GCC เดือดร้อน? หากอิรักชนะ IS (1)
สมรภูมิทิกริต (Tikrit) ที่กองทัพอิรักร่วมกับชีอะห์อิรักเข้าต่อสู้กับพวกรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) กำลังเป็นที่ข่าวขาน ที่ผ่านมามีข้อมูลชี้ชัดว่าพวกซุนนีอิรักบางกลุ่มบางเผ่าให้ความร่วมมือ IS เป็นต้นเหตุสำคัญช่วย IS ยึดหลายเมืองอย่างรวดเร็ว
บทความที่เกี่ยวข้อง :
มาบัดนี้
ฝ่ายรัฐบาลโต้กลับและดูเหมือนว่าเป็นฝ่ายมีชัย เกิดคำถามว่าหาก IS พ่ายแพ้ จะเป็นผลดีผลเสียต่อแต่ละฝ่ายอย่างไร
คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ
(Gulf Cooperation Council : GCC)
เป็นตัวแสดงหนึ่งที่แสดงบทบาทเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น GCC
ประกอบด้วยประเทศซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์และบาห์เรน
เป็นกลุ่มประเทศที่ใกล้ชิด บางประเทศมีพรมแดนติดกับอิรัก ความเป็นไปของ IS หรือแม้กระทั่งสถานการณ์ภายในอิรักส่งผลต่อ GCC
โดยตรง เป็นเรื่องซับซ้อนวิเคราะห์ได้หลายแง่มุมและถกเถียงกันได้มาก
บทความนี้จะนำเสนอในแง่มุมต่างๆ
เพื่อให้เห็นภาพที่ครอบคลุม
GCC :
คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ
ก่อตั้งเมื่อปี 1981 มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมความร่วมมือด้านการทหาร
เศรษฐกิจและการเมือง หากพูดให้ตรงคือเพื่อต้านภัยคุกคามที่เข้ามาในภูมิภาค โดยเฉพาะการปฏิวัติอิหร่าน
(1979) หวังว่าความร่วมมือ GCC
จะเป็นการผนึกกำลังเพื่อต้านอิหร่านโดยตรง
3 ทศวรรษที่ผ่านมาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจมีความก้าวหน้ามากที่สุด
สอดคล้องกับที่ GCC
มีพลังอำนาจด้านเศรษฐกิจมากที่สุดเนื่องจากเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก เมื่อรวมกันแล้วมีปริมาณน้ำมันสำรองราวร้อยละ
40 ของโลก และก๊าซธรรมชาติร้อยละ 25 (ตัวเลขเมื่อปี 2014)
ส่วนความร่วมมือด้านความมั่นคงพัฒนาช้ากว่า
ในปี 1984 ได้จัดตั้งหน่วยรบเคลื่อนที่เร็วร่วม ที่เรียกว่า Peninsula
Shield Force และกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วเมื่อไม่กี่ปีมานี้
GCC ได้หรือเสียต้องคิดอย่างซับซ้อน :
หากอิรักชนะ
IS แล้วจะมีทั้งผลดี ผลเสียต่อ GCC ในการวิเคราะห์จึงขอแยกพิจารณาผลดี
ผลเสีย และวิเคราะห์ภาพรวมในตอนจบ
ผลดี : ได้ปราบ IS
ในแง่มุมหนึ่ง IS เป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาล GCC เพราะต้องการสร้างรัฐอิสลามตามแบบฉบับของตน นายอาบู บาการ์ อัล-บักดาดี (Abu
Bakr al-Baghdadi) ผู้นำ IS ประกาศว่าตนคือ “เคาะลีฟะฮ์”
(Khalifah) หรือ “กาหลิบ” (Caliph) เป็นผู้นำมุสลิมทั้งปวง
ประกาศให้กลุ่ม รัฐ องค์กรมุสลิมทั่วโลกเชื่อฟังตนในฐานะผู้นำรัฐอิสลาม
ถ้ายึดถือตามคำประกาศของบักดาดี
บรรดาประเทศใน GCC ต้องมานบนอบอยู่ใต้ IS
การสถาปนารัฐอิสลาม
(caliphate) เป็นหนึ่งในแนวคิดของมุสลิมมานานแล้ว
