงคราม

อดีตนายกฯ โทนี แบลร์ยืนยันว่าการโค่นล้มระบอบซัดดัม ฮุสเซนเป็นนโยบายที่ถูกต้อง ทั้งยังชี้ว่ารัฐบาลตะวันตกยังยึดนโยบายเช่นนี้ ประเด็นที่ยังถกเถียงคือแทรกแซงอย่างไร ควรคงกำลังทหารไว้หรือไม่ แนวทางของนายกฯ แบลร์บ่งชี้ว่ารัฐบาลตะวันตกอ้างเหตุผลความชอบธรรมเพื่อล้มรัฐบาลต่างชาติ ข่าวกรองเป็นเพียงเครื่องมือสร้าง “เหตุผล ความชอบธรรม” เพื่อให้คนในประเทศสนับสนุนโยบายเท่านั้น พร้อมกับที่ไม่เอ่ยถึงผลพวงที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา เช่น รัฐที่ถูกแทรกแซงกลายเป็นรัฐล้มเหลว เกิดปัญหาตามมามากมาย

Free Syrian Army (FSA) เป็นชื่อรวมๆ ของกองกำลังต่อต้านรัฐบาลอัสซาดหลายสิบกลุ่มที่สหรัฐกับพันธมิตรตั้งขึ้น สมาชิกประกอบด้วยชาวต่างชาติกับพลเมืองซีเรีย บางกลุ่มเป็นพวกสุดโต่ง การจัดแบ่งกลุ่มแบบ “เหมารวม” ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและสับสนว่าใครเป็นฝ่าย FSA รัฐบาลสหรัฐกับพันธมิตรกำลังสนับสนุนใคร พวกที่อ้างว่าเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลนั้นเป็นพลเมืองซีเรียแท้หรือไม่ คนที่เป็นพลเมืองซีเรียแท้มีปากเสียงมากเพียงใด

สังคมซีเรียไม่ต่างจากสังคมประเทศอื่นๆ ที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล พลเมืองซีเรียท้องถิ่นที่ต่อต้านรัฐบาลคือฝ่ายต่อต้านสายกลาง แต่มีอีกหลายกลุ่มที่รัฐบาลสหรัฐกับพันธมิตรถือว่าเป็นฝ่ายต่อต้านสายกลาง เช่น ชาวซีเรียที่ย้ายถิ่นอาศัยต่างประเทศ รัฐบาลโอบามากับพันธมิตรวางบทบาทคนเหล่านี้เป็นว่าที่รัฐบาลซีเรียในอนาคต กลายเป็นพวกหุ่นเชิด ชาวเคิร์ดซีเรียเป็นอีกกลุ่มที่เป็นฝ่ายต่อต้านสายกลาง แต่ถูกวางบทบาทให้กลายเป็นเขตปกครองตนเอง ซีเรียถูกแบ่งแยก

ก่อนหน้านี้มีความพยายามยุติสงครามกลางเมืองซีเรีย แต่การเจรจาล้มเหลว ผลที่ตามมาคือรัสเซียเข้ามาตั้งฐานทัพในซีเรียและเปิดฉากโจมตี เป็นไปได้ว่านี่คือการสกัดกั้นแผนล้มระบอบอัสซาดของสหรัฐกับพันธมิตรด้วยการส่งกองทัพเข้าซีเรียรบทางภาคพื้นดิน 
(บทความนี้เป็นตอนที่ 1 ของบทความชุด “การเผชิญหน้าระหว่างค่ายสหรัฐกับค่ายรัสเซีย-จีน”)

ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อทอดยาวออกไปเรื่อยๆ เอื้อให้แต่ละเขตปกครองเข้มแข็ง ได้แก่รัฐบาลอัสซาด รัฐอิสลาม เขตปกครองเคิร์ดซีเรียและเขตปกครองฝ่ายต่อต้านสายกลางที่กำลังจะเกิดขึ้น ถ้า IS ประสบผลในการถ่ายทอดอุดมการณ์ของตน ย่อมเชื่อได้ว่าจะมีพวก IS เพิ่มขึ้นอีกมากกมาย สถานการณ์ซีเรียอาจลดความรุนแรงชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่เรื่องยังไม่ยุติ อาจเป็นการรอเวลาเพื่อเปิดฉากรุกรบครั้งใหญ่

ประธานาธิบดีแอร์โดกานประกาศชัดว่าต้องการเพิ่มอำนาจให้กับตำแหน่งตนเอง แต่การเลือกตั้งเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมาพรรคของตนสูญเสียการเป็นพรรคเสียงข้างมาก จึงต้องพยายามหาทางดึงคะแนนกลับ นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าสถานการณ์การปราบปรามเคิร์ดภายในประเทศเกี่ยวข้องกับการกระชับอำนาจ การเมืองตุรกีในช่วงนี้จึงมีผลต่อยุทธศาสตร์แบ่งแยกซีเรีย

ไม่ว่าจะยอมรับหรือไม่ หรือจะใช้ชื่อใด รัฐบาลโอบามากับตุรกีกำลังสร้างเขตปลอดภัย (safe zone) หรือเขตห้ามบิน (no-fly zone) ทางตอนเหนือของประเทศซีเรียติดแนวพรมแดนทางตอนใต้ตุรกี ข้อดีคือผู้ลี้ภัยซีเรียสามารถกลับประเทศเข้าไปอยู่ในเขตดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ตามมาคือเกิดปกครองตนเองขึ้นมาอีกเขตหนึ่ง ประเด็นที่ต้องติดตามคือใครจะเป็นผู้ควบคุมเขตดังกล่าว อนาคตของพื้นที่นี้จะเป็นอย่างไร

