บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2014

อาเบะเยือนศาลเจ้ายาสุกุนิ มุมมองของฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้าน

รูปภาพ
เกือบ 2 เดือนเต็มหลังจากที่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเยือนศาลเจ้ายาสุกุนิ (Yasukuni Shrine) เมื่อปลายปีที่แล้ว กลายเป็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศกับหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางการจีน เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือที่ออกมาประท้วง เกิดการตอบโต้ไปมา และลุกลามไปสู่ประเด็นความขัดแย้งอื่นๆ             ความขัดแย้งอันเนื่องจากศาลเจ้ายาสุกุนิไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยเกิดขึ้นซ้ำหลายรอบแล้ว แต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจและยังเป็นประเด็นร้อนในปัจจุบัน การจะเข้าใจดังกล่าวจำต้องเอ่ยถึงเรื่องราวของศาลเจ้าก่อนดังนี้ ความหมายโดยนัยของศาลเจ้ายาสุกุนิ :             ศาลเจ้ายาสุกุนิเป็นศาลเจ้าของลัทธิชินโต ( Shinto ) สร้างขึ้นเมื่อค.ศ.1869 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิให้เป็นสถานที่สถิตดวงวิญญาณของวีรชน เป็นที่เก็บอัฐิ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโตเกียว เพื่อให้ชาวญี่ปุ่นได้สักการะทหารหาญผู้พลีชีพ ปัจจุบันมีรายชื่อถึง 2.47 ล้านคน ในจำนวนนี้ราว 2 ล้านคนเป็นผู้เสียชีวิตจากช่...

การเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐไต้หวันกับจีน อีกก้าวของการรวมชาติ

รูปภาพ
เป็นเวลา 65 ปีหลังจากที่ฝ่ายเจียง ไคเช็ค พ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองต่อสู้กับพวกคอมมิวนิสต์จีน และได้ถอนร่นมาปักหลักที่ไต้หวัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนกับไต้หวันได้ร่วมกันประชุมอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก การประชุมครั้งนี้มี นายจาง จื้อจวิน ( Zhang Zhijun) หัวหน้าทีมฝ่ายจีนได้ประชุมกับนายหวัง อวี้ฉือ ( Wang Yu-chi) ประธานฝ่ายไต้หวัน ผลลัพธ์การประชุม :             ประการแรก เปิดช่องทางการเสื่อสารระหว่าง 2 ฝ่าย             ตัวแทนจาก 2 ฝ่ายได้ตกลงเปิดช่องทางการเสื่อสารระหว่างกัน ทำให้เจ้าหน้าที่ 2 ฝ่ายสามารถติดต่อกันโดยตรงง่ายขึ้น ตัวแทนฝ่ายไต้หวันพูดว่า “สามารถใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อพูดคุยกันได้เลย” ไม่จำต้องมีสายด่วนพิเศษแต่อย่างไร ความสำเร็จของช่องทางการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ 2 ฝ่าย ในมุมหนึ่งอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ในอีกมุมคือมาบัดนี้ เจ้าหน้าที่รัฐ 2 ฝ่ายสามารถติดต่อกันและกันได้ทันที         ...

ผลกระทบการประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (ADIZ) ของจีนต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

รูปภาพ
การบรรยายและแลกเปลี่ยน ผลกระทบการประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (ADIZ) ของจีนต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๙.๓๐ น.  โดย สำนักงานคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม  นำเสนอโดย นายชาญชัย คุ้มปัญญา บทความที่เกี่ยวข้อง: 1.  การพัวพันของอาเซียนกับทางออกของ  ADIZ การประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ หรือ  ADIZ  ของจีนเหนือน่านฟ้าทะเลจีนตะวันออก แม้อาเซียนไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ทำให้ชาติสมาชิกบางประเทศมีความกังวลไม่น้อย เมื่อคิดว่าในวันข้างหน้าจีนจะมีเขตแสดงตนในทะเลจีนใต้ อีกทั้งญี่ปุ่นพยายามดังอาเซียนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทางออกที่ดีของเรื่องนี้อยู่ที่การวางแนวปฏิบัติเพื่อลดความหวาดระแวง ป้องกันเหตุร้ายไม่คาดฝัน 2.  เผยธาตุแท้รัฐบาลจีน ญี่ปุ่นและสหรัฐผ่านการประกาศ ADIZ ของจีน การประกาศ  ADIZ  หรือเขตแสดงตนของจีนนำมาซึ่งวิวาทะจากประเทศที่เกี่ยวข้อง บ้างเห็นว่าเขตแสดงตนของจีนผิดจากมาตรฐานสากล บ้างเห็นว่าเป็นการยั่วยุให้เกิดความขัดแ...