หลายคนถือว่าอาณาจักรออตโตมัน (Ottoman)
คือตัวอย่างรูปแบบรัฐอิสลามดังกล่าว มีคัมภีร์กุรอ่านเป็นธรรมนูญสูงสุด เป็นปรัชญาการปกครองหลักของนิกายซุนนี
ผู้นำจะมาจากการคัดเลือกของสภาซูรอ (al-shura) อันเป็นสภาที่รวมของผู้นำศาสนา
(อิหม่าม)
ในประวัติศาสตร์ ระบบเคาะลีฟะฮ์ขึ้นๆ ลงๆ แข่งกันระบบราชวงศ์
(ในระบบราชวงศ์กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดในเขตแดน แยกอำนาจฝ่ายโลกออกจากศาสนา
แม้จะปกครองโดยอิงหลักอิสลาม) มีอำนาจทั้งในฝ่ายศาสนาและฝ่ายโลก
แต่หลายศตวรรษต่อมาเกิดการแยกอำนาจศาสนจักรออกจากอาณาจักรฝ่ายโลก
และเคาะลีฟะฮ์องค์สุดท้ายอันเป็นที่ยอมรับทั่วไปคือ Sultan Abdul Majeed II แห่งอาณาจักรออตโตมัน
จากข้อมูลประวัติศาสตร์
มีเคาะลีฟะฮ์มาแล้ว 31 พระองค์ หากยอมรับบักดาดี เท่ากับว่าได้เคาะลีฟะฮ์องค์ที่
32 แล้ว
จนบัดนี้ประชาคมโลกไม่ยอมรับรัฐอิสลามของบักดาดี
อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้เป็นภัยร้ายแรงในทุกระดับ การที่ประชาชนในกลุ่ม GCC เข้าร่วมจำนวนมาก เป็นผู้สนับสนุนทั้งทางตรงทางอ้อม สะท้อนว่าอุดมการณ์ IS มีผลต่อประชาชนของพวกเขา โดยเฉพาะพวกซุนนีกับมุสลิมสุดโต่งบางคนบางกลุ่ม
ถ้าพิจารณาอุดมการณ์ IS ในระดับบุคคล IS มุ่งหวังเปลี่ยนมุสลิมทั่วโลกหันมานับถืออิสลามตามแนวทางของตนเอง กลุ่มเป้าหมายสำคัญคือพวกซุนนี
ส่วนพวกชีอะห์ ศาสนาความเชื่ออื่นๆ จะถูกกวาดล้างหรือทำให้กลายเป็นทาส
นักการศาสนา
องค์กรมุสลิมกระแสหลักจึงไม่ยอมรับ IS เป็นมุสลิมแท้
เช่นเดียวกับที่ IS ไม่ยอมรับมุสลิมกระแสหลัก
นโยบายของ GCC ต่อ IS
:
ประการแรก
ปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย IS/ISIL/ISIS
อดีตกษัตริย์อับดุลลาห์ บิน อะซิซ (King Abdullah
bin Abdul Aziz) แห่งซาอุดีอาระเบีย (ที่เพิ่งเสด็จสวรรคตเมื่อต้นปี)
ประกาศจะปราบปราม “กลุ่มผู้ก่อการร้าย” ที่จะคุกคามราชอาณาจักร ชี้ว่าบางคน
“ถูกล่อลวง” ให้เข้าลัทธิก่อการร้าย “ผู้ก่อการร้ายใช้ศาสนาเป็นเครื่องบังหน้าเพื่อปกปิดผลประโยชน์ส่วนตัว”
หวังโจมตีบ้านเกิดของเรา ลูกหลานของเรา
“เป้าหมายของพวกเขาคือหว่านความแตกแยกในหมู่มุสลิม”
เจ้าชาย
Saud Al-Faisal รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศซาอุดีอาระเบียชี้ว่า
IS “เป็นปีศาจ (evil)
และทำให้ภาพลักษณ์ของศาสนาอิสลามอันยิ่งใหญ่ต้องมัวหมอง”
การปราบปราม
IS ของซาอุฯ กับประเทศในกลุ่ม GCC
ผูกโยงกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลโอบามาอย่างใกล้ชิด
โดยใช้กำลังรบทางอากาศสกัดกั้นไม่ให้ IS
รุกคืบเพิ่มเติมและบั่นทอนกำลังเรื่อยๆ พร้อมกับปิดล้อมทางเศรษฐกิจ
ตัดเส้นทางการเงิน ตามด้วยแผนขั้นสุดท้ายคือ ให้กองทัพอิรักเข้ากวาดล้าง
สมาชิก GCC ทั้ง 6 ประเทศกับชาติอาหรับอื่นๆ
เช่น อิรัก จอร์แดน เลบานอน ต่างร่วมสนับสนุน กองทัพอากาศของซาอุฯ กาตาร์
บาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เข้าร่วมปฏิบัติการโจมตี IS ข้อมูลของสหรัฐฯ
ชี้ว่าการโจมตีทางอากาสได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถสังหารผู้ก่อการร้ายได้หลายพันคน
ทำลายยานพาหนะ รถถังนับร้อยคัน
ประการที่ 2 สนับสนุนเอกภาพและบูรณาภาพแห่งดินแดนของอิรัก
มีนาคม 2015 คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับประกาศไม่ต้องการให้ต่างชาติแทรกแซงกิจการภายในอิรักจากเหตุวิกฤตในขณะนี้
“GCC
รัฐอาหรับยืนยันสนับสนุนเอกภาพและบูรณาภาพแห่งดินแดนของอิรัก เพื่อที่รัฐบาลอิรักจะสามารถรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพภายในอิรัก
และสนับสนุนการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ยอมรับอธิปไตยของอิรักตลอดอาณาเขตทั้งหมด”
การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวประชาชนอิรักทุกหมู่เหล่าจะต้องร่วมมือกัน
ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของประเทศ มีความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียว
นโยบายสนับสนุนเอกภาพและบูรณาภาพแห่งดินแดนของอิรัก
เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของ GCC เรื่อยมา ในขณะที่อิรักในยามนี้ประเทศเหมือนแยกออกเป็น
3 เขตการปกครองตนเอง (ทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัย) คือ เขตชีอะห์
เขตชาวเคิร์ด และเขต IS ร่วมกับซุนนี
อนาคตของอิรักยังไม่แน่นอนตราบเท่าที่พวกซุนนียังไม่พอใจรัฐบาลที่นำโดยชีอะห์
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
IS
เป็นภัยคุกคามที่เด่นชัดทั้งต่อราชอาณาจักรและปัจเจกบุคคล
การต่อต้าน IS จึงเท่ากับช่วยเหลือประเทศตนเอง
ในภาพกว้าง
การปรากฏตัวของ IS ส่งเสริมบทบาทของ GCC ทั้งด้านการเมืองระหว่างประเทศและศาสนา
ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ
ได้ส่งเสริมบทบาทเป็นผู้นำในโลกอาหรับ โดยเฉพาะซาอุฯ ที่พยายามแสดงบทบาทนี้มาตลอด และพยายามจะแสดงบทบาทของ
GCC มากขึ้น
มีความเข้าใจที่สำคัญว่านับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่
2 รัฐบาลซาอุฯ
กับหลายประเทศในกลุ่มต้องพึ่งพาความมั่นคงจากอเมริกามาตลอด
นักวิชาการบางคนชี้ว่าในระยะหลังซาอุฯ
ต้องการเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น พัฒนาประเทศร่วมกับภูมิภาค ลดการพึ่งพาสหรัฐ เพราะบางครั้งรัฐบาลสหรัฐไม่ค่อยฟังเสียง
ฟังความต้องการของซาอุฯ อีกทั้งซาอุฯ กับพวกในปัจจุบันมีความเข้มแข็งกว่าอดีต
พยายามค้นหาเส้นทางอนาคตที่ไม่อิงชาติตะวันตกเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
แสวงหาความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ หาตลาดส่งออกน้ำมันใหม่ๆ รวมถึงการค้าขายกับจีน
2-3 ปีที่ผ่านมา GCC มุ่งพัฒนาสู่การเป็นสหภาพ
(คล้ายสหภาพยุโรป) หวังกระชับความร่วมมือในหมู่สมาชิกทุกด้าน แม้กระทั่งด้านการทหารที่พัฒนาช้า
