ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2014

รวบรวมบทความ บทวิเคราะห์ทั้งหมดของปี 2014 ที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อ หน่วยงาน องค์กรต่างๆ 
            คอลัมน์ “สถานการณ์โลก" ไทยโพสต์ เป็นคอลัมน์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ และจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ “สถานการณ์โลก” หลังจากตีพิมพ์แล้วอย่างน้อย 1 วัน
            ส่วนผลงานของปี 2012-13 ดูได้ที่ http://www.chanchaivision.com/2013/08/Chanchai-Published-2013.html

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2014
1. เมื่อนานาชาติถามหาความชอบธรรมการสอดแนมของสหรัฐฯ
หลายประเทศทั่วโลกกำลังอยู่ระหว่างปรึกษาหารือจัดทำร่างข้อมติสมัชชาสหประชาชาติเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของบุคคล หวังป้องกันไม่ให้ทางการสหรัฐฯ ทำการสอดแนมจนเกินความจำเป็น ในอีกด้านหนึ่งเรื่องดำเนินในทิศทางว่าด้วยแรงกดันทางการเมืองระหว่างประเทศทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ จำต้องปรับการทำงานของ NSA เพื่อให้เรื่องราวอันเนื่องจากการเปิดโปงของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนจบลงด้วยดี
ตีพิมพ์ใน นิตยสารหนังสือข่าวทหารอากาศ. ปีที่ 74 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2557, http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th/main/index.php/e-magazine/117-2557-01.html

ชาวจีนปัจจุบันยังคงเรียนประวัติศาสตร์ในสมัยที่ถูกต่างชาติยึดเป็นอาณานิคมหรือกึ่งอาณานิคม เกิดคำว่าขี้โรคแห่งเอเชีย ชาวจีนถูกกดขี่ข่มเหง เสียชีวิตนับแสนนับล้าน ประวัติศาสตร์ไม่อาจแก้ไขแต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ หากผู้ปกครองกับผู้ใต้การปกครองต่างบทบาทหน้าที่อย่างถูกต้อง พัฒนาปรับปรุงสังคมให้เข้มแข็งอยู่เสมอ ก้าวไปข้างหน้าอย่างเป็นเอกภาพ
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6270 วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1808932

3. ISIL/ISIS กับความขัดแย้งรอบใหม่ในอิรัก
ISIS/ISIL เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่างมีเป้าหมายเฉพาะ กำลังก่อการทั้งในซีเรียกับอิรัก การปรากฏตัวของกลุ่มสะท้อนปัญหาการเมืองภายในอิรักที่เรื้อรังมานาน ความแตกแยกของฝ่ายต่างๆ การจะกำจัด ISIS/ISIL อย่างถอนรากถอนโคนคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง รวมทั้งมีประเทศผู้ให้การสนับสนุน น่าติดตามกลุ่มดังกล่าวจะนำอิรักสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ มีผลกระทบต่อภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างไร
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6277 วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1813598

ท่ามกลางการลงมติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีกระแสการสนับสนุนพลเอกอับเดล-ฟัตตาห์ เอลซีซี ผู้นำก่อการรัฐประหารให้เป็นประธานาธิบดีอียิปต์ ด้านกลุ่มภราดรภาพมุสลิมคือฝ่ายสูญเสียเนื่องจากถูกตีตราว่าเป็นองค์กรก่อการร้าย เท่ากับว่าสมาชิกของกลุ่มไม่สามารถรับตำแหน่งใดๆ ทางการเมืองอีกต่อไป การเมืองการปกครองอียิปต์จึงหวนคืนสู่แนวทางที่ชนชั้นปกครองเป็นผู้กุมอำนาจประเทศดังเช่นหลายทศวรรษที่ผ่านมา เกิดคำว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ประวัติศาสตร์การโค่นล้มระบอบมูบารัคเมื่อ 3 ปีกอ่นจะเกิดซ้ำอีกในอนาคตหรือไม่
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6284 วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1818566

หลังสงครามกลางเมืองเกือบครบ 3 ปี การประชุมเจนีวา 2 กลายเป็นการประชุมระดับนานาชาติครั้งสำคัญยิ่ง การประชุมไม่น่าจะสามารถยุติข้อขัดแย้งตราบใดที่รัฐบาลอัสซาดไม่ก้าวลงจากอำนาจ และสหรัฐกับชาติพันธมิตรยังหนุนหลังฝ่ายต่อต้านที่มุ่งโค่นล้มรัฐบาล คำถามที่สำคัญกว่าการมีข้อตกลงคือ ข้อตกลงนั้นจะนำสู่ประเทศซีเรียที่มีบูรณภาพแห่งดินแดนหรือไม่ เป็นการยุติความขัดแย้งอย่างถาวรหรือไม่ ทั้งหลายทั้งสิ้นนี้พลเมืองซีเรียน่าจะเป็นผู้ตัดสินอนาคตของตนเอง
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6291 วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1823299

6. วิกฤตสงครามกลางเมืองซีเรีย ความขัดแย้งที่ยังไร้ทางออก
ความรุนแรงในซีเรียเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความขัดแย้งทางการเมืองที่ขยายตัวกลายเป็นสงครามกลางเมือง กลายเป็นสมรภูมิที่มีกองกำลังนอกประเทศเข้ามาร่วมรบ เป็นอุทาหรณ์ว่าการป้องกันปัญหาง่ายกว่าและดีกว่าการแก้ปัญหา คนในชาติต้องไม่คิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัว หรือคิดแต่เพียงปกป้องครอบครัวคนใกล้ชิดเท่านั้น
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1311

7. ผลเจรจาเจนีวา 2 สันติภาพอันเลือนรางของซีเรีย
ถ้ามองในแง่บวกการเจรจาเจนีวา 2 คือจุดเริ่มต้นของการยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ถ้ามองในแง่ลบคือยังมองไม่เห็นทางออก เมื่อการเจรจายังไม่สามารถยุติความขัดแย้ง ประเด็นจึงกลับมาอยู่ที่จะแก้ปัญหาด้วยพลังอำนาจทางทหารอย่างไร ชาติอาหรับจะเป็นฝ่ายลงมือเองหรือไม่
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6298 วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1827845

