บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2014

อัลมาลิกีไม่ก้าวลงจากอำนาจ ผลกระทบต่อ ISIL/ISIS พวกซุนนีในอิรักและอื่นๆ

รูปภาพ
นับจากกองกำลังอาวุธ Islamic State of Iraq and the Levant (ISIL) หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ Islamic State in Iraq and Syria (ISIS) เข้ายึดเมืองโมซุล (Mosul) และอีกหลายเมืองหลายจังหวัด ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ซึ่งสนับสนุนนายนูรี อัลมาลิกี (Nouri Al-Maliki) นายกรัฐมนตรีอิรัก ตั้งเงื่อนไขการช่วยเหลือรัฐบาลแบกแดดว่า สหรัฐจะสนับสนุนการรบทางการอากาศ ก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าสหรัฐในอิรักถูกคุกคามโดยตรง หรือรัฐบาลอัลมาลิกีจะปรับเปลี่ยนนโยบายตอบสนองความต้องการของชาวอิรักทุกฝ่าย และย้ำว่า “ข้อสอบของพวกเขาคือเรื่องการเอาชนะความไม่ไว้ใจ การแบ่งแยกทางศาสนาอย่างรุนแรง” สหรัฐจะทำเพื่อสิ่งที่ถูกต้องแก่ประชาชนอิรัก             นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ขยายความจุดยืนของประธานาธิบดีว่าหากผู้นำการเมืองบรรลุข้อตกลงนำเอกภาพกลับสู่ประเทศ สหรัฐจึง “จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่” เป็นเวลาที่บรรดาผู้นำอิรักต้องตัดสินใจ “สหรัฐอเมริกาอยากเห็นประชาชนอิรักหาผู้นำที่เตรียมตัวเป็นผู้แทนของประชาชนอิรักทั้งสิ้น” ทั้งหมดนี้ตีความได้ว่า รัฐบาลโอบามาจะให...

สงครามปราบปราม ISIL/ISIS สมรภูมิเดือดที่ชาวอิรักต้องตัดสินใจ

รูปภาพ
หลังจากที่กองกำลังติดอาวุธ Islamic State of Iraq and the Levant (ISIL) หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ Islamic State in Iraq and Syria (ISIS) เปิดฉากยึดเมืองรอบใหม่ สามารถควบคุมหลายเมืองหลายจังหวัดในเขตภาคตะวันตกและภาคเหนือของอิรัก ซึ่งเป็นพื้นที่ถิ่นอาศัยของพวกซุนนี กองทัพอิรักซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี นูรี อัลมาลิกี ( Nouri Al-Maliki)  เริ่มตีโต้ในบางจุด พร้อมกับที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามาประกาศว่าจะช่วยเหลือรัฐบาลอิรักปราบปรามกองกำลัง ISIL/ISIS ในหลายรูปแบบ แต่จะไม่ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบทางภาคพื้นดิน             นับจากที่นายอัลมาลีกีขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ ตั้งแต่ปี 2007 ก็ปรากฏข่าวความไม่พอใจในหมู่ซุนนีกับพวกเคิร์ด เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้กระจายอำนาจมากเท่าที่ควร ไม่ได้กระจายผลประโยชน์เศรษฐกิจอย่างยุติธรรม บางคนอธิบายเพิ่มเติมว่าพื้นฐานความขัดแย้งคือการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองกับผลประโยชน์เศรษฐกิจระหว่างกลุ่มผู้นำสามสาย สายแรกคือหมู่ผู้นำชีอะห์ที่ปัจจุบันเป็นครองตำแหน่งนายกฯ สายที่สองคือผู้นำซุนนี และสายที่สามคือพวกชาวเคิร์ด ความ...

