บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2013

บริบทความมั่นคงในนโยบายความมั่นคงแห่งชาติญี่ปุ่น 2013 (สรุปสาระสำคัญ)

รูปภาพ
บริบทความมั่นคงในนโยบายความมั่นคงแห่งชาติญี่ปุ่น 2013             พิจารณาภาพรวมพบได้ว่าสมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ  ‘Defense of Japan 2013’ บรรยายบริบทใน 2 ด้านหลักๆ คือ             1.บริบทเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบปี เช่น เรื่องของเกาหลีเหนือ จีน กิจกรรมทางทหารของรัสเซีย เหตุการณ์รอบปีทำให้เห็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่นานหรือยังกำลังดำเนินอยู่ เนื้อหาส่วนนี้จะเปลี่ยนแปลงทุกปีตามเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น             2. บริบทหลัก คือสถานการณ์ความมั่นคงอันเป็นหัวใจเพื่อการกำหนดยุทธศาสตร์ในระยะยาว ได้แก่ ฉากทัศน์ถูกศัตรูโจมตีพร้อมกับกองทัพสหรัฐฯ และความสำคัญของเส้นทางเดินเรือ เนื้อส่วนนี้ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง             บริบทความมั่นคงระหว่างประเทศมีความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้น อันตรายจากภัยคุกคามมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ในขณะที่สหรัฐฯ พันธมิตรสำคัญของญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหางบประ...

ความพยายามของซาอุฯ ต่อการจัดการซีเรียกับอิหร่านด้วยลำพัง

รูปภาพ
เจ้าชาย Mohammed bin Nawaf bin Abdulaziz แห่งซาอุดิอาระเบียเขียนบทความลงสื่อ New York Times เมื่อต้นสัปดาห์ (17 ธันวาคม) ชี้ว่าหลายทศวรรษที่ผ่านมาชาติตะวันตกกับซาอุฯ ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์จากความสัมพันธ์อันดีต่อกันนานหลายทศวรรษ แต่มาวันนี้ความสัมพันธ์เหล่านี้กำลังถูกทดสอบจากความเห็นต่างต่อเรื่องอิหร่านกับซีเรีย รัฐบาลซาอุฯ ไม่อาจทนนิ่งเงียบนิ่งเฉยอีกต่อไปเพราะนโยบายชาติตะวันตกต่ออิหร่านกับซีเรียหลายข้ออาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาคตะวันออกกลาง มุมมองที่แตกต่าง :             การที่เจ้าชายพูดว่าวิกฤตการณ์ซีเรียยังผลทำให้พลเรือนเสียชีวิตแล้วกว่าแสนราย และส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศ กระสุนปืนใหญ่ที่ยิงใส่เขตพื้นที่พลเรือน เป็นความพยายามชี้ว่ารัฐบาลซีเรียของประธานาธิบดีบาชาร์ อัลอัสซาดเป็นฝ่ายผิดกระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ แต่หากมองในมุมของรัฐบาลซีเรีย ย่อมเห็นว่ารัฐบาลกำลังปกป้องกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่พยายามจะล้มล้างประเทศ และเป็นเรื่องจริงที่ว่าผู้ก่อการร้ายเหล่านี้มาจากหลากหลายกลุ่ม ตั้งแต่พวกสายกลา...

อิรักกับประชาธิปไตยในความเปลี่ยนแปลง

รูปภาพ
ทำไมบางประเทศที่ปกครองด้วยประชาธิปไตย สังคมจึงเจริญรุ่งเรือง สงบเรียบร้อย ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข แต่ทำไมบางประเทศที่ใช้การปกครองเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคล้ายกันแต่ไม่ได้ผลดี ทั้งๆ ที่โลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ สังคมโลกมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าอดีต แต่หลายประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางกับแอฟริกาเหนือที่เปลี่ยนการปกครองจากอำนาจนิยมมาสู่ประชาธิปไตยพบว่ามีปัญหา สังคมไม่ได้รับผลดีจากระบอบประชาธิปไตยดังที่หวัง             ประเทศอิรักคือหนึ่งในประเทศที่กำลังกล่าวถึง เดือนเมษายน 2003 กลายเป็นวันประวัติศาสตร์ของประเทศอิรัก เมื่อกองทัพอเมริกันยาตราทัพเข้ากรุงแบกแดกโค่นล้มระบอบซัดดัม ฮุสเซ็น ชาวอิรักจำนวนไม่น้อยดีใจเมื่อเห็นระบอบซัดดัมล่มสลาย แต่ จนบัดนี้กว่า 10 ปีแล้วที่อิรักยังล้มลุกคลุกคลานกับระบอบประชาธิปไตย สังคมเต็มด้วยความแตกแยกและการเกิดเหตุร้ายรายวัน             บทเรียนสำคัญที่ได้คือ การจะเป็นประชาธิปไตยได้หรือไม่นั้นขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องของค่านิยม ...