ADIZ ของจีนในมิติความมั่นคงทางทหาร

รูปภาพ
เป็นที่ทราบกันว่าการประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (Air Defense Identification Zone หรือ ADIZ) ของจีนเหนือน่านฟ้าทะเลจีนตะวันออก เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2013 กลายเป็นประเด็นความขัดแย้งใหม่ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก สื่อกับนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่รายงาน วิเคราะห์ในแง่มุมของความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศเป็นหลัก ทั้งที่โดยความจริงแล้ว ADIZ หรือเขตแสดงตนมีผลต่อมิติความมั่นคงทางทหารโดยตรง             กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นิยาม ADIZ คือ “ขอบเขตน่านฟ้า ( Airspace ) ที่อากาศยานซึ่งอยู่ภายใต้เขตจะต้องพร้อมแสดงตน ( identification ) ระบุตำแหน่งที่อยู่ ( location ) และอยู่ใต้การควบคุมการบิน” ส่วนทางการญี่ปุ่นให้นิยามว่า ADIZ คือขอบเขตน่านฟ้าที่ไกลออกจากน่านฟ้าของประเทศ ( national airspace ) เป็นเขตป้องกัน ตรวจตราการรุกรานจากอากาศยานต้องสงสัย ช่วยเพิ่มเวลาเพื่อการตรวจสอบว่าอากาศยานนั้นเป็นมิตรหรือศัตรู             รัฐบาลสหรัฐฯ เป็นต้นความคิดเรื่องเขตแสดงตน เริ่มใช้แน...

ผลเจรจาเจนีวา 2 สันติภาพอันเลือนรางของซีเรีย

รูปภาพ
หลังการประชุมนาน 1 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมกว่า 40 ประเทศ การเจรจาเจนีวา 2 (Geneva II) ได้ข้อสรุปว่า 2 ฝ่ายบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในบางพื้นที่ เพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจะส่งถึง 2-3 พันครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่เหล่านั้น นายลักคาร์ บราฮิมี ( Lakhdar Brahimi ) ตัวแทนสหประชาชาติและสันนิบาตอาหรับเพื่อแก้ปัญหาซีเรียกล่าวว่าการเจรจา “คืบหน้าช้ามาก” แต่ท่าทีของทั้ง 2 ฝ่ายถือว่าใช้ได้ นี่เป็นเพียงการเริ่มต้น เราได้สร้างจุดเริ่มต้นแล้ว ยอมรับ 2 ฝ่ายเห็นต่างกันมาก             ถ้าจะเอ่ยถึงความสำเร็จของการเจรจา คำกล่าวของนายบราฮิมีคือข้อสรุปที่ดีที่สุด เพราะก่อนการเจรจานักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ทำนองเดียวกันว่าความขัดแย้งหลักยังคงดำเนินต่อไป ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด (Bashar al-Assad) ไม่ก้าวลงจากอำนาจ รัฐบาลเฉพาะกาล (Transitional Governing Body หรือ  TGB) ที่ฝ่ายต่อต้านต้องการไม่เกิดขึ้น แต่นับว่าการเจรจาประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง เพราะอย่างน้อยแสดงให้เห็นว่าฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายต่อต้านสามารถพูดคุยและตกลงกันได้ ประเทศที่เกี่ยวข้องสนับสน...