การยึดถือในปัจจุบัน : ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ที่ยึดถือและไม่ยึดถือ
ดังนี้
1.
พวกที่ไม่ยึดถือ
พวกเสรีนิยมอเมริกัน
(liberal) ไม่ให้ความสำคัญกับแนวคิดนี้จากความเชื่อที่ว่าทุกคนเป็นสามัญชนคนทั่วไปที่ร่วมกันใช้ชีวิตภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
ต้องการสังคมที่เท่าเทียม ไม่มีใครเหนือว่าใคร ประเทศสหรัฐฯ
ไม่จำต้องแสดงความเป็นชาติที่เหนือกว่าชาติอื่น
เห็นว่าการยึดถือแนวคิดดังกล่าวทำให้ต่างชาติมองอเมริกาว่าเป็นพวกเย่อหยิ่ง การยึดถือว่าตนรับหน้าที่ของพระเจ้าให้มาช่วยเหลือมนุษย์โลกเป็นความเชื่อส่วนบุคคล
ความเชื่อของแต่ละกลุ่มในสังคม พวกเสรีนิยมจึงเป็นพวกต่อต้านความพิเศษแตกต่าง (antiexceptionalists)
เหตุผลสำคัญเกิดจากการที่พวกเสรีนิยมไม่ใจยึดถือศาสนาอย่างเคร่งครัด American
exceptionalism ในฐานะมีองค์ประกอบของหลักศาสนาจึงไม่มีอิทธิพลต่อคนกลุ่มนี้
และเพราะคนกลุ่มนี้ยึดมั่นในความเท่าเทียมของมนุษย์ดังนั้นชาวอเมริกันไม่พิเศษแตกต่างจากชนชาติอื่น
พวกที่ยึดถือลัทธิดังกล่าวในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่
กลุ่มแรกคือยึดถือโดยโยงกับเหตุผลทางศาสนา (ศาสนามีอิทธิพล)
กลุ่มนี้เป็นคนส่วนน้อย ตัวอย่างเช่นบางคนบางกลุ่มในพวกอนุรักษ์นิยมกับอนุรักษ์นิยมใหม่
(neoconservatives)
ต้องการให้ชาวอเมริกันคิดว่าพวกเขาเป็นคนพิเศษ เป็นประเทศที่น่าภาคภูมิใจ
มีหลักศีลธรรมที่เหนือกว่า และเหนือว่าประเทศอื่นๆ ที่เป็นประชาธิปไตยด้วยกัน
อีกกลุ่มคือยึดถือในฐานะเป็นประเพณีที่สืบทอดจากอดีต (ศาสนาไม่มีอิทธิพล)
สถาบันวิจัย
Gallop ชี้ว่าปัจจุบันชาวอเมริกันร้อยละ 80
เชื่อว่าประเทศอเมริกาพิเศษเหนือกว่าชาติอื่นๆ
ด้วยเหตุผลจากประวัติศาสตร์และรัฐธรรมนูญ
ที่น่าสนใจคือตัวคำถามไม่มีเรื่องศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ว่าผู้ตอบแบบสอบถามจะสังกัดพรรครีพับลิกันหรือเดโมแครตหรือไม่สังกัดพรรคส่วนใหญ่จะตอบว่าเชื่อด้วยกันทั้งสิ้น
ดังนั้นข้อสรุปคือชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพวกเสรีนิยมหรืออนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่ยึดถือ
American exceptionalism
โดยไม่เกี่ยวโยงกับศาสนาอย่างลึกซึ้ง
เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าสังคมอเมริกันปัจจุบันไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายจากศาสนาความเชื่อ
คนส่วนใหญ่เห็นว่าศาสนาเป็นเรื่องโบราณ คนกลุ่มน้อยเท่านั้นที่ยังยึดถือ ดังนั้นในภาพรวม
American exceptionalism ในปัจจุบันไม่ได้อยู่ภายใต้การขับเคลื่อนของหลักความเชื่อใดๆ
หากแต่เป็นวัฒนธรรมสังคมการเมืองอย่างหนึ่ง บางคนอาจชี้ว่ารากฐานวัฒนธรรมของอเมริกามีองค์ประกอบของศาสนา
แต่ในปัจจุบันรากฐานดังกล่าวอยู่ในฐานะเป็นวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่
สังคมอเมริกันปัจจุบันเป็นพหุสังคม คนจำนวนมากยึดถือหลักเสรีนิยมหลักปัจเจกชนนิยมมากกว่าหลักศาสนา
3.