ด้วยความไม่พอใจต่อเศรษฐกิจการเมืองในประเทศ ประชาชนกลุ่มหนึ่งจึงลุกฮือประท้วงรัฐบาล เป็นเหตุผลพื้นฐานของอาหรับสปริง แต่การแทรกแซงจาก “นอก” ประเทศเกิดขึ้นและกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการโค่นล้มรัฐบาล ซีเรียเป็นอีกกรณีที่มีกองกำลังติดอาวุธร่วมร้อยประเทศเข้ารบกับรัฐบาล ผู้ก่อการร้าย ISIL/ISIS กลายเป็นกลุ่มแรกที่ประกาศสถาปนา “รัฐอิสลาม” เป็นรัฐอิสระภายใต้ดินแดนซีเรีย (มองในกรอบเฉพาะซีเรีย) เราจะนิยามอาหรับสปริงซีเรียอย่างไร ประเทศซีเรียยังเป็นของชาวซีเรียหรือไม่

ข่าวตุรกีโจมตี IS เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของตุรกี เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลตุรกีลังเลใจที่จะร่วมต้าน IS อย่างจริงจัง ปฏิบัติการครั้งนี้ดำเนินร่วมกับการโจมตี PKK ด้วย เรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของตุรกีโดยตรง และเมื่อวิเคราะห์ในภาพที่ใหญ่ขึ้น การจัดการ IS PKK ไม่ใช่เพียงการต่อต้านก่อการร้ายสากล (IS) หรือผู้ก่อการร้ายภายในประเทศ (PKK) แต่เชื่อมโยงกับประเทศซีเรียโดยตรง เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์แบ่งแยกประเทศนี้

รัฐบาลเนทันยาฮู สมาชิกพรรครีพับลิกันชี้ว่าร่างฯ ข้อตกลงเอื้อให้อิหร่านสามารถมีอาวุธนิวเคลียร์ในระยะยาว เนื่องจากเงื่อนไขหลายข้อมีอายุ 10 ปี อิหร่านที่ฟื้นฟูประเทศจะเข้มแข็งขึ้นมาก แต่รัฐบาลโอบามากับชาติสมาชิกคู่เจรจาที่เหลือเห็นว่าเป็นข้อตกลงที่ดีแล้ว คำถามสำคัญคืออิหร่านพร้อมจะถูกคว่ำบาตรซ้ำอีกหรือไม่หากแสดงท่าทีต้องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ 

หากยึดว่าความสำเร็จจากการเจรจาโครงการนิวเคลียร์ไม่ลดความหวาดระแวง ความไม่เป็นมิตรต่อกัน รัฐบาลสหรัฐยังคงคว่ำบาตรอิหร่านด้วยเหตุผลอื่นๆ อิสราเอลยังเชื่อว่าอิหร่านจะผลิตและสามารถผลิตระเบิดนิวเคลียร์ในอนาคต ผลประโยชน์ของการเจรจาโครงการนิวเคลียร์จึงไม่ใช่เรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน แต่น่าจะเป็นประโยชน์จากการที่บริษัทต่างชาติเข้าไปมีส่วนโครงการฟื้นฟูอิหร่าน การขายอาวุธให้กับประเทศต่างๆ

ประธานาธิบดีโอบามากล่าวซ้ำหลายรอบว่าปัญหาอิรักคือเรื่องความเป็นเอกภาพของชีอะห์ ซุนนีและเคิร์ดอิรัก แต่นโยบายปราบปราม IS คือการปกป้องพวกชีอะห์กับเคิร์ด มีผลทำให้อิรักแยกออกเป็น 3 ฝ่ายโดยปริยาย ตอกย้ำว่าแท้ที่จริงแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ดำเนินนโยบายแบ่งแยกอิรักตั้งแต่สมัยสงครามอ่าวเปอร์เซียเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

นักจากต้นปี 2014 เป็นต้นมา ความวิตกกังวลว่าอิหร่านจะมีอาวุธนิวเคลียร์น่าจะลดลง เพราะอิหร่านกับคู่เจรจา P-5+1 บรรลุข้อตกลงชั่วคราว “Joint Plan of Action” แต่การเจรจาเพื่อให้ได้ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์เป็นประเด็นความขัดแย้งใหม่ เกิดกระแสว่าอิหร่านกำลังเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคและโลก ทั้งๆ ที่ตอนนี้ IAEA ได้เข้าตรวจตราโครงการนิวเคลียร์ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ แล้ว นักการเมืองสหรัฐฯ บางส่วนกับรัฐบาลอิสราเอลประกาศกร้าวยืนยันว่าโครงการที่เหลืออยู่เป็นอันตราย ปล่อยไว้ไม่ได้

หลังการเจรจาอย่างยืดเยื้อ ในที่สุดทุกฝ่ายประกาศว่าบรรลุข้อสรุปได้ร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ แต่ไม่กี่วันหลังจากนำเสนอร่างฯ ต่อสาธารณะ ปรากฏว่าอิหร่านคัดค้านไม่เห็นตรงใน 2 ประเด็นหลัก และกลายเป็นว่าร่างฯ ที่นำเสนอโดยฝ่ายสหรัฐฯ ไม่ใช่ร่างที่เห็นตรงกับอิหร่าน ความซับซ้อนเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อพรรครีพับลิกันแสดงท่าทีไม่ยอมรับร่างฯ ในขณะที่ประธานาธิบดีโอบามาแสดงท่าทีอ่อนลงเรื่อยๆ พยายามหาทางประนีประนอมกับรีพับลิกัน

