ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2015
รวบรวมบทความ บทวิเคราะห์ทั้งหมดของปี 2015 ที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อ หน่วยงาน องค์กรต่างๆ
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก" ไทยโพสต์ เป็นคอลัมน์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ และจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ “สถานการณ์โลก” หลังจากตีพิมพ์แล้วอย่างน้อย 1 วัน
ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2015
5. มูลเหตุที่ต้องเปลี่ยนตัวนายกมาลิกี (ตอนจบ)
รัฐบาลอิหร่านปัจจุบันต้องการปรับความสัมพันธ์รอบทิศกับประเทศเพื่อนบ้าน การเปลี่ยนตัวนายกฯ มาลิกี จึงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องราวของอิหร่านโดยตรง ทั้งในส่วนที่อิหร่านเกี่ยวข้องกับการเมืองอิรัก ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคตะวันออกกลาง และความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ อาจมีผลต่อการเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์อิหร่านที่กำลังเข้มข้นในขณะนี้
ตีพิมพ์ใน นิตยสารหนังสือข่าวทหารอากาศ ปีที่ 75 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2558
สภาพความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ในอดีต
ปัจจุบัน รวมทั้งอนาคตเกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นสำคัญ
ความสำคัญของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือเพื่อแสวงหา
การบรรลุถึงเป้าหมายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี ที่มีคุณค่า มีประโยชน์
ทั้งในระดับองค์กรจนถึงระดับปัจเจกบุคคล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลเป็นอย่างไรสะท้อนประชาชนเจ้าของประเทศ
หากจะให้รัฐมีสัมพันธ์ต่อกันที่ดีกว่านี้ ต้องแก้ไขที่ตัวประชาชนก่อน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6633
วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2063030
กรณี “ชาร์ลีเอ็บโด” สังคมควรตั้งคำถามว่าผู้ก่อเหตุยิงสังหารกระทำตามหลักอิสลามหรือไม่
หรือว่าเป็นพวกบิดเบือนศาสนา เข้าใจหลักศาสนาผิดพลาด ในอีกด้านหนึ่ง
การล้อเลียนโดยอ้างว่าเป็นเรื่องของการใช้เสรีภาพ ไม่ช่วยสร้างสรรค์สังคม
เป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความแตกแยก ความเกลียดชัง
เพราะเป็นที่รับรู้ทั่วไปอยู่แล้วว่าการลบหลู่อิสลามสร้างความแตกแยกในสังคม
เป็นต้นเหตุความรุนแรง สังคมควรส่งเสริมพวกสุดโต่งเหล่านี้หรือไม่
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6640
วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2067940
เมื่อพูดถึงการสกัดกั้นการแผ่ขยายของกลุ่มก่อการร้าย
คำตอบคือ ต้องไม่ปล่อยให้ผู้ก่อการร้ายมีเงื่อนไขที่จะก่อเหตุ เราไม่อาจป้องกันเหตุก่อการร้ายทั้งหมด
จึงต้องมุ่งลดความเสี่ยง จำกัดขอบเขตความสูญเสีย เสรีนิยมแบบตะวันตกมีข้อดีที่ให้เสรีภาพในการแสดงออก
เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่มีปัญหาเรื่องเสรีภาพที่ขัดแย้งกับความศรัทธาในศาสนา รัฐบาลที่ยึดมั่นในเสรีนิยมเช่นนี้จำต้องบริหารจัดการให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
ไม่ใช่เอาน้ำมันราดกองไฟ เพราะจะก่อให้เกิดคำถามข้อสงสัยตามมาอีกหลายข้อ
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6647
วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2072889
นูรี อัลมาลิกี (Nouri Al-Maliki) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง หลังกองทัพสหรัฐฯ
ถ่ายโอนอำนาจการปกครองคืนแก่ชาวอิรัก ความไม่พอใจของพวกซุนนี การก่อการของ IS และรัฐบาลโอบามาตัดสินใจยุติสนับสนุนนายกฯ มาลิกี เป็นเหตุผลแรกที่ต้องเปลี่ยนตัวผู้นำประเทศอิรัก
การที่รัฐบาลมาลิกีร่วมมือกับอิหร่านและซีเรียมากขึ้น เกิดภาพของขั้ว “ผู้นำชีอะห์”
เป็นเหตุผลที่ 2
ตีพิมพ์ใน นิตยสารหนังสือข่าวทหารอากาศ
ปีที่ 74 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2557
5. มูลเหตุที่ต้องเปลี่ยนตัวนายกมาลิกี (ตอนจบ)
รัฐบาลอิหร่านปัจจุบันต้องการปรับความสัมพันธ์รอบทิศกับประเทศเพื่อนบ้าน การเปลี่ยนตัวนายกฯ มาลิกี จึงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องราวของอิหร่านโดยตรง ทั้งในส่วนที่อิหร่านเกี่ยวข้องกับการเมืองอิรัก ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคตะวันออกกลาง และความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ อาจมีผลต่อการเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์อิหร่านที่กำลังเข้มข้นในขณะนี้
ตีพิมพ์ใน นิตยสารหนังสือข่าวทหารอากาศ ปีที่ 75 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2558
ในช่วงปี 2000-07 รัฐบาลใช้เงินกู้จำนวนมหาศาล
เศรษฐกิจเติบโตชั่วคราว จีดีพีเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 4.5 อัตราว่างงานลดลงเหลือร้อยละ
7 ในปี 2008 แต่พบว่าการเก็บภาษีไม่ได้เพิ่มขึ้นตามสัดส่วน ฐานะเศรษฐกิจของกลุ่มคนยากจนไม่ดีกว่าเดิมมากนัก
หนี้สินภาครัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การทุจริตคอร์รัปชันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
จากการศึกษาพบว่าเป็นต้นเหตุสำคัญพาประเทศสู่วิกฤต
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6654
วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2078255
เรื่องที่ต้องระวังยิ่งยวดคือกลายเป็นสงครามระหว่างมุสลิมกับคนที่ไม่ใช่มุสลิม
ในระบอบประชาธิปไตยพลเมืองที่เป็นพวกยิวหรือมุสลิมต่างเป็นส่วนหนึ่งของ “บ้าน”
หลังใหญ่ที่ชื่อว่าประเทศ
บ้านที่อยู่ร่วมกันอย่างปรองดองเท่านั้นที่คนในบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข
ไม่ใช่เพื่อบางคนบางกลุ่มแต่เพื่อทุกคนที่อาศัยในบ้านหลังเดียวกันนี้
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2558,
http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1416
11. ปริศนาการตายของยัสเซอร์อาราฟัต (Ookbee)
ยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นบุคคลสำคัญของโลก ได้ชื่อว่าเป็นผู้ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ ชีวิตของท่านตั้งแต่วัยหนุ่มเต็มด้วยการต่อสู้ ฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ มีผู้พยายามสังหารท่านหลายครั้ง แต่สามารถหลบรอดคมห่ากระสุนอย่างหวุดหวิด จนกระทั่งคืนวันที่ 12 ตุลาคม 2004 ท่านล้มป่วยกะทันหันอย่างรุนแรงในบ้านพักของท่านเอง ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่าท่านเสียชีวิตด้วยพอโลเนียม-210
