โจ ไบเดนกับใครสนับสนุน IS สงครามซุนนี-ชีอะห์และการโค่นล้มอัสซาด (ตอนที่ 1)
เมื่อต้นเดือนตุลาคม รองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้รับเชิญจาก Harvard
Kennedy School มหาวิทยาลัยชื่อก้องโลก
แสดงปาฐกถาแก่นักศึกษาในประเด็นนโยบายต่างประเทศ ผ่านประสบการณ์ทางการเมืองอันยาวนานกว่า
40 ปีของท่าน
ท่านใช้เวลา
1 ชั่วโมงครึ่งบรรยายและตอบคำถามหลากหลายประเด็นอย่างครอบคลุม
ตั้งแต่ปรัชญาการมองโลก วิสัยทัศน์นโยบายต่างประเทศ กรอบยุทธศาสตร์หลากหลายด้าน
ยุทธศาสตร์สำคัญๆ ของรัฐบาลโอบามา ภาวะผู้นำของสหรัฐที่ต้องทำงานร่วมกันนานาชาติ
นโยบายด้านความมั่นคง นโยบายต่อจีน ตะวันออกกลาง ยูเครน อเมริกากลางและใต้
รวมทั้งประเด็นสำคัญๆ เช่น ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific
Strategic Economic Partnership Agreement หรือ TPP) โรคอีโบลาที่กำลังแพร่ระบาด ผู้ก่อการร้ายรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS)
รวมแล้วพูดนับสิบประเด็น
ไม่กี่วันให้หลังรัฐบาลหลายประเทศขอคำชี้แจงที่พาดพิงว่ารัฐบาลของตนสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้าย
เพราะรองประธานาธิบดีไบเดนกล่าวว่า “ปัญหาใหญ่ที่สุดคือพันธมิตรของเราเอง” ตุรกี
ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่นๆ เช่น กาตาร์ “มุ่งมั่นโค่นล้มอัสซาดและทำสงครามตัวแทนของซุนนี-ชีอะห์
...
พวกเขาให้เงินหลายร้อยล้านดอลลาร์และอาวุธหนักหลายพันตันแก่ใครก็ตามที่สู้กับอัสซาด”
และเอ่ยกลุ่มก่อการร้าย Al-Nusra อัลกออิดะห์ และ IS
น่าแปลกใจที่เนื้อหาส่วนนี้ไม่ปรากฏในเว็บไซต์ The White House ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ถือว่าเป็นเนื้อหาของปาฐกถา Mideast
Shuffle ได้ถอดเทปช่วงดังกล่าว เนื้อความสำคัญต่อมา
รองประธานาธิบดีไบเดนกล่าวอย่างมีความหมายแฝงว่า “สิ่งเหล่านี้ไปไหน
(หมายถึงเงินกับอาวุธ) แล้วตอนนี้เกิดอะไรขึ้น อยู่ดีๆ
ทุกคนก็ตื่นขึ้นเนื่องจากกลุ่มที่เรียกว่า ISIL
ซึ่งก็คืออัลกออิดะห์ในอิรัก”
ที่เห็นโอกาสเข้ายึดพื้นที่แถบซีเรียตะวันออกโดยร่วมมือกับกลุ่ม Al Nusra
ผู้ที่ติดตามสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางจะรู้ว่าข้อกล่าวหาเรื่องรัฐบาลหลายประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ประการใด
กระแสดังกล่าวแรงขึ้นเมื่อ IS ปรากฏตัว
รัฐบาลซีเรียเป็นประเทศแรกๆ
ที่เอ่ยชื่ออย่างชัดเจน ประธานาธิบดีบาชาร์ อัลอัสซาด (Bashar al-Assad) ชี้ว่ารัฐบาลกำลังต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย
หลายประเทศโดยเฉพาะซาอุดิอาระเบียกับตุรกีส่งเสริมสนับสนุนผู้ก่อการร้ายให้เข้ามาก่อเหตุในซีเรีย
ให้เงินและอาวุธแก่องค์กรก่อการร้าย
จากคำปาฐกถาดังกล่าว
รัฐบาลผู้ถูกพาดพิงต่างเรียกร้องขอคำชี้แจง นาย Anwar Gargash รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (UAE) กล่าวว่าปาฐกถา “ให้ภาพลบและไม่ถูกต้อง” ที่ว่า UAE
สนับสนุน ISIS และลัทธิก่อการร้าย ที่ผ่านมา UAE ดำเนินนโยบายต่อต้านก่อการร้าย เช่นเดียวกับรัฐบาลตุรกีกับซาอุฯ ที่ออกมาตอบโต้
และเช่นเดียวกับคำกล่าวหา คำชี้แจงตอบโต้ไม่ใช่เรื่องใหม่เช่นกัน
HE Khalid
bin Mohammed Al Attiyah รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกาตาร์
แถลงว่า “กาตาร์ไม่ได้สนับสนุนกลุ่มสุดโต่งใดๆ รวมทั้ง ISIS
ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใดก็ตาม เราต่อต้านแนวคิด วิธีการรุนแรง
และวัตถุประสงค์ความต้องการของพวกเขา เราไม่สนับสนุนและจะไม่สนับสนุนวิสัยทัศน์ของกลุ่มสุดโต่งต่างๆ