รัฐบาลอิสราเอลพูดอยู่เสมอว่าอิหร่านใกล้จะประสบความสำเร็จในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ เป้าหมายคือทำลายล้างอิสราเอล แม้อิหร่านกับชาติมหาอำนาจ 6 ประเทศที่เรียกว่ากลุ่ม P-5+1 ได้ข้อตกลงฉบับชั่วคราวและเมื่อต้นเดือนเมษาที่ผ่านมาได้ร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ นายกฯ เนทันยาฮูยังเชื่อเช่นเดิม สวนทางความจริงที่ว่า ทุกวันนี้โครงการฯ ของอิหร่านหดตัว อยู่ภายใต้การตรวจตราของ IAEA ซึ่งได้พิสูจน์ชัดแล้วว่าโครงการฯ ในขณะนี้มีเพื่อใช้ในทางสันติเท่านั้น ความเข้าใจของนายกฯ เนทันยาฮูจึงกลายเป็นภาพหลอนที่คอยหลอกลอนให้หลายคนเชื่อเช่นนั้น

กว่าที่สหรัฐจะเริ่มโจมตี IS ในสมรภูมิเมืองทิกริต การรบได้ผ่านไปแล้วกว่า 3 สัปดาห์จนรัฐบาลอิรักต้องออกมาเรียกร้อง เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกเพราะก่อนหน้านี้สหรัฐใช้กำลังทางอากาศโจมตี IS อย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์ที่สมรภูมิทิกริตสะท้อนคำพูดของรัฐบาลโอบามาที่ชี้ว่ารากปัญหาคือความขัดแย้งภายในระหว่างซุนนี-ชีอะห์ อีกทั้งยังแสดงท่าทีไม่อยากเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

GCC ประกาศชัดให้อัสซาดก้าวลงจากอำนาจ บางประเทศให้ความช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านอย่างเปิดเผย ให้ทั้งเงิน อาวุธ หาก IS ในอิรักพ่ายแพ้จะเป็นข่าวร้ายของ GCC พิสูจน์ว่าพวกชีอะห์อิรักมีความเข้มแข็งที่จะปกครองประเทศต่อไป ในภาพรวมสะท้อนความเข้มแข็งของชีอะห์ “จันทร์เสี้ยวชีอะห์” พิสูจน์ตนเองอีกครั้งว่าเข้มแข็งกว่าเดิม กระทบต่ออนาคตของ GCC อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สมรภูมิทิกริตไม่ใช่่เรื่องการปราบปรามผู้ก่อการร้าย IS ในอิรักเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายหลายประเทศ ที่ควรเอ่ยถึงได้แก่ 1.ชีอะห์อิรัก 2.อิหร่าน 3.ซุนนีอิรัก 4.พวกเคิร์ด 5.ซีเรีย 6.IS/ISIL/ISIS 7.รัฐบาลสหรัฐฯ 8.GCC ผลลัพธ์ที่ตามมาไม่ได้มีต่อการเมืองอิรักเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบภูมิภาคตะวันออกกลาง เกี่ยวข้องกับชาติมหาอำนาจ

เนื่องจากรัฐบาลอิรักเห็นว่า GCC มีส่วนสนับสนุน IS ส่วน GCC มองว่ารัฐบาลอิรักในปัจจุบันคือพวกชีอะห์ ดังนั้นหาก IS พ่ายแพ้เท่ากับทำให้อิรักเข้มแข็งขึ้น ยิ่งใกล้ชิดกับอิหร่าน ส่งผลให้อิหร่านซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่แข็งแกร่งกว่าเดิม 

คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับเป็นตัวแสดงหนึ่งที่เกี่ยวข้อง ความเป็นไปของ IS หรือแม้กระทั่งสถานการณ์ภายในอิรักส่งผลต่อ GCC โดยตรง เป็นเรื่องซับซ้อนวิเคราะห์ได้หลายแง่มุม ในแง่ผลบวก IS เป็นภัยคุกคามที่เด่นชัดทั้งต่อราชอาณาจักรและปัจเจกบุคคล การต่อต้าน IS จึงเท่ากับช่วยเหลือประเทศตนเอง ทั้งยังชูบทบาทของ GCC การเป็นผู้พิทักษ์อิสลาม 

ข้อมูลจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ประเมินว่ามีชาวต่างชาติจากกว่า 90 ประเทศ จึงดูเหมือนว่า IS คือผู้ก่อการร้ายนานาชาติ ซึ่งมีส่วนถูกต้อง แต่หากพิจารณาจากสัดส่วนของสมาชิก สมาชิก IS ส่วนใหญ่เป็นชาวอิรัก มีพื้นเพเป็นพวกซุนนี ความเข้าใจเรื่องนี้มีความสำคัญ ผูกโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะสถานการณ์ในอิรัก ข้อเขียนชิ้นนี้จะอธิบายความเกี่ยวโยงเหล่านี้ ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