ความร่วมมือด้านการทหารในอนาคตอาจนำสู่การจัดตั้งกองกำลังร่วมทั้งในระดับ
GCC และระดับที่ใหญ่กว่า ที่กำลังพูดถึงล่าสุดคือกองกำลังร่วมอาหรับเพื่อต่อต้านผู้ก่อการร้าย
กองกำลังสุดโต่ง
หาก GCC และ/หรือสันนิบาตรอาหรับบรรลุการจัดตั้งหน่วยรบร่วม
บริบทความมั่นคงในภูมิภาคจะเปลี่ยนแปลงใหญ่อีกครั้ง การจัดตั้งหน่วยรบร่วมมีความเป็นไปได้เมื่อพิจารณาจากบริบทความมั่นคงในภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลง
ความสัมพันธ์อันดีภายใน GCC และ GCC
กับประเทศอื่นๆ เช่น อียิปต์ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น
ในด้านศาสนา
GCC คือกองกำลังหลักของมุสลิมที่ต่อต้านผู้ก่อการร้าย อดีตกษัตริย์อับดุลลาห์
บิน อะซิซ ตรัสว่า
“เราจะไม่หยุดพักจนกว่าจะถอนรากถอนโคนลัทธิก่อการร้ายและกลุ่มสอนผิด
ที่ใช้อิสลามเป็นสะพานสู่เป้าหมายของพวกเขา” มุสลิมสอนให้อยู่ร่วมกับคนกลุ่มอื่นๆ
อย่างสันติ
ในแง่นี้
GCC จึงทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์อิสลาม เป็นอีกบทบาทที่ต้องจับตา
ตอนต่อไปจะวิเคราะห์ผลกระทบด้านลบต่อ
GCC หากอิรักสามารถปราบ IS
22 มีนาคม 2015
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6710 วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2558)
-----------------------
เมื่อรัฐบาลอิรักเปิดฉากโจมตีเพื่อยึดคืนเมืองทิกริตจากกองกำลังรัฐอิสลาม
(IS/ISIL/ISIS)
รัฐบาลโอบามาแสดงความกังวลว่าความขัดแย้งระหว่างซุนนี-ชีอะห์ในอิรักจะรุนแรงกว่าเดิม
ทั้งๆ ที่รัฐบาลสหรัฐประกาศว่า IS
เป็นภัยคุกคามต่อโลกและสหรัฐ จะต้องปราบปรามให้ราบคาบ
และก่อนหน้าที่มีกระแสข่าวเรียกร้องให้อิหร่านส่งทหารเข้าร่วมรบทางภาคพื้นดิน
และดูเหมือนว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่เห็นชอบที่ชาวชีอะห์อิรักจะทำหน้าที่ปกป้องมาตุภูมิของตน
รัฐบาลอิหร่านปัจจุบันต้องการปรับความสัมพันธ์รอบทิศกับประเทศเพื่อนบ้าน
การเปลี่ยนตัวนายกฯ มาลิกี จึงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องราวของอิหร่านโดยตรง
ทั้งในส่วนที่อิหร่านเกี่ยวข้องกับการเมืองอิรัก
ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคตะวันออกกลาง
และความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ อาจมีผลต่อการเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์อิหร่านที่กำลังเข้มข้นในขณะนี้
รองประธานาธิบดีไบเดนอ้างว่ารัฐบาลตุรกี ซาอุดิอาระเบีย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ ให้เงินและอาวุธกับผู้ก่อการร้าย รวมทั้งกลุ่ม IS
แม้ว่าทำเนียบขาวจะชี้แจงว่าท่านไม่ได้ตั้งใจหมายความเช่นนั้นจริง
แต่เป็นอีกข้อมูลอีกชิ้นที่ชี้ว่าชาติอาหรับให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย
และเกิดคำถามว่าคำพูดของท่านสร้างความกระจ่างหรือสร้างความสับสนกันแน่
4. GCC เดือดร้อน?หากอิรักชนะ IS (2)
