ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2012-2013

รวบรวมบทความบทวิเคราะห์ทั้งหมดของปี 2012-2013 ที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อ หน่วยงาน องค์กรต่างๆ
            คอลัมน์ “สถานการณ์โลก" ไทยโพสต์ เป็นคอลัมน์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ และจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ “สถานการณ์โลก” หลังจากตีพิมพ์แล้วอย่างน้อย 1 วัน
ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2013
1. Shale gas กับ Shale oil ผู้ท้าทายวงการน้ำมันโลก
สหรัฐฯ ผู้บริโภคทรัพยากรน้ำมันมากที่สุดในโลกจะกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เหตุจากความสำเร็จในการพัฒนา Shale gas กับ Shale oil
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5906 วันเสาร์ที่ มกราคม พ.ศ.2556 http://www.ryt9.com/s/tpd/1562329

เลขาธิการอาเซียนกับคนใหม่กับคนเก่ากล่าวอะไรที่น่าสนใจ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5912 วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ.2556 http://www.ryt9.com/s/tpd/1566543

ประเด็น Fiscal Cliff ไม่ใช่เพียงเรื่องจะควรขึ้นภาษีคนมีฐานะดี ปรับลดงบประมาณสวัสดิการ แต่คือหลักนโยบายเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน การขับเคี่ยวทางการเมือง
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1362 ประจำวันที่ 19-12-2012 ถึง 21-12-2012 (17 มกราคม 2013, เว็บไซต์อยู่ระหว่างการปรับปรุง) http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413371008 

อุปสรรคสำคัญในการบริหารประเทศสมัยที่สองของประธานาธิบดีบารัก โอบามา คือปัญหาการเมืองภายในสหรัฐฯ ความแตกแยกระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกัน
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5924 วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ.2556 http://www.ryt9.com/s/tpd/1574120 

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เดวิด คาเมรอน สัญญาจะจัดทำประชามติภายในสิ้นปี
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1363 ประจำวันที่ 22-12-2012 ถึง 25-12-2012 (28 มกราคม 2013, เว็บไซต์อยู่ระหว่างการปรับปรุง) http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413371297

อาเซียนก่อตั้งมาเกือบ 50 ปีแล้ว อาเซียนมีความร่วมมือหลากหลายด้าน แต่อะไรเป็นจุดเริ่มต้นหรือวัตถุประสงค์สำคัญเมื่อเริ่มแรกก่อตั้ง
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2556 http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=402&filename=index_2

ข้อมูลล่าสุดอัตราคนว่างงานในสเปนมีมากถึงร้อยละ 26 ในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งหรือร้อยละ 55.13 คือคนหนุ่มสาวผู้มีอายุระหว่าง 16-25 ปี
สยามธุรกิจ [ฉบับที่ 1366 ประจำวันที่ 5-1-2013 ถึง 8-1-2013] (กุมภาพันธ์ 2013, เว็บไซต์อยู่ระหว่างการปรับปรุง) http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413371527

สื่อสเปนตีแผ่เอกสารลับแสดงข้อมูลว่านายกรัฐมนตรีราโคยได้รับเงินลับๆ กว่า 332,000 ยูโรช่วงระหว่างปี 1987-2008
สยามธุรกิจ [ฉบับที่ 1373 ประจำวันที่ 30-1-2013  ถึง 1-2-2013] (กุมภาพันธ์ 2013, เว็บไซต์อยู่ระหว่างการปรับปรุง) http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413372163

คนจำนวนมากยังติดปากเรียกว่า “พม่า” แม้รัฐบาลเมียนมาร์ขอให้เรียกชื่อประเทศตนว่า “เมียนมาร์” แต่บางคนบางประเทศยืนยันเรียกชื่อเดิม เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ให้สัมภาษณ์ในรายการ “ACE 2015” ของสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2013