เหตุวิวาทะระหว่างรัฐบาลโอบามา พรรครีพับลิกัน และนายกฯ เนทันยาฮูดูเหมือนว่าพวกเขามีความขัดแย้งอย่างรุนแรง เมื่อวิเคราะห์พบว่าความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น อีกทั้งยังมีคำถามว่ารัฐบาลเนทันยาฮูมีอิทธิพลชักจูงประเทศคู่เจรจาได้กี่ประเทศ นายกฯ เนทันยาฮูกำลังใช้โครงการนิวเคลียร์อิหร่านเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตนหรือไม่


เมื่อรัฐบาลอิรักเปิดฉากโจมตีเพื่อยึดคืนเมืองทิกริตจากกองกำลังรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) รัฐบาลโอบามาแสดงความกังวลว่าความขัดแย้งระหว่างซุนนี-ชีอะห์ในอิรักจะรุนแรงกว่าเดิม ทั้งๆ ที่รัฐบาลสหรัฐประกาศว่า IS เป็นภัยคุกคามต่อโลกและสหรัฐ จะต้องปราบปรามให้ราบคาบ และก่อนหน้าที่มีกระแสข่าวเรียกร้องให้อิหร่านส่งทหารเข้าร่วมรบทางภาคพื้นดิน และดูเหมือนว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่เห็นชอบที่ชาวชีอะห์อิรักจะทำหน้าที่ปกป้องมาตุภูมิของตน


ยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นบุคคลสำคัญของโลก ได้ชื่อว่าเป็นผู้ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ ชีวิตของท่านตั้งแต่วัยหนุ่มเต็มด้วยการต่อสู้ ฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ มีผู้พยายามสังหารท่านหลายครั้ง แต่สามารถหลบรอดคมห่ากระสุนอย่างหวุดหวิด จนกระทั่งคืนวันที่ 12 ตุลาคม 2004 ท่านล้มป่วยกะทันหันอย่างรุนแรงในบ้านพักของท่านเอง ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่าท่านเสียชีวิตด้วยพอโลเนียม-210


เป็นบทความวิเคราะห์สถานการณ์อิรักช่วงเปลี่ยนตัวนายกฯ มาลิกี ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแสดงหลายตัว ตั้งแต่ IS อิหร่าน สหรัฐฯ และประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งหมดมีเหตุสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ลงเอยด้วยการเปลี่ยนผู้นำ ที่นายกฯ มาลิกีเปรียบเปรยว่าตนถูกรัฐประหาร
บทความแบ่งตีพิมพ์ในนิตยสารหนังสือข่าวทหารอากาศจำนวน 2 ฉบับ เหมาะสำหรับผู้สนใจรายละเอียดเหตุการณ์ในสมัยนั้น และสถานการณ์การเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลาง


----------------------------
ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2014
โครงการนิวเคลียร์อิหร่านการเจรจาขั้นสุดท้ายที่ต้องดำเนินต่อไป (2)
สมาชิกรัฐสภาฝ่ายที่ต้องการให้อิหร่านละทิ้งโครงการนิวเคลียร์ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ใช้การคว่ำบาตรอย่างรุนแรงเพื่อกดดันให้รัฐบาลอิหร่านยอมรับเงื่อนไข การเจรจาในช่วงนี้เป็นจุดสำคัญ เพราะหากเลยเส้นตาย 1 กรกฎาคม 2015 สหรัฐจะเข้าสู่ช่วงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โครงการนิวเคลียร์อิหร่านจะกลายเป็นหนึ่งในประเด็นหาเสียงอย่างสมบูรณ์ สถานการณ์จะซับซ้อนยิ่งกว่าที่เป็นอยู่


ข้อตกลง Joint Plan of Action มีผลชั่วคราว นั่นหมายความว่าอนาคตไม่แน่นอน ถ้ามองในแง่ดีเป็นโอกาสที่ต่างฝ่ายต่างแสดงความปรารถนาดีต่อกัน เป็นกระบวนการสร้างความไว้วางใจ และนำสู่การเจรจาขั้นสุดท้าย ถ้ามองในแง่ร้าย การผ่อนคลายการคว่ำบาตรมีผลชั่วคราว รัฐบาลสหรัฐยังคว่ำบาตรต่อไป ข้อตกลงชั่วคราวกลายเป็นเครื่องมือที่ประเทศคู่เจรจาใช้กดดันอิหร่าน


การก่อการของ IS มีผลต่อการสร้างกระแสสงครามระหว่างนิกาย ซึ่งรัฐบาลอิหร่านระมัดระวังตัวอย่างยิ่ง ผลลัพธ์คือติดอาวุธให้กับพวกเคิร์ด สนับสนุนรัฐบาลแบกแดด เพื่อให้อิรักฝั่งตะวันออกเป็นแนวป้องกัน เป็น “รัฐกันชน” ป้องกันไม่ให้กองกำลัง IS เข้ามาก่อกวน สร้างสถานการณ์ให้ลุกลามบานปลาย กลายเป็นสงครามระหว่าง IS กับอิหร่าน เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ปราบปราม IS อันซับซ้อน


รัฐบาลชาติตะวันตกหลายประเทศหยิบยกประเด็นพลเรือนของตนที่เข้าร่วม IS จะกลับมาก่อเหตุก่อการร้ายที่บ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง จึงเห็นว่าควรดำเนินมาตรการป้องกันหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการติดอาวุธพวกเคิร์ด ซึ่งเป็นการปิดล้อมพื้นที่อิทธิพลของกองกำลัง IS ไม่ให้ขยายออกไปทางทิศตะวันออกให้มากกว่าที่เป็นอยู่ แต่ผลกระทบต่อประเทศอิรักคือพวกเคิร์ดมีความเป็นอธิปไตยมากขึ้น เท่ากับว่าอิรักสูญเสียอธิปไตย