พรรคซีริซากลายเป็นพรรคฝ่ายซ้ายหน้าใหม่ที่ชนะการเลือกตั้งกวาดที่นั่งในสภาเกือบครึ่ง
ได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศเป็นครั้งแรก ในช่วงหาเสียงอเล็กซิส ซีปราส
หัวหน้าพรรคและขณะนี้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประกาศต้องการระงับมาตรการรัดเข็มขัด
หลังชาวกรีกต้องทนทุกข์กับมาตรการดังกล่าวเกือบ 5 ปี
แต่ยังไม่เห็นวี่แววว่ารัฐบาลจะสามารถแก้วิกฤต รัฐบาลซีปราสกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับทรอยกา
ทางเลือกที่เป็นไปได้มี 3 ทาง แต่สุดท้ายจะเป็นทางใดเป็นเรื่องที่ควรติดตาม
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6661
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2083444
ตอนที่กองกำลังไร้สังกัดเข้าควบคุมไครเมีย
สื่อนานาชาติหลายสำนักแสดงภาพถ่ายอย่างชัดเจนถึงการมีตัวตน แต่สถานการณ์ยูเครนตะวันออกในขณะนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
เกิดข้อสงสัยว่ามีกองกำลังรัสเซียอยู่จริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในเชิงทฤษฎีมีความเป็นไปได้ว่ารัสเซียให้การสนับสนุน
โดยเฉพาะด้านกระสุน กำลังบำรุง กลยุทธ์การรบ และการข่าวแก่ฝ่ายต่อต้านอย่างลับๆ
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6668
วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2088288
ตั้งแต่ยุคโบราณมนุษย์รู้จักยาพิษ
นำมาใช้เป็นอาวุธเรื่อยมา และเมื่อความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นมนุษย์เริ่มคิดค้นสารพิษใหม่ที่ร้ายแรงกว่าสารพิษที่พบตามธรรมชาติ
พอโลเนียม-210 คือตัวอย่างสารพิษที่มนุษย์แสวงหามานานแล้ว
นั่นคือสารพิษหรือยาพิษที่ไร้สีไร้กลิ่นไร้รส ไม่มีทางเยียวยาที่ได้ผลดี
ตรวจจับไม่ได้ (ยากแก่การตรวจจับ) ผู้เสียชีวิตมักเป็นบุคคลพิเศษ
บุคคลสำคัญทางการเมือง พอโลเนียม-210 จึงเป็นยาพิษสมัยใหม่ที่คิดค้นมาเพื่อจัดการบุคคลเหล่านี้
11. ปริศนาการตายของยัสเซอร์อาราฟัต (Ookbee)
ยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นบุคคลสำคัญของโลก ได้ชื่อว่าเป็นผู้ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ ชีวิตของท่านตั้งแต่วัยหนุ่มเต็มด้วยการต่อสู้ ฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ มีผู้พยายามสังหารท่านหลายครั้ง แต่สามารถหลบรอดคมห่ากระสุนอย่างหวุดหวิด จนกระทั่งคืนวันที่ 12 ตุลาคม 2004 ท่านล้มป่วยกะทันหันอย่างรุนแรงในบ้านพักของท่านเอง ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่าท่านเสียชีวิตด้วยพอโลเนียม-210
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง
พื้นที่ที่เป็นปัญหาในขณะนี้เป็นเพียงพื้นที่เล็กๆ เท่านั้น เป็นไปได้ว่ารัฐบาลโอบามาเห็นว่าจำต้องให้ความช่วยเหลือกองทัพยูเครนล้อมกรอบฝ่ายต่อต้านต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์บ่อนทำลายรัสเซีย
คาดว่าจะต้องดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ดัชนีราคาน้ำมันน่าจะเป็นตัวสะท้อนชี้ความขัดแย้งนี้
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6675
วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558,
http:// http://www.ryt9.com/s/tpd/2093580
ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศขึ้นกับผู้นำประเทศเป็นสำคัญ
รัสเซียในยุคปูตินกำลังฟื้นตัวตามลำดับ ปูตินเป็นนายกฯ สมัยแรกในปี 1999
และเป็นประธานาธิบดีสมัยแรกในปี 2000 จากนั้นครองอำนาจมาโดยตลอด หากทุกอย่างราบรื่นท่านน่าจะชนะการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี
2018 ได้เป็นประธานาธิบดีถึงปี 2024 รัสเซียคงจะเจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้นอีกมาก ภายใต้มุมมองของรัฐบาลสหรัฐย่อมเห็นว่าเป็นภัยคุกคาม
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6682
วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2098741
14. ยูเครนวิกฤตรัสเซียสู้ไม่ถอย (Ookbee)
ยูเครนเป็นประเทศที่น้อยคนจะรู้จัก เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต เริ่มเป็นรัฐอธิปไตยหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ตั้งแต่ปลายปี 2013 เกิดความขัดแย้งทางการเมืองที่บานปลายจนรัสเซียส่งกองกำลังเข้ายึดไครเมีย และเกิดสงครามกลางเมืองขนาดย่อมในฝั่งตะวันออกของประเทศ แต่ความสำคัญของสถานการณ์ยูเครนในขณะนี้คือการเผชิญหน้า ความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจ 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือรัสเซีย อีกฝ่ายคือสหรัฐฯ กับพันธมิตรอียู การเผชิญหน้าครั้งนี้อาจรุนแรงยืดเยื้อกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเนื่องจากรัฐบาลรัสเซียสู้ไม่ถอย
ยูเครนเป็นประเทศที่น้อยคนจะรู้จัก เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต เริ่มเป็นรัฐอธิปไตยหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ตั้งแต่ปลายปี 2013 เกิดความขัดแย้งทางการเมืองที่บานปลายจนรัสเซียส่งกองกำลังเข้ายึดไครเมีย และเกิดสงครามกลางเมืองขนาดย่อมในฝั่งตะวันออกของประเทศ แต่ความสำคัญของสถานการณ์ยูเครนในขณะนี้คือการเผชิญหน้า ความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจ 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือรัสเซีย อีกฝ่ายคือสหรัฐฯ กับพันธมิตรอียู การเผชิญหน้าครั้งนี้อาจรุนแรงยืดเยื้อกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเนื่องจากรัฐบาลรัสเซียสู้ไม่ถอย
หลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” ที่ประกาศในสมัยประธานาธิบดีบุชนิยามว่าเป็นส่งกองทัพเข้ารุกรานอย่างเปิดเผย
เป็นนิยามที่ไม่ครอบคลุม บิดเบือน จึงต้องกำหนดนิยามใหม่ อีกประเด็นที่ไม่ควรละเลยคือความเชื่อมโยงกับการส่งเสริมประชาธิปไตย
การค้าเสรี คำถามที่สำคัญคือ รัฐบาลโอบามาได้ละทิ้งหลักนิยม “ชิงลงมือก่อน”
หรือไม่ หรือเป็นเพียงปรับตัวให้เข้ากับบริบท
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6689
วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2104459
16. หนังสือ “สถานการณ์โลก 1” (Ookbee)
หนังสือ “สถานการณ์โลก 1” ประกอบด้วยบทความ 3
เรื่อง ได้แก่ 1.พอโลเนียม-210 ยาพิษปริศนา 2.ปริศนาการตายของยัสเซอร์ อาราฟัต และ
3. ยูเครนวิกฤต รัสเซียสู้ไม่ถอย
