บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2014

แท่นขุดเจาะ HYSY981 ของจีน โจทย์ของเวียดนาม และข้อเสนอทางออก

รูปภาพ
นับจากทางการจีนติดตั้งแท่นขุดเจาะ Haiyang Shiyou-981 (HYSY981) ใกล้หมู่เกาะซีซา ( Xisha Islands) หรือพาราเซล (Paracel Islands ) เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเวียดนามดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อผลักดันให้จีนถอนแท่นขุดเจาะดังกล่าว เช่น ใช้เรือเข้าขัดขวางแท่นขุดเจาะ การชุมนุมประท้วงภายในประเทศ กล่าวหาว่าจีนละเมิดอธิปไตยในหลายเวที แต่นับจากวันแรกจนบัดนี้ มาตรการทั้งหลายยังไม่ได้ผล รัฐบาลจีนยืนยันว่าอยู่ในน่านน้ำของตน โจทย์ของเวียดนาม :             เมื่อเวียดนามมองว่านี่คือการลุกล้ำอธิปไตย รัฐบาลเวียดนามย่อมไม่อาจทนอยู่นิ่งเฉย ประเด็นสำคัญที่ต้องตัดสินใจคือ จะตอบโต้อย่างไร จะต้องถึงขั้นทำสงครามหรือไม่ ที่ผ่านมายังไม่มีทีท่าว่าต้องการทำสงคราม ได้แต่ประกาศว่าจะปกป้องอธิปไตยถึงที่สุดด้วยสันติวิธี ซึ่งฟังดูแล้วย่อมเกิดคำถามว่า หากแก้ไขด้วยสันติวิธีแต่ไม่สามารถต้านการละเมิดอธิปไตย รัฐบาลเวียดนามจะปล่อยให้เป็นเช่นนี้หรือไม่ หรือในท้ายที่สุดจะต้องใช้กำลัง             เมื่อศึกษาประ...

จีนเดินหน้าต่อต้านระเบียบโลกตะวันตก สร้างระเบียบโลกใหม่

รูปภาพ
ในช่วงเวลาเดียวกับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 24 ณ เนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็เกิดเหตุการณ์อันน่าตื่นเต้นสำหรับอาเซียน 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ ลูกเรือประมงชาวจีนถูกทางการฟิลิปปินส์จับกุมในน่านน้ำที่ทั้งฟิลิปปินส์กับจีนต่างอ้างว่าเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลของตน             อีกเรื่องที่มีความสำคัญมากกว่า คือ เรื่องที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะ Haiyang Shiyou-981 (HYSY981) ที่รัฐบาลเวียดนามอ้างว่าอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ200 ไมล์ทะเลและอยู่ในเขตไหล่ทวีป ( continental shelf ) ตามนิยามของกฎหมายทะเลขององค์การสหประชาชาติ ( United Nations Convention on the Law of the Sea หรือ UNCLOS) ฉบับปี 1982 จึงเป็นการลุกล้ำอธิปไตยเวียดนาม ละเมิดปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ( Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea หรือ DOC) แต่ทางการจีนตอบว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตอธิปไตยของจีน และไม่ใช่พื้นที่พิพาทแต่อย่างไร              มีรายงานข...