อำนาจต่อรองของเปียงยางในยามนี้ร่อยหรอยลงทุกที และคงต้องเป็นเช่นนี้อีก 4 ปีกว่าที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามาจะหมดวาระ
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5946 วันพฤหัสที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 
http://www.ryt9.com/s/tpd/1589411 

ตลอดคำแถลงนโยบายประธานาธิบดีโอบามากล่าวให้ความสำคัญต่อพรรคคู่แข่งคือพรรครีพับลิกันเป็นระยะๆ เรียกร้องความร่วมมือจากพรรคฝ่ายค้านหลายครั้งหลายหน
สยามธุรกิจ [ฉบับที่ 1377 ประจำวันที่ 13-2-2013 ถึง 15-2-2013]
http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413372587 และ "US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1497

สภาพที่เศรษฐกิจโตน้อย ขาดดุลมาก อัตราคนว่างงานพุ่งสูง คือความจริงสามข้อแรกที่ประธานาธิบดีออล็องด์ต้องเผชิญ
สยามธุรกิจ [ฉบับที่ 1378 ประจำวันที่ 16-2-2013 ถึง19-2-2013] 
http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413372864
สถานการณ์ที่ยากจะจัดตั้งรัฐบาลเป็นภาวะชะงักงันทางการเมืองว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ และหากจัดตั้งได้นโยบายเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร
สยามธุรกิจ [ฉบับที่ 1380 ประจำวันที่ 23-2-2013 ถึง 26-2-2013] 
http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413373064

เวลากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนด้านความมั่นคงมักจะเป็นความขัดแย้งเสียมากกว่าแต่กรณีเกาหลีเหนือเป็นข้อยกเว้น สองมหาอำนาจสามารถร่วมมือกันได้ ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐบาลบารัก โอบามาเน้นแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางทูตไม่หวังยกระดับความขัดแย้ง 
ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5971 วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2556 http://www.thaipost.net/news/110313/70718 หรือที่ http://www.ryt9.com/s/tpd/1606238 
และ US Watch โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1506

15. เข้าใจอาเซียนตอน: ทำไมอาเซียนจึงมีสมาชิกสิบประเทศ
ทุกคนทราบว่าอาเซียนมีชาติสมาชิกสิบประเทศ แต่แรกเริ่มมีเพียงห้าประเทศ ต่อมารวมเอาประเทศในภูมิภาคเข้ามาอีกห้าประเทศ อะไรคือเหตุผลของการเพิ่มจำนวนสมาชิก
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2556 http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=493&filename=index_2

รัฐบาลจีนชุดใหม่ประกาศหวังสร้างความสัมพันธ์รูปแบบใหม่กับสหรัฐ เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ มองข้ามความขัดแย้ง เป็นการแสดงบทบาทอย่างสร้างสรรค์ของชาติมหาอำนาจจีนที่ต้องการอยู่ร่วมกับชาติมหาอำนาจสหรัฐอย่างสันติ สร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2013 http://www.thaizhong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=2771:2013-03-20-09-22-49&catid=63:articlespecialorther-cat&Itemid=100

แม้การเยือนอิสราเอลของประธานาธิบดีบารัก โอบามาจะไม่มีนโยบายใหม่แต่ประการใด ในอีกแง่มุมหนึ่งคือการตอกย้ำนโยบายเดิมว่ายังต้องการแก้ไขปัญหาโครงการนิวเคลียร์อิหร่านด้วยวิถีทางการทูตก่อน และจะไม่ยอมให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองเป็นอันขาด เป็นโอกาสที่สหรัฐกับอิสราเอลร่วมส่งสาสน์เตือนอิหร่านอีกครั้ง
ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5982 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2556 http://www.ryt9.com/s/tpd/1614763 
และ US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1516)

การเมืองอิตาลีมาถึงทางตันเมื่อไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีกับแกนนำพรรคการเมืองพยายามหาทางออก อีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้คือ จัดเลือกตั้งใหม่โดยพรรคใหญ่เสนอนโยบายประนีประนอมที่ผ่านการปรึกษากับพรรคคู่แข่งแล้วว่ายินดีเข้าร่วมรัฐบาลด้วยหากพรรคใหญ่นั้นชนะการเลือกตั้ง 
ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5993 วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ.2556 http://www.ryt9.com/s/tpd/1621615

โลกจับตาสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี เมื่อเกาหลีเหนือประกาศว่าประเทศอยู่ในภาวะสงคราม แสดงพฤติกรรมเตรียมทำสงคราม เกิดคำถามว่ากำลังจะเกิดสงครามจริงหรือไม่ หรือแท้จริงเป็นเพียงพฤติกรรมยั่วยุเพื่อกระชับอำนาจภายใน การแสดงออกของสหรัฐมีผลอย่างไรต่อสถานการณ์อย่างไร มีเหตุผลที่ซับซ้อนกว่าภาพที่มองเห็นหรือไม่
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5998 วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ.2556 http://www.ryt9.com/s/tpd/1625504 
และ “US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1533

20. ปัญหาการปลูกฝิ่นและความท้าทายของรัฐบาลอัฟกานิสถาน
ประเทศอัฟกานิสถานคือประเทศผู้ปลูกฝิ่นรายใหญ่ที่สุดของโลก การแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะพัวพันกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การทหาร และการปลูกฝิ่นมีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
เผยแพร่ผ่าน “ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย” สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ เมษายน 2556, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1256

การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก H7N9 เป็นมากกว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ระบาด แต่เป็นหนึ่งในภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่จะอยู่กับมนุษย์ไปอีกนาน จำต้องเข้าใจเพื่อรับมืออย่างถูกต้อง
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6005 วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2556
http://www.ryt9.com/s/tpd/1629900

รัฐบาลเกาหลีเหนือยื่นเงื่อนไขหลายข้อสำหรับการเจรจายุติความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี เป็นเงื่อนไขที่สร้างบิดเบือนความจริง สร้างความสับสน ยากจะปฏิบัติตาม ความสงบสุขอาจจะคืนสู่คาบสมุทรในไม่ช้า แต่ความตึงเครียดพร้อมจะปะทุใหม่อีกรอบ
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6012 วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1633644

23. จัดการข้อพิพาททะเลจีนใต้จัดการข้อพิพาทอาเซียน
ข้อพิพาททะเลจีนใต้ (ฟิลิปปินส์) เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกยืดเยื้อมานานหลายทศวรรษ ในมุมหนึ่งอาจมองว่าไม่ค่อยมีความคืบหน้า เป็นการเจรจาที่ไร้ที่สุดสิ้น แต่ภายใต้สภาพดังกล่าวชาติสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันอย่างสันติ อยู่กับจีนอย่างสงบสุข เป็นการบริการจัดการข้อพิพาททั้งภายในอาเซียนด้วยกันและระหว่างอาเซียนกับจีน
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6019 วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1638773
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2013 http://thaizhong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=2993:2013-04-29-03-05-40&catid=63:articlespecialorther-cat&Itemid=100

24. ความฮึกเหิมของแนวร่วมฝ่ายค้านมาเลเซียและข้อโต้แย้ง
ภายใต้การนำของนายอัลวาร์ อิบราฮิมทำให้แนวร่วมฝ่ายค้านให้ได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2008 เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ประชาชนที่สนับสนุนแนวร่วมฯ เชื่อว่าพวกเขามีโอกาสโค่นล้มการบริหารประเทศที่พรรคอัมโนเป็นแกนนำตลอด 56 ปี แต่ความหวังนั้นมีอุปสรรค ปัญหาหลายประการ
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6026 วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1643249

ข่าวการใช้อาวุธเคมีซารินในซีเรียกลายเป็นเรื่องจริง แต่ยังสับสนว่าฝ่ายใดเป็นผู้ใช้ ที่ผ่านมาซารินทำให้ผู้คนเสียชีวิตบาดเจ็บไม่มาก แต่กลับมีผลทางการเมืองระหว่างประเทศอย่างมากทั้งต่อซีเรียและชาติมหาอำนาจอย่างอเมริกา
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6033 วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1647827
และ “US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1592

