บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2015

GCC เดือดร้อน? หากอิรักชนะ IS (2)

รูปภาพ
คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) เป็นตัวแสดงหนึ่งที่เกี่ยวข้อง ความเป็นไปของ IS หรือแม้กระทั่งสถานการณ์ภายในอิรักส่งผลต่อ GCC โดยตรง ในแง่ผลบวก IS เป็นภัยคุกคามที่เด่นชัดทั้งต่อราชอาณาจักรและประชาชน การต่อต้าน IS จึงเท่ากับช่วยเหลือประเทศตนเอง ทั้งยังชูบทบาทของ GCC ในภูมิภาค การเป็นผู้พิทักษ์อิสลาม อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลอิรักสามารถปราบ IS จะส่งผลเสียต่อ GCC เช่นกัน ดังนี้ ผลเสียประการแรก ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอิรักกับอิหร่าน :             อิหร่านเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่ออิรักโดยธรรมชาติ ผูกโยงกับความเป็นชีอะห์ เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองสายชีอะห์ในอิรัก และผลประโยชน์เฉพาะของแต่ละรัฐบาล เป็นเหตุผลให้ประเทศอาหรับกังวลใจ ประเด็นนี้เป็นเรื่องเก่า แต่มักจะถูกเอ่ยถึงเป็นระยะ เช่น พฤษภาคม 2004 ในช่วงที่กำลังเจรจาคืนอธิปไตยแก่อิรัก กษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่สองแห่งจอร์แดน (King Abdullah II) แสดงจุดยืนว่าจอร์แดนจะไม่ส่งทหารเข้าไปและขอให้ประเทศเพื่อนบ้านอิรักอื่นๆ ทำตามด้วย “ พวกเราต่างมีความประสงค์บางอย่าง เป็นการยั่วยว...

GCC เดือดร้อน? หากอิรักชนะ IS (1)

รูปภาพ
สมรภูมิทิกริต (Tikrit) ที่กองทัพอิรักร่วมกับชีอะห์อิรักเข้าต่อสู้กับพวกรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) กำลังเป็นที่ข่าวขาน ที่ผ่านมามีข้อมูลชี้ชัดว่าพวกซุนนีอิรักบางกลุ่มบางเผ่าให้ความร่วมมือ IS เป็นต้นเหตุสำคัญช่วย IS ยึดหลายเมืองอย่างรวดเร็ว มาบัดนี้ ฝ่ายรัฐบาลโต้กลับและดูเหมือนว่าเป็นฝ่ายมีชัย เกิดคำถามว่าหาก IS พ่ายแพ้ จะเป็นผลดีผลเสียต่อแต่ละฝ่ายอย่างไร คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC ) เป็นตัวแสดงหนึ่งที่แสดงบทบาทเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น GCC ประกอบด้วยประเทศซาอุดีอาระเบีย   คูเวต   โอมาน   สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์และบาห์เรน เป็นกลุ่มประเทศที่ใกล้ชิด บางประเทศมีพรมแดนติดกับอิรัก ความเป็นไปของ IS หรือแม้กระทั่งสถานการณ์ภายในอิรักส่งผลต่อ GCC โดยตรง เป็นเรื่องซับซ้อนวิเคราะห์ได้หลายแง่มุมและถกเถียงกันได้มาก             บทความนี้จะนำเสนอในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพที่ครอบคลุม GCC : คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ ก่อตั้งเมื่อปี 1981 มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมความร่วมมือด...