การประกาศเขตแสดงตนเอื้อประโยชน์ในทางยุทธการหลายด้าน เพิ่มพื้นที่ทั้งการรุก-การรับ เพิ่มพื้นที่ลาดตระเวนสอดแนม เสริมขีดความสามารถของกองทัพเรือ และต่อต้านการกระทำของฝ่ายตรงข้าม และกำลังชี้ให้เห็นว่ากองทัพจีนมีศักยภาพ มีความพร้อมมากพอที่จะดูแล กำกับการบินในเขตแสดงตนดังกล่าว พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับอากาศยานทันสมัยของฝ่ายตรงข้าม
ตีพิมพ์ใน นิตยสารหนังสือข่าวทหารอากาศ. ปีที่ 74 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2557, http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th/main/index.php/e-magazine/118-2557-02.html

ชาวยุโรปร้อยละ 76 คิดว่าประเทศของตนมีการคอร์รัปชันอย่างกว้างขวาง วิกฤตการเงินเมื่อปี 2008 สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองยุโรป ทำให้สหภาพยุโรปเห็นว่าหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน  การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำต้องอาศัยความร่วมมือจากชาติสมาชิกทั้งหมด และหนึ่งในประเด็นสำคัญที่จำต้องแก้ไขควบคู่คือปัญหาคอร์รัปชันที่ต้องดำเนินควบคู่กับการพัฒนาด้านอื่นทั้งหมด
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6305 วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1832586

10. การเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐไต้หวันกับจีนอีกก้าวของการรวมชาติ
เป็นครั้งแรกใน 65 ปีที่เจ้าหน้าที่รัฐไต้หวันกับเจ้าหน้าที่รัฐจีนได้ประชุมหารืออย่างเป็นทางการ หลังจาก 2 ฝ่ายได้กระชับความสัมพันธ์ในหลายปีที่ผ่านมา ประเด็นถกเถียงลึกๆ ยังเป็นเรื่องการรวมชาติ แต่เรื่องเฉพาะหน้าที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ประโยชน์มาโดยตลอด และเห็นว่าควรกระชับความสัมพันธ์ให้มากขึ้นกว่านี้ แม้ว่าไต้หวันจะเป็นผู้ออกหน้าก็ตาม
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6312 วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1836974


ทุกคนทุกชาติต่างมีความเชื่อศาสนาของตนเอง ทหารญี่ปุ่นหลายคนเข้าทำสงครามด้วยความเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่านี่คือสงครามศักดิ์สิทธิ์ ในขณะที่คนชาติอื่นย่อมมีความคิดเห็นของตนเอง เป็นอีกภาพความจริงของโลกที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งภายในประเทศญี่ปุ่นนั้นก็ใช่ว่าทุกคนจะคิดเห็นตรงกัน ชาวญี่ปุ่นที่ไปสักการะศาลเจ้ายาสุกินิก็ใช่ว่าจะไปด้วยความหมายเดียวกัน หรือมีความรู้สึกที่เข้มข้นตรงกัน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6319 วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1842243

สงครามทำลายล้างนานกิง เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วเกือบ 8 ทศวรรษ แต่ด้วยการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างประเทศอย่างเข้มข้นของจีนกับญี่ปุ่นในปัจจุบัน เรื่องราวในอดีตจึงถูกรื้อฟื้น ประชาชน 2 ฝ่ายถูกดึงเข้ามามีส่วนร่วม กลายเป็นสมรภูมิทางการเมืองระหว่างประเทศ ที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็น สงครามนานกิงในศตวรรษที่ 21
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6326 วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1847668

13. American exceptionalism กับนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแสดงสุนทรพจน์ที่เกี่ยวข้องนโยบายต่างประเทศมักจะมีการเอ่ยถึงAmerican exceptionalism หรือหลักการที่อยู่ภายในลัทธิหรือแนวคิดดังกล่าว แม้เป็นคำที่มีการพูดถึงแต่ในทางวิชาการเป็นที่ถกเถียงในความหมาย อีกทั้งพบว่าบ่อยครั้งผู้ใช้แต่ละคนจะใช้ในความหมายที่แตกต่างกันด้วยเหตุผลเฉพาะเจาะจง บทความนี้จะอธิบายความหมาย การนำไปใช้ ผลที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกด้านลบ และข้อวิพากษ์
(ตีพิมพ์ใน  รัฐสภาสาร ปีที่ 62 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557, http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20140127150327.pdf
บทความนี้แบ่งเป็น 3 ตอน

ยูเครนตั้งอยู่ในจุดภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ มีพรมแดนติดรัสเซีย และเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือรัสเซีย หากยูเครนเป็นสมาชิกนาโต ยูเครนอาจไม่ยอมให้รัสเซียเช่าฐานทัพเรือที่ไครเมียอีกต่อไป อีกทั้งนาโตอาจวางกองกำลังในยูเครนที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย ขณะนี้ รัสเซียอยู่ในฐานะได้เปรียบ เพราะอย่างน้อยได้ควบคุมไครเมียแล้ว ในขณะที่นาโตลังเลใจที่จะตอบโต้ด้วยการใช้กำลังทหาร
รายการ “One World 05-03-57 สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ทำไมรัสเซียถึงต้องแทรกแซงไครเมีย ?เนชั่น แชนเนล วันที่ 5 มีนาคม 2014, http://www.nationchannel.com/main/programs/One_World/20140305/378397610/#

ความขัดแย้งจากการเยือนศาลเจ้ายุสากุนิไม่ใช่เรื่องใหม่ อดีตผู้นำญี่ปุ่นหลายท่านที่เคยเยือนศาลเจ้าจะตามมาด้วยการวิวาทะกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น นายกฯ อาเบะเยือนศาลเจ้าก็เพราะได้คิดไตร่ตรองรอบคอบแล้วว่า ได้มากกว่าเสียอาจต้องการชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นภายใต้การบริหารของตนกำลังฟื้นตัว ไม่เกรงกลัวแรงกดดันทางเศรษฐกิจจากจีน ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ กระชับความเป็นพันธมิตร และมั่นใจว่าความขัดแย้งอยู่ภายใต้การควบคุม
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1323

รัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีปูติน ได้ควบคุมไครเมียและพร้อมส่งกองทัพข้ามพรมแดนไปยังฝั่งยูเครนตะวันออก เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลตะวันตกคาดการณ์มานานแล้ว เพราะในมุมมองของรัสเซียประเทศยูเครนเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านความมั่นคงที่สำคัญ สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้จึงเป็นการให้บทเรียนแก่ชาติตะวันตก ว่ารัสเซียจะไม่ยอมปล่อยยูเครนให้อยู่ใต้อิทธิพลฝ่ายตะวันตกอย่างง่ายๆ และควรรู้ว่าอะไรคือ “เส้นต้องห้าม”
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6333 วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1852655