26ทำไมฟิลิปปินส์ยิงเรือประมงไต้หวันในน่านน้ำหมู่เกาะสแปรตลีย์
ความขัดแย้งระหว่างฟิลิปปินส์กับไต้หวันต่อหมู่เกาะสแปรตลีย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ การค้นหาคำตอบว่า “ทำไมฟิลิปปินส์ยิงเรือประมงไต้หวันในน่านน้ำหมู่เกาะสแปรตลีย์” เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา จะช่วยทำให้เข้าใจว่าเป็นเพราะการอ้างอธิปไตย ความขัดแย้งเรื่องการทำประมง หรือการเมืองระหว่างประเทศอันซับซ้อน คำตอบจากแต่ละแนวทางส่งผลต่อทิศทางการแก้ปัญหา ความเป็นไปในอนาคต
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6040 วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1653129
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2013, http://thaizhong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=3127:2013-05-20-02-39-27&catid=63:articlespecialorther-cat&Itemid=100

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์กับรัฐบาลโอบามาขยับขึ้นอีกขั้น เมื่อประธานาธิบดีเต็ง เส่งเยือนทำเนียบขาวพบประธานาธิบดีโอบามา สองผู้นำยืนยันปฏิรูปเมียนมาร์สู่ประชาธิปไตย ท่ามกลางเสียงวิพากษ์จากนักสิทธิมนุษยชน
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6047 วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1657668
และ “US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1624

สังคมมาเลเซียมีการถกเถียงอย่างต่อเนื่องว่ารัฐบาลดูแลเอาใจใส่พลเมืองทุกเชื้อสายอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เป็นเหตุของการแข่งขันทางการเมือง สังคมแบ่งแยก ทั้งๆ ที่รัฐบาลยืนยันมาโดยตลอดว่ามีนโยบายส่งเสริมความเท่าเทียมแก่ทุกคน
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1263

สมาชิกสหภาพยุโรปมีทั้งประเทศที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยกับการเสริมเขี้ยวเล็บแก่ฝ่ายต่อต้าน และมติยกเลิกคว่ำบาตรขายอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้านไม่น่าจะมีผลใดๆ ทั้งด้านการรบกับการเมืองของซีเรีย เพราะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องและอาจไม่ตรงความต้องการของฝ่ายต่อต้าน
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6054 วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1662492

30. ผลลัพธ์โครงการนิวเคลียร์อิหร่านภายใต้อาห์มาดิเนจาด
8 ปีของการพัฒนานิวเคลียร์ภายใต้สมัยประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจาด เป็นช่วงเวลาที่โครงการนิวเคลียร์มีความก้าวหน้ามาก ก่อทั้งผลดีผลเสียต่ออิหร่านชัดเจน แม้จะยังไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์สำเร็จตามเป้า แต่ได้บรรลุเป้าหมายบางอย่างแล้ว
คอลัมน์ สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6061 วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1667487

อิหร่านมีโครงการนิวเคลียร์มาหลายทศวรรษแล้ว สมัยของอาห์มาดินาจาดเป็นช่วงที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ชาติตะวันตกคว่ำบาตร ซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่ทุกรัฐบาลที่กระทำเช่นเดียวกันนี้ ขึ้นกับเหตุผลเบื้องหลัง บริบทแวดล้อมอื่นๆ
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6068 วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1672564

ประเทศอินโดนีเซียดำเนินนโยบายอุดหนุนราคาน้ำมันเกือบ 5 ทศวรรษแล้ว ก่อให้เกิดปัญหาขาดดุลงบประมาณ รัฐต้องตัดงบประมาณเพื่อใช้พัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชนด้านการศึกษา การรักษาโรค สวัสดิการเพื่อสังคม ด้วยเป้าหมายช่วยเหลือคนจน แต่งานวิจัยจำนวนมากชี้ว่าคนรวยต่างหากที่ได้ประโยชน์มากกว่า
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6075 วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1677486