http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=95858cda-4eb2-4a6c-bc77-231630440551&affiliateCode=ee29488d843c40efac71e7e0937844f8
เมื่อรัฐบาลอิรักเปิดฉากโจมตีเพื่อยึดคืนเมืองทิกริตจากกองกำลังรัฐอิสลาม
(IS/ISIL/ISIS) รัฐบาลโอบามาแสดงความกังวลว่าความขัดแย้งระหว่างซุนนี-ชีอะห์ในอิรักจะรุนแรงกว่าเดิม
ทั้งๆ ที่รัฐบาลสหรัฐประกาศว่า IS เป็นภัยคุกคามต่อโลกและสหรัฐ
จะต้องปราบปรามให้ราบคาบ และก่อนหน้าที่มีกระแสข่าวเรียกร้องให้อิหร่านส่งทหารเข้าร่วมรบทางภาคพื้นดิน
และดูเหมือนว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่เห็นชอบที่ชาวชีอะห์อิรักจะทำหน้าที่ปกป้องมาตุภูมิของตน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6696
วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2109486
เหตุวิวาทะระหว่างรัฐบาลโอบามา พรรครีพับลิกัน
และนายกฯ เนทันยาฮูดูเหมือนว่าพวกเขามีความขัดแย้งอย่างรุนแรง
เมื่อวิเคราะห์พบว่าความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น อีกทั้งยังมีคำถามว่ารัฐบาลเนทันยาฮูมีอิทธิพลชักจูงประเทศคู่เจรจาได้กี่ประเทศ
นายกฯ
เนทันยาฮูกำลังใช้โครงการนิวเคลียร์อิหร่านเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตนหรือไม่
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6703
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2115152
19. IS = ซุนนีอิรัก? (Ookbee)
ข้อมูลจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ประเมินว่ามีชาวต่างชาติจากกว่า
90 ประเทศ จึงดูเหมือนว่า IS คือผู้ก่อการร้ายนานาชาติ
ซึ่งมีส่วนถูกต้อง แต่หากพิจารณาจากสัดส่วนของสมาชิก สมาชิก IS ส่วนใหญ่เป็นชาวอิรัก มีพื้นเพเป็นพวกซุนนี
ความเข้าใจเรื่องนี้มีความสำคัญ ผูกโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะสถานการณ์ในอิรัก ข้อเขียนชิ้นนี้จะอธิบายความเกี่ยวโยงเหล่านี้
ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=831eeca4-9fa2-4d09-8890-d924c6147bfe&affiliateCode=ee29488d843c40efac71e7e0937844f8
http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=831eeca4-9fa2-4d09-8890-d924c6147bfe&affiliateCode=ee29488d843c40efac71e7e0937844f8
คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับเป็นตัวแสดงหนึ่งที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นไปของ IS หรือแม้กระทั่งสถานการณ์ภายในอิรักส่งผลต่อ
GCC โดยตรง เป็นเรื่องซับซ้อนวิเคราะห์ได้หลายแง่มุม ในแง่ผลบวก IS
เป็นภัยคุกคามที่เด่นชัดทั้งต่อราชอาณาจักรและปัจเจกบุคคล
การต่อต้าน IS จึงเท่ากับช่วยเหลือประเทศตนเอง
ทั้งยังชูบทบาทของ GCC การเป็นผู้พิทักษ์อิสลาม
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6710
วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2120403
เนื่องจากรัฐบาลอิรักเห็นว่า GCC มีส่วนสนับสนุน IS ส่วน GCC
มองว่ารัฐบาลอิรักในปัจจุบันคือพวกชีอะห์ ดังนั้นหาก IS
พ่ายแพ้เท่ากับทำให้อิรักเข้มแข็งขึ้น ยิ่งใกล้ชิดกับอิหร่าน ส่งผลให้อิหร่านซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่แข็งแกร่งกว่าเดิม
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6717
วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2125881
22.ใครได้ใครเสีย หากอิรักชนะ IS (Ookbee)
สมรภูมิทิกริตไม่ใช่่เรื่องการปราบปรามผู้ก่อการร้าย
IS ในอิรักเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายหลายประเทศ
ที่ควรเอ่ยถึงได้แก่ 1.ชีอะห์อิรัก 2.อิหร่าน 3.ซุนนีอิรัก 4.พวกเคิร์ด 5.ซีเรีย
6.IS/ISIL/ISIS 7.รัฐบาลสหรัฐฯ 8.GCC ผลลัพธ์ที่ตามมาไม่ได้มีต่อการเมืองอิรักเท่านั้น
แต่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบภูมิภาคตะวันออกกลาง เกี่ยวข้องกับชาติมหาอำนาจ
http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=cc12e802-9281-4138-9c12-b3333582c3c9&affiliateCode=ee29488d843c40efac71e7e0937844f8
GCC ประกาศชัดให้อัสซาดก้าวลงจากอำนาจ
บางประเทศให้ความช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านอย่างเปิดเผย ให้ทั้งเงิน อาวุธ หาก IS ในอิรักพ่ายแพ้จะเป็นข่าวร้ายของ GCC พิสูจน์ว่าพวกชีอะห์อิรักมีความเข้มแข็งที่จะปกครองประเทศต่อไป
ในภาพรวมสะท้อนความเข้มแข็งของชีอะห์ “จันทร์เสี้ยวชีอะห์”
พิสูจน์ตนเองอีกครั้งว่าเข้มแข็งกว่าเดิม กระทบต่ออนาคตของ GCC อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6724
วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2131060
กว่าที่สหรัฐจะเริ่มโจมตี IS ในสมรภูมิเมืองทิกริต การรบได้ผ่านไปแล้วกว่า 3
สัปดาห์จนรัฐบาลอิรักต้องออกมาเรียกร้อง
เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกเพราะก่อนหน้านี้สหรัฐใช้กำลังทางอากาศโจมตี IS อย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์ที่สมรภูมิทิกริตสะท้อนคำพูดของรัฐบาลโอบามาที่ชี้ว่ารากปัญหาคือความขัดแย้งภายในระหว่างซุนนี-ชีอะห์
อีกทั้งยังแสดงท่าทีไม่อยากเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6731
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2136251
รัฐบาลอิสราเอลพูดอยู่เสมอว่าอิหร่านใกล้จะประสบความสำเร็จในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์
เป้าหมายคือทำลายล้างอิสราเอล แม้อิหร่านกับชาติมหาอำนาจ 6 ประเทศที่เรียกว่ากลุ่ม
P-5+1 ได้ข้อตกลงฉบับชั่วคราวและเมื่อต้นเดือนเมษาที่ผ่านมาได้ร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์
นายกฯ เนทันยาฮูยังเชื่อเช่นเดิม สวนทางความจริงที่ว่า ทุกวันนี้โครงการฯ
ของอิหร่านหดตัว อยู่ภายใต้การตรวจตราของ IAEA
ซึ่งได้พิสูจน์ชัดแล้วว่าโครงการฯ ในขณะนี้มีเพื่อใช้ในทางสันติเท่านั้น
ความเข้าใจของนายกฯ เนทันยาฮูจึงกลายเป็นภาพหลอนที่คอยหลอกลอนให้หลายคนเชื่อเช่นนั้น
http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=8a09a322-9488-4a3e-a6f9-d663999f5a50&affiliateCode=ee29488d843c40efac71e7e0937844f8
หนังสือ “สถานการณ์โลก 2” ประกอบด้วยบทความ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. IS = ซุนนีอิรัก? 2. ใครได้ใครเสีย
หากอิรักชนะ IS และ 3. นิวเคลียร์อิหร่าน ภาพหลอนเนทันยาฮู
ทั้ง 3
เรื่องเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในภูมิตะวันออกกลางที่ยังร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง
และมีผลต่อประเทศอื่นๆ ไม่มากก็น้อย