โอบามาส่งสัญญาณแก้ปัญหา ISIL/ISIS ในอิรัก ด้วยการเสียสละของอัลมาลิกี

รูปภาพ
มีกระแสข่าวว่า รัฐบาลโอบามาส่งสัญญาณให้อิรักจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยปราศจากนายกรัฐมนตรี นูรี อัลมาลิกี (Nouri Al-Maliki) เนื่องจากเห็นว่านายกฯ อัลมาลิกีไม่สามารถสร้างความปรองดองให้กับคนในชาติ รัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นจะให้ความสำคัญกับความต้องการของพวกซุนนีกับชาวเคิร์ด การที่เป็นเช่นนี้สาเหตุหนึ่งมาจากนักการเมืองสหรัฐหลายคนร่วมกับรัฐบาลซาอุฯ กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กดดันให้รัฐบาลโอบามายุติสนับสนุนนายกฯ อัลมาลิกี วุฒิสมาชิก Dianne Feinstein จากพรรคเดโมแครตกล่าวว่า “รัฐบาลอัลมาลิกีต้องสมัครใจออกไป ถ้าต้องการสมานฉันท์”             สื่อ The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่สหรัฐกับอาหรับ ชี้ว่าตลอดห้าปีที่ผ่านมา รัฐบาลโอบามาได้เตือนรัฐบาลอัลมาลิกีให้กระจายอำนาจแก่พวกซุนนี และไม่พยายามจับพวกซุนนีมาลงโทษ เพราะจะยิ่งสร้างความแตกแยก แต่นายกฯ อัลมาลิกีไม่สนใจคำแนะนำเหล่านั้น ยังคงพยายามรวบอำนาจไว้กับตนเอง วิเคราะห์ท่าทีของประธานาธิบดีโอบามา :           ...

ISIL/ISIS หวังโค่นล้มรัฐบาลอัลมาลิกี เสริมไฟสงครามกลางเมืองอิรัก

รูปภาพ
ย้อนหลังสมัยสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อทศวรรษ 1990 ในสมัยนั้นประเทศอิรักประกอบด้วยตัวแสดงหลัก 3 ตัว คือ พวกชีอะห์ซึ่งปัจจุบันเป็นรัฐบาล พวกซุนนี และพวกเคิร์ด (แต่ละกลุ่มมีกลุ่มย่อยๆ อีก) พวกเคิร์ดในปัจจุบันอยู่ในฐานะกึ่งปกครองตนเอง มีรัฐบาลปกครองของตนเอง มีกองกำลังและขายน้ำมันเข้ากระเป๋าตนเอง ส่วนพวกชีอะห์กับซุนนีมีการต่อสู้เรื่อยมานับจากสิ้นระบอบซัดดัมเมื่อ 10 ปีก่อน ฝ่ายชีอะห์ซึ่งมีจำนวนมากกว่าและได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกเป็นฝ่ายได้เปรียบ นายนูรี อัลมาลิกี ( Nouri Al-Maliki)  นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันก็เป็นสายชีอะห์ และเพิ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อปลายเดือนเมษาที่ผ่านมา ได้ดำรงตำแหน่งนายกฯ สมัยที่ 3 ดังนั้น โดยภาพรวมแล้วว่า ในมุมมองหนึ่งสรุปได้ว่าสายชีอะห์อยู่ในฐานะที่ได้เปรียบมากที่สุด ISIL ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติหรือไม่ :             การปรากฏตัวของ Islamic State of Iraq and the Levant (ISIL) หรือ Islamic State in Iraq and Syria (ISIS) ในปีที่แล้ว (2013) ทำให้เกิดตัวแสดงตัวใหม่    ...

ประธานาธิบดีอัสซาดชนะการเลือกตั้ง สงครามกลางเมืองซีเรียดำเนินต่อไป

รูปภาพ
ท่ามกลางสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2011 หรือกว่า 3 ปี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 150,000 ราย ประชาชนหลายล้านคนกลายเป็นผู้อพยพลี้ภัย โดยที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติ รัฐบาลซีเรีย นำโดยประธานาธิบดีบาชาร์ อัลอัสซาด (Bashar al-Assad) จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี และเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ได้รับคะแนน 10.3 ล้านเสียง หรือเท่ากับร้อยละ 88.7 ของผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้นราว 11.6 ล้านเสียง จากประชาชนผู้มีสิทธิ์ทั้งสิ้น 15.8 ล้านคน ผู้สมัครที่ได้คะแนนอันดับ 2 กับ 3 ได้เพียง 5 แสนกับ 3.7 แสนคะแนนเท่านั้น             ทางการซีเรียประกาศว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ย้ำเน้นความชอบธรรมของประธานาธิบดีอัสซาด ตรงข้ามกับรัฐบาลชาติตะวันตกที่สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายเพื่อโค่นล้มรัฐบาล เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ประชาชนของตนเอง และเห็นว่าการก่อการร้ายในซีเรียจะยุติทันทีหากซาอุดิอาระเบีย ประเทศในภูมิภาคอ่าว สหรัฐ และฝรั่งเศสยุติให้การสนับสนุน ภาพสะท้อนจากผลการเลือกตั้ง :      ...