รู้จักโรคอีโบลา (Ebola) โรคที่ต้องเน้นการควบคุมการแพร่ระบาด
โรคอีโบลา
(Ebola virus disease หรือ EVD) กับโรคมาร์บูร์ก
(Marburg virus disease หรือ MVD) คือ โรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันชนิดหนึ่ง
ที่ผู้ป่วยมีอัตราเสียชีวิตสูง เกิดจากเชื้อ Ebolavirus กับ Marburgvirus ซึ่งเป็นไวรัสที่ใกล้เคียงกันมาก อยู่ในวงศ์ Filoviridae
ผู้ติดเชื้อจะเริ่มต้นด้วยอาการคล้ายหวัดหลายอย่าง
เช่น เป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เป็นผื่น จากนั้นก็เริ่มอาเจียน
ท้องเสีย ช็อคและมักมีเลือดออก บางครั้งจึงเรียกโรคจากเชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้ว่า โรคไข้เลือดออกแอฟริกัน
(African Hemorrhagic Fever) ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนถึงเสียชีวิต จะกินเวลาประมาณ 2 - 21 วัน
การศึกษาเข้าใจโรคอีโบลาจึงควรศึกษาให้เข้าใจทั้งโรคอีโบลาและโรคมาร์บูร์กควบคู่กัน
เพราะทั้ง 2 โรคมีลักษณะใกล้เคียงกัน มาจากเชื้อสายพันธุ์ใกล้เคียง
อันตรายของโรคนี้มาจาก
2 สาเหตุหลัก ข้อแรก คือ อัตราเสียชีวิตที่สูงถึงร้อยละ 50-90 เนื่องจากยังไม่มียารักษา
และไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ข้อที่สองคือ เป็นโรคที่แพร่ระบาดได้ง่าย
การระบาดมักเริ่มจากการที่มีผู้ติดเชื้อจากพาหะตามธรรมชาติ
งานศึกษาบางชิ้นเชื่อว่าเชื้อไวรัสนี้มาจากค้างคาวที่แพร่สู่ลิง
และจากลิงมาสู่คนในที่สุด
จากนั้นผู้ติดเชื้อซึ่งมักจะเริ่มต้นด้วยคนเพียงหนึ่งคนจะกระจายเชื้อแก่คนอื่นๆ
ที่ได้สัมผัสใกล้ชิด จากสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น เลือด อาเจียน อุจจาระ
การมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น การระบาดในมนุษย์เกือบทั้งหมดเกิดจากการติดต่อระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
ที่อยู่ด้วยกันใกล้ชิด เช่น ระหว่างคนไข้กับคนในโรงพยาบาล
ผู้ติดเชื้อกับคนในครอบครัว
ปัจจุบัน อีโบลาไวรัส ประกอบด้วย 4 สายพันธุ์หลัก ตั้งชื่อตามจุดที่ค้นพบ
คือ แซร์อีร์ (Zaire) ซูดาน (Sudan) ไอวอรี่โคท
(Coted’Ivoire) และเรสตัน (Reston) ทุกสายพันธุ์ยกเว้น
เรสตันไวรัส เป็นไวรัสแอฟริกาที่ผู้ติดเชื้อมักมีอาการรุนแรง อัตราตายสูงร้อยละ 50-90
ส่วน
เรสตันไวรัส พบว่าหลายครั้งมีถิ่นกำเนิดจากฟิลิปปินส์ มักทำให้ลิงเสียชีวิต
แต่ไม่ค่อยมีผลต่อมนุษย์
เชื้อโรคทั้ง 2 ชนิดไม่ใช่เชื้อที่เพิ่งค้นพบใหม่
มนุษย์พบเชื้อไวรัสกลุ่มนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1967 ที่ประเทศเยอรมนี
เป็นการพบเชื้อไวรัสมาร์บูร์ก (คำว่า “มาร์บูร์ก”
เป็นการตั้งชื่อตามชื่อเมืองที่สามารถสกัดไวรัสตัวนี้) เมื่อเจ้าหน้าที่ในห้องทดลองติดเชื้อตัวนี้ผ่านลิงที่นำเข้าจากประเทศยูกานดา