http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=a15b88a6-f697-42f2-8cfb-6090a9f83307&affiliateCode=ee29488d843c40efac71e7e0937844f8
หลังการเจรจาอย่างยืดเยื้อ
ในที่สุดทุกฝ่ายประกาศว่าบรรลุข้อสรุปได้ร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์
แต่ไม่กี่วันหลังจากนำเสนอร่างฯ ต่อสาธารณะ ปรากฏว่าอิหร่านคัดค้านไม่เห็นตรงใน 2
ประเด็นหลัก และกลายเป็นว่าร่างฯ ที่นำเสนอโดยฝ่ายสหรัฐฯ
ไม่ใช่ร่างที่เห็นตรงกับอิหร่าน
ความซับซ้อนเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อพรรครีพับลิกันแสดงท่าทีไม่ยอมรับร่างฯ
ในขณะที่ประธานาธิบดีโอบามาแสดงท่าทีอ่อนลงเรื่อยๆ พยายามหาทางประนีประนอมกับรีพับลิกัน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6738
วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2139980
ในการประชุมสุดยอด ‘เอเชีย-แอฟริกา 2015’
ตรงกับครบรอบ 70 ปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายกฯ อาเบะเอ่ยคำว่า “ญี่ปุ่น ด้วยความรู้สึกสำนึกผิดอย่างยิ่ง (deep remorse) ต่อสงครามในอดีต แทนคำว่า “ขอโทษด้วยความจริงใจ” (heartfelt apology) ที่อดีตนายกฯ
คนก่อนๆ เคยใช้ ปัญหาใหญ่ของประเด็นนี้อยู่ที่ผู้มีอำนาจในญี่ปุ่นที่แสดงท่าที
ถ้อยคำ “ไม่เสมอต้นเสมอปลาย” บางครั้งถึงกับขัดแย้งอย่างชัดเจน
ก่อให้เกิดคำถามต่อท่าทีภายในส่วนลึกของท่าน
ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 6745 วันอาทิตย์ที่ 26
เมษายน พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2145233
การวิพากษ์ Pivot to Asia หรือยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชียสามารถทำได้หลายรูปแบบ
มองในหลายแง่มุม
งานเขียนชิ้นนี้ชี้จุดอ่อนของยุทธศาสตร์ผ่านประเด็นความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่น-เกาหลีใต้
เป็นความขัดแย้งจากผลพวงของประวัติศาสตร์
กลายเป็นรอยร้าวที่ยากจะแก้ไขภายใต้บริบทปัจจุบัน
เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยอมให้กันไม่ได้
ต้องตอบสนองความคาดหวังจากการเมืองภายในของแต่ละประเทศ
เกิดการแก้เกมแบบชิงไหวชิงพริบ นำสู่คำตอบว่าทำไมยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชียจึงอ่อนกำลัง
ไม่ได้ผลตามเป้าหมาย ในอนาคตจะต้องปรับแก้ยุทธศาสตร์หากรัฐบาลสหรัฐฯ
ต้องการหวังผลอย่างจริงจัง ประเด็นสำคัญอยู่ที่จะต้องหาพันธมิตรเพิ่ม
หรือทำให้ประเทศเหล่านั้นถอยห่างจากจีนมากขึ้น
ซึ่งในกรอบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็มีเพียงไม่กี่ประเทศดังปรากฏบนแผนที่
32. หนังสือ "สถานการณ์โลก 3" (Ookbee)
หนังสือ “สถานการณ์โลก 3” เป็นการรวมผลงาน 2 ชิ้น เพื่อเผยแพร่ในลักษณะอีบุ๊ค ได้แก่
38. หนังสือ "สถานการณ์โลก 4" (Ookbee)
หนังสือ “สถานการณ์โลก 4” เป็นการรวมผลงาน 2 ชิ้น เพื่อเผยแพร่ในลักษณะอีบุ๊ค ได้แก่
หลังการหารือระหว่างรัฐบาลโอบามากับอาเบะอยู่นานนับปี
ในที่สุดความสัมพันธ์ความมั่นคงทางทหารก็ปรากฎหลักฐานชัดเจนอีกครั้งด้วยแผนความร่วมมือด้านความมั่นคงฉบับใหม่ชื่อว่า
“แผนความร่วมมือป้องกันประเทศสหรัฐ-ญี่ปุ่นด้านความมั่นคง” บัดนี้ “กองกำลังป้องกันตนเอง”
ญี่ปุ่นมีเป้าหมายออกไปปฏิบัติการทั่วโลกร่วมกับกองทัพอเมริกัน บางคนอาจตั้งคำถามว่าพื้นที่หรือสมรภูมิใดจะเป็นแห่งแรกที่กองทัพญี่ปุ่นจะออกไป
“ป้องกันตนเองร่วม”
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6752
วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2150248
ความตึงเครียดจากสถานการณ์ยูเครนที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2013
จนนำสู่การเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจรัสเซียกับฝ่ายสหรัฐฯ อย่างชัดเจน สหรัฐฯ
กับพันธมิตรโดยเฉพาะอียูร่วมออกมาตรคว่ำบาตรรัสเซียหลายรอบ
ข้อเขียนชิ้นนี้อธิบายนโยบายของสหรัฐฯ
ต่อรัสเซียเพื่ออธิบายเหตุผลที่มาที่ไปของนโยบายปิดล้อมรัสเซีย
การตอบโต้จากรัฐบาลปูติน นำสู่การวิเคราะห์องค์รวม
ชี้ให้เห็นยุทธศาสตร์เชิงลึกของสหรัฐฯ ความพยายามจัดระเบียบโลกผ่านวิธีการต่างๆ
จุดอ่อนของยุทธศาสตร์ปิดล้อม พลังอำนาจที่ถดถอยของสหรัฐฯ พร้อมกับคาดการณ์อนาคต
32. หนังสือ "สถานการณ์โลก 3" (Ookbee)
หนังสือ “สถานการณ์โลก 3” เป็นการรวมผลงาน 2 ชิ้น เพื่อเผยแพร่ในลักษณะอีบุ๊ค ได้แก่
1. รอยร้าวญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ รอยด่าง Pivot to Asia
(หน้า 2)
2. ด้วยรักจากปูตินถึงโอบามา การปิดล้อมและการโต้กลับ (หน้า 27)
เมื่อรัฐบาลโอบามานำเสนอยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชีย (Pivot to Asia) หรือยุทธศาสตร์ปรับสมดุลเอเชียแปซิฟิก (rebalanced strategy in Asia-Pacific) ชี้ไปทางที่สหรัฐฯ
มุ่งให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิก
แม้ไม่เอ่ยถึงจีนโดยตรงแต่เป็นที่ยอมรับกันว่าจีนคือประเทศที่สหรัฐฯ ให้ความสนใจ
แต่นานวันเข้ามีเพียงญี่ปุ่นพันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ
เท่านั้นที่แสดงบทบาทตามยุทธศาสตร์
ซ้ำร้ายกว่านั้นรัฐบาลเกาหลีใต้กับรัฐบาลญี่ปุ่นขัดแย้งกันอย่างหนัก
เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญบ่งชี้พลังอันอ่อนแอของยุทธศาสตร์นี้
บทความ “ด้วยรักจากปูตินถึงโอบามา การปิดล้อมและการโต้กลับ” อธิบายนโยบายของสหรัฐฯ ต่อรัสเซียเพื่ออธิบายเหตุผลที่มาที่ไปของนโยบายปิดล้อมรัสเซีย
การตอบโต้จากรัฐบาลปูติน นำสู่การวิเคราะห์องค์รวม
ชี้ให้เห็นยุทธศาสตร์เชิงลึกของสหรัฐฯ ความพยายามจัดระเบียบโลกผ่านวิธีการต่างๆ
จุดอ่อนของยุทธศาสตร์ปิดล้อม พลังอำนาจที่ถดถอยของสหรัฐฯ พร้อมกับคาดการณ์อนาคต
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ร่วมเฉลิมฉลองงานครบรอบ
70 ปีฉลองชัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่รัสเซียเป็นการแสดงออกถึงสัมพันธภาพอันใกล้ชิดระหว่างจีน-รัสเซียในระยะนี้
สวนทางกับฝ่ายตะวันตกที่บรรดาผู้นำประเทศไม่มาร่วมหลายปีแล้ว คำถามสำคัญคือพฤติกรรมเช่นนี้แสดงถึงการแบ่งขั้วหรือไม่
โลกกำลังเข้าสู่การแบ่งขั้ว-เลือกข้างอย่างรุนแรงอีกครั้งหรือไม่
แน่นอนว่าบริบทปัจจุบันแตกต่างจากอดีต แต่มหาอำนาจยังคงเข้าพัวพันในประเทศอื่นๆ
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6759
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2155050
อาศัยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่บนผืนแผ่นดินติดกัน
นโยบายของประธานาธิบดีปูตินกับจีนคือการเชื่อมต่อเศรษฐกิจของ 2 ฝ่ายเข้าด้วยกัน เกิดโครงข่ายเชื่อมโยงประเทศในย่านนี้เข้าด้วยกัน