การเปิดเผยเรื่องราวของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เป็นอีกครั้งที่ทำให้สังคมโลกตระหนักว่ารัฐได้ดำเนินการจารกรรม สอดแนม สายลับอย่างต่อเนื่อง และชี้ว่าสื่อโซเชียลมีเดีย เครือข่ายสังคมออนไลน์คือช่องทางการได้ข้อมูลตามการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี พัฒนาการของสังคมโลก
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6082 วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1682444
และ US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1673

ความก้าวหน้าเทคโนโลยีทำให้ Shale gas กับ tight oil กลายเป็นแหล่งปิโตรเลียมใหม่ของโลก มีผลต่อวงการอุตสาหกรรมน้ำมัน คาดว่าตลาดน้ำมันโลกจะมีผู้ผลิตรายใหม่เกิดขึ้น สหรัฐฯ อาจกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก บทบาทของโอเปกลดลง
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2556, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1271

ในเวลาไม่ถึง 3 ปี ประเทศอียิปต์เกิดเหตุประชาชนขับไล่รัฐบาลมาแล้ว 2 ชุด คือรัฐบาลของประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัค กับรัฐบาลของประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ทั้งสองครั้งประชาชนผู้สนับสนุนต่างประกาศว่าคือส่วนหนึ่งของอียิปต์สปริง เป็นชัยชนะของประชาชน การชุมนุมทั้งสองครั้งกองทัพอียิปต์เข้าเกี่ยวข้องด้วยเสมอ และสหรัฐมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกองทัพอียิปต์มานานหลายทศวรรษแล้ว
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6089 วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1687172
และ US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1690

36. มองนโยบายความมั่นคงญี่ปุ่นด้วยแนวคิดสัจนิยม
ทฤษฎีสัจนิยมให้ความสำคัญกับความมั่นคงแห่งชาติมากที่สุด รัฐต้องระแวดระวัง เตรียมการรับมือภัยคุกคามทุกชนิด พร้อมเผชิญหน้าฝ่ายตรงข้าม แต่ภายใต้แนวคิดนี้นโยบายความมั่นคงแห่งชาติเต็มด้วยความหวาดระแวง ความไม่เชื่อใจ กลายเป็นดาบสองคมให้ประเทศเพื่อนบ้านมองด้วยความหวาดระแวง มองอย่างเป็นภัยคุกคามเช่นกัน นโยบายความมั่นแห่งชาติญี่ปุ่นสะท้อนลักษณะดังกล่าวอย่างชัดเจน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6096 วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1691689
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2013, http://www.thaizhong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=3499:2013-07-15-04-33-18&catid=63:articlespecialorther-cat&Itemid=100

สังคมโลกกำลังเผชิญภัยคุกคามหลายอย่าง คอร์รัปชันเป็นภัยคุกคามตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล จนถึงประเทศ ประชาคมโลก ประวัติศาสตร์หรือข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ชี้ชัดให้เห็นถึงโทษ ภัยคุกคามนี้ที่บิดเบือนการปกครองให้ประโยชน์ตกแก่ผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่กลุ่ม ไม่กี่คน ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาระเพื่อประโยชน์ของคนส่วนน้อย
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6103 วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1696681

มีผู้ตั้งคำถามว่าติมอร์-เลสเต จะเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 11 หรือไม่ คำตอบเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับว่าประเทศติมอร์จะสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขการรับสมาชิกตามกฎบัตรอาเซียนหรือไม่ คำตอบที่ตรงประเด็นกว่านั้นคือขึ้นอยู่กับความพยายามของติมอร์-เลสเตในการสร้างประเทศให้เจริญรุ่งเรือง สมกับเป็นรัฐสมัยใหม่ที่พร้อมจะก้าวไปกับชาติสมาชิกอาเซียนอื่นๆ
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2556, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1275