ในภูมิภาค”
ส่วนรัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ออกแถลงการณ์ว่าประเทศซาอุดิอาระเบียปรารถนาที่จะเห็น
“เครือข่ายของอัลกออิดะห์ทั้งหมดพ่ายแพ้และถูกทำลาย รวมทั้ง Islamic State
of Iraq and Al Sham (ISIS)” “ซาอุดิอาระเบียไม่ได้ช่วยเหลือ
ISIS หรือกลุ่มก่อการร้ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินหรือกำลังใจ”
คำกล่าวอ้างใดๆ ที่ตรงข้ามกับแถลงการณ์นี้เป็นคำกล่าวหาเท็จ
วิเคราะห์น้ำเสียง บริบทแวดล้อม :
ทำเนียบขาวแถลงว่ารองประธานาธิบดีโจ ไบเดน “ขออภัยต่อผลกระทบใดๆ
ที่มีต่อตุรกี พันธมิตรหรือประเทศหุ้นส่วนอื่นๆ ในภูมิภาค
ที่ว่าประเทศเหล่านี้ตั้งใจสนับสนุน ISIL หรือกลุ่มสุดโต่งหัวรุนแรงอื่นๆ
ในซีเรีย” ให้เหตุผลว่ารองประธานาธิบดีไม่ได้หมายถึงเช่นนั้นจริงๆ แต่จากวิเคราะห์น้ำเสียง
บริบทแวดล้อม พบว่า
ประการแรก
กล่าวด้วยน้ำเสียงปกติ
ความจริงแล้วคำพูดที่เป็นปัญหาดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปาฐกถาโดยตรง
แต่มาจากการตอบคำถามของนักศึกษาคนแรกหลังจบปาฐกถา เมื่อดูเทปบันทึกภาพ (ดูได้จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย http://www.hks.harvard.edu/news-events/news/articles/joe-biden-forum-event) พบว่าขณะที่พูดนั้น รองประธานาธิบดีไบเดนกล่าวด้วยน้ำเสียงไม่ต่างจากปกติ
เพียงแต่มีการเน้นเสียงตรงชื่อกลุ่มก่อการร้าย ไม่ได้กล่าวด้วยอารมณ์
หรืออยู่ในสภาพสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ เนื้อหาที่เป็นปัญหาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตอบคำถามแรกที่ยาวหลายนาที
ขยายความถึงยุทธศาสตร์ต่อต้าน IS ของรัฐบาล
ประการที่
2 การวิพากษ์วิจารณ์
ถ้าวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหาที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์
ดังที่กล่าวแล้วว่าเนื้อหาสาระของปาฐกถากล่าวถึงหลายประเด็นอย่างครอบคลุมนับสิบประเด็น
จึงพาดพิงหลายสิบประเทศทั่วทุกมุมโลก ประเด็นที่วิพากษ์หนักๆ เช่น เหตุการณ์ในยูเครนที่ปรากฏกองกำลังติดอาวุธไม่ทราบฝ่าย
ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าคือกองกำลังรัสเซีย เรื่องที่รัสเซียเข้าควบคุมไครเมีย
ผนวกไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย วิพากษ์จีนที่มีปัญหาภายในประเทศมากมาย
นัยว่าจีนยากจะพัฒนาเป็นมหาอำนาจโลก เรียกร้องให้ชาติสมาชิกนาโตเพิ่มงบประมาณกลาโหม
ไม่ปล่อยให้สหรัฐเป็นผู้แบกภาระเพียงฝ่ายเดียว
เมื่อกล่าวถึงสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
รองประธานาธิบดีไบเดนกล่าวถึงผู้ก่อการร้ายรัฐอิสลามว่า ISIL คือกลุ่มที่ยึดแนวทางของอัลกออิดะห์ มีเป้าหมายยึดครองอิรักกับซีเรียและมากกว่านั้น
ยุทธศาสตร์ต่อต้าน ISIL คือการบั่นทอนพลังอำนาจ
จนอ่อนแรงลงมากๆ และเข้าปราบปรามในที่สุด การบั่นทอนพลังอำนาจไม่จำต้องใช้กองทัพนับแสนเข้าทำการรบเพราะไม่ได้ผลยั่งยืน แต่เน้นการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในภูมิภาค
ที่สุดแล้วสังคมต่างๆ ต้องแก้ไขปัญหาของตนเอง
เป็นเหตุที่รัฐบาลพยายามอย่างหนักเพื่อสนับสนุนฝ่ายต่อต้านซีเรียและชาวอิรักในการสร้างประชาธิปไตยของพวกเขา
และปกป้องดินแดนของพวกเขา
พันธมิตรของเราในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นเรื่องสำคัญมาก เรายังคงสนับสนุนอิสราเอลอย่างต่อเนื่องไม่เปลี่ยนแปลง และเรากำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรอาหรับและประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อต่อต้าน ISIL ดังนั้น ปาฐกถาจึงวิพากษ์วิจารณ์หลายประเทศ ไม่ได้วิจารณ์พันธมิตรอาหรับในแง่ลบแต่ประการใด แต่มาปรากฏในช่วงตอบคำถามของนักศึกษา
พันธมิตรของเราในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นเรื่องสำคัญมาก เรายังคงสนับสนุนอิสราเอลอย่างต่อเนื่องไม่เปลี่ยนแปลง และเรากำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรอาหรับและประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อต่อต้าน ISIL ดังนั้น ปาฐกถาจึงวิพากษ์วิจารณ์หลายประเทศ ไม่ได้วิจารณ์พันธมิตรอาหรับในแง่ลบแต่ประการใด แต่มาปรากฏในช่วงตอบคำถามของนักศึกษา
ประการที่
3 ไบเดนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
เมื่อเอ่ยถึงรองประธานาธิบดีไบเดน
เรากำลังพูดถึงนักการเมืองอาชีพผู้คร่ำหวอด ท่านได้รับเลือกเป็นวุฒิสมาชิกสมัยแรกด้วยวัยเพียง
29 ปี เป็นนักการเมืองอาชีพมาแล้วกว่า 43 ปี
ถ้านับตั้งแต่ท่านเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองอันทรงเกียรติ
ท่านผ่านยุคสงครามเวียดนาม ผ่านสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน รัฐบาลสหรัฐในสมัยนั้นส่งอาวุธทันสมัยให้แก่พวกมูจาฮีดีน
เมื่อเวลาผ่านไปกลุ่มต่างๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมูจาฮีดีนได้กลายเป็นพวกตาลีบัน
พวกอัลกออิดะห์ และอีกหลายกลุ่ม
ท่านผ่านเหตุวินาศกรรมจากผู้ก่อการร้าย
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 นำทหารอเมริกันเข้าสู่สมรภูมิในอัฟกานิสถานและอิรัก
จนมาวันนี้ที่ท่านดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี
น่าเชื่อได้ว่าท่านเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
เข้าใจตื้นลึกหนาบางของความเป็นไปในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นอย่างดี
ยากที่จะปฏิเสธว่าท่านตอบคำถามด้วยความเข้าใจผิด
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป ตอนที่ 1:
อีก 1 เดือนรองประธานาธิบดีไบเดนจะได้ฉลองครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 72
ของท่าน เป็นนักการเมืองอาชีพมาแล้วกว่า 43 ปี
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าท่านคือนักการเมืองผู้มากด้วยความสามารถและประสบการณ์
ที่สุดแล้ว
เป็นการยากที่จะสรุปว่ารองประธานาธิบดีตั้งใจพูดหรือไม่ เรื่องที่เกิดขึ้นชวนให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อ
2 เดือนที่แล้ว (สิงหาคม) เมื่อนาย Gerd Mueller รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเยอรมัน
(Federal Ministry for Economic Cooperation
and Development) กล่าวหาว่ารัฐบาลกาตาร์สนับสนุนผู้ก่อการร้าย
“คุณควรถามว่าใครให้อาวุธ ใครให้เงินสนับสนุนกองกำลัง ISIS
คำใบ้คือกาตาร์”
วันต่อมา กระทรวงการต่างประเทศเยอรมันกล่าว
“รู้สึกเสียใจหากก่อให้เกิดความเข้าใจผิด” ด้านโฆษกของรัฐมนตรี Mueller ชี้แจงว่าท่านพูดจากรายงานข่าวและไม่ได้ “กล่าวหาอย่างจริงจัง”
เหตุปาฐกถาของรองประธานาธิบดีไบเดนเหมือนฉายหนังซ้ำ
ที่สุดแล้ว เมื่อวิเคราะห์ประเด็นใครสนับสนุน IS นาย
Charles Lister นักวิชาการจาก Brookings Doha Center ชี้ว่าปัญหาคือ “ไมมีหลักฐานที่สามารถนำเสนอต่อสาธารณะว่ารัฐบาลของประเทศใดที่เกี่ยวข้อง
ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ ISIS”
ในแง่มุมหนึ่ง
หากรองประธานาธิบดียืนยันถ้อยคำของตนก็ควรนำเสนอหลักฐาน มิฉะนั้น อาจถูกตีความว่าพูดเพื่อหวังผลทางการเมือง
ในอีกแง่มุมหนึ่ง