ผู้นำประเทศยึดถือ
ดังที่อธิบายแล้วว่าไม่ใช่ผู้นำประเทศทุกคนที่ยึดถือแต่ในระยะหลังผู้นำประเทศส่วนใหญ่เอ่ยอ้างถึง
American exceptionalism ไม่มากก็น้อย ประธานาธิบดีจอร์จ
ดับเลิ้บยู. บุช คือผู้หนึ่งที่ยึดถือแนวคิดดังกล่าวตามแนวทางของนักอนุรักษ์นิยมใหม่อย่างจริงจัง
โดยเฉพาะภายหลังเกิดเหตุผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินโดยสารพุ่งชนตึกเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์ในเหตุวินาศกรรม
9/11 นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าหลักนิยม (doctrine)
หลักนโยบายของประธานาธิบดีบุชเรื่องการต่อต้านลัทธิก่อการร้ายทั่วโลก
การทำสงครามในอิรักกับอัฟกานิสถานล้วนมีองค์ประกอบของแนวคิด American
exceptionalism อย่างเหนียวแน่น
ประธานาธิบดีบุชเคยกล่าวถึงเรื่องการบุกอิรักว่าเป็น “พันธกิจเพื่อนำเสรีภาพสู่ผู้ถูกกดขี่” ทีมงานใกล้ชิดบางคนให้ความเห็นว่าประธานาธิบดีเชื่อว่าตนเป็น “ผู้ทำพันธกิจเพื่อพระเจ้า” (หรือผู้ที่พระเจ้ามอบหมายให้ทำหน้าที่แทนพระองค์) เป็นเหตุผลที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีบุชเคยกล่าวถึงเรื่องการบุกอิรักว่าเป็น “พันธกิจเพื่อนำเสรีภาพสู่ผู้ถูกกดขี่” ทีมงานใกล้ชิดบางคนให้ความเห็นว่าประธานาธิบดีเชื่อว่าตนเป็น “ผู้ทำพันธกิจเพื่อพระเจ้า” (หรือผู้ที่พระเจ้ามอบหมายให้ทำหน้าที่แทนพระองค์) เป็นเหตุผลที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีบารัก
โอบามากล่าวว่า “ข้าพเจ้าเชื่อใน American exceptionalism เหมือนกับที่ชาวอังกฤษเชื่อใน
British exceptionalism หรือพวกกรีกเชื่อใน Greek
exceptionalism” ประธานาธิบดีโอบามาอาจไม่ได้ยึดโยงกับหลักศาสนาเท่ากับประธานาธิบดีบุช
แต่ได้สะท้อนการยึดถือแนวคิดดังกล่าวอย่างชัดเจน ดังนั้นในยุคปัจจุบันประธานาธิบดีหลายคนยังยึดถือ American Exceptionalism
แต่ผู้นำประเทศที่ยึดถือลัทธิดังกล่าวเกิดจากหลายเหตุผล ไม่ใช่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
กลางเดือนกันยายน 2013 ประธานาธิบดีบารัก โอบามากล่าวชักจูงให้ชาวอเมริกันเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการโจมตีกองทัพรัฐบาลซีเรีย
ชาวอเมริกันกว่าครึ่งไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ ประธานาธิบดีโอบามาพยายามหว่านล้อมด้วยการยอมรับว่าไม่สามารถแก้ปัญหาซีเรียด้วยการใช้กำลังแต่เหตุการณ์ใช้อาวุธเคมีเมื่อวันที่
21 สิงหาคม มีพลเรือนเสียชีวิตกว่าพันคน รวมทั้งเด็กและสตรี พร้อมกับอ้างหลักฐานหลายข้อและสรุปว่ารัฐบาลซีเรียเป็นผู้ใช้อาวุธเคมี
หากสหรัฐฯ ไม่ลงมือทำอะไรบางอย่าง เหตุการณ์ใช้อาวุธเคมีจะเกิดซ้ำอีก รวมทั้งพวกผู้ก่อการร้ายอาจนำมาโจมตีสหรัฐฯ
รัฐบาลหวังจะโจมตีกองทัพอัสซาดเพื่อเตือนรัฐบาลอัสซาดและทุกฝ่ายว่าการใช้อาวุธเคมีเป็นเรื่องต้องห้าม
ประธานาธิบดีโอบามากล่าวทบทวนประวัติศาสตร์ชาติว่า
“สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในเสาหลักของความมั่นคงโลกมาเกือบ 7 ทศวรรษแล้ว ...
