บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2014

วิกฤตสงครามกลางเมืองซีเรีย ความขัดแย้งที่ยังไร้ทางออก

รูปภาพ
ในรอบปี 2013 องค์กรสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch หรือ HRW) จัดให้ซีเรียเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งที่ใช้อาวุธสงครามเข้าห้ำหั่นรุนแรงที่สุดของโลก ความขัดแย้งที่เริ่มในเดือนมีนาคม 2011 จากกลุ่มผู้ประท้วงจำนวนเพียงเล็กน้อย ตามกระแสอาหรับสปริง ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นความขัดแย้งในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ การที่เป็นเช่นนี้ต้นเหตุสำคัญประการหนึ่งมาจากการที่รัฐปราบปรามด้วยความรุนแรงและการแทรกแซงจากกองกำลังต่างชาติ ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด (Bashar Al Assad) ออกคำสั่งปราบปรามฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ระบุว่าเป็นพวกกบฏกับผู้ก่อการร้ายทั้งจากคนในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพิทักษ์รักษาอธิปไตยแห่งชาติ ความมั่นคงเสถียรภาพของประเทศ             แทนที่จะต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย กองกำลังติดอาวุธของฝ่ายต่อต้านเท่านั้น กองกำลังของรัฐบาลอัสซาดโจมตีพลเรือนที่อยู่ในเขตควบคุมของฝ่ายต่อต้านโดยไม่ยับยั้งชั่งใจ เห็นได้ชัดว่าเป้าหมายคือต้องการขับไล่พลเรือนออกให้มากที่สุดเพื่อว่ากองกำลังฝ่ายต่อต้านจะได้อยู่ในพื้นที่อย่างโดดเดี่ยว ขาดกิจกรรมทางสังค...

เจนีวา 2 จะเป็นทางออกของสงครามกลางเมืองซีเรียหรือ

รูปภาพ
ใกล้ครบ 3 ปีแล้วที่ “ซีเรียสปริง” กลายเป็นสงครามกลางเมืองที่ยังไร้จุดยุติ ผู้ที่ติดตามเรื่องราวซีเรียจะพูดทำนองเดียวกันว่าเป็นความขัดแย้งที่ซับซ้อน ทุกฝ่ายยอมรับว่าที่สุดแล้วต้องนำเรื่องมาสู่โต๊ะเจรจา แม้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาจะมีการเจรจาหลายรอบทั้งแบบลับและเปิดเผย ผลลัพธ์ที่ออกมาคือความขัดแย้งดำเนินต่อไป การประชุมเจนีวา 2 (Geneva II) ที่กำลังดำเนินในขณะนี้เป็นความพยายามล่าสุด หลังจากเลื่อนการประชุมดังกล่าวมาแล้วหลายรอบ             บทความนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญๆ บางประเด็นเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจ วิเคราะห์ทิศทางอนาคต จุดยืน จุดต่างของแต่ละฝ่าย :             นายวาลิด อัลเมาเล็ม (Walid al-Moualem ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซีเรีย กล่าวก่อนเข้าเจรจาว่า รัฐบาลซีเรียมาประชุมเพื่อร่วมหาทางออก ต่อต้านการก่อการร้าย ไม่ได้มาเพื่อส่งมอบอำนาจแก่ฝ่ายต่อต้าน จุดยืนของรัฐบาลซีเรียคือแก้ปัญหาด้วยวิถีทางการเมือง พร้อมจะให้ปรับแก้รัฐธรรมนูญ สรรหาผู้นำประเทศคนใหม่ แต่ทั้งหม...

กระแสพลเอกซิซี อียิปต์ต้องการผู้นำเข้มแข็ง ต่อต้านภราดรภาพมุสลิม

รูปภาพ
และแล้วการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญก็เสร็จสิ้น สื่อ Ahram Online ของอียิปต์รายงานเบื้องต้นว่ามีผู้ใช้สิทธิ์ทั้งหมด 20,308,358 คน ลงมติรับร่าง  19,538,071 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 97.7 ไม่รับร่าง 475,091 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 2.3 จากผู้มีสิทธิ์ทั้งสิ้น 52,742,139 คน             เมื่อเทียบกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2012 ที่เนื้อหาอิงแนวทางของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ( Muslim Brotherhood ) พบว่าฉบับปี 2014 มีผู้มาใช้สิทธิ์มากกว่าราว 4 ล้านคน (ฉบับปี 2012 มีผู้ใช้สิทธิ์ราว 17.49 ล้านเสียง เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 64 หรือเท่ากับ 11.19 ล้านเสียง)             หากย้อนกลับไปเมื่อ 6-7 เดือนก่อน ฝ่ายต่อต้านประธานาธิบดีมอร์ซีเห็นว่าพวกตนมีความชอบธรรม ในการเรียกร้องให้รัฐบาลมอร์ซีลาออก เนื่องจากอ้างว่ามีรายชื่อผู้สนับสนุนพวกตนถึง 22 ล้านรายชื่อ ในขณะที่ ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ได้รับคะแนนจากการเลือกตั้งเพียง 13 ล้านเสียง       ...