ท่านได้กล่าวถึงบทบาทของผู้กำหนดนโยบายว่า “เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาอันสำคัญ
โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่
ช่วงเวลาที่คุณมีโอกาสเบี่ยงทิศประวัติศาสตร์เพียงเล็กน้อยก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวง
ถ้าคุณฉลาด ถ้าคุณมีความกล้าและตัดสินใจแน่วแน่ พร้อมกับโชคอีกเล็กน้อย
เราสามารถทำให้โลกเป็นที่น่าอยู่อาศัยมากขึ้นจริงๆ”
คำพูดบางคำของท่านอาจทำให้โลกเห็นความจริงชัดเจนยิ่งขึ้น หรือไม่ก็ทำให้สับสนกว่าเดิม
19 ตุลาคม 2014
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6557 วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2557)
--------------------------
ในมุมหนึ่งประธานาธิบดีโอบามาชี้ว่า IS เป็นภัยคุกคาม ต้องกำจัดอย่างถอนรากถอนโคน
ในอีกมุมหนึ่งชี้ว่าการปราบปราม IS ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทันที
ที่สำคัญคือต้องรอความร่วมมือจากประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะพวกซุนนี เมื่อวิเคราะห์แล้วนำสู่คำถามว่ารัฐบาลโอบามามีความตั้งใจปราบปรามกองกำลัง
IS มากน้อยเพียงใด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
แม้ว่าประธานาธิบดีโอบามาจะประกาศว่าอนาคตของอิรัก
ชาวอิรักต้องตัดสินใจเองในฐานะรัฐอธิปไตย
งานศึกษาบางชิ้นให้ข้อสรุปว่ารัฐบาลสหรัฐคือผู้อยู่เบื้องหลังให้นายอัลมาลิกีก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
และทั้งๆ ที่รู้ซึ้งพฤติกรรมของนายกฯ อัลมาลิกี
รัฐบาลโอบามายังสนับสนุนให้เขาดำรงตำแหน่งนายกฯ สมัยที่ 2
และขณะนี้มีข่าวว่ากำลังกดดันให้นายกฯ อัลมาลิกีลาออก เพื่อความปรองดองสมานฉันท์
แก้ปัญหาการก่อการของ ISIL/ISIS ในขณะนี้
ISIS/ISIL
เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่างมีเป้าหมายเฉพาะ กำลังก่อการทั้งในซีเรียกับอิรัก
การปรากฏตัวของกลุ่มสะท้อนปัญหาการเมืองภายในอิรักที่เรื้อรังมานาน
ความแตกแยกของฝ่ายต่างๆ การจะกำจัด ISIS/ISIL
อย่างถอนรากถอนโคนคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง รวมทั้งมีประเทศผู้ให้การสนับสนุน
น่าติดตามกลุ่มดังกล่าวจะนำอิรักสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
มีผลกระทบต่อภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างไร
4. โจ ไบเดนกับใครสนับสนุน IS สงครามซุนนี-ชีอะห์และการโค่นล้มอัสซาด (ตอนที่ 2)
รองประธานาธิบดีไบเดนชี้ว่าปัญหาวุ่นวายในซีเรียที่ยืดเยื้อกว่า 3 ปีครึ่ง ผู้คนล้มตายกว่า 200,000 คน มาจากพันธมิตรในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่ในอีกมุมหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลโอบามาประกาศนโยบายโค่นล้มรัฐบาลอัสซาด และยังยืนยันนโยบายจนถึงบัดนี้ นอกจากนี้การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลโอบามากำลังดำเนินนโยบายเพื่อคนอเมริกันหรือเพื่อใครกันแน่
บรรณานุกรม ตอนที่ 1:
ในโลกมุสลิมมีผู้เชื่อว่าซุนนีกับชีอะห์มีความขัดแย้ง
และในขณะนี้มีผู้พยายามอ้างว่าสงครามในซีเรียกับอิรักคือสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์ โดยเชื่อมโยงว่า
IS คือเครื่องมือของซุนนี แต่เมื่อองค์กร ผู้นำจิตวิญญาณอิสลามประกาศชัดว่า
IS ไม่ใช่อิสลาม การอ้าง IS
เป็นเหตุผลสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์จึงตกไป น่าแปลกใจที่รองประธานาธิบดีไบเดนกลับพยายามดึง
IS เข้าไปอยู่ในอิสลาม ยังยืนยันว่า IS
อยู่ในกลุ่มซุนนี กำลังทำสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์