รัฐบาลรักษาการยูเครนดำเนินนโยบายที่อิงฝ่ายชาติตะวันตกอย่างเต็มที่ ใช้ข้ออ้างสารพัดเพื่อดึงให้ชาติตะวันตกเข้ามาปกป้องอธิปไตย ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ แน่นอนว่าชาติตะวันตกได้ประโยชน์จากการนี้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ฝ่ายที่ได้ประโยชน์แน่นอนคือพวกของอดีตนายกฯ ทีโมเชงโก ที่สามารถยืมมือชาติตะวันตกมาอยู่กับพวกตน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6340 วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1857688


วิกฤตยูเครนเป็นมากกว่าเรื่องการเมืองภายในประเทศ การผนวกไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย แต่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์สหรัฐต่อรัสเซีย นโยบายขยายสมาชิกสู่ตะวันออกของนาโต อียู และยุทธศาสตร์รัฐกันชนของรัสเซีย การแก้ปัญหายูเครนที่ถูกจุดจึงเกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6347 วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1862622

ยูเครนได้รับเอกราชและเปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตยในสภาพที่ไม่มีการเตรียมตัวใดๆ นำสู่การบริหารประเทศที่ฝ่ายบริหารกับรัฐสภาเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจนโยบายสำคัญๆ โดยปราศจากระบบหรือกลไกควบคุม การล้มเหลวของรัฐบาลมือใหม่สร้างปัญหาเศรษฐกิจการเมืองก่อให้เกิดการเมืองแบบ 2 ขั้วที่ไม่อาจร่วมมือกันเพื่อสร้างชาติ กลายเป็นปัญหาซ้อนปัญหา การปกครองล้มเหลว
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6354 วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1867473

ถ้ามองในแง่ดี คือ กลุ่ม G7 ระมัดระวังไม่ให้สถานการณ์บานปลาย ไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจอย่างรุนแรง แต่ในอีกมุมหนึ่งอาจวิพากษ์ว่ากลุ่ม G7 เกรงว่ามาตรการคว่ำบาตรอย่างจริงจังจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของพวกตน ท้ายที่สุดแล้ว กรณียูเครนที่เป็นตัวอย่างล่าสุดที่เตือนใจองค์การระหว่างประเทศของประเทศเล็กๆ ทั้งหลายว่าจำต้องมีเอกภาพ ไม่สร้างเงื่อนไขให้ชาติมหาอำนาจเข้ามา “แบ่งแยกแล้วปกครอง”
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2557, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1334

หลังจากคำนวณผลได้ผลเสียแล้ว ชาติมหาอำนาจเห็นว่าการ “แช่งแข็ง” ความขัดแย้งยูเครน ไครเมีย จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด หากไม่มีเหตุการณ์ยั่วยุใดๆ ที่ร้ายแรงนับจากนี้ไปยูเครนจะสามารถบริหารประเทศภายใต้โครงการปฏิรูปของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ดังนั้น การเข้าโครงการ IMF การใช้ระบบเศรษฐกิจที่อิงกลไกตลาดมากอาจเป็นปัจจัยสร้างผลกระทบทางการเมืองภายในยูเครนอีกครั้งในอนาคต 
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6361 วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ.2557

ประธานาธิบดีการ์ไซไม่ลงนามร่างสนธิสัญญาความมั่นคงเนื่องจากเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ช่วยนำสันติภาพสู่ประเทศอย่างแท้จริง เพราะประเทศได้ผ่านหลังจากการทำสงครามอย่างยาวนานกว่า 10 ปี นับจากเหตุ 9/11 เมื่อปี 2001 ท่านพร้อมที่จะลงนามในร่างสนธิสัญญา ถ้าข้อตกลงดังกล่าวมุ่งสร้างสันติภาพแก่ประเทศ เจรจากับพวกสุดโต่งทุกกลุ่ม เพื่อจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ยุติการทำสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6368 วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1876805

23. ฝิ่น ปัจจัยกำหนดอนาคตของอัฟกานิสถาน
ณ วันนี้ ฝิ่น กลายเป็นเครื่องผูกพันผู้มีบารมีท้องถิ่น กำลังติดอาวุธ ผู้ก่อการร้ายอย่างตอลีบัน เจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับที่คอร์รัปชันและชาวบ้านหลายล้านคนที่เกี่ยวข้องกับฝิ่น บางคนอาจประณามว่าฝิ่นเป็นยาเสพติด ทำลายสังคม แต่สำหรับชาวอัฟกันจำนวนมากยอมรับการมีอยู่ของฝิ่น เป็นเครื่องค้ำจุนครอบครัว ชุมชน หรือเพื่ออุดมการณ์เป้าหมายที่เห็นว่ายิ่งใหญ่กว่า เป็นปัจจัยกำหนดทิศทางอนาคตของประเทศโดยเฉพาะหลังปี 2014
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6375 วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1880489


ในด้านหนึ่งประธานาธิบดีโอบามาได้เตือนนายกฯ อาเบะว่าไม่ควรก่อความตึงเครียด ควรเจรจาและสร้างความไว้วางใจมากกว่า แต่ในอีกด้านหนึ่งประธานาธิบดีโอบามาช่วยเบี่ยงเบนพฤติกรรมการรุกคืบของญี่ปุ่น เช่น การเพิ่มงบประมาณกลาโหม การจัดตั้งหน่วยนาวิกโยธิน การปรับยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติให้ญี่ปุ่นแสดงบทบาทเชิงรุกมากขึ้น การแก้ไขตำราเรียนและการเรียนการสอนที่อ้างว่าหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ และเกาะด็อกโด/ทาเคชิมา เป็นดินแดนของญี่ปุ่น
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6382 วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1885261


รัฐบาลสหรัฐกับรัฐบาลมาเลเซียได้ตกลงยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีสู่ระดับ “ความเป็นหุ้นส่วนรอบด้าน” แต่ความรอบด้านมีความอ่อนไหวที่แฝงอยู่มากมาย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่มาเลเซียจะเป็นพันธมิตรสหรัฐ เว้นเสียแต่รัฐบาลสหรัฐจะยอมปิดตาข้างหนึ่ง ยอมให้รัฐบาลมาเลย์บริหารประเทศตามที่เห็นสมควร รวมทั้งเรื่อง “ภูมิบุตร”
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6389 วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1889692