ISIL/ISIS กับความขัดแย้งรอบใหม่ในอิรัก

รูปภาพ
ชื่อ Islamic State of Iraq and the Levant (ISIL) หรือ Islamic State in Iraq and Syria (ISIS) เริ่มเป็นที่รู้จักจากความขัดแย้งในประเทศซีเรีย เป็นกองกำลังติดอาวุธที่ค่อนข้างเป็นอิสระจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ชาติตะวันตกให้การสนับสนุน และเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ISIL/ISIS เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในอิรัก             ISIL/ISIS คือกองกำลังติดอาวุธที่เชื่อมโยงอัลกออิดะห์ ผู้นำปัจจุบันคือ Abu Baker Al Baghdadi อันที่จริงมีอัลกออิดะห์ในอิรักมานานแล้ว แต่ชื่อ ISIL เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปีก่อน เป็นความร่วมมือของมุสลิมสุดโต่งหลายกลุ่ม นาย Hoshyar Zebari รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิรักเชื่อว่า ISIL ประกอบด้วยกองกำลังทั้งหมดราว 12,000 นาย (ทั้งในอิรักกับซีเรีย)             นับจากอิรักเริ่มมีรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนูรี อัลมาลิกี ( Nouri Al-Maliki)  ความขัดแย้งระหว่างพวกซุนนีอาหรับกับชีอะห์ก็รุนแรงมากขึ้น มีข่าวเหตุความรุนแรงเรื่อยมา ชนวนความรุนแรงล่าสุดเกิดขึ้นเมื...

ข้อคิดจากขี้โรคแห่งเอเชีย

รูปภาพ
ครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 จีนซึ่งเป็นชาติอารยธรรมเก่าแก่กลายเป็นที่ดูหมิ่นดูแคลนของคนต่างชาติ เกิดคำว่า “ขี้โรคแห่งเอเชีย” จวบจนปัจจุบันคนจีนจำนวนมากยังไม่ลืมประวัติศาสตร์ในยุคนั้น มีการสั่งสอนถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้คนจีนรุ่นใหม่ไม่ลืมช่วงแห่งเวลาความขมขื่น และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นบทเรียนที่ชาวจีนและคนทั่วโลกควรได้ตระหนักระลึกอยู่เสมอ             บทความนี้จะนำเสนอเสี้ยวหนึ่งของเรื่องราวเหล่านั้น เพื่อเป็นบทเรียนและข้อคิด ดังนี้ สาเหตุที่จีนพ่ายแพ้ :             จีนเป็นอาณาจักรเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี มีทั้งช่วงแห่งความรุ่งโรจน์และเสื่อมถอย ราชวงศ์ชิงเป็นอีกราชวงศ์ที่ไม่พ้นวงล้อประวัติศาสตร์เช่นราชวงศ์หรืออาณาจักรอื่นๆ             ประการแรก คิดว่าประเทศตนยิ่งใหญ่ ไม่ปฏิรูปอย่างจริงจัง             อาณาจักรจีนมีการปฏิรูปหลายครั้ง สังคมมีก...

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2014

รวบรวมบทความ บทวิเคราะห์ทั้งหมดของปี 2014 ที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อ หน่วยงาน องค์กรต่างๆ               คอลัมน์  “สถานการณ์โลก" ไทยโพสต์  เป็นคอลัมน์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ และจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ “สถานการณ์โลก”  หลังจากตีพิมพ์แล้วอย่างน้อย 1 วัน             ส่วนผลงานของปี 2012-13 ดูได้ที่ http://www.chanchaivision.com/2013/08/Chanchai-Published-2013.html ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2014 1. เมื่อนานาชาติถามหาความชอบธรรมการสอดแนมของสหรัฐฯ หลายประเทศทั่วโลกกำลังอยู่ระหว่างปรึกษาหารือจัดทำร่างข้อมติสมัชชาสหประชาชาติเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของบุคคล หวังป้องกันไม่ให้ทางการสหรัฐฯ ทำการสอดแนมจนเกินความจำเป็น ในอีกด้านหนึ่งเรื่องดำเนินในทิศทางว่าด้วยแรงกดันทางการเมืองระหว่างประเทศทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ จำต้องปรับการทำงานของ NSA เพื่อให้เรื่องราวอันเนื่องจากการเปิดโปงของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนจบลงด้วยดี ตีพิมพ์ใน   นิตยสารหนังสือข่าวทหารอากาศ . ปีที่ 74 ฉบับที่ 1 ...