ภาระของผู้นำนั้นมักจะหนักหนาเสมอแต่โลกจะดีขึ้นถ้าเราแบกรับภาระเหล่านี้” เราสามารถหยุดไม่ให้เด็กต้องเสียชีวิตเพราะแก๊สพิษ
และส่งผลต่อเนื่องทำให้ลูกหลานของเราปลอดภัยขึ้น
ข้าพเจ้าเชื่อว่าเราต้องลงมือกระทำ “นั่นคือสิ่งที่ทำให้อเมริกาแตกต่าง
สิ่งที่ทำให้เราพิเศษแตกต่างเหนือชาติอื่น” (ประธานาธิบดีโอบามาใช้คำว่า
exceptional จากหลักการ American exceptionalism) ขอให้พวกเราไม่ลืมความจริงสำคัญข้อนี้ด้วยความถ่อมใจแต่แน่วแน่
ในเวลาต่อมาในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
ประธานาธิบดีโอบามากล่าวสุนทรพจน์ความตอนหนึ่งกล่าวถึงสถานการณ์ในซีเรียว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่าเป็นการผิดพลาดหากไม่เข้าพัวพัน
ข้าพเจ้าเชื่อว่าอเมริกายังต้องพัวพันเพื่อความมั่นคงของตน
และเชื่อว่าจะส่งผลให้โลกดีขึ้นด้วย บางคนอาจไม่เห็นด้วย
แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่าอเมริกันนั้นแตกต่างพิเศษเหนือชาติอื่น เหตุผลส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราได้แสดงความตั้งใจที่จะเสียสละเลือดและทรัพย์สินเพื่อผลประโยชน์ของทุกประเทศไม่เพียงเฉพาะผลประโยชน์แคบๆ
อันเห็นแก่ตัวของเรา”
จากคำพูดดังกล่าวนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซียวิพากษ์สถานการณ์ซีเรียที่รัสเซียกับสหรัฐฯ มีจุดยืนที่แตกต่างกันหลายเรื่อง ใจความสำคัญต้องการกล่าวถึงบทบาทของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ผู้แสดงบทบาทสำคัญต่อประเด็นความมั่นคงของโลกในปัจจุบัน เพื่อเตือนรัฐบาลโอบามาใช้กลไกสหประชาชาติแก้ปัญหาซีเรีย ไม่ใช่มุ่งโจมตีซีเรียด้วยตนเอง ชี้ว่าหากสหรัฐฯ “ทำการโจมตีโดยไม่ขอการรับรองจากคณะมนตรีความมั่นคง หากสหรัฐฯ ดื้อดึงทำการโจมตีซีเรียจะยิ่งทำให้ความขัดแย้งระหว่างประเทศขยายตัว กลุ่มก่อการร้ายจะโหมโจมตีใหม่อีกรอบ ... ทั้งหมดนี้จะยิ่งทำให้ภูมิภาคตะวันออกกลางกับแอฟริกาเหนือไร้เสถียรภาพ” เป็นการพาดพิงถึงสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีโอบามา ไม่เห็นด้วยกับแนวคิด American exceptionalism ที่ผู้นำอเมริกาเอ่ยอ้าง
จากคำพูดดังกล่าวนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซียวิพากษ์สถานการณ์ซีเรียที่รัสเซียกับสหรัฐฯ มีจุดยืนที่แตกต่างกันหลายเรื่อง ใจความสำคัญต้องการกล่าวถึงบทบาทของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ผู้แสดงบทบาทสำคัญต่อประเด็นความมั่นคงของโลกในปัจจุบัน เพื่อเตือนรัฐบาลโอบามาใช้กลไกสหประชาชาติแก้ปัญหาซีเรีย ไม่ใช่มุ่งโจมตีซีเรียด้วยตนเอง ชี้ว่าหากสหรัฐฯ “ทำการโจมตีโดยไม่ขอการรับรองจากคณะมนตรีความมั่นคง หากสหรัฐฯ ดื้อดึงทำการโจมตีซีเรียจะยิ่งทำให้ความขัดแย้งระหว่างประเทศขยายตัว กลุ่มก่อการร้ายจะโหมโจมตีใหม่อีกรอบ ... ทั้งหมดนี้จะยิ่งทำให้ภูมิภาคตะวันออกกลางกับแอฟริกาเหนือไร้เสถียรภาพ” เป็นการพาดพิงถึงสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีโอบามา ไม่เห็นด้วยกับแนวคิด American exceptionalism ที่ผู้นำอเมริกาเอ่ยอ้าง