(Uganda) ผู้ติดเชื้อ 7 รายจากผู้ติดเชื้อทั้งหมด 25
คนเสียชีวิต จากนั้นผู้ติดเชื้อรายหนึ่งได้แพร่เชื้อแก่ภรรยาของตน
ส่งผลทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มเติมอีก 7 ราย ที่ผ่านมาการระบาดของไวรัสมาร์บูร์กค่อนข้างจำกัด
คือ มักอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออกกับแอฟริกาใต้เท่านั้น
ข่าวการระบาดครั้งสำคัญของไวรัสมาร์บูร์กเกิดขึ้นช่วงปี
2004-2005 มีผู้ติดเชื้อในประเทศแอนโกลา (Angola) กว่า 250
ราย อัตราเสียชีวิตร้อยละ 90 เหตุที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งมาจากสภาพโรงพยาบาลในแอฟริกาที่ยังขาดความพร้อม
อีกส่วนหนึ่งเกิดจากความรุนแรงของตัวเชื้อ
ส่วนไวรัสอีโบลานั้น โลกรู้จักเป็นครั้งแรกพร้อมกับการแพร่ระบาดใหญ่ครั้งแรกของมัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี 1976 เริ่มจากการตรวจพบผู้ป่วยที่มาในอาการของโรคไข้เลือดออกและระบาดอย่างรวดเร็ว มีผู้ติดเชื้อถึง 550 ราย ผู้ติดเชื้อเหล่านี้อยู่ในประเทศซาอีร์ (Zaire เดิมชื่อคองโก) กับซูดาน และยังพบว่าเชื้อที่ระบาดในซาอีร์กับซูดานเป็นคนละสายพันธุ์ มีความรุนแรงแตกต่างกัน ผู้ติดเชื้อในซาอีร์เสียชีวิตร้อยละ 90 ส่วนซูดานร้อยละ 50 จึงเป็นการระบาด 2 ครั้ง 2 สถานที่ในเวลาไล่เลี่ยกัน จากการสืบสวนในเวลาต่อมาพบว่า เหตุที่ระบาดรุนแรงเนื่องจากเป็นการติดเชื้อระหว่างมนุษย์ คือ ผู้ป่วยแพร่เชื้อต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนในโรงพยาบาล การใช้เข็มฉีดยาและหลอดฉีดยาที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ (มักเกิดขึ้นประเทศกำลังพัฒนา) การแพร่ระบาดเริ่มลดน้อยลงเมื่อสถานพยาบาลท้องถิ่นปิดตัว ผู้คนหนีห่างจากผู้ติดเชื้อ และไม่ฝังศพตามประเพณีนิยม (ซึ่งเป็นเหตุให้แพร่ระบาด)
ส่วนไวรัสอีโบลานั้น โลกรู้จักเป็นครั้งแรกพร้อมกับการแพร่ระบาดใหญ่ครั้งแรกของมัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี 1976 เริ่มจากการตรวจพบผู้ป่วยที่มาในอาการของโรคไข้เลือดออกและระบาดอย่างรวดเร็ว มีผู้ติดเชื้อถึง 550 ราย ผู้ติดเชื้อเหล่านี้อยู่ในประเทศซาอีร์ (Zaire เดิมชื่อคองโก) กับซูดาน และยังพบว่าเชื้อที่ระบาดในซาอีร์กับซูดานเป็นคนละสายพันธุ์ มีความรุนแรงแตกต่างกัน ผู้ติดเชื้อในซาอีร์เสียชีวิตร้อยละ 90 ส่วนซูดานร้อยละ 50 จึงเป็นการระบาด 2 ครั้ง 2 สถานที่ในเวลาไล่เลี่ยกัน จากการสืบสวนในเวลาต่อมาพบว่า เหตุที่ระบาดรุนแรงเนื่องจากเป็นการติดเชื้อระหว่างมนุษย์ คือ ผู้ป่วยแพร่เชื้อต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนในโรงพยาบาล การใช้เข็มฉีดยาและหลอดฉีดยาที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ (มักเกิดขึ้นประเทศกำลังพัฒนา) การแพร่ระบาดเริ่มลดน้อยลงเมื่อสถานพยาบาลท้องถิ่นปิดตัว ผู้คนหนีห่างจากผู้ติดเชื้อ และไม่ฝังศพตามประเพณีนิยม (ซึ่งเป็นเหตุให้แพร่ระบาด)