GCC ประกาศชัดให้อัสซาดก้าวลงจากอำนาจ บางประเทศให้ความช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านอย่างเปิดเผย ให้ทั้งเงิน อาวุธ หาก IS ในอิรักพ่ายแพ้จะเป็นข่าวร้ายของ GCC พิสูจน์ว่าพวกชีอะห์อิรักมีความเข้มแข็งที่จะปกครองประเทศต่อไป ในภาพรวมสะท้อนความเข้มแข็งของชีอะห์ “จันทร์เสี้ยวชีอะห์” พิสูจน์ตนเองอีกครั้งว่าเข้มแข็งกว่าเดิม กระทบต่ออนาคตของ GCC อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
6. ใครได้ใครเสีย หากอิรักชนะ IS (Ookbee)
สมรภูมิทิกริตไม่ใช่่เรื่องการปราบปรามผู้ก่อการร้าย IS ในอิรักเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายหลายประเทศ ที่ควรเอ่ยถึงได้แก่ 1.ชีอะห์อิรัก 2.อิหร่าน 3.ซุนนีอิรัก 4.พวกเคิร์ด 5.ซีเรีย 6.IS/ISIL/ISIS 7.รัฐบาลสหรัฐฯ 8.GCC ผลลัพธ์ที่ตามมาไม่ได้มีต่อการเมืองอิรักเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบภูมิภาคตะวันออกกลาง เกี่ยวข้องกับชาติมหาอำนาจ
บรรณานุกรม :
เนื่องจากรัฐบาลอิรักเห็นว่า GCC มีส่วนสนับสนุน IS ส่วน GCC
มองว่ารัฐบาลอิรักในปัจจุบันคือพวกชีอะห์ ดังนั้นหาก IS
พ่ายแพ้เท่ากับทำให้อิรักเข้มแข็งขึ้น ยิ่งใกล้ชิดกับอิหร่าน
ส่งผลให้อิหร่านซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่แข็งแกร่งกว่าเดิม
5. GCC เดือดร้อน?หากอิรักชนะ IS (3)GCC ประกาศชัดให้อัสซาดก้าวลงจากอำนาจ บางประเทศให้ความช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านอย่างเปิดเผย ให้ทั้งเงิน อาวุธ หาก IS ในอิรักพ่ายแพ้จะเป็นข่าวร้ายของ GCC พิสูจน์ว่าพวกชีอะห์อิรักมีความเข้มแข็งที่จะปกครองประเทศต่อไป ในภาพรวมสะท้อนความเข้มแข็งของชีอะห์ “จันทร์เสี้ยวชีอะห์” พิสูจน์ตนเองอีกครั้งว่าเข้มแข็งกว่าเดิม กระทบต่ออนาคตของ GCC อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
6. ใครได้ใครเสีย หากอิรักชนะ IS (Ookbee)
สมรภูมิทิกริตไม่ใช่่เรื่องการปราบปรามผู้ก่อการร้าย IS ในอิรักเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายหลายประเทศ ที่ควรเอ่ยถึงได้แก่ 1.ชีอะห์อิรัก 2.อิหร่าน 3.ซุนนีอิรัก 4.พวกเคิร์ด 5.ซีเรีย 6.IS/ISIL/ISIS 7.รัฐบาลสหรัฐฯ 8.GCC ผลลัพธ์ที่ตามมาไม่ได้มีต่อการเมืองอิรักเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบภูมิภาคตะวันออกกลาง เกี่ยวข้องกับชาติมหาอำนาจ
สนใจอีบุ๊ค คลิกที่รูป |
1. จรัญ มะลูลีม, ผศ.ดร. (2558) Islamic
State ในอิรักและซีเรีย ใน
เอกสารประกอบการประชุมเชิงสัมมนาทางวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษา ครั้งที่ 2/2558 อาเซียนกับแนวโน้มการก่อการร้ายในอนาคต ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
2. ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (2557) ISIS กับการเปลี่ยนแปลงในตะวันออกกลาง จุลสารศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์, ฉบับที่ 9 ปี 2557, 32-33