การปรับความสัมพันธ์ใดๆ ต้องใช้วิธีการ “ให้อภัย” แก่กันและกัน เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างได้เริ่มต้นกันใหม่ด้วยความสัมพันธ์อันดี แต่ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีความซับซ้อนกว่านั้น เพราะผู้นำประเทศต้องดำเนินนโยบายภายใต้ประชาชนของตนที่มีหลากหลายความคิดเห็น
ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1343

27. จะเลือกตั้งหรือลงประชามติ เพียงย่างก้าวเล็กๆของยูเครน
การเลือกตั้งหรือลงประชามติเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ประเทศยูเครนจะก้าวไปข้างหน้า (หรือมีปัญหามากกว่าเดิม) แต่การจะสร้างสังคมประเทศให้มีความสงบสุข ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ยังต้องอาศัยกระบวนการอีกมากมาย ที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วม ยินดีจ่ายราคา ไม่ปล่อยให้ความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติ ภาษาเป็นจุดอ่อนให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแบ่งแยก ดึงเป็นฐานเสียง ดำเนินนโยบายต่างประเทศเป็นมิตรกับทั้งรัสเซียและชาติตะวันตก
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6396 วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1894362

28. จีนเดินหน้าต่อต้านระเบียบโลกตะวันตก สร้างระเบียบโลกใหม่
สถานการณ์ตึงเครียดในทะเลจีนใต้จำต้องมองกรอบที่กว้างกว่าอาเซียน เกี่ยวข้องกับท่าทีของสหรัฐกับญี่ปุ่น ที่รัฐบาลอาเบะเพิ่งประกาศต้องการแสดงภาวะผู้นำเหนือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีนคงต้องการเตือนอาเซียนว่าอาเซียนควรร่วมมือกับจีน อยู่ร่วมกับจีนอย่างฉันท์มิตรมากกว่าที่จะเข้าพวกกับสหรัฐ ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในแนวทางต่อต้านยุทธศาสตร์ Pivot to Asia
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6403 วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1899449


ถ้ามองว่าการติดตั้งแท่นขุดเจาะเป็นเรื่องของ “การละเมิดอธิปไตย” จะกลายเป็นโจทย์ยาก แต่ถ้ามองว่าความขัดแย้งรอบนี้มีต้นเหตุจาก “แท่นขุดเจาะ” จะกลายเป็นโจทย์ว่าย และหากมองว่าเป็นเรื่องการช่วงชิงอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคนั้นเป็นโจทย์ซับซ้อน ประเทศที่เกี่ยวข้องควรระมัดระวังผลต่อมุมมองของประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6410 วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1904463


ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศแล้วว่า ภายในสิ้นปี 2014 สหรัฐจะยุติภารกิจรบ พร้อมกับถอนกำลังส่วนใหญ่ ให้เหลือเพียง 9,800 นาย และจะถอนทหารทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานภายในปี 2016 ทำให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลคาบูลในอนาคตจะมีความมั่นคงหรือไม่ สหรัฐประสบความสำเร็จในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายหรือ ในเมื่อฐานที่มั่นตอลีบันยังอยู่ พวกอัลกออิดะห์ขยายตัว กระจายตัวไปหลายประเทศ
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6417 วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1909513


เมื่อประเทศถูกรุกราน ละเมิดอธิปไตย ประชาชนสมควรที่จะแสดงออกซึ่งความรักชาติ การชุมนุมประท้วงเป็นการแสดงพลังอย่างหนึ่ง ด้วยการรู้จักแยกแยะ ไม่เหมารวม นอกจากนี้การแสดงความรักชาติสามารถกระทำได้ในหลากหลายรูปแบบ ไม่จำต้องเป็นการชุมนุมประท้วงเพียงอย่างเดียว เป็นไปได้ไหมหากจะใช้พลังในทางสร้างสรรค์ ที่ก่อประโยชน์ทั้งต่อตัวเอง ต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติ
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2557, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1353


การเลือกตั้งเป็นประเด็นที่พูดหนาหูมาสองสามปีแล้ว ที่ผ่านมาประธานาธิบดีอัสซาดรอดูสถานการณ์ว่าเหมาะสมที่จะจัดเลือกตั้งหรือไม่ ผลการเลือกตั้งที่ออกมาไม่มีอะไรแปลกประหลาดเหนือความคาดหมาย ท่าทีการตอบสนองของกลุ่ม Friends of Syria และประเทศผู้สนับสนุนระบอบอัสซาดไม่มีอะไรแตกต่างจากเดิม สงครามกลางเมืองซีเรียดำเนินต่อไปโดยที่ระบอบอัสซาดเป็นฝ่ายได้เปรียบมากขึ้นทุกที
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6424 วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1914420

นับจากการก่อตั้ง ISIL เป้าหมายและการแสดงออกของกลุ่มนั้นชัดเจนและสอดคล้องกัน คือสถาปนารัฐอิสลามในอิรักกับซีเรีย การยึดพื้นที่ถิ่นอาศัยของพวกซุนนีดูเป็นเรื่องง่าย แต่หาก ISIL ต้องการยึดอิรักทั้งประเทศ จะต้องยึดพื้นที่เขตปกครองของพวกเคิร์ดและชีอะห์ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ภายใต้ศักยภาพของกองกำลัง ISIL ในปัจจุบัน เป้าหมายเฉพาะหน้าที่ดูสมเหตุสมผลกว่าคือการควบคุมพื้นที่ถิ่นอาศัยของพวกซุนนี หรือไม่ก็ให้สงครามกลางเมืองอิรักเป็นศึกยืดเยื้อ
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6431 วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1919451

แม้ว่าประธานาธิบดีโอบามาจะประกาศว่าอนาคตของอิรัก ชาวอิรักต้องตัดสินใจเองในฐานะรัฐอธิปไตย งานศึกษาบางชิ้นให้ข้อสรุปว่ารัฐบาลสหรัฐคือผู้อยู่เบื้องหลังให้นายอัลมาลิกีก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และทั้งๆ ที่รู้ซึ้งพฤติกรรมของนายกฯ อัลมาลิกี รัฐบาลโอบามายังสนับสนุนให้เขาดำรงตำแหน่งนายกฯ สมัยที่ 2 และขณะนี้มีข่าวว่ากำลังกดดันให้นายกฯ อัลมาลิกีลาออก เพื่อความปรองดองสมานฉันท์ แก้ปัญหาการก่อการของ ISIL/ISIS ในขณะนี้
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6438 วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1924325