สื่ออเมริกาบางแห่งวิพากษ์กลับว่าประธานาธิบดีปูตินไม่ให้เกียรติแนวคิดที่สำคัญที่สุดของคนอเมริกัน
ในขณะที่สื่อจีนเห็นว่าประธานาธิบดีปูติมีความกล้าหาญ
กล้าที่จะวิพากษ์อเมริกาอย่างตรงไปตรงมาในยามที่น้อยคนจะกล้าทำ และสหรัฐฯ
ควรเปิดรับฟังความเห็นของผู้อื่นในฐานะที่ตนเป็นประเทศประชาธิปไตย
ความคิดเห็นของประธานาธิบดีปูตินสอดคล้องกับแนวคิดหนึ่งที่เชื่อว่า
ปัจจุบันอเมริกายังมีความเป็นจักรวรรดินิยมเหลืออยู่แต่เป็นจักรวรรดินิยมแบบอ่อน
อเมริกาไม่ได้ควบคุมรัฐอื่นๆ ได้สมบูรณ์เต็มร้อยเหมือนยุคอาณานิคม แต่รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกต้องดำเนินนโยบายที่สนับสนุนผลประโยชน์ของอเมริกา
ลัทธิหรือแนวคิดที่เชื่อว่าคนอเมริกันนั้นมีความพิเศษเหนือชาติอื่นมีประเด็นวิเคราะห์เพิ่มเติมที่น่าสนใจ
ดังนี้
ประการแรก
การตีความ American exceptionalism ที่อยู่เคียงคู่กับประวัติศาสตร์อเมริกา
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เพิ่งก่อตั้งมาเพียงสองร้อยกว่าปี
มีอายุน้อยเมื่อเทียบกับประเทศเก่าแก่ในยุโรป ทำให้สหรัฐฯ
ขาดประวัติศาสตร์ของการเป็นสังคมชนเผ่า รัฐอาณาจักรโบราณ รัฐเจ้าขุนมูลนายหรือรัฐฟิวดัล
(Feudal State) ไม่เคยผ่านการปกครองด้วยกษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ไม่มีประวัติศาสตร์การสู้รบระหว่างกันอันยาวตามอย่างที่เกิดขึ้นในยุโรป
หลังจากการต่อสู้เพื่อเอกราชแล้วเกิดประเทศที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยทันที
เป็นระบอบการปกครองเดียวตลอดประวัติศาสตร์ประเทศ นี่เป็นส่วนหนึ่งของลักษณะอันแตกต่างจากยุโรป
เมื่อสำรวจประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
ทั้งหมดตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนยุคปัจจุบัน
พบว่ามีการใช้หรือการตีความว่ามีการใช้ American exceptionalism มาตลอด ตั้งแต่เป็นแนวคิดที่เห็นว่าตนแตกต่างเหนือกว่าชาวยุโรปที่เป็นเชื้อชาติดั้งเดิมของตนสู่การต่อสู้ประกาศเอกราชกลายเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา
การแผ่ขยายดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือและยึดดินแดนอื่นๆ ในช่วงศตวรรษที่ 19
การทำสงครามต่อสู้กับลัทธินาซี ลัทธิคอมมิวนิสต์ จนมาถึงยุคสมัยปัจจุบันที่อเมริกาคงความเป็นชาติมหาอำนาจ
ความเข้มข้นในการยึดถือมีระดับสูงต่ำมากน้อยไม่สม่ำเสมอ
ที่น่าสนใจกว่านั้นคือนิยามมีการเปลี่ยนแปลงเสริมแต่ง
ในช่วงแรกสุดเป็นการประยุกต์ใช้จากหลักศาสนา ต่อมากลายเป็นแนวคิดที่ฝังรากลึกในสังคม
กลายเป็นค่านิยมอย่างหนึ่งของสังคมอเมริกันที่ผูกกับค่านิยมอื่นๆ เช่น
ความรักในเสรีภาพ ปัจเจกชนนิยมโดยไม่ผูกโยงกับหลักศาสนาอีกต่อไป
ทุกวันนี้คนที่ยึดถือลัทธินี้เนื่องจากศาสนากลายเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม
ในแง่มุมนี้ ชี้ว่า American
exceptionalism อยู่เคียงคู่กับการตีความประวัติศาสตร์
ขึ้นกับการใช้ว่าใครต้องการใช้อย่างไร ตีความอย่างไรและกลายเป็นเนื้อหาประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นปัจจุบันศึกษา
ประการที่สอง
ปัญหาเชิงคุณค่าและที่มา