ในมุมหนึ่งประธานาธิบดีโอบามาชี้ว่า IS เป็นภัยคุกคาม ต้องกำจัดอย่างถอนรากถอนโคน ในอีกมุมหนึ่งชี้ว่าการปราบปราม IS ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทันที ที่สำคัญคือต้องรอความร่วมมือจากประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะพวกซุนนี เมื่อวิเคราะห์แล้วนำสู่คำถามว่ารัฐบาลโอบามามีความตั้งใจปราบปรามกองกำลัง IS มากน้อยเพียงใด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 


การปรากฏตัวของกำลังอากาศสหรัฐ ไม่ใช่เพื่อการปราบปรามกองกำลัง IS แต่ใช้เหตุช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยเพื่อเป็นข้ออ้างให้กองกำลังอากาศสหรัฐเข้าควบคุมน่านฟ้าอิรักทั้งหมด แสดงถึงพลังอำนาจ “การมีอยู่” ของสหรัฐ ในช่วงจังหวะที่อิรักกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ ที่นายกฯ มาลิกีเปรียบเปรยว่าคือ “รัฐประหาร”


ร้อยปีเต็มแล้วที่ชาวเคิร์ดอิรักต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพ  การปกครองตนเอง น่าสนใจที่พวกเคิร์ดเป็นซุนนีแต่ไม่ปรารถนาอยู่ร่วมกับพวกอาหรับอิรักที่เป็นมุสลิมด้วยกัน รัฐบาลอังกฤษเคยเชื่อว่าพวกเคิร์ดเป็นเพียงแค่ชนเผ่าต่างๆ ไม่สามารถรวมตัวปกครองตนเอง แต่จากประวัติศาสตร์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พวกเคิร์ดพิสูจน์แล้วว่าพวกเขาสามารถรวมตัวกันได้ ตรงข้ามกับพวกอาหรับอิรักที่กำลังแตกแยกอยู่ในขณะนี้


วิกฤตอิรักรอบใหม่ที่เริ่มต้นเมื่อเดือนมิถุนายน ในตอนแรกนั้นสื่อมุ่งกล่าวถึงกองกำลัง ISIL/ISIS ที่สามารถยึดครองหลายเมืองได้อย่างรวดเร็ว แต่ล่าสุดการบรรยายเหตุการณ์ในอิรักให้ความสำคัญกับการลุกฮือของพวกซุนนีอิรัก ภาพวิกฤตอิรักจึงกลายเป็นสงครามระหว่างรัฐบาลชีอะห์ผู้กดขี่ข่มเหงประชาชน (โดยเฉพาะพวกซุนนี) กับฝ่ายต่อต้าน ซึ่งส่วนใหญ่คือประชาชนอิรักผู้นับถือนิกายซุนนี กองกำลัง ISIL สถานการณ์ในอิรักจึงคล้ายสงครามกลางเมืองซีเรียมากขึ้นทุกที


รัฐบาลโอบามาตั้งเงื่อนไขจะสนับสนุนรัฐบาลอิรักอย่างเต็มกำลังในการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อการร้าย ISIL/ISIS ก็ต่อเมื่ออิรักได้รัฐบาลใหม่ ซึ่งหมายถึงนายกฯ อัลมาลิกีต้องพ้นจากอำนาจ นายกฯ อัลมาลิกีปฏิเสธข้อเรียกร้องและเห็นว่าเท่ากับเป็นการรัฐประหารรัฐธรรมนูญ การตัดสินใจดังกล่าวส่งผลต่อตัวแสดงสำคัญๆ เช่น การคงอยู่ของ ISIL ความสัมพันธ์ระหว่าง ISIL กับพวกซุนนีกลุ่มต่างๆ 


อิรักกำลังมาสู่ทางสองแพร่งอีกครั้ง ขึ้นกับการตัดสินใจของสังคมว่าต้องการให้ประเทศเป็นอย่างไร ต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ปรองดอง หรือต้องการทำสงครามกลางเมืองยืดเยื้อไปเรื่อยๆ การก่อการของ ISIL จะกลายเป็นผลดีหากเป็นต้นเหตุให้เกิดการเจรจาอย่างจริงจัง ช่วยยุติความขัดแย้งภายในประเทศที่ดำเนินต่อเนื่องมาแล้วหลายปี แต่ถ้ามองในแง่ลบ การปรากฏตัวของ ISIL จะซ้ำเติมความแตกแยกในอิรัก


แม้ว่าประธานาธิบดีโอบามาจะประกาศว่าอนาคตของอิรัก ชาวอิรักต้องตัดสินใจเองในฐานะรัฐอธิปไตย งานศึกษาบางชิ้นให้ข้อสรุปว่ารัฐบาลสหรัฐคือผู้อยู่เบื้องหลังให้นายอัลมาลิกีก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และทั้งๆ ที่รู้ซึ้งพฤติกรรมของนายกฯ อัลมาลิกี รัฐบาลโอบามายังสนับสนุนให้เขาดำรงตำแหน่งนายกฯ สมัยที่ 2 และขณะนี้มีข่าวว่ากำลังกดดันให้นายกฯ อัลมาลิกีลาออก เพื่อความปรองดองสมานฉันท์ แก้ปัญหาการก่อการของ ISIL/ISIS ในขณะนี้