อิรักกำลังมาสู่ทางสองแพร่งอีกครั้ง ขึ้นกับการตัดสินใจของสังคมว่าต้องการให้ประเทศเป็นอย่างไร ต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ปรองดอง หรือต้องการทำสงครามกลางเมืองยืดเยื้อไปเรื่อยๆ การก่อการของ ISIL จะกลายเป็นผลดีหากเป็นต้นเหตุให้เกิดการเจรจาอย่างจริงจัง ช่วยยุติความขัดแย้งภายในประเทศที่ดำเนินต่อเนื่องมาแล้วหลายปี แต่ถ้ามองในแง่ลบ การปรากฏตัวของ ISIL จะซ้ำเติมความแตกแยกในอิรัก
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2557, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1361

รัฐบาลโอบามาตั้งเงื่อนไขจะสนับสนุนรัฐบาลอิรักอย่างเต็มกำลังในการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อการร้าย ISIL/ISIS ก็ต่อเมื่ออิรักได้รัฐบาลใหม่ ซึ่งหมายถึงนายกฯ อัลมาลิกีต้องพ้นจากอำนาจ นายกฯ อัลมาลิกีปฏิเสธข้อเรียกร้องและเห็นว่าเท่ากับเป็นการรัฐประหารรัฐธรรมนูญ การตัดสินใจดังกล่าวส่งผลต่อตัวแสดงสำคัญๆ เช่น การคงอยู่ของ ISIL ความสัมพันธ์ระหว่าง ISIL กับพวกซุนนีกลุ่มต่างๆ
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6445 วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1929500

37. ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับรัสเซียในวิกฤตยูเครนเป็นสงครามเย็นหรือไม่
แม้ว่าทุกวันนี้จะผ่านพ้นสงครามเย็นมานานแล้ว สิ่งหนึ่งที่สื่อชาติตะวันตกทำอย่างต่อเนื่องนับจากสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน คือ การโฆษณาชวนเชื่อ บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร หลอกหลวงประชาคมโลกอย่างเป็นระบบ ไม่ต่างจากทางการรัสเซียที่ยังใช้การโฆษณาชวนเชื่อเป็นเครื่องมือดังที่กระทำเรื่อยมา วิกฤตยูเครนในขณะนี้เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ต่างฝ่ายต่างพยายามช่วงชิงความได้เปรียบ โดยพยายามเปรียบเปรยให้นึกถึงสงครามเย็น ยุคที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน และพยายามดึงให้ประเทศอื่นๆ อยู่กับฝ่ายของตน
(บทความทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 ตอน แยกตีพิมพ์ใน นิตยสารหนังสือข่าวทหารอากาศ จำนวน 3 เล่ม คือฉบับปีที่ 74 ฉบับที่ 5, 6 และ 7 เดือนพฤษภาคม มิถุนายน และพฤษภาคม 2557)

38. อิรักกำลังตามอย่างซีเรีย ด้วยสงครามกลางเมืองยืดเยื้อ
วิกฤตอิรักรอบใหม่ที่เริ่มต้นเมื่อเดือนมิถุนายน ในตอนแรกนั้นสื่อมุ่งกล่าวถึงกองกำลัง ISIL/ISIS ที่สามารถยึดครองหลายเมืองได้อย่างรวดเร็ว แต่ล่าสุดการบรรยายเหตุการณ์ในอิรักให้ความสำคัญกับการลุกฮือของพวกซุนนีอิรัก ภาพวิกฤตอิรักจึงกลายเป็นสงครามระหว่างรัฐบาลชีอะห์ผู้กดขี่ข่มเหงประชาชน (โดยเฉพาะพวกซุนนี) กับฝ่ายต่อต้าน ซึ่งส่วนใหญ่คือประชาชนอิรักผู้นับถือนิกายซุนนี กองกำลัง ISIL สถานการณ์ในอิรักจึงคล้ายสงครามกลางเมืองซีเรียมากขึ้นทุกที
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6452 วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1934491


ร้อยปีเต็มแล้วที่ชาวเคิร์ดอิรักต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพ  การปกครองตนเอง น่าสนใจที่พวกเคิร์ดเป็นซุนนีแต่ไม่ปรารถนาอยู่ร่วมกับพวกอาหรับอิรักที่เป็นมุสลิมด้วยกัน รัฐบาลอังกฤษเคยเชื่อว่าพวกเคิร์ดเป็นเพียงแค่ชนเผ่าต่างๆ ไม่สามารถรวมตัวปกครองตนเอง แต่จากประวัติศาสตร์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พวกเคิร์ดพิสูจน์แล้วว่าพวกเขาสามารถรวมตัวกันได้ ตรงข้ามกับพวกอาหรับอิรักที่กำลังแตกแยกอยู่ในขณะนี้
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6459 วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1938884

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สังคมไทยให้ความสำคัญกับการมาถึงของประชาคมอาเซียนในปี 2015 หลายภาคส่วนทั้งเอกชน ราชการต่างเร่งเตรียมตัว เพื่อรองรับการมาถึงของประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บทความนี้ (แบ่งออกเป็น 2 ตอน) จะนำเสนอว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2015 อาจไม่เกิดประชาคมอาเซียน หรือเกิดประชาคมอาเซียนแต่จะไม่เป็นไปตามแผนเดิมที่ประกาศไว้
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6466 วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1943668

ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนทั่วไปกำลังเตรียมรับการมาของ AEC แต่ถ้าไม่เกิด AEC ตามแผนที่กำหนดไว้เมื่อถึงสิ้นปี 2015 ย่อมส่งผลกระทบทางลบ ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ทุกฝ่ายจำต้องปรับความเข้าใจและปรับแผน ติดตามแผนพัฒนาประชาคมอาเซียนหลังปี 2015 ฉบับใหม่ที่น่าจะประกาศในเดือนพฤศจิกายนนี้ หรือไม่ก็เมษายนปีหน้า
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6473 วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1948859