ในปี
1995 เชื้อไวรัสอีโบลาสายพันธุ์ซาอีร์ระบาดหนักอีกครั้งในประเทศคองโก
(หรือซาอีร์ในปัจจุบัน) มีผู้ติดเชื้อ 317 ราย เสียชีวิตร้อยละ 88
การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งที่ประเทศกาบอง (Gabon) ในช่วงปี
1994-1996 แต่ไม่รุนแรง
เมื่อศึกษาประวัติย้อนหลัง นับจากการค้นพบไวรัสอีโบลาเป็นต้นมา ตลอด 30
กว่าปีที่ผ่านมาเชื้อได้ระบาดเป็นครั้งคราวเสมอๆ ในทวีปแอฟริกากลาง
โดยเฉพาะในประเทศกองบอง (Gabon) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic
Republic of the Congo) สาธารณรัฐคองโก (Brazzaville) หรือที่บางคนเรียกว่า คองโก-บราซซาวิล (Congo-Brazzaville) ประเทศซูดาน และประเทศแองโกลา (Angola)
ดังนั้น ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งโรคอีโบลากับโรคมาร์บูร์ก
เป็นโรคที่เกิดขึ้นพื้นที่เฉพาะบางประเทศในแอฟริกาเท่านั้น ไม่ใช่ทั่วทั้งแอฟริกา
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การควบคุมการแพร่ระบาด เช่นเดียวกับการระบาดรอบนี้ที่ยังจำกัดอยู่ใน
4 ประเทศ คือ กินี (Guinea) ไลบีเรีย ไนจีเรีย และเซียร์ราลีโอนี
(Sierra Leone) ตัวเลขผู้ติดเชื้อล่าสุดอยู่ที่ 2,473
ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้ว 1,350 ราย
การคิดค้นยา วัคซีน :
ปัจจุบัน
มียาตัวหนึ่งที่บางคนเชื่อว่าสามารถรักษาโรคอีโบลา นั่นคือยาที่มีชื่อว่า “Zapp” หรืออีกชื่อคือ “Zmapp” ผลิตโดยบริษัทยาแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา
แต่จนถึงทุกวันนี้ ทางการสหรัฐยังไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของตัวยาดังกล่าว
“เนื่องจากยายังอยู่ในขั้นทดลอง ยังไม่เคยทดลองในมนุษย์ เพื่อศึกษาเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย”
องค์การอาหารและยาสหรัฐไม่อนุญาตให้ใช้ยาดังกล่าวในประเทศ
นอกจากยารักษาโรคแล้ว
มีผู้พยายามคิดค้นวัคซีนป้องกันโรค ปัจจุบันมีการศึกษาวัคซีนที่ชื่อ TKM-Ebola
กับ BCX4430 ซึ่งยังอยู่ในขั้นต้นเท่านั้น ยังไม่อาจนำมาใช้กับมนุษย์
ที่ผ่านมา
หากผู้ป่วยไม่เสียชีวิตก็จะหายเอง โดยไม่ต้องใช้ยาหรือวัคซีนต้านเชื้ออีโบลา แนวทางรักษาในปัจจุบัน
จึงเน้นการรักษาประคับประคองตามอาการ ดังเช่นคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก เช่น
การให้ยาแก้ปวดลดไข้เมื่อมีอาการ การบำบัดอาการขาดน้ำอันเนื่องจากท้องเสีย
ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) อนุมัติให้ยา “Zmapp” ต่อผู้ป่วยแอฟริกาตะวันตกที่ติดเชื้ออีโบลา โดยให้ยาดังกล่าวแก่ผู้ติดเชื้อ
6 ราย ในจำนวนนี้ 3 รายเป็นชาวตะวันตก อีก 3 รายเป็นแพทย์แอฟริกัน ล่าสุด 1