นับจากการก่อตั้ง ISIL เป้าหมายและการแสดงออกของกลุ่มนั้นชัดเจนและสอดคล้องกัน คือสถาปนารัฐอิสลามในอิรักกับซีเรีย การยึดพื้นที่ถิ่นอาศัยของพวกซุนนีดูเป็นเรื่องง่าย แต่หาก ISIL ต้องการยึดอิรักทั้งประเทศ จะต้องยึดพื้นที่เขตปกครองของพวกเคิร์ดและชีอะห์ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ภายใต้ศักยภาพของกองกำลัง ISIL ในปัจจุบัน เป้าหมายเฉพาะหน้าที่ดูสมเหตุสมผลกว่าคือการควบคุมพื้นที่ถิ่นอาศัยของพวกซุนนี หรือไม่ก็ให้สงครามกลางเมืองอิรักเป็นศึกยืดเยื้อ


การเลือกตั้งเป็นประเด็นที่พูดหนาหูมาสองสามปีแล้ว ที่ผ่านมาประธานาธิบดีอัสซาดรอดูสถานการณ์ว่าเหมาะสมที่จะจัดเลือกตั้งหรือไม่ ผลการเลือกตั้งที่ออกมาไม่มีอะไรแปลกประหลาดเหนือความคาดหมาย ท่าทีการตอบสนองของกลุ่ม Friends of Syria และประเทศผู้สนับสนุนระบอบอัสซาดไม่มีอะไรแตกต่างจากเดิม สงครามกลางเมืองซีเรียดำเนินต่อไปโดยที่ระบอบอัสซาดเป็นฝ่ายได้เปรียบมากขึ้นทุกที

ถ้ามองในแง่บวกการเจรจาเจนีวา 2 คือจุดเริ่มต้นของการยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ถ้ามองในแง่ลบคือยังมองไม่เห็นทางออก เมื่อการเจรจายังไม่สามารถยุติความขัดแย้ง ประเด็นจึงกลับมาอยู่ที่จะแก้ปัญหาด้วยพลังอำนาจทางทหารอย่างไร ชาติอาหรับจะเป็นฝ่ายลงมือเองหรือไม่

ความรุนแรงในซีเรียเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความขัดแย้งทางการเมืองที่ขยายตัวกลายเป็นสงครามกลางเมือง กลายเป็นสมรภูมิที่มีกองกำลังนอกประเทศเข้ามาร่วมรบ เป็นอุทาหรณ์ว่าการป้องกันปัญหาง่ายกว่าและดีกว่าการแก้ปัญหา คนในชาติต้องไม่คิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัว หรือคิดแต่เพียงปกป้องครอบครัวคนใกล้ชิดเท่านั้น 

หลังสงครามกลางเมืองเกือบครบ 3 ปี การประชุมเจนีวา 2 กลายเป็นการประชุมระดับนานาชาติครั้งสำคัญยิ่ง การประชุมไม่น่าจะสามารถยุติข้อขัดแย้งตราบใดที่รัฐบาลอัสซาดไม่ก้าวลงจากอำนาจ และสหรัฐกับชาติพันธมิตรยังหนุนหลังฝ่ายต่อต้านที่มุ่งโค่นล้มรัฐบาล คำถามที่สำคัญกว่าการมีข้อตกลงคือ ข้อตกลงนั้นจะนำสู่ประเทศซีเรียที่มีบูรณภาพแห่งดินแดนหรือไม่ เป็นการยุติความขัดแย้งอย่างถาวรหรือไม่ ทั้งหลายทั้งสิ้นนี้พลเมืองซีเรียน่าจะเป็นผู้ตัดสินอนาคตของตนเอง 

ท่ามกลางการลงมติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีกระแสการสนับสนุนพลเอกอับเดล-ฟัตตาห์ เอลซีซี ผู้นำก่อการรัฐประหารให้เป็นประธานาธิบดีอียิปต์ ด้านกลุ่มภราดรภาพมุสลิมคือฝ่ายสูญเสียเนื่องจากถูกตีตราว่าเป็นองค์กรก่อการร้าย เท่ากับว่าสมาชิกของกลุ่มไม่สามารถรับตำแหน่งใดๆ ทางการเมืองอีกต่อไป การเมืองการปกครองอียิปต์จึงหวนคืนสู่แนวทางที่ชนชั้นปกครองเป็นผู้กุมอำนาจประเทศดังเช่นหลายทศวรรษที่ผ่านมา เกิดคำถามว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ประวัติศาสตร์การโค่นล้มระบอบมูบารัคเมื่อ 3 ปีก่อนจะเกิดซ้ำอีกในอนาคตหรือไม่


ISIS/ISIL เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่างมีเป้าหมายเฉพาะ กำลังก่อการทั้งในซีเรียกับอิรัก การปรากฏตัวของกลุ่มสะท้อนปัญหาการเมืองภายในอิรักที่เรื้อรังมานาน ความแตกแยกของฝ่ายต่างๆ การจะกำจัด ISIS/ISIL อย่างถอนรากถอนโคนคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง รวมทั้งมีประเทศผู้ให้การสนับสนุน น่าติดตามกลุ่มดังกล่าวจะนำอิรักสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ มีผลกระทบต่อภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างไร
----------------------
ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2012-13