ทำให้เศรษฐกิจของบรรดาประเทศต่างๆ สามารถติดต่อเชื่อมโยงโดยธรรมชาติ ผลประโยชน์ที่ได้ไม่เฉพาะจีนหรือรัสเซียเท่านั้น
นักลงทุนไม่ว่าจะเป็นชาติใดทุนประเทศใดที่ตั้งบริษัทในกลุ่มประเทศเหล่านี้ต่างได้ประโยชน์ทั้งสิ้น
สุดท้ายจึงแข่งขันด้วยประสิทธิภาพ มีผลต่อระเบียบเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลก
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6766
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2160953
35. โรฮีนจา คนไร้รัฐ (Ookbee)
การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้สามารถเริ่มต้นด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
ตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ในอดีตได้ถักทอร้อยเรื่องราวของโรฮีนจาที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครอง
เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ หลายเหตุการณ์แม้กระทั่งยุคล่าอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่
2 จนพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับมาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง
ข้อเขียนชิ้นนี้นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่ชนพื้นเมืองอาระกันยังไม่ถูกเรียกว่าโรฮีนจา
เข้าสู่ความขัดแย้งหลายระลอก จนพม่าประกาศเอกราช เกิดการปฏิวัติ
รัฐบาลทหารกำหนดว่าใครเป็นพลเมือง พร้อมกับเหตุผลข้อโต้แย้ง
ประเด็นถกเถียงและคาดการณ์อนาคต
เรือมนุษย์โรฮีนจา เรือมนุษย์บังคลาเทศไม่ใช่เรื่องใหม่
คนเหล่านี้อพยพทางเรือต่อเนื่องหลายปีแล้ว การที่ประชาชนรับรู้ในช่วงนี้เพราะสื่อหลายประเทศช่วยกันประโคมข่าว
แต่ระดับเจ้าหน้าที่ ผู้มีหน้าที่รับรู้เรื่อยมา
สิ่งที่ทำได้แน่นอนคือการเข้มงวดต่อต้านอาชญากรข้ามชาติ เป็นภาพสะท้อนความมั่นคงจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่อื่นๆ
เรื่องเหล่านี้ “ใกล้ตัว” กว่าโรฮีนจามากนัก
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6773
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2166743
เหตุความรุนแรงในปี 2012 นำสู่การตีแผ่เรื่องราวโรฮีนจาสู่สายตาชาวโลก
สมัชชาสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาร์มอบความเป็นพลเมืองแก่คนเหล่านี้ โรฮีนจากลายเป็นโจทย์เชื่อมโยงกับความเป็นประชาธิปไตย
กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อธิปไตยของเมียนมาร์ ในอนาคตเรื่องราวโรฮีนจาจะกลับมาฉายซ้ำอีก
จนว่าพวกเขาจะได้ฐานะพลเมือง
ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 6780 วันอาทิตย์ที่
31 พฤษภาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2171605
38. หนังสือ "สถานการณ์โลก 4" (Ookbee)
หนังสือ “สถานการณ์โลก 4” เป็นการรวมผลงาน 2 ชิ้น เพื่อเผยแพร่ในลักษณะอีบุ๊ค ได้แก่
1. โรฮีนจา คนไร้รัฐ (หน้า 2)
2. 10 คำถาม โรฮีนจา (หน้า 23)
“โรฮีนจา คนไร้รัฐ” อธิบายเรื่องราวตั้งแต่ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
ตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ในอดีตได้ถักทอร้อยเรื่องราวของโรฮีนจาในแต่ละช่วงสมัย
ถักทอร้อยเรื่องของพวกเขาจนรัฐบาลเมียนมาไม่ยอมรับพวกเขาในฐานะพลเมือง
กลายเป็นคนไร้รัฐ นำเสนอประเด็นถกเถียง เหตุผลข้อโต้แย้งและคาดการณ์อนาคต
“10 คำถาม โรฮีนจา” มุ่งตอบคำถามหรือนำเสนอประเด็นสำคัญๆ ที่ผู้สนใจควรทราบ
เป็นความรู้พื้นฐานสู่การทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ในระดับที่สูงขึ้น เริ่มจากการเรียกชื่อ
ต้นกำเนิดโรฮีนจา เป็นชาวเบงกาลีหรือไม่ เหตุผลเบื้องหลังรัฐบาลเมียนมาไม่ถือโรฮีนจาเป็นพลเมือง
จากนั้นอธิบายเหตุปะทะเมื่อปี 2012 ซึ่งเป็นจุดเริ่มของความสนใจรอบใหม่
ความเกี่ยวข้องของขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ปัญหาชุมชนโรฮีนจาที่ไม่อาจมองข้าม
นโยบายและท่าทีของรัฐบาลเมียนมา โอบามาและมาเลเซีย สอดแทรกด้วยการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ
ช่วยตอบโจทย์อนาคตของโรฮีนจา อนาคตประชาธิปไตยเมียนมาซึ่งมีผลกระทบต่ออาเซียนทั้งหมด
ลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ชี้ว่าในปัจจุบันและอนาคตสหรัฐกับจีนยังเป็นตัวแสดงหลักในภูมิภาคเอเชียแปซิก
ความมั่นคงของภูมิภาคจึงขึ้นกับความสัมพันธ์ของมหาอำนาจ พร้อมกับที่ประเทศต่างๆ เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจมากขึ้น
การแข่งขันตามกติกาสากลเป็นแนวทางที่ควรเลือก ข้อพิพาทต่างๆ ควรจัดการควบคุมไม่ให้บานปลาย
สันติวิธีคือหนทางที่ดีกว่าการใช้กำลัง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6787
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2176546
หญิงบำเรอคือสตรีหลายประเทศที่ถูกบังคับให้มาปรนเปรอความสุขทางเพศแก่ทหารญี่ปุ่น
เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่องราวของหญิงบำเรอถูกนำมาตีแผ่จากฝ่ายเกาหลีใต้
จีน กลายเป็นประเด็นโจมตีรัฐบาลฝ่ายขวาญี่ปุ่น เชื่อมโยงกับนโยบายความมั่นคงที่ญี่ปุ่นต้องการมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาค
เชื่อมโยงกับความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6794
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2181513
“หญิงบำเรอ” คือ สตรีที่ถูกบังคับให้มาปรนเปรอความสุขทางเพศแก่ทหารของกองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 เป็นสตรีจากหลายประเทศที่กองทัพญี่ปุ่นยาตราทัพไปถึง
ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลีกับจีน
ข้อเขียน “โลกไม่ลืม “หญิงบำเรอ” (comfort women)” ให้ความเข้าใจพื้นฐาน
เหตุการณ์ในอดีต
เพื่อนำสู่การเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกที่เอ่ยถึงเรื่องนี้
หญิงบำเรอเกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นๆ เช่น การเยือนศาลเจ้ายาสุกุนิ
การปรับแก้ตำราเรียน การสังหารหมู่นานกิง
การปรับเปลี่ยนนโยบายความมั่นคงของรัฐบาลอาเบะ พัวพันถึงยุทธศาสตร์สหรัฐฯ
นำเสนอท่าทีของประเทศต่างๆ กลยุทธ์ เทคนิคของแต่ละประเทศทั้งฝ่ายรุกกับตั้งรับ จนถึงการวิเคราะห์องค์รวมให้เห็นภาพทั้งหมด
เกี่ยวข้องกับประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกโดยตรง
ท่าทีของชินโซ อาเบะตั้งแต่ก่อนเป็นนายกฯ
สมัยแรก จนถึงการหาเสียงเป็นนายกฯ สมัยปัจจุบันเมื่อปลายปี 2012
ล้วนเป็นท่าทีของฝ่ายขวา เช่น ปฏิเสธเรื่องหญิงบำเรอ การรุกรานจากญี่ปุ่น ขณะบริหารประเทศในยามนี้นายกฯ