ในผู้รับยาเสียชีวิต ส่วนที่เหลืออาการดีขึ้น แต่ไม่ชัดเจนว่าดีขึ้นเพราะยาหรือไม่
แพทย์บางคนแสดงความเห็นว่า ยาดังกล่าวยังอยู่ในขั้นทดลอง จำต้องติดตามการใช้อย่างใกล้ชิด
เพื่อศึกษาว่ายาให้ผลดีหรือทำให้แย่กว่าเดิม ไม่สามารถจ่ายให้กับผู้ป่วยทุกราย
ด้านองค์การอนามัยโลกชี้แจงว่าได้ปรึกษาขอความเห็นชอบจากผู้ป่วยที่ได้รับยาทุกคน
ได้แจ้งล่วงหน้าว่ายาดังกล่าวยังไม่ผ่านการทดลองตามเกณฑ์มาตรฐาน ผู้ใช้จึงมีความเสี่ยงสูง
ก่อนหน้านี้ มีผู้ป่วยเพียง 2 คนที่เคยใช้ยาดังกล่าว รายหนึ่งเป็นแพทย์
อีกรายเป็นพยาบาลอเมริกัน นอกเหนือจากนี้เป็นการทดลองในสัตว์เท่านั้น
พึงเข้าใจว่าการที่องค์การอนามัยโลก
อนุมัติให้ยา “Zmapp” ทั้งๆ
ที่ยังไม่ผ่านการทดลองอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์
เนื่องจากกรณีนี้เป็นกรณีพิเศษที่ผู้ป่วยไม่มียารักษา
และเข้าใจว่าเป็นกรณีที่องค์การอนามัยโลกต้องการทดสอบประสิทธิภาพของยาดังกล่าว
สังเกตว่าผู้รับยาไม่ใช่ชาวบ้านแอฟริกันทั่วไป
และไม่ได้อนุมัติให้ใช้ยานี้กับผู้ป่วยทุกคน
ณ
ตอนนี้ ได้แต่หวังว่า ยาดังกล่าวจะใช้ได้ผล เพื่อขยายการใช้กับผู้ป่วยให้มากขึ้น
เป็นอีกวิธีการยับยั้งการแพร่ระบาดในขณะนี้
ข้อคิด ทำไมไม่มียา วัคซีน:
โลกรู้จักไวรัสมาร์บูร์กกับไวรัสอีโบลา
มา 4-5 ทศวรรษแล้ว ช่วงเวลาที่ผ่านมา เกิดการระบาดครั้งใหญ่น้อยหลายรอบ
บางครั้งมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยราย บางครั้งเป็นพันราย
มีงานศึกษาวิจัยโรคเหล่านี้อยู่ไม่น้อย แต่จนถึงทุกวันนี้ โลกยังปราศจากยา
วัคซีนที่ใช้ได้ผลอย่างจริงจัง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะขาดการวิจัยยากับวัคซีนที่มากเพียงพอ
ยากับวัคซีนบางตัวที่พูดถึงอยู่ในขั้นการทดลองเบื้องต้นเท่านั้น
เหตุผลสำคัญข้อหนึ่งเกิดจากการที่ผู้ติดเชื้อหรือเสี่ยงที่จะติดเชื้อเป็นคนในทวีปแอฟริกา
ผู้มีฐานะยากจน เช่นเดียวกับที่รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ก็ขาดแคลนงบประมาณสนับสนุน
ทำให้บริษัทยาเอกชนต้องคิดหนักหากจะลงทุนหลายพันหลายหมื่นล้านบาทเพื่อวิจัยค้นคว้ายาที่ใช้ได้ผลจริง
ใครจะประกันได้ว่าเมื่อลงทุนแล้วจะมีผู้ยินดีจ่ายเงินซื้อใช้จำนวนมาก บริษัทจะไม่ขาดทุน
นี่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ที่บรรดาบริษัทยาจำต้องพยายามคิดค้น
วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค “ที่ขายออก มีกำไรงาม” เป็นหน้าที่พื้นฐานของบริษัทที่จะต้องรักษาผลประโยชน์ของ
“เจ้าของบริษัทกับผู้ถือหุ้น”
การระบาดใหญ่รอบนี้น่าจะเป็นแรงกระตุ้นอีกครั้ง
ให้องค์การอนามัยโลกได้ทบทวนหาวิธีว่าจะรับมืออย่างไร เพราะในอนาคตย่อมมีโอกาสเกิดการระบาดใหญ่อีก
ล่าสุด
องค์การอนามัยโลกจะจัดประชุมเรื่องแนวทางรักษาโรคอีโบลา รวมทั้งเรื่องยากับวัคซีน