นายเจมส์ ซีซาร์ (James
Ceaser) ตั้งคำถามว่าการใช้คำว่า ‘ลัทธิ’
(ism) มีที่มาที่ไปหรือไม่
หรือเป็นเพียงการใช้กันอย่างลอยๆ
เพราะว่าคำว่าลัทธิในทางการเมืองจะต้องเป็นแนวคิดที่หนักแน่นในหลักข้อเชื่อ
มีคำตอบแก่คำถามต่างๆ มากมาย ดังตัวอย่างเช่นลัทธิเสรีนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่ American
exceptionalism ไม่มีหลักวิชาการที่หนักแน่นแต่ประการใด
บางคนอ้างว่าลัทธินี้มีที่มามีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่
เมื่อสืบค้นจริงๆ พบว่าในปี ค.ศ. 1630 นายจอห์น วินธรอปเป็นคนแรกที่มักถูกอ้างเสมอว่าเป็นต้นสายของลัทธิ
หลายคนอ้างคำของนายวินธรอปที่กล่าวว่า “เมืองที่ตั้งอยู่บนเขา” แต่นายวินธรอปไม่เอ่ยว่าคำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของหลักการ exceptionalism
ที่นายวินธรอปอ้างคือข้อความที่มาจากคัมภีร์ไบเบิล เนื่องจากเขาเป็นคริสเตียนนิกายเพียวริแตน
(Puritan) จึงใช้และตีความหวังจะสร้างเมืองให้เป็นดั่งเมืองของผู้เชื่อผู้ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า
สาระสำคัญอยู่ที่ว่าเป็นที่ชุมนุมของผู้เชื่อ จะเป็นที่ใดในโลกหรือประกอบด้วยชนชาติใดก็ได้
อีกทั้งสามารถมีได้หลายแห่งไม่จำกัดจำนวน การอ้างคำพูดของนายวินธรอปเพื่ออ้างเป็นลัทธิเก่าแก่จึงไม่สมเหตุสมผล
และเป็นการบิดเบือนหลักศาสนา
นายเจมส์ ซีซาร์ได้ทำการสืบค้นฐานข้อมูลย้อนหลังและพบว่าศัพท์คำว่า ‘exceptionalism’ เริ่มมีการใช้อย่างจริงจังเป็นครั้งแรกเมื่อปลายทศวรรษ 1950 (ก่อนหน้านี้ในทศวรรษ 1920 มีคนเดียวเท่านั้นที่ใช้ เนื้อหาเป็นการคาดการณ์เส้นทางทุนนิยมอเมริกาที่ในช่วงหนึ่งจะเติบโตก่อนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในที่สุด ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ตามการกล่าวอ้างในปัจจุบัน) ดังนั้น คำว่า ‘exceptionalism’ จึงเป็นศัพท์ใหม่ การใช้ American exceptionalism จึงเป็นการตีความย้อนหลังของใครบางคนเท่านั้น ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ขาดความเป็นวิชาการ และอาจเกี่ยวข้องกับสงครามเย็นที่จำต้องใช้ทุกวิถีทางเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อันเป็นภัยคุกคามร้ายแรงในสมัยนั้น
นายเจมส์ ซีซาร์ได้ทำการสืบค้นฐานข้อมูลย้อนหลังและพบว่าศัพท์คำว่า ‘exceptionalism’ เริ่มมีการใช้อย่างจริงจังเป็นครั้งแรกเมื่อปลายทศวรรษ 1950 (ก่อนหน้านี้ในทศวรรษ 1920 มีคนเดียวเท่านั้นที่ใช้ เนื้อหาเป็นการคาดการณ์เส้นทางทุนนิยมอเมริกาที่ในช่วงหนึ่งจะเติบโตก่อนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในที่สุด ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ตามการกล่าวอ้างในปัจจุบัน) ดังนั้น คำว่า ‘exceptionalism’ จึงเป็นศัพท์ใหม่ การใช้ American exceptionalism จึงเป็นการตีความย้อนหลังของใครบางคนเท่านั้น ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ขาดความเป็นวิชาการ และอาจเกี่ยวข้องกับสงครามเย็นที่จำต้องใช้ทุกวิถีทางเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อันเป็นภัยคุกคามร้ายแรงในสมัยนั้น
ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการใช้มีการเอ่ยถึง
American exceptionalism
เป็นการใช้ในประเด็นสำคัญระดับชาติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอัตลักษณ์แห่งชาติ
การอธิบายเหตุผลของการต่อสู้เพื่อเอกราช การขยายดินแดนในปลายศตวรรษที่ 19 และต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น
จนถึงทุกวันนี้ที่มักใช้เพื่อเป็นเหตุความชอบธรรมในการทำสงคราม การส่งเสริมระบอบการปกครองประชาธิปไตย
และการประกาศความภาคภูมิใจแห่งความเป็นอเมริกา ด้วยเหตุผลความสำคัญดังกล่าวไม่ว่า American
exceptionalism จะมีนิยามอย่างไร เป็นศัพท์ใหม่หรือเก่าย่อมไม่สำคัญเท่ากับการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน
แต่ประวัติศาสตร์เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าไม่ใช่ทุกช่วงเวลาที่ผู้นำประเทศหรือสังคมให้ความสำคัญกับแนวคิดดังกล่าว
การจะใช้ American exceptionalism
จึงขึ้นกับบริบทและนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ คุณค่าของแนวคิดนี้จึงขึ้นกับการนำมาใช้ประโยชน์และการยอมรับของสังคมอเมริกันโดยแท้
เป็นธรรมดาที่นักการเมือง
ผู้นำประเทศจะต้องแสดงวิสัยทัศน์ถึงประเทศที่รุ่งเรือง
ผู้นำประเทศต้องจัดทำนโยบายที่สร้างประเทศให้เข้มแข็ง ประชาชนมีกำลังใจ
สำคัญที่รายละเอียดของวิสัยทัศน์ว่าจะต้องสามารถอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้ด้วยดี
ให้มีความขัดแย้งเท่าที่จำเป็น ประชาชนยอมรับได้
ไม่แสดงการดูหมิ่นหรือต้องการกดขี่ชนชาติอื่น
อันจะนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างไม่จบสิ้น อเมริกามีหนังสือประวัติศาสตร์ของตนเอง ชนชาติอื่นๆ
ก็มีหนังสือประวัติศาสตร์ของตนเองด้วยเช่นกัน
เมื่อวิสัยทัศน์
แนวคิดและการประกาศใช้เกิดจากการสรรค์สร้างของมนุษย์ มนุษย์จึงสามารถเลือกตัดสินใจและตระหนักว่าสิ่งใดจะก่อประโยชน์อย่างถาวรยั่งยืนเพราะประวัติศาสตร์จะจารึกไว้เช่นนั้น
American exceptionalism
คงจะอยู่เคียงคู่กับนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ไปอีกนาน
พร้อมกับข้อวิพากษ์ทั้งจากคนในชาติและนานาประเทศถึงความเหมาะสมของนิยามและการใช้ประโยชน์
เป็นประเด็นให้ได้ถกเถียงกันเรื่อยไป
มกราคม 2014
ชาญชัย คุ้มปัญญา
-------------------
1. Americans See U.S. as Exceptional; 37% Doubt Obama Does.
Gallop. 22 December 2010. http://www.gallup.com/poll/145358/americans-exceptional-doubt-obama.aspx
2. Bacevich, Andrew. 2005.
The New American Militarism: How Americans Are Seduced by War. New York:
Oxford University Press.
3. Bell, Daniel. 1975. The End of American Exceptionalism. The
Public Interest 41(3):
193–224. http://www.nationalaffairs.com/doclib/20080527_197504111theendofamericanexceptionalismdanielbell.pdf
4. Bert, Wayne. 2011. American Military Intervention in Unconventional
War: From the Philippines to Iraq. New York: Palgrave Macmillan.