จะเลือกตั้งหรือลงประชามติ เพียงย่างก้าวเล็กๆ ของยูเครน

รูปภาพ
ไม่นานหลังจากเขตกึ่งปกครองตนเองไครเมียประกาศแยกตัวออกจากยูเครน และรัสเซียผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ กระแสการเคลื่อนไหวในหลายเมืองในภูมิภาคยูเครนตะวันออกก็เริ่มแรงขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่นิยมชมชอบรัสเซียเข้าบุกยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง พร้อมกับประกาศลงประชามติ             ความจริงแล้ว กระแสการลงประชามติของหลายเมืองในยูเครนตะวันออกไม่ใช่เรื่องใหม่ เกิดพร้อมๆ กับกระแสการเคลื่อนไหวของไครเมีย แต่เนื่องจากสื่อในขณะนั้นให้ความสำคัญกับไครเมียมากกว่า กอปรกับการเคลื่อนไหวในไครเมียนั้นเข้มข้นและจริงจังกว่า ทำให้ข่าวไครเมียกลบการเคลื่อนไหวของยูเครนตะวันออก             ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมไม่แตกต่างกัน คือ ต้องการลงประชามติเพื่อแยกตัวออกจากประเทศยูเครน และค่อนข้างชัดเจนว่าเพื่อเข้ารวมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย แต่การเคลื่อนไหวของยูเครนตะวันออกไม่ราบรื่นเหมือนกรณีไครเมีย             ถ้าย้อนกลับพิจารณากรณีไครเมีย การลงประชามติจนถึง...

ยุทธศาสตร์ปรับสมดุลกับความขัดแย้งระหว่างเกาหลีใต้กับญี่ปุ่น

รูปภาพ
เกาหลีใต้กับญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรทางทหารที่สำคัญของสหรัฐฯ ตั้งแต่สมัยสงครามเย็น สหรัฐฯ มีฐานทัพของตนตั้งอยู่ใน 2 ประเทศดังกล่าว พร้อมกองกำลังอเมริกันหลายหมื่นนายประจำการอยู่ เมื่อสิ้นสงครามเย็นความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่ได้หมดไป กลับยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเมื่อจีนเติบโตทางเศรษฐกิจ มีพลังอำนาจทางทหารเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แม้ว่าประธานาธิบดีโอบามาจะพยายามพูดว่าสหรัฐฯ ไม่ต้องการปิดล้อมจีน แต่จากยุทธศาสตร์  Pivot to Asia  หรืออีกชื่อคือยุทธศาสตร์ปรับสมดุลให้ความสำคัญกับเอเชียแปซิฟิก นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่ามีเป้าประสงค์เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของจีนเป็นหลัก              ภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว สหรัฐฯ จำต้องมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งในภูมิภาค สามารถต่อกรกับจีน ประเทศที่เข้าข่ายมากที่สุดคือญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้  เนื่องจากสหรัฐฯ มีสนธิสัญญาความมั่นคงกับทั้ง 2 ประเทศ มีกองกำลังอเมริกันหลายหมื่นคนประจำการอยู่ และมีความขัดแย้งด้านความมั่นคงกับจีนและเกาหลีเหนือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน รวมความแล้ว เกาหลีใต้กับญี่ปุ่นคือ 2 ประเทศหลักท...

ความร่วมมือคู่ความอ่อนไหวในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลโอบามากับนาจิบ

รูปภาพ
ในการเยือนประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกของประธานาธิบดีโอบามาเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโอบามาใช้โอกาสดังกล่าวกระชับความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ ตามยุทธศาสตร์  Pivot to Asia  มาเลเซียเป็นเพียงประเทศเดียวใน  4  ประเทศที่ไม่อยู่ในฐานะเป็นพันธมิตร มิตรประเทศใกล้ชิดกับสหรัฐ จึงมีลักษณะแตกต่างออกไป และมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ ประเด็นความมั่นคงทางทหาร   :             เดิมมาเลเซียไม่ค่อยแสดงบทบาทในทะเลจีนใต้มากเท่ากับฟิลิปปินส์และเวียดนาม แต่ในเดือนมีนาคม 2013 เมื่อเรือจีนเริ่มแล่นลาดตระเวนรอบๆ   แนวหินโสโครกเซิงมู่  (Zengmu Reef)  ทางการมาเลเซียประกาศตั้งฐานทัพเรือทางตะวันออกของเมือง  Bintulu  ห่างจากแนวหินโสโครกดังกล่าว  60  ไมล์ทะเลทันที   มาเลเซียจึงเป็นอีกประเทศที่รู้สึกังวลต่ออิทธิพลจีนที่กำลังขยายตัวในทะเลจีนใต้             ในประเด็นดังกล่าว  ผู้นำทั้ง 2 ท่านเห็นพ...