เมื่อโซเวียตรัสเซียยิงเครื่องบินโดยสารของเกาหลีใต้ รัฐบาลโซเวียตเริ่มด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้ยิง เมื่อจนมุมด้วยหลักฐานจึงกล่าวหาว่าเป็นเครื่องบินจารกรรม ประธานาธิบดีเรแกนประณามว่า “เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” “เป็นพฤติกรรมอันป่าเถื่อน” ส่วนเมื่อสหรัฐยิงเครื่องบินโดยสารของอิหร่าน ประธานาธิบดีเรแกนกล่าวว่า ต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติมาตรฐาน ยิงเพื่อป้องกันตนเอง
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6480 วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1953930

หลังจากที่สหรัฐกับพันธมิตรประกาศคว่ำบาตรรัสเซียหลายระลอก ตั้งแต่รัสเซียบุกไครเมีย จนถึงล่าสุดคือการเชื่อว่าเครื่องบินโดยสารมาเลเซีย เที่ยวบิน MH17 ถูกฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยูเครนยิงตก โดยมีรัสเซียเป็นผู้ให้การหนุนหลัง คราวนี้รัสเซียเป็นฝ่ายประกาศคว่ำบาตรบ้าง โดยมุ่งสินค้าในหมวดเกษตร อาหาร วัตถุดิบ ข้อสังเกตคือการคว่ำบาตรที่ผ่านมาทั้งหมดมีผลในเชิงรูปธรรมน้อย มีเพียงตลาดทุนตลาดเงินที่แสดงการรับรู้มากที่สุด
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6487 วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1959526 และ http://www.thaipost.net/sunday/100814/94434

การปรากฏตัวของกำลังอากาศสหรัฐ ไม่ใช่เพื่อการปราบปรามกองกำลัง IS แต่ใช้เหตุช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยเพื่อเป็นข้ออ้างให้กองกำลังอากาศสหรัฐเข้าควบคุมน่านฟ้าอิรักทั้งหมด แสดงถึงพลังอำนาจ “การมีอยู่” ของสหรัฐ ในช่วงจังหวะที่อิรักกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ ที่นายกฯ มาลิกีเปรียบเปรยว่าคือ “รัฐประหาร”
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6494 วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1964348

กว่า 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลรัสเซียเข้าแทรกแซงการเมืองการเลือกตั้งยูเครน เพื่อให้ได้รัฐบาลที่ดำเนินนโยบายใกล้ชิดรัสเซีย แต่ความไร้เสถียรภาพของรัฐบาล การก่อการของขั้วฝ่ายตรงข้าม ทำให้การเมืองยูเครนผันผวน ได้รัฐบาลที่อิงชาติตะวันตกสลับกับที่อิงรัสเซีย เป้าหมายของยุทธศาสตร์ใหม่ของประธานาธิบดีปูติน คือหวังแก้ความผันผวนทางการเมือง ด้วยการแยกยูเครนออกเป็น 3 ส่วน
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2557, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1377

46. รู้จักโรคอีโบลา (Ebola) โรคที่ต้องเน้นการควบคุมการแพร่ระบาด
โลกรู้จักไวรัสอีโบลา หลายทศวรรษแล้ว ช่วงเวลาที่ผ่านมา เกิดการระบาดครั้งใหญ่น้อยหลายรอบ แต่จนถึงทุกวันนี้ โลกยังปราศจากยา วัคซีนที่ใช้ได้ผลอย่างจริงจัง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะขาดการวิจัยยากับวัคซีนที่มากเพียงพอ ในภาวะเช่นนี้ การป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดคือ “แนวทางรักษา” ที่เหมาะสมที่สุด เพราะเมื่อไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม การระบาดจะยุติไปเอง
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6501 วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1969582

ในมุมหนึ่งประธานาธิบดีโอบามาชี้ว่า IS เป็นภัยคุกคาม ต้องกำจัดอย่างถอนรากถอนโคน ในอีกมุมหนึ่งชี้ว่าการปราบปราม IS ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทันที ที่สำคัญคือต้องรอความร่วมมือจากประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะพวกซุนนี เมื่อวิเคราะห์แล้วนำสู่คำถามว่ารัฐบาลโอบามามีความตั้งใจปราบปรามกองกำลัง IS มากน้อยเพียงใด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6508 วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1974808

รัฐบาลชาติตะวันตกหลายประเทศหยิบยกประเด็นพลเรือนของตนที่เข้าร่วม IS จะกลับมาก่อเหตุก่อการร้ายที่บ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง จึงเห็นว่าควรดำเนินมาตรการป้องกันหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการติดอาวุธพวกเคิร์ด ซึ่งเป็นการปิดล้อมพื้นที่อิทธิพลของกองกำลัง IS ไม่ให้ขยายออกไปทางทิศตะวันออกให้มากกว่าที่เป็นอยู่ แต่ผลกระทบต่อประเทศอิรักคือพวกเคิร์ดมีความเป็นอธิปไตยมากขึ้น เท่ากับว่าอิรักสูญเสียอธิปไตย
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6515 วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1980064

ผลจากการแพร่ระบาดของเชื้ออีโบลาทำให้สังคมโลกตีตราว่าประเทศที่มีการแพร่ระบาดกลายเป็นประเทศที่อันตรายต่อชีวิตมากที่สุด หลายคนกลัวแม้กระทั่งไม่กล้าซื้อสินค้าจากประเทศเหล่านี้ ตราบใดที่การแพร่ระบาดยังไม่สิ้นสุด ประเทศเหล่านี้เหมือนประเทศที่ถูกคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนจากนานาชาติ เป็นการยากลำบากอย่างยิ่งที่ประเทศซึ่งยากจนอยู่แล้วจะพัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้เจริญรุ่งเรือง
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2557, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1384

การก่อการของ IS มีผลต่อการสร้างกระแสสงครามระหว่างนิกาย ซึ่งรัฐบาลอิหร่านระมัดระวังตัวอย่างยิ่ง ผลลัพธ์คือติดอาวุธให้กับพวกเคิร์ด สนับสนุนรัฐบาลแบกแดด เพื่อให้อิรักฝั่งตะวันออกเป็นแนวป้องกัน เป็น “รัฐกันชน” ป้องกันไม่ให้กองกำลัง IS เข้ามาก่อกวน สร้างสถานการณ์ให้ลุกลามบานปลาย กลายเป็นสงครามระหว่าง IS กับอิหร่าน เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ปราบปราม IS อันซับซ้อน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6522 วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1985154