รัฐบาลซาอุฯ กำลังจัดระเบียบตะวันออกกลางกับแอฟริกาเหนือ หวังเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในซีเรียกับอิหร่าน แต่จุดยืนดังกล่าวขัดแย้งกับจุดยืนของรัฐบาลโอบามากับชาติตะวันตกหลายประเทศ ความพยายามของซาอุฯ ก่อให้เกิดคำถามว่ากำลังโดดเดี่ยวตนเองหรือไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุฯ กับอิสราเอลในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร


10 ปีที่กองทัพสหรัฐฯ บุกโค่นล้มระบอบซัดดัม ช่วยสถาปนารัฐประชาธิปไตยอิรัก พบว่าจนบัดนี้อิรักยังไม่ได้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง กลายเป็นรัฐล้มเหลวที่ประกอบด้วยหลายกลุ่มอำนาจที่พยายามแย่งชิงผลประโยชน์ ก่อให้เกิดคำถามมากมายว่าอิรักในวันนี้ดีกว่ายุคซัดดัมหรือไม่ อะไรคือการปกครองที่ดี และจะพาอิรักออกจากสถานการณ์วุ่นวายในขณะได้อย่างไร ทั้งหมดนี้ประชาชนอิรักไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดต้องออกมาแสดงพลัง กำหนดอนาคตของตนเอง

ในมุมมองของอิสราเอล การขจัดภัยคุกคามนิวเคลียร์อิหร่านจะต้องควบคุมโครงการอิหร่านอย่างสมบูรณ์ ไม่ปล่อยให้มีโอกาสผลิตอาวุธได้แม้แต่น้อย เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐบาลอิสราเอลพร้อมที่จะละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ละเมิดสิทธิอันพึงมีของอิหร่าน อาศัยแรงกดดันทางการเมืองระหว่างประเทศ อิทธิพลของสหรัฐ กดดันให้อิหร่านยอมกระทำตามความต้องการของตน

ณ บัดนี้สังคมโลกค่อนข้างมั่นใจแล้วว่าท่านถูกวางยาด้วยพอโลเนียม-210 แต่เวลา 9 ปีที่ผ่านมาไม่อาจลบล้างข้อสงสัยว่าใครเป็นลอบวางยาท่าน ข้อมูลที่ปรากฏจำนวนไม่น้อยชี้ว่าอิสราเอลต้องรับผิดชอบ ในขณะที่ทางการอิสราเอลปฏิเสธมาโดยตลอด นี่คืออีกหน้าประวัติศาสตร์ของโลกที่นายยัสเซอร์ อาราฟัต สัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ต้องจบชีวิตอย่างปริศนา

ซาอุดิอาระเบียปฏิเสธเก้าอี้สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เมื่อศึกษาโดยละเอียดพบว่าทางการซาอุฯ ไม่พอใจการดำเนินนโยบายของรัฐบาลโอบามาต่อตะวันออกลาง ในยามที่ซาอุฯ กับมิตรประเทศอาหรับกำลังอยู่ระหว่างการจัดระเบียบตะวันออกกลาง


การคว่ำบาตรจากสหรัฐกับพันธมิตรต่อโครงการนิวเคลียร์อิหร่านพิสูจน์แล้วว่าได้ผล เศรษฐกิจสังคมอิหร่านได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ประธานาธิบดีโรฮานีชนะการเลือกตั้ง และมาพร้อมกับนโยบายสานสัมพันธ์ที่ดีกับทุกประเทศ เร่งเจรจาแก้ปัญหาการคว่ำบาตร การเจรจาจึงเป็นเรื่องสำคัญ กำหนดอนาคตอิหร่านและภูมิภาคตะวันออกกลาง

รัฐบาลโอบามาใช้หลักฐานการโจมตีด้วยอาวุธเคมีเพียงครั้งเดียวกับอ้างหลักการว่าทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อโจมตีซีเรีย โดยละทิ้งกระบวนการของสหประชาชาติ กฎเกณฑ์ ระบบความมั่นคงของโลก

อเมริกาคิดโจมตีซีเรียจุดเปลี่ยนนโยบายโอบามา
จากที่ลังเลใจมาตลอดหนึ่งปี พยายามเลื่อนการตัดสินใจว่าใครเป็นผู้ใช้อาวุธเคมีในซีเรีย เหตุการณ์การใช้อาวุธเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม กลายเป็นข้ออ้าง เป็นจุดเปลี่ยนนโยบายของโอบามาต่อซีเรีย สหรัฐคิดโจมตีกองทัพรัฐบาลอัสซาดด้วยตนเอง ด้วยไม่ฟังคำทัดทานจากหลายประเทศ เหตุผลหลักประการหนึ่งคือต้องการช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

ราวหนึ่งปีหลังจากที่กล่าวหากันไปมาในที่สุดสหประชาชาติส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบเรื่องการใช้อาวุธเคมีในซีเรีย แต่ต้องเข้าใจว่าเป้าหมายของการตรวจสอบคือเพื่อพิสูจน์ว่ามีการใช้หรือไม่เท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงเรื่องใครหรือฝ่ายใดเป็นผู้ใช้ ที่ผ่านมาอังกฤษกับฝรั่งเศสแสดงท่าทีขึงขังเรียกร้องการแทรกแซงทางการทหาร แต่นั่นหมายถึงต้องมีสหรัฐฯ เป็นหัวเรือใหญ่ที่ลังเลใจเรื่อยมา