5. Boot, M ax. U.S Imperialism: a Force for Good. National
Post. 13 May 2003. http://www.cfr.org/iraq/us-imperialism-force-good/p5959 accessed 12 October 2013.
6. Brzezinski, Zbigniew. Scowcroft, Brent. and Ignatius,
David. 2008. America and the World: Conversations on the Future of American
Foreign Policy.
Philadelphia: Basic Books.
7. Cameron, Fraser. 2003. Us Foreign Policy after the
Cold War: Global Hegemon or Reluctant Sheriff? USA: Taylor & Francis
Routledge.
8. Ceaser, James W. 2012. The Origins and Character
of American Exceptionalism. American
Political Thought: A Journal of Ideas, Institutions, and Culture, vol. 1
(Spring 2012), http://www.polisci.wisc.edu/Uploads/Documents/Ceaser.pdf,
accessed 2 September 2013.
9. Chaudet, Didier.
Parmentier, Florent. and Pélopidas, Benoît. 2009. When Empire Meets
Nationalism. England: Ashgate Publishing Limited.
10. CNN poll: Public against Syria strike resolution. CNN.
9 September 2013. http://edition.cnn.com/2013/09/09/politics/syria-poll-main/
11. Friedman , Uri. 2012. American Exceptionalism': A Short
History. Foreign Policy. July/August 2012. http://www.foreignpolicy.com/articles/2012/06/18/american_exceptionalism
accessed 14 October 2013.
12. Geller, Pamela and Spencer. Robert. 2010. The
Post-American Presidency: The Obama Administration’s War on America.
New York: Threshold Editions.
13. Gill, Stephen. 2008. Power
and Resistance in the New World Order. Great Britain:
Palgrave Macmillan.
14. Go, Julian. 2011. Patterns of Empire: The British and
American Empires, 1688 to the Present. New York: Cambridge University Press.
15. Hippel, Karin von. 2004. Democracy by Force: US
Military Intervention in the Post-Cold War World. United Kingdom: Cambridge
University Press.
16. Kurian, George Thomas. (Editor in chief). 2011. The
Encyclopedia of Political Science. DC: CQ Press.
17. Lobe,Jim. CNN
poll: Public against Syria strike resolution. CNN. 9 September 2013. http://edition.cnn.com/2013/09/09/politics/syria-poll-main/ntiwar.com/lobe/?articleid=7452
30 September 2005.
18. Nye Jr., Joseph S. 2011. The Future of Power. New
York: PublicAffairs.
19. Putin right to slam US exceptionalism.
People’s Daily/Global Time. http://english.peopledaily.com.cn/90777/8402422.html
17 September 2013.
20. Putin, Vladimir V. A Plea for Caution From Russia. The
New York Times. http://www.nytimes.com/2013/09/12/opinion/putin-plea-for-caution-from-russia-on-syria.html?pagewanted=all&_r=0
11 September 2013.
21. Remarks by President Obama in Address to the United
Nations General Assembly. The White House. http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2013/09/24/remarks-president-obama-address-united-nations-general-assembly
24 September 2013.
22. Remarks by the President in Address to the Nation on
Syria. The White House, 10 September 2013. http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2013/09/10/remarks-president-address-nation-syria
accessed 12 September 2013.
23. Roark, James L. and others. 2010. The American
Promise: A Compact History (Volumes I and II). USA: Bedford/St. Martin’s.
24. Saldin, Robert P. 2011. War, the American State, and
Politics since 1898. New York: Cambridge University Press.
25. Tucker, Spencer C. (editors). The Encyclopedia of the
Cold War: A
Student Encyclopedia (Volume Set). USA: ABC-CLIO, Inc.
26. U.S. weapons reaching Syrian rebels. The Washington
Post. http://www.washingtonpost.com/world/national-security/cia-begins-weapons-delivery-to-syrian-rebels/2013/09/11/9fcf2ed8-1b0c-11e3-a628-7e6dde8f889d_story.html
12 September 2013.
27. Wald, Kenneth D. and Calhoun-Brown, Allison. 2010. Religion
and Politics in the United States. 6th edition. USA: Religion
& Politics in the United States.
28. Walberg, Eric. 2011. Postmodern Imperialism:
Geopolitics and the Great Games. USA: Clarity Press.
-------------------------