ในวันที่ 4-5 กันยายน เพื่อหาข้อสรุปต่อกรณีถกเถียงหลายประเด็น เช่น
เรื่องประสิทธิภาพ ความเสี่ยงที่จะเลือกใช้
การป้องกัน ควบคุมการระบาดคือยาที่ได้ผลมากที่สุด :
การป้องกัน ควบคุมการระบาดคือยาที่ได้ผลมากที่สุด :
ในยามที่โลกยังปราศจากยา
วัคซีนที่ใช้ได้ผล เป็นที่ยอมรับ การป้องกันและการควบคุมโรคคือ “แนวทางรักษา” ที่เหมาะสมที่สุด
โลกรู้จักไวรัสทั้ง 2 มาหลายทศวรรษแล้ว ทุกครั้งที่มีการระบาด การระบาดจะยุติลงในที่สุด
โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดอย่างหนัก เพราะทุกคนจะตื่นตัว มีการควบคุม
ป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด จนในที่สุด เมื่อไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม
การระบาดจะยุติไปเอง ดังนั้น การป้องกัน การควบคุมการแพร่ระบาดคือวัคซีนกับยาที่ใช้ต่อสู้กับการระบาดของโรคอีโบลาในขณะนี้
24 สิงหาคม 2014
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6501 วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2557)
----------------------------
1. โรคไข้เลือดออกแอฟริกัน (African
Hemorrhagic Fever). (2553, ธันวาคม 8). กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. Retrieved from http://thaigcd.ddc.moph.go.th/knowledges/view/11
2. Cicco, Camillo Di. (2010, March 19). Ebola. Science 2.0. Retrieved
from http://www.science20.com/scientist/ebola-66006
3. Ebola Haemorrhagic Fever. (2014). Bureau of
Epidemiology, Department of Disease Control, MoPH, Thailand. Retrieved from
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/iz.html
4. First European Ebola Victim:Spanish priest died to Ebola
/ Breaking News. (2014, August 12). National Turk. Retrieved from
http://www.nationalturk.com/en/first-european-ebola-victimspanish-priest-died-to-ebola-breaking-news-53128
5. Pearson, Carol. (2014, August 19). Five Patients Given
Experimental Ebola Drug Said To Be Improving. VOA News. Retrieved from http://www.voanews.com/content/five-patients-given-experimental-drugs-said-to-be-improving/2419273.html
6. Peters, Clarence J. (2008). Ebola and Marburg Viruses. In Fauci, Anthony
S., Braunwald, Eugene., Kasper, Dennis L., Hauser, Stephen L., Longo, Dan L.,
Jameson, J. Larry., & Loscalzo,Joseph. (Eds.), Harrison's Principles of
Internal Medicine (17th Ed.). pp. 1240-1242. USA.: The McGraw-Hill.
7. WHO to host consultation on potential Ebola therapy,
vaccine. (2014, August 22). Xinhua. Retrieved from
http://news.xinhuanet.com/english/world/2014-08/22/c_133574644.htm
-----------------------------