บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2014

การบรรยาย งานสัมมนา รายการสื่อต่างๆ

รวบรวมการให้สัมภาษณ์ การบรรยาย แลกเปลี่ยนจากงานต่างๆ 5. อาเซียนกับแนวโน้มการก่อการร้ายในอนาคต การปรากฏตัวของ IS ก่อให้เกิดคำถามว่าจะส่งผลต่อประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาคตะวันออกกลางหรือไม่ พบว่าความสำเร็จของ IS มาจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ เริ่มจากประเทศเกิดเหตุวุ่นวาย ถูกแทรกแซง ความร่วมมือของคนท้องถิ่นเป็นเหตุให้กองกำลัง IS สามารถตั้งอยู่ในพื้นที่ การศึกษาติดตามสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางจะช่วยอธิบาย คาดการณ์อนาคตต่อภูมิภาคอื่นๆ  จัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๘ 4. ถอดบทเรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากวิกฤตยูเครน การบรรยายและแลกเปลี่ยน สำนักงานคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม   วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2557 (2014) เวลา 9.30 น. สำนักงานคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม 3. สรุปสาระสำคัญ ให้สัมภาษณ์ ทำไมรัสเซียถึงต้องแทรกแซงไครเมีย? ยูเครนตั้งอยู่ในจุดภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ มีพรมแดนติดรัสเซีย และเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือรัสเซีย หากยูเครนเป็นสมาชิกนาโต ยูเครนอาจไม่ยอมให้รัสเซียเช่าฐานทัพเรือที่ไครเมียอีกต่อไป อีกทั้งนาโตอาจว...

กำเนิด “รัฐสมัยใหม่” ตัวแสดงเอกของโลก

รูปภาพ
ในโลกปัจจุบัน ในบรรดาตัวแสดงทุกประเภท “รัฐ” เป็นตัวละครหลัก/ ตัวแสดงเอก (primary actor) ของระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่แปลกที่รัฐจะปรากฏอยู่ในหน้าข่าวต่างประเทศทุกวันและมากที่สุด             บทความนี้จะนำเสนอประวัติกำเนิด “รัฐสมัยใหม่” และข้อวิพากษ์ ประวัติที่มา :             เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมสลาย ดินแดนในทวีปยุโรปแยกออกเป็นแว่นแคว้นต่างๆ ที่เป็นอิสระต่อกัน เช่น อิตาลีแบ่งออกเป็นรัฐลอมบาร์ดี โรมานญา ทัสคานี เนเปิล ซีซีลี รัฐสันตะปาปา ฯลฯ เยอรมนีแยกออกเป็นรัฐแซกซอน ฟรังโกเนีย บาวาเรีย ชวาเบน ไมเซน ฯลฯ ฝรั่งเศสแยกออกเป็นรัฐบูร์กอญ กาสกอญ ตูลูส โพรวองส์ ฯลฯ เช่นเดียวกับสเปนและยุโรปตะวันออก เป็นสภาพที่อำนาจการเมืองกระจัดกระจายไม่รวมศูนย์ดังสมัยจักรวรรดิโรมัน             จากนั้นการปกครองค่อยๆ พัฒนาเป็นระบบฟิลดัล ( Feudal system) กับศาสนจักรโรมันคาทอลิก         ...

รูเบิลอ่อนค่า สัมพันธ์ตะวันตกตึงเครียด และการแก้เกมของปูติน (2)

รูปภาพ
เมื่อสหรัฐกับอียูเริ่มคว่ำบาตรรัสเซียเนื่องจากความขัดแย้งยูเครน มาตรการในตอนต้นจำกัดขอบเขตมาก จากนั้นมาตรการชุดใหม่เริ่มปรากฏ มุ่งภาคพลังงาน การเงินการธนาคาร และเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์             เดือนเมษายนรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจประเมินว่าจีดีพีจะลดลง 0.5 จากเดิมที่คาดว่าโต 1.3 คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปีที่ 7.0 จากเดิมอยู่ที่ 6.2 ด้านธนาคารโลกประเมินว่าในกรณีเลวร้ายสุดเศรษฐกิจรัสเซียอาจหดตัวถึงร้อยละ 1.8 ซึ่ง ณ ขณะนั้นทางการรัสเซียไม่เห็นด้วยกับการคาดการณ์ดังกล่าว             ล่าสุด สัปดาห์ที่ผ่านมารูเบิลอ่อนค่าอย่างรุนแรง บางช่วงอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 78 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐ นักวิเคราะห์บางรายชี้ว่าอาจถึง 100 รูเบิลต่อดอลลาร์ก็เป็นได้ ส่วนอัตราเงินเฟ้อสูงมากกว่าร้อยละ 10 แล้ว ธนาคารกลางรัสเซีย (Central Bank of Russia) ยอมรับว่าเศรษฐกิจปีหน้าอาจถดถอยเกือบร้อยละ 5 ถ้าราคาน้ำมันยืนอยู่ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมัน WTI (West Texas Intermediate) เมื่อวันศุกร์ปิดที่ ...