3. Alliance to curb flow of funds, fighters to Islamic
State. (2014, September 12). Arab News. Retrieved from http://www.arabnews.com/news/628601
4. Arab Gulf states reject Iran’s role in Iraq. (2015, March
13). Al Arabiya News. Retrieved from http://english.alarabiya.net/en/News/middle-east/2015/03/12/Arab-Gulf-states-reject-Iran-s-role-in-Iraq.html
5. Dakroub, Hussein. (2014, September 24). Nasrallah:
Lebanon must not join U.S. anti-terror coalition. The Daily Star.
Retrieved from http://www.dailystar.com.lb/News/Lebanon-News/2014/Sep-24/271761-nasrallah-lebanon-must-not-join-us-anti-terror-coalition.ashx#axzz3EDmpEZ7V
6. Isil terrorists do not represent Islam. (2014, August
18). Gulf News. Retrieved from
http://gulfnews.com/opinions/editorials/isil-terrorists-do-not-represent-islam-1.1373601
7. King: No rest until we wipe out terror. (2014, October
6). Arab News/AP. Retrieved from http://www.arabnews.com/featured/news/640341
8. Lippman, Thomas W.
(2011). Saudi Arabia: A Controversial Partnership. In Akbarzadeh, Shahram (editor).
America's Challenges in the Greater Middle East: The Obama Administration's
Policies (pp.31-52). New York: Palgrave Macmillan.
9. Nakhleh, Emilea. Updated by Toth, Anthony B. (2004). GULF
COOPERATION COUNCIL. In The Encyclopedia of the Modern Middle East and North
Africa. (2nd Ed., pp.948-949). USA: Thomson Gale
10. Napoleoni, Loretta. (2014). The Islamist Phoenix: The
Islamic State and the Redrawing of the Middle East. New York: Seven Stories
Press.
11. Nordland, Rod. (2014, June 30). Russian Jets And Experts
Sent to Iraq To Aid Army. The New York Times. Retrieved from http://www.nytimes.com/2014/06/30/world/middleeast/iraq.html?_r=0
12. Saudi king vows to crush terrorists. (2014, June 29). Gulf
News. Retrieved from http://gulfnews.com/news/gulf/saudi-arabia/saudi-king-vows-to-crush-terrorists-1.1353522
13. ‘Urgent need’ for unified Arab force to counter
radicals. (2015, March 10). Arab News. Retrieved from
http://www.arabnews.com/news/716291
14. Wahab, Siraj. (2014, September 12). US-Arab coalition
vows to crush. Arab News. Retrieved from http://www.arabnews.com/featured/news/629026
15. Weiler, Thomas J. (2010). Gulf Cooperation Council. In The
Encyclopedia of Middle East Wars: The United States in the Persian Gulf,
Afghanistan, and Iraq Conflicts. (p.503). California : ABC-CLIO, LLC.
---------------------------------