บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2014

โอบามาปรับสมดุล อาเบะถอยหนึ่งก้าว? ร่วมเดินหน้าจัดระเบียบเอเชียแปซิฟิก

รูปภาพ
นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวก่อนเข้าร่วมประชุมทวิภาคีกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา ว่า “ญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกายึดถือคุณค่าพื้นฐานร่วมกันหลายอย่าง เช่น เรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน และเรายังมีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกันด้วย ความเป็นพันธมิตรระหว่าง 2 ประเทศนี้เป็นเรื่องที่ขาดจากกันไม่ได้หรือเปลี่ยนทดแทนไม่ได้ เป็นรากฐานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เปี่ยมด้วยสันติภาพและความมั่งคั่ง”             ด้านประธานาธิบดีบารัก โอบามา กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐ-ญี่ปุ่น ไม่เป็นเพียงรากฐานความมั่นคงของเราในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่เป็นความมั่นคงของทั่วทั้งภูมิภาค การที่สหรัฐกับญี่ปุ่นยึดถือคุณค่าประชาธิปไตย ไม่เพียงหมายความว่าเราจะร่วมกันจัดการประเด็นร้อนในภูมิภาค ยังรวมถึงการวางกฎเกณฑ์เพื่อจัดระเบียบระหว่างประเทศด้วย เดินหน้าจัดระเบียบเอเชียแปซิฟิก :             ตลอดการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธ...

ฝิ่น ปัจจัยกำหนดอนาคตของอัฟกานิสถาน

รูปภาพ
อัฟกานิสถาน ประเทศผู้ปลูกฝิ่นมากที่สุดในโลก ข้อมูลล่าสุดชี้ว่า ร้อยละ 90 ของฝิ่นและผลิตภัณฑ์อันเนื่องจากฝิ่น เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ที่เสพติดกันทั่วโลกมีต้นกำเนิดจากประเทศนี้  เมื่อสืบค้นข้อมูลย้อนหลังพบว่า อัฟกานิสถานปลูกฝิ่นมานานแล้ว ในช่วงปี 1935-1945 ฝิ่นเป็นสินค้าออกสำคัญอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในหมวดสินค้าเกษตร คนทั่วไปสามารถซื้อหาฝิ่นในตลาดของอัฟกานิสถานทั่วไป ไม่มีการห้ามปลูกหรือต้องแอบซื้อขายแต่อย่างไร เหตุผลการปลูกฝิ่นเพิ่มมากขึ้นในยุคการ์ไซ  :              การปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2001 ภายหลังกองทัพสหรัฐกับพันธมิตรโค่นล้มรัฐบาลตอลีบัน และแม้รัฐบาลของประธานาธิบดี ฮามิด การ์ไซ ประกาศให้การปลูกการค้าฝิ่นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่อัฟกานิสถานเป็นสวรรค์ของนักค้ายาเสพติด ด้วยเหตุผลสำคัญ ดังนี้              ประแรก ประเทศไร้เสถียรภาพ รัฐบาลอ่อนแอ             ภายหลังจากที่กองทัพสหรั...

หนทางสู่สันติภาพของอัฟกานิสถาน ความเห็นจากประธานาธิบดีฮามิด การ์ไซ

รูปภาพ
ทันทีที่เครื่องบินพาณิชย์พุ่งชนตึกแฝดของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์ก กับที่ทำการกระทรวงกลาโหมหรือที่เรียกกันว่าตึกเพนตากอนในกรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 นายจอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐในขณะนั้นก็สรุปว่า กลุ่มอัลกออิดะห์เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตี ต่อมาวันที่  14  กันยายน หรือเพียง  3  วันหลังเกิดเหตุ รัฐสภาสหรัฐเห็นชอบให้รัฐบาลใช้กำลังทหารต่ออัฟกานิสถาน กองทัพสหรัฐกับพันธมิตรร่วมกันโจมตีอัฟกานิสถาน โค่นล้มรัฐบาลตอลีบัน ( Taliban ) ที่ปกครองประเทศอัฟกานิสถานในขณะนั้น ด้วยเหตุผลว่ารัฐบาลตอลีบัน ให้การสนับสนุนและให้ที่พักพิงแก่กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์             เดือนธันวาคม  2001  รัฐบาลชั่วคราวถูกจัดตั้งขึ้น ที่ประชุมนานาชาติแต่งตั้งนายฮามิด การ์ไซ ( Hamid Karzai ) เป็นผู้นำรัฐบาลเฉพาะกาล และได้รับความเห็นชอบจากสภาหัวหน้าเผ่าและผู้มีบารมี หรือที่เรียกว่าสภา  Loya Jirga  ในเวลาต่อมานายการ์ไซชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2 สมัยคือในปี 2004 กับ 2009 ท่านจึงเป็นผู...

ท่าที การดำเนินนโยบายของ G7 ต่อวิกฤตยูเครนและผลลัพธ์ที่ได้

รูปภาพ
นับจากเหตุการณ์เขตกึ่งปกครองตนเองไครเมียลงประชามติเพื่อขอแยกตัวจากประเทศยูเครน พร้อมกับเกิดกองกำลังไม่ทราบสังกัดซึ่งในขณะนี้เป็นที่รับรู้ทั่วไปว่าคือกองกำลังของรัสเซียเข้าควบคุมไครเมียเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชาติสมาชิกกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือที่นิยมเรียกกันว่า กลุ่ม G7 อันประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น คือฝ่ายที่ออกมาต่อต้านไครเมียกับรัสเซียอย่างแข็งขัน เพราะประเทศเหล่ามีความเกี่ยวข้องได้รับผลกระทบโดยตรง และเป็นกลุ่มประเทศผู้ทรงอิทธิพลของโลก มีบทบาทสำคัญทั้งต่อเศรษฐกิจการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศ             จากการพบปะของผู้นำกลุ่ม  G 7 รวมทั้งประธานสภาผู้นำยุโรป ( President of the European Council)  และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป  (President of the European Commission ) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ออกแถลงการณ์ล่าสุดต่อสถานการณ์ยูเครนในขณะนี้ มีสาระสำคัญและมีประเด็นวิเคราะห์วิพากษ์ที่สำคัญ ดังนี้     ...