บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2014

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2015 ฝันที่ยังไม่เป็นจริง (ตอนจบ)

รูปภาพ
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาไทยหลายแห่งให้ความสำคัญกับการมาของประชาคมอาเซียนในสิ้นปี 2015 แต่ความไม่พร้อมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community หรือ AEC) เป็นปัจจัยสำคัญต่อการประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียนตามกำหนดเวลาเดิม ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งล่าสุด เมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 แถลงการณ์อาเซียนยอมรับว่า ในหมู่ชาติสมาชิก 10 ประเทศ มีทั้งประเทศที่มีความพร้อมมากกับประเทศที่มีความพร้อมน้อยกว่า พร้อมกับชี้ว่า อาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี 2015 ( ASEAN Community’s Post 2015 ) เป็นวิสัยทัศน์ฉบับใหม่ที่ครอบคลุมทุกด้าน ส่วนในระหว่างนี้จะเดินหน้าปฏิบัติตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Blueprints ) ที่มีอยู่เดิม             เทคนิคการนำเสนอข้างต้น คือ การมุ่งให้มองไปในอนาคต มองความสำคัญของวันข้างหน้า ด้วยการประกาศวิสัยทัศน์ที่มองไกลกว่าปี 2015 ซึ่งจะใกล้เคียงของเดิมหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป แต่การไม่ประกาศ AEC ตามแผนเดิมย่อมส่งผลกระทบต่อแผนงานของภา...

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2015 ฝันที่ยังไม่เป็นจริง (ตอนแรก)

รูปภาพ
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สังคมไทยให้ความสำคัญกับการมาถึงของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี 2015 อย่างกว้างขวาง หลายภาคส่วนทั้งเอกชน ราชการต่างเร่งเตรียมตัว เพื่อรองรับการมาถึงของประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บทความนี้ (แบ่งออกเป็น 2 ตอน) จะนำเสนอว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2015 อาจไม่เกิดประชาคมอาเซียน หรือเกิดประชาคมอาเซียนแต่จะไม่เป็นไปตามแผนเดิมที่ประกาศไว้ จุดเริ่มของประชาคมอาเซียน :             ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2003 ด้วยปฏิญญา“ข้อตกลงบาหลี 2” (Bali Concord II) กำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 สร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2020 โดยประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน   ( ASEAN Security Community หรือ ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community หรือ AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน   ( ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC)              ต่อมาในเดือนกันยายน...

ชาวเคิร์ดผู้โหยหาอิสรภาพ ผู้กำหนดอนาคตอิรัก

รูปภาพ
เมื่อตอนที่กองกำลัง ISIL/ISIL หรือล่าสุดคือรัฐอิสลาม (Islamic State) กับกองกำลังติดอาวุธซุนนีที่ลุกฮือ ยึดครองภาคตะวันตกและส่วนหนึ่งของภาคเหนือ แต่เว้นพื้นที่ของพวกเคิร์ด (Kurds) จากนั้นก็มุ่งลงใต้ประชิดกรุงแบกแดด น่าจะสนใจที่กองกำลังที่ลุกฮือตั้งใจไม่แตะต้องพวกเคิร์ด เช่นเดียวกับที่พวกเคิร์ดซึ่งถือว่าเป็นพลเมืองอิรัก แต่กลับแสดงท่าทีนิ่งเฉย ทั้งยังสนับสนุนให้นายนูรี อัลมาลิกี (Nouri Al-Maliki) นายกรัฐมนตรีถอนตัวออกจากอำนาจ พร้อมกับเรียกร้องขออำนาจการปกครองตนเองเพิ่มเติม             ชาวเคิร์ดเป็นตัวแสดงสำคัญอีกตัวหนึ่งในความขัดแย้งอิรักล่าสุด ใครคือชาวเคิร์ด :             ชาวเคิร์ดเป็นชนเชื้อสายหนึ่งอาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลางมาแต่โบราณ แต่พวกเขาไม่ถือว่าตนเองอยู่ในกลุ่มอาหรับ ทำนองเดียวกับพวกเปอร์เซีย (อาศัยในประเทศอิหร่าน) พวกเติร์ก (ตุรกี) และชาวอิสราเอล (อิสราเอล)             ปัจจุบัน ผู้ที่ถือว่าเป็นช...