ในการระบาดช่วงแรกนั้น ชาวบ้านจำนวนมากเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่โรคอีโบลา แต่เป็นแผนของรัฐบาลเพื่อเรียกร้องขอเงินบริจาคจากนานาชาติ เพื่อจะได้ฮุบเงินส่วนหนึ่งเข้ากระเป๋าตัวเอง คอร์รัปชันจึงเป็นต้นเหตุบ่อนทำลายการเมืองแบบประชาธิปไตย หากจะแก้ไขเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน คนในสังคมต้องส่งเสียงว่าการทุจริตเป็นเรื่องที่รับไม่ได้เลย เพื่อที่สุดแล้วมุมมองของทุกคนในสังคมจะเปลี่ยนใหม่ ไม่เห็นด้วยกับการคอร์รัปชัน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6529 วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1990263

ประธานาธิบดีโอบามาชี้ว่าวิธีต่อต้านผู้ก่อการร้าย IS ที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้คือใช้กำลังทางอากาศ สนับสนุนพันธมิตรและหุ้นส่วน เพิ่มการสนับสนุนกองกำลังประเทศอื่นๆ ที่เข้ารบทางภาคพื้นดิน เป็นการแสดงให้โลกเห็นถึงภาวะผู้นำของอเมริกา แต่จนบัดนี้ รัฐบาลโอบามายังไม่ใช้คำว่า “ทำสงครามกับ IS” ในขณะที่ IS แถลงอย่างชัดเจนให้สมาชิกสังหารชาวตะวันตกทุกประเทศที่เข้าร่วมโจมตี IS ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นทหารหรือพลเรือน ดังนั้น โอกาสที่ IS จะก่อความรุนแรงในประเทศอื่นๆ ย่อมมีตลอดเวลาคอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6536 วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/1994911

มีความเป็นไปได้ว่าผู้ก่อการร้ายที่อาจก่อเหตุในอนาคตจะเป็นพลเมืองอเมริกัน และชาวอเมริกันต้องอยู่กับภัยคุกคามนี้อีกนาน เป็นกระแสภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายรอบที่ 2 หลังจากเหตุ 9/11 เมื่อ 13 ปีก่อน หากเกิดเหตุวินาศกรรมครั้งใหญ่ไม่แพ้กรณี 9/11 เมื่อถึงคราวนั้นสังคมอเมริกาคงต้องตัดสินใจอีกครั้ง และต้องคอยดูว่าเมื่อถึงตอนนั้นผู้เป็นประธานาธิบดีจะตื่นตระหนกตกใจรีบเร่งส่งกองทัพเข้าสู่ตะวันออกกลางหรือไม่
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6543 วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2557, http://www.thaipost.net/sunday/051014/97134

54. ยุทธศาสตร์ต่อต้าน IS เรื่องที่โอบามาพูดและไม่ได้พูด(ตอนที่ 3)
ก่อนหน้านี้รัฐบาลโอบามาไม่เห็นด้วยกับการให้อาวุธประสิทธิภาพสูงแก่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย ไม่สนับสนุนการจัดตั้งเขตห้ามบิน ชาวอเมริกันต่อต้านการใช้กำลังทางอากาศโจมตีกองทัพอัสซาด แต่บัดนี้ นโยบายต่อซีเรียเหล่านี้กลับกลายเป็นตรงข้าม รัฐบาลโอบามาอาศัยการต่อต้านการก่อการร้าย แนบนโยบายซีเรียที่ชาวอเมริกันเคยต่อต้าน เข้าไปอยู่ในส่วนหนึ่งของแผนต่อต้าน IS
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6550 วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2005088

ออสเตรเลียเป็นอีกประเทศที่เข้าร่วมต่อต้าน IS ทำให้ IS ประกาศให้พลพรรคของตนสังหารชาวออสเตรเลียได้ทุกคน สังคมออสเตรเลียจึงระวังตัวต่อภัยก่อการร้ายในประเทศ จากความระวังกลายเป็นความระแวงต่อชาวมุสลิมทุกคนในประเทศ กลายเป็นว่ามุสลิมออสเตรเลียถูกดูหมิ่นคุกคาม สังคมออสเตรเลียขณะนี้กำลังต่อสู้ในสมรภูมิทางอุดมการณ์กับ IS เป็นภาวะที่ทุกคนอยู่ในสมรภูมินี้
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2557, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1391

รองประธานาธิบดีไบเดนอ้างว่ารัฐบาลตุรกี ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ ให้เงินและอาวุธกับผู้ก่อการร้าย รวมทั้งกลุ่ม IS แม้ว่าทำเนียบขาวจะชี้แจงว่าท่านไม่ได้ตั้งใจหมายความเช่นนั้นจริง แต่เป็นอีกข้อมูลอีกชิ้นที่ชี้ว่าชาติอาหรับให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย และเกิดคำถามว่าคำพูดของท่านสร้างความกระจ่างหรือสร้างความสับสนกันแน่
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6557 วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2010240

ในโลกมุสลิมมีผู้เชื่อว่าซุนนีกับชีอะห์มีความขัดแย้ง และในขณะนี้มีผู้พยายามอ้างว่าสงครามในซีเรียกับอิรักคือสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์ โดยเชื่อมโยงว่า IS คือเครื่องมือของซุนนี แต่เมื่อองค์กร ผู้นำจิตวิญญาณอิสลามประกาศชัดว่า IS ไม่ใช่อิสลาม การอ้าง IS เป็นเหตุผลสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์จึงตกไป น่าแปลกใจที่รองประธานาธิบดีไบเดนกลับพยายามดึง IS เข้าไปอยู่ในอิสลาม ยังยืนยันว่า IS อยู่ในกลุ่มซุนนี กำลังทำสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6564 วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2014774

รองประธานาธิบดีไบเดนชี้ว่าปัญหาวุ่นวายในซีเรียที่ยืดเยื้อกว่า 3 ปีครึ่ง ผู้คนล้มตายกว่า 200,000 คน มาจากพันธมิตรในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่ในอีกมุมหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลโอบามาประกาศนโยบายโค่นล้มรัฐบาลอัสซาด และยังยืนยันนโยบายจนถึงบัดนี้ นอกจากนี้การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลโอบามากำลังดำเนินนโยบายเพื่อคนอเมริกันหรือเพื่อใครกันแน่
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6571 วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2557, http://www.thaipost.net/sunday/021114/98410 และ http://www.ryt9.com/s/tpd/2020029