การพัวพันของอาเซียนกับทางออกของ ADIZ

รูปภาพ
การประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ ( Air Defense Identification Zone หรือ ADIZ)  ของจีนเหนือน่านฟ้าทะเลจีนตะวันออก นอกจากเกี่ยวพันกับประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวันโดยตรงแล้ว ยังพัวพันประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอาเซียน หากคิดในแง่ลบ คิดถึงการเผชิญหน้าทางทหารที่จะรุนแรงมากขึ้นในวันข้างหน้า ยิ่งชวนให้คิดหาทางออกสกัดกั้นเหตุร้ายเหล่านั้น             บทความนี้จะวิเคราะห์การเข้ามาพัวพันของอาเซียน พร้อมข้อเสนอแนะทางออกบางประการ ดังนี้ ความวิตกกังวลของอาเซียน การประกาศเขตแสดงตนในอนาคต :             ADIZ หรือเขตแสดงตนของจีนที่ประกาศเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนไม่มีผลต่อความมั่นคงของชาติสมาชิกอาเซียนโดยตรง สายการบินพลเรือนของกลุ่มประเทศอาเซียนหลายสายแสดงตนต่อทางการจีนเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร ส่วนในทางการเมืองระหว่างประเทศ แรงตึงเครียดจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกกระทบต่ออาเซียน เกิดภาวะชวนให้หวั่นวิตกพอสมควร          ...

เผยธาตุแท้รัฐบาลจีน ญี่ปุ่นและสหรัฐ ผ่านการประกาศ ADIZ ของจีน

รูปภาพ
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลจีนประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ ( Air Defense Identification Zone หรือ ADIZ)  เหนือน่านฟ้าทะเลจีนตะวันออก บางส่วนทับซ้อนเขตแสดงตนของประเทศใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและไต้หวัน ทั้งยังทับซ้อนเขตแสดงตนของญี่ปุ่นเหนือหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ เกิดวิวาทะระหว่างประเทศเหล่านี้และพัวพันถึงสหรัฐ จนรองประธานาธิบดีโจ ไบเดนต้องรีบบินด่วนมาพูดคุยกับรัฐบาลญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น             บทความนี้จะวิเคราะห์ตีแผ่ประเด็นสำคัญๆ ของวิวาทะเหล่านี้โดยสังเขป ดังนี้ หลายประเทศ หลายมาตรฐาน :             ADIZ หรือเรียกสั้นๆ ว่าเขตแสดงตนไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก รัฐบาลสหรัฐเป็นต้นคิดเรื่องนี้ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ล ฮาเบอร์ เป้าหมายคือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเตือนภัยทางอากาศ ให้เครื่องบินต่างชาติทุกลำที่บินตรงเข้าเขตอธิปไตยต้องแสดงตน เพื่อให้เครื่องบ...

ออสเตรเลียดักฟังอินโดนีเซีย เรื่องที่เปิดเผย-ปกปิด และข้อเสนอแนะ

รูปภาพ
รัฐบาลของประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประท้วงการสอดแนมจากออสเตรเลีย หลังสื่อเปิดเผยข้อมูลของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าที่ของซีไอเอและสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ชี้ว่าในปี 2009 หน่วยข่าวกรองออสเตรเลียดักฟังโทรศัพท์ผู้นำประเทศและบุคคลสำคัญของรัฐบาลรวม 10 คน ด้านนายโทนี แอบบอตต์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียอธิบายว่าการสอดแนมเป็นเรื่องปกติที่ทุกประเทศกระทำ เป็นเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ และออสเตรเลียกระทำเพื่อผลประโยชน์ของอินโดนีเซียด้วย สองฝ่ายตอบโต้ไปมา ภายใต้วิวาทะเหล่านี้มีเรื่องที่เปิดเผยให้สาธารณชนทราบ และมีอีกหลายเรื่องที่ถูกปกปิดหรือบิดเบือน             ประเด็นแรก สอดแนมเฉพาะโทรศัพท์มือถือและกระทำต่ออินโดนีเซียเท่านั้นหรือ             นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ตั้งคำถามว่า “ผมต้องการคำตอบอย่างยิ่งว่า ทำไมการสนทนาส่วนตัวระหว่างท่านประธานาธิบดีกับภรรยาจึงสำคัญต่อความมั่นของออสเตรเลีย ” พร้อมกับเรียกร้องขอคำขอโทษ ออ...