5.โจ ไบเดนกับใครสนับสนุน IS สงครามซุนนี-ชีอะห์และการโค่นล้มอัสซาด (ตอนที่ 3)รองประธานาธิบดีไบเดนชี้ว่าปัญหาวุ่นวายในซีเรียที่ยืดเยื้อกว่า 3 ปีครึ่ง ผู้คนล้มตายกว่า 200,000 คน มาจากพันธมิตรในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่ในอีกมุมหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลโอบามาประกาศนโยบายโค่นล้มรัฐบาลอัสซาด และยังยืนยันนโยบายจนถึงบัดนี้ นอกจากนี้การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลโอบามากำลังดำเนินนโยบายเพื่อคนอเมริกันหรือเพื่อใครกันแน่
1. Assad, Bashar al-. (2014, January 21). Bashar al-Assad
Interview: The Fight against Terrorists in Syria. Global Research.
Retrieved from
http://www.globalresearch.ca/bashar-al-assad-interview-the-fight-against-terrorists-in-syria/5365613
2. Biden: Turks, Saudis, UAE funded and armed Al Nusra and
Al Qaeda. (2014, October 4). Mideast Shuffle. Retrieved from
http://mideastshuffle.com/2014/10/04/biden-turks-saudis-uae-funded-and-armed-al-nusra-and-al-qaeda/
3. Erlich, Reese. (2014). Inside Syria: The Backstory of
Their Civil War and What the World Can Expect. New York: Prometheus Books.
4. Erdogan's slow turnaround on foreign fighters in Syria.
(2014, October 3). Al Monitor. Retrieved from
http://www.al-monitor.com/pulse/originals/2014/10/turkey-erdogan-foreign-fighters.html
5. Extremist groups hobble Syrian peace negotiations. (2013,
October 22).The Times of India/AP. http://timesofindia.indiatimes.com/world/middle-east/Extremist-groups-hobble-Syrian-peace-negotiations/articleshow/24549382.cms
6. Germany ‘regrets’ minister’s claim on Qatar ISIS funding.
(2014, August 22). Al Arabiya/AFP. Retrieved from
http://english.alarabiya.net/en/News/middle-east/2014/08/22/Germany-regrets-minister-s-claim-on-Qatar-ISIS-funding-.html
7. Kingdom's statement on networks fighting in Iraq. (2014,
June 18). Arab News. Retrieved from http://www.arabnews.com/news/588646
8. Martin, Michelle. Bakr, Amena., & McDowall,
Angus. (2014, August 20). German minister accuses Qatar of funding Islamic
State fighters. Reuters. Retrieved from
http://www.reuters.com/article/2014/08/20/us-iraq-security-germany-qatar-idUSKBN0GK1I720140820
9. Pazzanese, Christina. (2014, October 3). All Politics is
Personal; VP Biden Delivers Address at Kennedy School Forum. Retrieved from http://www.hks.harvard.edu/news-events/news/articles/joe-biden-forum-event
10. Qatar denies ISIS funding charges. (2014, August 24). Qatar
Today. Retrieved from http://www.qatartodayonline.com/qatar-denies-isis-funding-charges/
11. Remarks by the Vice President at the John F. Kennedy
Forum. (2014, October 3). The White House. Retrieved from
http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2014/10/03/remarks-vice-president-john-f-kennedy-forum
12. Rogin, Josh. (2014, June 14). America's Allies Are
Funding ISIS. The Daily Beast. Retrieved from
http://www.thedailybeast.com/articles/2014/06/14/america-s-allies-are-funding-isis.html
------------------------