นิวเคลียร์อิหร่านกับวาทกรรมของรัฐบาลโอบามา พรรครีพับลิกัน และนายกฯ เนทันยาฮู

รูปภาพ
โครงการนิวเคลียร์อิหร่านที่กำลังเจรจาเพื่อหาข้อตกลงฉบับถาวร กลายเป็นประเด็นร้อนเมื่อเบนจามิน เนทันยาฮู (Benjamin Netanyahu) นายกรัฐมนตรีอิสราเอลกล่าวสุนทรพจน์พาดพิงรัฐบาลโอบามา เกิดวิวาทะระหว่างนายกฯ เนทันยาฮู รัฐบาลโอบามาและคนของพรรครีพับลิกัน วาทะเนทันยาฮู สมาชิกพรรครีพับลิกัน : นายกฯ  เนทันยาฮูได้รับเชิญจากพรรครีพับลิกันให้มาเยือนอเมริกา แสดงสุนทรพจน์ใจความว่าข้อตกลงที่รัฐบาลโอบามากำลังจะทำกับอิหร่าน “เป็นข้อตกลงที่แย่ แย่มาก ไม่มีข้อตกลงยังดีเสียกว่า” เพราะ “ไม่ป้องกันอิหร่านที่จะสร้างระเบิด” เห็นว่าสหรัฐควรเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรจนกว่าอิหร่านจะยอมละทิ้งโครงการนิวเคลียร์ทั้งหมด             ตลอดช่วงเวลาที่นายกฯ เนทันยาฮูเยือนสหรัฐ คนของพรรครีพับลิกันออกมากล่าวสนับสนุน วุฒิสมาชิกรีพับลิกัน 47 คนออกจดหมายเปิดผนึกถึงผู้นำประเทศอิหร่านเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ประกาศว่าประธานาธิบดีคนต่อไป (ชี้ว่าหมายถึงคนจากพรรครีพับลิกัน) อาจแก้ไขข้อตกลงใดๆ ที่ไม่ผ่านรัฐสภา และรัฐสภาในอนาคตอาจปรับแก้ข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้น    ...

สมรภูมิทิกริต ตรรกะของรัฐบาลโอบามา

รูปภาพ
1 มีนาคม ไฮเดอร์ อัล-อาบาดี (Haider al-Abadi) นายกรัฐมนตรีอิรักเรียกร้องให้กองกำลังซุนนีอิรักที่สนับสนุนกองกำลังรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) ถอนตัวออกจาก IS ประกาศว่ากองกำลังรัฐบาลพร้อมเข้าปราบผู้ก่อการร้ายในเมืองทิกริต (Tikrit) บ้านเกิดของอดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน             ทิกริตตกอยู่ในความควบคุมของ IS ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายนปีที่แล้ว เมืองนี้เดิมมีประชากรราว 260,000 คน เกือบทั้งหมดเป็นซุนนี ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา กองทัพรัฐบาลสามารถยึดพื้นที่คืนบางจุด และเคยพยายามยึดทิกริตคืนแต่ล้มเหลวเรื่อยมา สมรภูมิทิกริตจึงสำคัญ วัดขีดความสามารถของฝ่ายรัฐบาล นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าจะจะเกิดสงครามนองเลือดในเมือง เนื่องจากชาวเมืองเป็นพวกซุนนี             วันถัดมากองทัพรัฐบาลอิรักร่วมกับกองกำลังชีอะห์อิรักบุกเมืองทิกริต เปิดฉากการรบครั้งใหญ่ที่สุดของฝ่ายรัฐบาล แหล่งข่าวระบุว่าฝ่ายรัฐบาลระดมทหารราว 15,000 นาย ร่วมกับกองกำลังชีอะห์อีก 15,000 นายเข้าร่วมรบ พร้อมปืนใหญ่และเครื่องบินรบ...

หลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” (preemption) : จากบุชถึงโอบามา

รูปภาพ
“รายงานยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ” ( National Security Strategy Report ) ฉบับ 2015 ที่นำเสนอต่อสาธารณชนเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ยังคงชี้ว่าการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามสำคัญ เมื่อย้อนมองอดีตเป็นที่ทราบทั่วไปว่า การก่อการร้ายกลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงหลังเหตุวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุช ( George W. Bush ) เอ่ยถึงหลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” ( preemption ) เป็นครั้งแรก ชี้ว่ายุทธศาสตร์ป้องปรามและปิดล้อมที่ใช้ในยุคสงครามเย็นไม่เหมาะสมอีกต่อไป “ถ้าเรารอให้ภัยคุกคามก่อตัวจนเต็มที่ เรารอนานเกินไป เราต้องสู้กับศัตรู ทำลายแผน และเผชิญหน้าภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดก่อนที่ภัยจะปะทุออกมา” กันยายน 2002 รัฐบาลบุชประกาศยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ บรรจุหลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” นับจาก 11 กันยายน 2001 บัดนี้เข้าสู่ปีที่ 14 ที่สหรัฐยังคงทำสงครามต่อต้านก่อการร้าย บทความนี้จะนำเสนอหลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” พร้อมข้อวิพากษ์ ดังนี้ ย้อนดูประวัติศาสตร์ และนิยาม :             หลัก “ชิงลงมือก่อน” ไม่ใช่เรื่อ...