หลังชุมนุมยืดเยื้อ 6-7 สัปดาห์ รัฐบาลก็เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม เหตุการณ์ความรุนแรงลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะรอบปีที่ผ่านมาในสมัยที่มอร์ซีเป็นประธานาธิบดี กลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลมอร์ซีก็บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเช่นกัน เพียงแต่สถานการณ์วันนี้สลับฝ่ายสลับขั้ว

พลเอกอับดุล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอียิปต์ เรียกร้องให้ประชาชนออกมาชุมนุมสนับสนุนการยึดอำนาจ กลายเป็นภาพของรัฐประหารที่ไม่เสร็จสมบูรณ์ ต้องขอให้ประชาชนแสดงการสนับสนุนเพิ่มเติม แม้มีผู้ร่วมชุมนุมแสดงพลังสนับสนุนการรัฐประหารจำนวนนับแสนนับล้านคน แต่ฝ่ายสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีมอร์ซีจะยังคงชุมนุมยืดเยื้อต่อไป ตอกย้ำผลลัพธ์ด้านลบของการรัฐประหาร

ในเวลาไม่ถึง 3 ปี ประเทศอียิปต์เกิดเหตุประชาชนขับไล่รัฐบาลมาแล้ว 2 ชุด คือรัฐบาลของประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัค กับรัฐบาลของประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ทั้งสองครั้งประชาชนผู้สนับสนุนต่างประกาศว่าคือส่วนหนึ่งของอียิปต์สปริง เป็นชัยชนะของประชาชน การชุมนุมทั้งสองครั้งกองทัพอียิปต์เข้าเกี่ยวข้องด้วยเสมอ และสหรัฐมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกองทัพอียิปต์มานานหลายทศวรรษแล้ว

อิหร่านมีโครงการนิวเคลียร์มาหลายทศวรรษแล้ว สมัยของอาห์มาดินาจาดเป็นช่วงที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ชาติตะวันตกคว่ำบาตร ซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่ทุกรัฐบาลที่กระทำเช่นเดียวกันนี้ ขึ้นกับเหตุผลเบื้องหลัง บริบทแวดล้อมอื่นๆ

8 ปีของการพัฒนานิวเคลียร์ภายใต้สมัยประธานาธิบดีอาห์มาดีเนจาด เป็นช่วงเวลาที่โครงการนิวเคลียร์มีความก้าวหน้ามาก ก่อทั้งผลดีผลเสียต่ออิหร่านชัดเจน แม้จะยังไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์สำเร็จตามเป้า แต่ได้บรรลุเป้าหมายบางอย่างแล้ว

สมาชิกสหภาพยุโรปมีทั้งประเทศที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยกับการเสริมเขี้ยวเล็บแก่ฝ่ายต่อต้าน และมติยกเลิกคว่ำบาตรขายอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้านไม่น่าจะมีผลใดๆ ทั้งด้านการรบกับการเมืองของซีเรีย เพราะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องและอาจไม่ตรงความต้องการของฝ่ายต่อต้าน

ปัญหาการปลูกฝิ่นและความท้าทายของรัฐบาลอัฟกานิสถาน
ประเทศอัฟกานิสถานคือประเทศผู้ปลูกฝิ่นรายใหญ่ที่สุดของโลก การแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะพัวพันกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การทหาร และการปลูกฝิ่นมีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล

ผู้เชี่ยวชาญบางคนชี้ว่าเหตุที่ฝ่ายประชาชนสามารถโค่นล้มอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค เกิดจากการที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามาคอยจัดแจงอยู่เบื้องหลัง

นายลักคาร์ บราฮิมี ผู้แทนสหประชาชาติพบรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศซีเรีย นายวาลิด อัลเมาเล็ม เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งซีเรีย เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดยิง

เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อเครื่องบินรบของตุรกีบังคับให้เครื่องบินพลเรือนซีเรียที่บินจากรัสเซียไปซีเรียร่อนลงจอดที่ตุรกี ด้วยข้อกล่าวหาทำผิดระเบียบการบินที่ต้องแจ้งก่อนผ่านน่านฟ้าหากขนสินค้าต้องห้าม

นับจากนี้อีกราว 8 เดือนก่อนถึงวันเลือกตั้งปธน. น่าติดตามว่าส่งผลต่อนโยบายเศรษฐกิจ นโยบายต่างประเทศของว่าที่ปธน.คนใหม่อย่างไร

เขตปลอดภัยกับเขตห้ามบินมีความหมายแตกต่างกัน บทวิเคราะห์นี้จะอธิบาย คำสองคำดังกล่าวพร้อมวิเคราะห์ความแตกต่าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

IAEA ไม่มั่นใจว่าโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านจะมีเพื่อใช้ในทางสันติเท่านั้น เป็นที่มาของมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก

ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้ง คนซีเรียส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในประเทศต่อไป เกิดคำถามใหม่ว่า คนซีเรียส่วนใหญ่ต่อต้านหรือสนับสนุนฝ่ายใด
------------------------

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุดมการณ์ทางการเมือง (1) นิยาม อุดมการณ์ทางการเมือง

อุดมการณ์ทางการเมือง (2) อุดมการณ์เสรีนิยม

กำเนิด “รัฐสมัยใหม่” ตัวแสดงเอกของโลก