การประชุมผู้นำจีน-สหรัฐในปีนี้ จะเป็นอีกครั้งที่ผู้นำจีนประกาศจุดยืนต่อประชาคมโลก ว่าตนต้องการสันติภาพ ต้องการเป็นมิตรกับทุกประเทศ ส่วนรัฐบาลโอบามาไม่ว่าจะพูดกับจีนอย่างไร ยังคงเดินหน้าตามแผนเสริมกำลังรบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กองกำลังอีกส่วนที่กำลังปฏิบัติการโจมตีกองกำลังรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) ก็ยังคงเดินหน้าต่อ เช่นเดียวกับงานจารกรรมประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประเทศทั้งหลายต้องระวังที่จะไม่ก้าวข้ามเส้นต้องห้ามของจีน จีนยังต้องการเป็นมิตรในระยะนี้
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6578 วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2025148

60. เขตการค้าเสรีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกการประลองหลักการระหว่างจีนกับสหรัฐ
สมาชิกเอเปกประกาศว่า FTAAP จะยอมรับแนวทางเขตการค้าเสรีแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น TPP RCEP เท่ากับชี้ว่าที่ประชุมเอเปกปฏิเสธว่า TPP คือมาตรฐานเขตการค้าเสรีของภูมิภาค ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงให้เหตุผลว่าเขตการค้าเสรีอื่นๆ ที่กำลังเจรจาทั้งหมด ทั้งในระดับทวิภาคีหรือพหุภาคี ล้วนสนับสนุนเป้าหมายของ FTAAP
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6585 วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2030844

การที่รัฐบาลอาเบะยุบสภา แสวงหาความชอบธรรมทางการเมืองอีกครั้ง ก็เพราะคาดการณ์ล่วงหน้าแล้วว่าพรรคร่วมของตนจะได้มาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป และคราวนี้จะกลับมาด้วยความชอบธรรมกว่าเดิม เป็นวิธีใช้ประโยชน์จากการใช้สิทธิ์ 1 คน 1 เสียงของระบอบประชาธิปไตยตะวันตก ที่ประชาชนต้องเลือกตั้งแบบ “เหมารวม”
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6592 วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2036246

ข้อตกลง Joint Plan of Action มีผลชั่วคราว นั่นหมายความว่าอนาคตไม่แน่นอน ถ้ามองในแง่ดีเป็นโอกาสที่ต่างฝ่ายต่างแสดงความปรารถนาดีต่อกัน เป็นกระบวนการสร้างความไว้วางใจ และนำสู่การเจรจาขั้นสุดท้าย ถ้ามองในแง่ร้าย การผ่อนคลายการคว่ำบาตรมีผลชั่วคราว รัฐบาลสหรัฐยังคว่ำบาตรต่อไป ข้อตกลงชั่วคราวกลายเป็นเครื่องมือที่ประเทศคู่เจรจาใช้กดดันอิหร่าน
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6599 วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2041411

สมาชิกรัฐสภาฝ่ายที่ต้องการให้อิหร่านละทิ้งโครงการนิวเคลียร์ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ใช้การคว่ำบาตรอย่างรุนแรงเพื่อกดดันให้รัฐบาลอิหร่านยอมรับเงื่อนไข การเจรจาในช่วงนี้เป็นจุดสำคัญ เพราะหากเลยเส้นตาย 1 กรกฎาคม 2015 สหรัฐจะเข้าสู่ช่วงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โครงการนิวเคลียร์อิหร่านจะกลายเป็นหนึ่งในประเด็นหาเสียงอย่างสมบูรณ์ สถานการณ์จะซับซ้อนยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ 
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6606 วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2045814

สถานการณ์ในยูเครนสงบเรียบร้อยขึ้น แต่กลายเป็นต้นเหตุทำให้รัสเซียเผชิญหน้ากับสหรัฐและพันธมิตร รัฐบาลปูตินเชื่อว่าหากเดินเกมยืดเยื้อ ประชาชนยูเครนจะออกมาประท้วงคว่ำรัฐบาลโปโรเชนโก ฝ่ายตนจะเป็นผู้ได้ชัย ด้านสหรัฐกับพันธมิตรตอบโต้ด้วยการกดดันคว่ำบาตรรัสเซีย จนค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าอย่างรุนแรง กระทบเศรษฐกิจรัสเซีย
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6613 วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2050549

การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 5.5 เป็น 17 ปรับประมาณการเติบโตของจีดีพีจากบวกเป็นติดลบร้อยละ 5 เป็นเรื่องเหลือเชื่อ สาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น สหรัฐกับอียูคว่ำบาตรรัสเซีย เศรษฐกิจอเมริกาฟื้นตัว แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือราคาน้ำมันดิบโลกอ่อนตัว คืออ่อนตัวจากราคาปกติที่ระดับ 90 กว่าต่อดอลลาร์ต่อบาร์เรลมาเป็น 55 ดอลลาร์ต่อบาร์ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ราคาน้ำมันที่อ่อนตัวในลักษณะเช่นนี้ยิ่งเป็นเหตุการณ์ที่เหลือเชื่อ “ผิดปกติ” เป็นต้นเหตุให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่ารุนแรงในขณะนี้
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6620 วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2055659)

สนธิสัญญาเวสฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี 1648 เป็นจุดเริ่มต้นของ “รัฐสมัยใหม่” (modern state) ผู้ครองรัฐต่างๆ สามารถกำหนดนิกายศาสนาด้วยตนเอง ไม่จำต้องขึ้นกับศาสนจักรอีกต่อไป เป็นการยุติอำนาจฝ่ายโลกของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่มีมาตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง ผู้ปกครองแต่ละคนมีอำนาจสูงสุดเหนือดินแดน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างในดินแดนนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นประชากร ทรัพยากรต่างๆ รัฐจึงเป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้น สามารถพัฒนาปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6627 วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2557, http://www.ryt9.com/s/tpd/2060571
----------------------

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุดมการณ์ทางการเมือง (1) นิยาม อุดมการณ์ทางการเมือง

อุดมการณ์ทางการเมือง (2) อุดมการณ์เสรีนิยม

กำเนิด “รัฐสมัยใหม่” ตัวแสดงเอกของโลก