อาเบะได้ผ่อนคลายท่าที แต่เกิดข้อสงสัยว่าปากกับใจนั้นตรงกันหรือไม่
เพราะการแสดงออกยังไม่ชัดเจน ซ้ำยังขัดแย้งในบางประเด็น ทั้งหมดบ่งชี้ว่าหลักคิดของฝ่ายขวามีอิทธิพลไม่น้อย
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6801
วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2186748
นักจากต้นปี 2014 เป็นต้นมา ความวิตกกังวลว่าอิหร่านจะมีอาวุธนิวเคลียร์น่าจะลดลง
เพราะอิหร่านกับคู่เจรจา P-5+1 บรรลุข้อตกลงชั่วคราว “Joint
Plan of Action” แต่การเจรจาเพื่อให้ได้ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์เป็นประเด็นความขัดแย้งใหม่
เกิดกระแสว่าอิหร่านกำลังเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคและโลก ทั้งๆ ที่ตอนนี้ IAEA ได้เข้าตรวจตราโครงการนิวเคลียร์ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ แล้ว นักการเมืองสหรัฐฯ
บางส่วนกับรัฐบาลอิสราเอลประกาศกร้าวยืนยันว่าโครงการที่เหลืออยู่เป็นอันตราย
ปล่อยไว้ไม่ได้
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6808
วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2191997
ประธานาธิบดีโอบามากล่าวซ้ำหลายรอบว่าปัญหาอิรักคือเรื่องความเป็นเอกภาพของชีอะห์
ซุนนีและเคิร์ดอิรัก แต่นโยบายปราบปราม IS คือการปกป้องพวกชีอะห์กับเคิร์ด
มีผลทำให้อิรักแยกออกเป็น 3 ฝ่ายโดยปริยาย ตอกย้ำว่าแท้ที่จริงแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ
ดำเนินนโยบายแบ่งแยกอิรักตั้งแต่สมัยสงครามอ่าวเปอร์เซียเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6815
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2197704
WSJ กลายเป็นสื่อที่จุดประเด็นกล่าวหานายกฯ
นาจิบทุจริตโอนเงินกองทุนรัฐเข้าบัญชีส่วนตัว เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองมาเลเซีย
58 ปีที่นายกฯ อาจขึ้นศาลเพราะทุจริตคอร์รัปชัน ณ ขณะนี้ยังไม่อาจคาดเดาผลลัพธ์
ที่แน่นอนคือสงครามข้อมูลข่าวสารกำลังดำเนินอย่างเข้มข้น ต่างฝ่ายต่างพยายามยึดครองความคิดความเข้าใจของคน
เป็นลักษณะหนึ่งของการเมืองยุคดิจิตอล
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6822
วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2202814
หากยึดว่าความสำเร็จจากการเจรจาโครงการนิวเคลียร์ไม่ลดความหวาดระแวง
ความไม่เป็นมิตรต่อกัน รัฐบาลสหรัฐยังคงคว่ำบาตรอิหร่านด้วยเหตุผลอื่นๆ อิสราเอลยังเชื่อว่าอิหร่านจะผลิตและสามารถผลิตระเบิดนิวเคลียร์ในอนาคต ผลประโยชน์ของการเจรจาโครงการนิวเคลียร์จึงไม่ใช่เรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน แต่น่าจะเป็นประโยชน์จากการที่บริษัทต่างชาติเข้าไปมีส่วนโครงการฟื้นฟูอิหร่าน
การขายอาวุธให้กับประเทศต่างๆ
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6829
วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2208157
รัฐบาลเนทันยาฮู สมาชิกพรรครีพับลิกันชี้ว่าร่างฯ
ข้อตกลงเอื้อให้อิหร่านสามารถมีอาวุธนิวเคลียร์ในระยะยาว เนื่องจากเงื่อนไขหลายข้อมีอายุ
10 ปี อิหร่านที่ฟื้นฟูประเทศจะเข้มแข็งขึ้นมาก แต่รัฐบาลโอบามากับชาติสมาชิกคู่เจรจาที่เหลือเห็นว่าเป็นข้อตกลงที่ดีแล้ว
คำถามสำคัญคืออิหร่านพร้อมจะถูกคว่ำบาตรซ้ำอีกหรือไม่หากแสดงท่าทีต้องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6836
วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2213679
ข่าวตุรกีโจมตี IS เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของตุรกี
เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลตุรกีลังเลใจที่จะร่วมต้าน IS อย่างจริงจัง
ปฏิบัติการครั้งนี้ดำเนินร่วมกับการโจมตี PKK ด้วย เรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของตุรกีโดยตรง
และเมื่อวิเคราะห์ในภาพที่ใหญ่ขึ้น การจัดการ IS PKK ไม่ใช่เพียงการต่อต้านก่อการร้ายสากล (IS) หรือผู้ก่อการร้ายภายในประเทศ
(PKK) แต่เชื่อมโยงกับประเทศซีเรียโดยตรง
เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์แบ่งแยกประเทศนี้
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6843
วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2218380
ด้วยความไม่พอใจต่อเศรษฐกิจการเมืองในประเทศ
ประชาชนกลุ่มหนึ่งจึงลุกฮือประท้วงรัฐบาล เป็นเหตุผลพื้นฐานของอาหรับสปริง
แต่การแทรกแซงจาก “นอก” ประเทศเกิดขึ้นและกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการโค่นล้มรัฐบาล
ซีเรียเป็นอีกกรณีที่มีกองกำลังติดอาวุธร่วมร้อยประเทศเข้ารบกับรัฐบาล
ผู้ก่อการร้าย ISIL/ISIS กลายเป็นกลุ่มแรกที่ประกาศสถาปนา “รัฐอิสลาม”
เป็นรัฐอิสระภายใต้ดินแดนซีเรีย (มองในกรอบเฉพาะซีเรีย) เราจะนิยามอาหรับสปริงซีเรียอย่างไร
ประเทศซีเรียยังเป็นของชาวซีเรียหรือไม่
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6850
วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2223598
ไม่ว่าจะยอมรับหรือไม่ หรือจะใช้ชื่อใด
รัฐบาลโอบามากับตุรกีกำลังสร้างเขตปลอดภัย (safe zone) หรือเขตห้ามบิน
(no-fly zone) ทางตอนเหนือของประเทศซีเรียติดแนวพรมแดนทางตอนใต้ตุรกี
ข้อดีคือผู้ลี้ภัยซีเรียสามารถกลับประเทศเข้าไปอยู่ในเขตดังกล่าว
ผลลัพธ์ที่ตามมาคือเกิดปกครองตนเองขึ้นมาอีกเขตหนึ่ง ประเด็นที่ต้องติดตามคือใครจะเป็นผู้ควบคุมเขตดังกล่าว
อนาคตของพื้นที่นี้จะเป็นอย่างไร
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6857
วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2228950
ประธานาธิบดีแอร์โดกานประกาศชัดว่าต้องการเพิ่มอำนาจให้กับตำแหน่งตนเอง
แต่การเลือกตั้งเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมาพรรคของตนสูญเสียการเป็นพรรคเสียงข้างมาก
จึงต้องพยายามหาทางดึงคะแนนกลับ
นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าสถานการณ์การปราบปรามเคิร์ดภายในประเทศเกี่ยวข้องกับการกระชับอำนาจ
การเมืองตุรกีในช่วงนี้จึงมีผลต่อยุทธศาสตร์แบ่งแยกซีเรีย
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6864
วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2234638
ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อทอดยาวออกไปเรื่อยๆ เอื้อให้แต่ละเขตปกครองเข้มแข็ง
ได้แก่รัฐบาลอัสซาด รัฐอิสลาม
เขตปกครองเคิร์ดซีเรียและเขตปกครองฝ่ายต่อต้านสายกลางที่กำลังจะเกิดขึ้น ถ้า
IS ประสบผลในการถ่ายทอดอุดมการณ์ของตน ย่อมเชื่อได้ว่าจะมีพวก IS
เพิ่มขึ้นอีกมากกมาย สถานการณ์ซีเรียอาจลดความรุนแรงชั่วระยะเวลาหนึ่ง