อิรักกำลังตามอย่างซีเรีย ด้วยสงครามกลางเมืองยืดเยื้อ

รูปภาพ
ความรุนแรงรอบใหม่ที่เริ่มต้นเมื่อเดือนมิถุนายน จากเดิมข่าวที่ปรากฏคือการก่อการของ Islamic State of Iraq and the Levant (ISIL) หรือ Islamic State in Iraq and Syria (ISIS) สามารถยึดหลายเมืองหลายจังหวัดในเขตภาคตะวันตกกับภาคเหนือ มาบัดนี้ข่าวหลายสำนักนำเสนอใหม่ในภาพเน้นการลุกฮือของประชาชนอิรักผู้ไม่พอใจนายนูรี อัลมาลิกี ( Nouri Al-Maliki)  นายกรัฐมนตรีอิรัก ผู้นำชีอะห์ ผู้กดขี่ข่มเหงประชาชน โดยเฉพาะพวกซุนนี สร้างความแตกแยกทางศาสนา             การนำเสนอบทบาทของพวกซุนนี ส่งผลให้ ISIL / ISIS ที่เป็นตัวแสดงหลัก ตอนนี้ลดฐานะกลายเป็นส่วนหนึ่งในฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอัลมาลิกีเท่านั้น ISIL / ISIS กลายเป็นกองกำลังส่วนน้อยเมื่อเทียบกับชาวซุนนี ชาวอิรักทั้งหมดที่ลุกฮือต่อต้านรัฐบาล ความขัดแย้งกำลังกลายเป็นสงครามกลางเมืองระหว่างประชาชนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งกับรัฐบาลที่มีประชาชนอีกส่วนสนับสนุน อีกทั้งยังนำเรื่องศาสนา ประเทศเพื่อนบ้าน ชาติมหาอำนาจเข้ามาพัวพันด้วย พวกซุนนีเป็นแกนหลักต่อต้านรัฐบาล :     ...

ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับรัสเซียในวิกฤตยูเครนเป็นสงครามเย็นหรือไม่ (ตอนจบ)

รูปภาพ
ในบทความ 2 ตอนแรก ได้อธิบายเปรียบเทียบอย่างชัดเจนว่าความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียในวิกฤตยูเครน ไครเมีย มีทั้งลักษณะที่คล้ายสงครามเย็นกับส่วนที่ไม่เหมือน และมีข้อสรุปว่าไม่ใช่สงครามเย็น             สิ่งหนึ่งที่ประชาชนควรเข้าใจคือ เรื่องราวที่ปรากฏผ่านสื่อสาธารณะทั้งหมดอาจไม่ได้โยงกับสงครามเย็นโดยตรงเสมอไป แต่พูดในทำนองเปรียบเทียบความใกล้เคียง หรือให้เห็นภาพคล้ายกัน ซึ่งเป็นการชี้นำความคิดอย่างหนึ่ง ชวนให้นึกถึงสงครามเย็น             นอกจากนี้ พึงระลึกเสมอว่า ผู้ใช้คำว่า “สงครามเย็น” อาจเป็นการใช้ผิดโดยไม่เจตนาเนื่องจากเป็นความเข้าใจผิดส่วนตัว การพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นภาพอย่างรวดเร็ว หรือเกิดจากการใช้ศัพท์เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความรุนแรง ความสำคัญของเหตุการณ์ ผลจากการใช้คำว่าสงครามเย็น :             ไม่ว่าการใช้คำว่า “สงครามเย็น” มาจากการใช้ผิดโดยเจตนาหรือไม่ ก่อให้เกิดผลโดยสังเขป ดังนี้   ...