รูเบิลอ่อนค่า สัมพันธ์ตะวันตกตึงเครียด และการแก้เกมของปูติน (1)

รูปภาพ
ในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา นายวลาดีมีร์ ปูติน (Vladimir Putin) ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้แสดงสุนทรพจน์สำคัญทั้งในงานประชุมเอเปกเมื่อเดือนพฤศจิกายนและการประชุมประจำปีของรัฐสภาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (Federal Assembly) ประจำปี 2014 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา ทั้ง 2 สุนทรพจน์และในที่อื่นๆ สะท้อนปัญหาสำคัญและแนวทางแก้ไขของรัฐบาล บทความนี้จะหยิบยกบางประเด็นที่เกี่ยวข้องนโยบายต่างประเทศ เริ่มจากปัญหายูเครนไครเมีย ค่าเงินรูเบิล และความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ทั้ง 3 ประเด็นสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ปัญหายูเครนไครเมียที่ยังค้างคา :             2-3 เดือนที่ผ่านมาความขัดแย้งในยูเครนฝั่งตะวันออกค่อยบรรเทาลง ในขณะนี้เหลือเพียงการปะทะเพียงประปราย สถานการณ์โดยทั่วไปสงบเรียบร้อย ประชาชนยูเครนตะวันออกที่ต้องการแยกตัวสามารถตกลงกับรัฐบาลได้ระดับหนึ่ง พร้อมกับที่รัสเซีย ยูเครนและอียูลงนามข้อตกลงซื้อขายก๊าซฉบับใหม่เป็นที่เรียบร้อย เป็นสัญญาณที่ดีว่ายูเครนกำลังเข้าสู่สถานการณ์ปกติ           ...

โครงการนิวเคลียร์อิหร่าน การเจรจาขั้นสุดท้ายที่ต้องดำเนินต่อไป (2)

รูปภาพ
ในข้อตกลงชั่วคราว ฝ่ายอิหร่านยอมประนีประนอมหลายเรื่อง ที่สำคัญคือละทิ้งการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมความเข้มข้นร้อยละ 20 ที่ใช้ในทางการแพทย์ (เช่น การฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง) ถ้าใช้ทำอาวุธต้องเป็นยูเรเนียมความเข้มข้นมากกว่าร้อยละ 90 ขึ้นไป ด้านฝ่ายตรงข้ามชี้ว่าจากความเข้มข้นที่ร้อยละ 20 สามารถทำให้บริสุทธิ์ถึงขั้นทำเป็นอาวุธได้ง่าย จึงเรียกร้องไม่ให้อิหร่านครอบครองความเข้มข้นที่ระดับร้อยละ 20             ท่าทีดังกล่าวเป็นการแสดงความปรารถนาดีของอิหร่าน ในอีกมุมหนึ่งชี้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการหลุดพ้นจากมาตรการคว่ำบาตร แสดงให้เห็นภาวะเศรษฐกิจอันย่ำแย่ จำต้องรีบแก้ไขเร่งด่วน ต้นเหตุแห่งปัญหา :             จากข้อมูลที่ปรากฏ เหตุที่ทำให้การเจรจายังไม่ได้ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ ต้องยืดขยายออกไปอีกรอบมาจาก 2 เรื่องหลัก เรื่องแรกคือ จำนวนเครื่องเสริมสมรรถนะ (centrifuge) ที่อิหร่านเคยประกาศว่าต้องการถึง 190,000 เครื่อง (ปัจจุบันมี 20,000 เครื่อง) ฝ่ายสหรัฐต้องการให้เหลือ 2,000 – 4...

โครงการนิวเคลียร์อิหร่าน การเจรจาขั้นสุดท้ายที่ต้องดำเนินต่อไป (1)

รูปภาพ
ทันทีที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี นายฮัสซัน โรฮานี ( Hassan Rohani) ประธานาธิบดีอิหร่านประกาศขอเปิดเจรจาประเด็นโครงการนิวเคลียร์กับชาติตะวันตกทันที พร้อมกับยืนยันว่า “โครงการนิวเคลียร์อิหร่านเป็นโครงการระดับชาติ... จะไม่ยอมยกเลิกสิทธิ์การใช้นิวเคลียร์โดยเด็ดขาด” และจะให้โครงการดำเนินภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ต่างชาติยกเลิกการคว่ำบาตรอิหร่าน             เป้าหมายของประธานาธิบดีโรฮานีชัดเจน คือ ยังจะเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์ต่อไป อิหร่านมีสิทธิ์ใช้นิวเคลียร์เพื่อสันติเฉกเช่นบรรดาประเทศทั้งหลาย เป็นไปตามกฎหมายระเบียบระหว่างประเทศ ดังนั้น อิหร่านไม่สมควรถูกคว่ำบาตร ไม่ว่าจะโดยข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ หรือจากประเทศใดๆ การคว่ำบาตรและผลกระทบ :             การที่รัฐบาลโรฮานีให้ความสำคัญกับการเจรจาเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐกับพันธมิตรได้ผล ฝ่ายสหรัฐออกมาตรการหลายชุด หนึ่งในชุดที่สำคัญคือมาตรการเมื่อเดือนธันวาคม 2011 ประเทศใดที่ทำธุรกรรมทางการเงินกับอิหร่านอาจ...