แต่เรื่องยังไม่ยุติ อาจเป็นการรอเวลาเพื่อเปิดฉากรุกรบครั้งใหญ่
ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 6871 วันอาทิตย์ที่
30 สิงหาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2239633
54. หมาเฝ้าบ้าน พลังพลเมือง
หลายคนที่เลี้ยงหมาเพราะต้องการให้หมาทำหน้าที่เฝ้าบ้าน “หมาเฝ้าบ้าน” องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) คือ ประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะการคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ยุทธศาสตร์พลังมวลชนผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ เป็นกลุ่มคนที่ตระหนักว่าตนเป็นพลเมืองเจ้าของประเทศ มีหน้าที่ดูแลบ้านเมืองของตนเอง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6885 วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ.2558, http://www.m.ryt9.com/s/tpd/2249868
55. คนต่างด้าวอพยพ Migrant กับ Immigrant
คนต่างด้าวอพยพ (Migrant) ต่างจากคนต่างด้าวย้ายถิ่น (Immigrant) ตรงที่คำหลังให้ความหมายเชิงการย้ายถิ่นถาวรมากกว่า ทั้ง 2 คำไม่เน้นเหตุผลของการย้ายถิ่น คำว่าผู้ขอลี้ภัย (Asylum) คือคนต่างด้าว ต่างสัญชาติที่แจ้งความจำนงต่อรัฐบาลขอเป็นผู้ลี้ภัย การอพยพย้ายถิ่นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศรับคนเหล่านี้เป็นประจำทุกปี
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6892 วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2255023
แองโกลาเป็นตัวอย่างประเทศที่ผู้ถืออำนาจรัฐเป็นผู้ทุจริตคอร์รัปชัน
ทั้งๆ ที่รัฐบาลประกาศว่าจะต่อต้านการโกงอย่างเต็มที่ ยึดครองอำนาจทั้งทางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ
ผลลัพธ์คือประชาชนยากจน ประเทศด้อยพัฒนา ทั้งๆ ที่ประเทศไม่ได้แห้งแล้ง
ส่งออกน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของแอฟริกา สถานการณ์คงจะเป็นเช่นนี้อีกนานเพราะผู้กุมอำนาจต้องการรักษาอำนาจ
กดดันไม่ให้ประชาชนต่อต้านด้วยสารพัดวิธี
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6878
วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2244815
54. หมาเฝ้าบ้าน พลังพลเมือง
หลายคนที่เลี้ยงหมาเพราะต้องการให้หมาทำหน้าที่เฝ้าบ้าน “หมาเฝ้าบ้าน” องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) คือ ประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะการคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ยุทธศาสตร์พลังมวลชนผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ เป็นกลุ่มคนที่ตระหนักว่าตนเป็นพลเมืองเจ้าของประเทศ มีหน้าที่ดูแลบ้านเมืองของตนเอง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6885 วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ.2558, http://www.m.ryt9.com/s/tpd/2249868
55. คนต่างด้าวอพยพ Migrant กับ Immigrant
คนต่างด้าวอพยพ (Migrant) ต่างจากคนต่างด้าวย้ายถิ่น (Immigrant) ตรงที่คำหลังให้ความหมายเชิงการย้ายถิ่นถาวรมากกว่า ทั้ง 2 คำไม่เน้นเหตุผลของการย้ายถิ่น คำว่าผู้ขอลี้ภัย (Asylum) คือคนต่างด้าว ต่างสัญชาติที่แจ้งความจำนงต่อรัฐบาลขอเป็นผู้ลี้ภัย การอพยพย้ายถิ่นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศรับคนเหล่านี้เป็นประจำทุกปี
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6892 วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2255023
สหประชาชาติก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์ของชาติมหาอำนาจภายใต้บริบทเมื่อ
70 ปีก่อน 7 ทศวรรษที่ผ่านสหประชาชาติได้สร้างประโยชน์แก่โลกมากมาย แต่ก็สะท้อนปัญหาของตัวเองมากมายเช่นกัน
หลายฝ่ายเห็นว่าจำต้องปรับปรุงเพราะบริบทโลกเปลี่ยนไป
แต่แนวคิดการปรับปรุงนั้นหลากหลายแตกต่างกันมาก
อีกทั้งประเทศที่ได้ประโยชน์ต่างพยายามรักษาประโยชน์ของตนอย่างเต็มที่ การถกเถียงเพื่อปรับปรุงจึงดำเนินต่อไป
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6899
วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ.2558,
http://www.ryt9.com/s/tpd/2260008
G-77
เป็นกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในสหประชาชาติ เป็นเวทีแสดงและผลักดันจุดยืนของประเทศกำลังพัฒนาที่หวังปรับเปลี่ยนโครงสร้างระเบียบเศรษฐกิจโลกที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขามากขึ้น
แต่ผลงานมีน้อยกว่าที่คาด ส่วนหนึ่งเกิดจากความเป็นเอกภาพของสมาชิก ความซับซ้อนของเศรษฐกิจโลกที่ประเทศต่างๆ
ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การมองภาพใหญ่เช่นนี้ต้องไม่ลืมว่าชาติกำลังพัฒนาหลายประเทศมีปัญหาภายในเช่นกัน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6906
วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2265596
ก่อนหน้านี้มีความพยายามยุติสงครามกลางเมืองซีเรีย
แต่การเจรจาล้มเหลว ผลที่ตามมาคือรัสเซียเข้ามาตั้งฐานทัพในซีเรียและเปิดฉากโจมตี เป็นไปได้ว่านี่คือการสกัดกั้นแผนล้มระบอบอัสซาดของสหรัฐกับพันธมิตรด้วยการส่งกองทัพเข้าซีเรียรบทางภาคพื้นดิน
(บทความนี้เป็นตอนที่ 1
ของบทความชุด “การเผชิญหน้าระหว่างค่ายสหรัฐกับค่ายรัสเซีย-จีน”)
ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 6913 วันอาทิตย์ที่
11 ตุลาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2271246
สังคมซีเรียไม่ต่างจากสังคมประเทศอื่นๆ
ที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล พลเมืองซีเรียท้องถิ่นที่ต่อต้านรัฐบาลคือฝ่ายต่อต้านสายกลาง
แต่มีอีกหลายกลุ่มที่รัฐบาลสหรัฐกับพันธมิตรถือว่าเป็นฝ่ายต่อต้านสายกลาง เช่น ชาวซีเรียที่ย้ายถิ่นอาศัยต่างประเทศ
รัฐบาลโอบามากับพันธมิตรวางบทบาทคนเหล่านี้เป็นว่าที่รัฐบาลซีเรียในอนาคต กลายเป็นพวกหุ่นเชิด
ชาวเคิร์ดซีเรียเป็นอีกกลุ่มที่เป็นฝ่ายต่อต้านสายกลาง
แต่ถูกวางบทบาทให้กลายเป็นเขตปกครองตนเอง ซีเรียถูกแบ่งแยก
ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 6920 วันอาทิตย์ที่
18 ตุลาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2276810
Free Syrian Army (FSA) เป็นชื่อรวมๆ ของกองกำลังต่อต้านรัฐบาลอัสซาดหลายสิบกลุ่มที่สหรัฐกับพันธมิตรตั้งขึ้น
สมาชิกประกอบด้วยชาวต่างชาติกับพลเมืองซีเรีย บางกลุ่มเป็นพวกสุดโต่ง การจัดแบ่งกลุ่มแบบ
“เหมารวม” ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและสับสนว่าใครเป็นฝ่าย FSA รัฐบาลสหรัฐกับพันธมิตรกำลังสนับสนุนใคร พวกที่อ้างว่าเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลนั้นเป็นพลเมืองซีเรียแท้หรือไม่
คนที่เป็นพลเมืองซีเรียแท้มีปากเสียงมากเพียงใด
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6927
วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2558
อดีตนายกฯ โทนี
แบลร์ยืนยันว่าการโค่นล้มระบอบซัดดัม ฮุสเซนเป็นนโยบายที่ถูกต้อง ทั้งยังชี้ว่ารัฐบาลตะวันตกยังยึดนโยบายเช่นนี้
ประเด็นที่ยังถกเถียงคือแทรกแซงอย่างไร ควรคงกำลังทหารไว้หรือไม่ แนวทางของนายกฯ
แบลร์บ่งชี้ว่ารัฐบาลตะวันตกอ้างเหตุผลความชอบธรรมเพื่อล้มรัฐบาลต่างชาติ
ข่าวกรองเป็นเพียงเครื่องมือสร้าง “เหตุผล ความชอบธรรม” เพื่อให้คนในประเทศสนับสนุนโยบายเท่านั้น
พร้อมกับที่ไม่เอ่ยถึงผลพวงที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา เช่น
รัฐที่ถูกแทรกแซงกลายเป็นรัฐล้มเหลว เกิดปัญหาตามมามากมาย
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6934
วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2558
7 พฤศจิกายน 2015 เป็นวันประวัติศาสตร์เมื่อ 2
ประธานาธิบดีจีนกับไต้หวันพบปะพูดคุยอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เป็นความสำเร็จหลังความพยายามหลายปีของประธานาธิบดีหม่า
อิงจิ่ว แต่เส้นทางการรวมชาติในทางการเมืองยังต้องอาศัยเวลาอีกนาน ในระหว่างนี้เป็นเวลาแห่งการรวมทางมิติเศรษฐกิจที่เข้มข้นขึ้นทุกขณะ
ส่วนในระยะยาวคือการรวมกันด้วยสายเลือด ดังนั้น ไม่ว่าในทางการเมืองระหว่างประเทศจะเป็นอย่างไร
จีนกับไต้หวันผนวกเข้าหากันมากขึ้นทุกที
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6941
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2558
Group of Twenty (G20) คือการประชุมเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้า
(G7) กับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เพื่อหารือแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน
ให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างสมดุล ยั่งยืน ควบคุมระบบการเงินเพื่อลดความเสี่ยง
ป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤต พัฒนาโครงสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศ สะท้อนบทบาทหลายประเทศที่กำลังก้าวขึ้นมา
เช่น จีน อินเดีย บราซิลและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศที่มีอิทธิพลมากขึ้น
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6948
วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2558
ประธานาธิบดีออลลองด์ประกาศทำสงครามกับ
IS หลังเหตุก่อการร้ายในปารีส ทั้งๆ ที่ฝรั่งเศสโจมตีทิ้งระเบิด IS มานานแล้ว เกิดคำถามว่าทำไมรัฐบาลฝรั่งเศสไม่พูดกับคนของตนให้ตรงข้อเท็จจริง
รัฐบาลโอบามากับพันธมิตรต้องการปราบปราม IS
และมองว่ารัฐบาลอัสซาดคือต้นตอของปัญหา แต่ไม่ยอมปรองดอง
ยืนกรานให้ระบอบอัสซาดต้องพ้นจากอำนาจ เกิดคำถามว่าการปราบปราม IS หมายถึงสิ่งใด จะบรรลุผลได้หรือ
ในโลกนี้มีผู้ที่พยายามสร้างสถานการณ์ให้เกิดสงครามระหว่างอารยธรรม
สวนทางกับความจริงที่ว่าทุกศาสนาความเชื่อสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติ
ไม่ต้องห้ำหั่นด้วยอาวุธสงคราม
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6955
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2558
คณะมนตรีความมั่นคงได้ออกมติเปิดทางสะดวกให้ทุกประเทศสามารถทำสงครามปราบปราม
IS ในซีเรียกับอิรัก รวมถึงการส่งทหารเข้ารบในประเทศเหล่านี้
แต่ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างฝ่ายสหรัฐกับรัสเซีย แผนกวาดล้าง IS จึงกลายเป็นมี 2 แผนที่ต่างคนต่างทำ ข้อมติเป็นผลดีต่อความมั่นคงของรัฐบาลอัสซาด
แต่ซีเรียยังคงแบ่งแยกอยู่ดี
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6962
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2558
อิรักกับซีเรียเป็น 2 ตัวอย่างว่านโยบายกำจัดเผด็จการเป็นต้นเหตุของสงครามกลางเมือง
ความขัดแย้งที่ไม่สิ้นสุด กลายเป็นรัฐล้มเหลว
การปล่อยให้เผด็จการดำรงอยู่ต่อไปเป็นโทษน้อยกว่า การกำจัดเผด็จการไม่เป็นเหตุให้ประเทศกลายเป็นประชาธิปไตยเสมอไป
ถ้ามองว่าเผด็จการหมายถึงประชาชนถูกกดขี่ เมื่อเป็นรัฐล้มเหลวประชาชนถูกกดขี่ข่มเหงยิ่งกว่า
ชีวิตอยู่ในอันตรายมากกว่า แต่รัฐบาลโอบามายังยืนหยัดนโยบายโค่นเผด็จการไม่ต่างจากรัฐบุชและอีกหลายชุด
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6969
วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2558
รัฐบาลปูตินกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐบาลตุรกีพัวพันการค้าน้ำมันเถื่อนกับ
IS ซึ่งหมายถึงครอบครัวของประธานาธิบดีแอร์โดกานด้วย
แต่รัฐบาลตุรกีกับโอบามาปฏิเสธข้อมูลของฝ่ายรัสเซียทั้งหมด
ล่าสุดกองทัพตุรกีหลายร้อยพร้อมรถถังเคลื่อนกำลังเข้าใกล้เมืองโมซูลของอิรักและไม่ยอมถอนออก
เหตุการณ์นี้อาจเชื่อมโยงกับทรัพยากรน้ำมันในแถบนั้น
และอาจเชื่อมโยงกับการค้าน้ำมันเถื่อน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6976
วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2558
รัฐบาลซาอุฯ กับพวกมีความคิดจัดตั้ง “กองกำลังร่วมอิสลาม” (Islamic military coalition) มานานแล้ว
สามารถย้อนตั้งแต่สมัยปฏิวัติอิหร่าน 1979 เหตุผลล่าสุดคือเพื่อต่อต้านผู้ก่อการร้าย
เหตุผลด้านความมั่นคงทางทหารนั่นเป็นเรื่องหนึ่ง ประโยชน์หลักที่ได้กลับเป็นประโยชน์ที่แฝงมามากกว่า
เช่น แสดงให้เห็นว่าเป็นพวกต่อต้านก่อการร้าย (ไม่ใช่พวกสนับสนุนก่อการร้าย)
กีดกันอิหร่าน ซีเรียและอิรักออกจากโลกมุสลิม
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6983
วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2558
สถานการณ์ “ผู้อพยพลี้ภัย” กับ “คนพลัดถิ่นภายในประเทศ”
รุนแรงขึ้นและน่าเป็นห่วงทั้งในแง่จำนวนและไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะสงบ ผู้ลี้ภัย
คนพลัดถิ่นสามารถกลับถิ่นฐาน ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุข เนื่องจากเป็นความขัดแย้งที่เมื่อบานปลายแล้วยากจะแก้ไข
เช่น ความแตกแยกทางนิกายศาสนา การปรากฏตัวของผู้ก่อการร้าย กองกำลังต่างชาติ
การแบ่งแยกทางการเมือง การแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจ แนวทางที่ดีที่สุดคือไม่ให้ปัญหา
ความขัดแย้งบานปลาย
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6990
วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2558
---------------------------