39. การรัฐประหารที่ไม่แล้วเสร็จของอียิปต์?
พลเอกอับดุล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอียิปต์ เรียกร้องให้ประชาชนออกมาชุมนุมสนับสนุนการยึดอำนาจ กลายเป็นภาพของรัฐประหารที่ไม่เสร็จสมบูรณ์ ต้องขอให้ประชาชนแสดงการสนับสนุนเพิ่มเติม แม้มีผู้ร่วมชุมนุมแสดงพลังสนับสนุนการรัฐประหารจำนวนนับแสนนับล้านคน แต่ฝ่ายสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีมอร์ซีจะยังคงชุมนุมยืดเยื้อต่อไป ตอกย้ำผลลัพธ์ด้านลบของการรัฐประหาร
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6110 วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1701115

40. คดีทุจริตกล่าวหามาเรียโนราโคย นายกรัฐมนตรีสเปน
นายมารีโน ราโคย นายกรัฐมนตรีสเปนกับแกนนำพรรคหลายคนกำลังถูกกล่าวหาว่ารับเงินใต้โต๊ะจากบริษัทเอกชนเพื่อแลกกับการได้โครงการก่อสร้างของรัฐ อนุมัติโครงการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่านายกรัฐมนตรีราโคยกับพวกจะถูกตัดสินใจว่าถูกหรือผิด ข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครปฏิเสธคือสเปนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีคอร์รัปชันสูง และกลายเป็นต้นเหตุหนึ่งของวิกฤตเศรษฐกิจที่จนถึงวันนี้ยังแก้ไม่ได้
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6117 วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1706171

41. ฟิลิปปินส์กับไต้หวันยุติข้อพิพาทเพื่อผลประโยชน์ระดับประเทศ
เหตุเรือยามฝั่งฟิลิปปินส์ยิงลูกเรือไต้หวันเสียชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ กลายเป็นเรื่องบาดหมางระหว่างสองฝ่าย แต่เนื่องจากผลความบาดหมางทำให้สองฝ่ายเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่ประสงค์เป็นศัตรูกับไต้หวัน สองรัฐบาลจึงหาทางประนีประนอมยุติข้อพาท โดยที่ปัญหาการทำประมงยังไม่ได้รับการแก้ไข
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6124 วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1711242
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2013, http://www.thaizhong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=3675:2013-08-21-04-37-06&catid=63:articlespecialorther-cat&Itemid=100

หลังชุมนุมยืดเยื้อ 6-7 สัปดาห์ รัฐบาลก็เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม เหตุการณ์ความรุนแรงลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะรอบปีที่ผ่านมาในสมัยที่มอร์ซีเป็นประธานาธิบดี กลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลมอร์ซีก็บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเช่นกัน เพียงแต่สถานการณ์วันนี้สลับฝ่ายสลับขั้ว
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6131 วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1716171

43.คาดหวังอะไรเมื่อสหประชาชาติตรวจสอบการใช้อาวุธเคมีในซีเรีย
ราวหนึ่งปีหลังจากที่กล่าวหากันไปมาในที่สุดสหประชาชาติส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบเรื่องการใช้อาวุธเคมีในซีเรีย แต่ต้องเข้าใจว่าเป้าหมายของการตรวจสอบคือเพื่อพิสูจน์ว่ามีการใช้หรือไม่เท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงเรื่องใครหรือฝ่ายใดเป็นผู้ใช้ ที่ผ่านมาอังกฤษกับฝรั่งเศสแสดงท่าทีขึงขังเรียกร้องการแทรกแซงทางการทหาร แต่นั่นหมายถึงต้องมีสหรัฐฯ เป็นหัวเรือใหญ่ที่ลังเลใจเรื่อยมา
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6138 วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1721196

ทางการญี่ปุ่นเปิดตัวเรือรบอิซูโม (Izumo) เรือรบรุ่นใหม่ที่ใหญ่ที่สุดที่ญี่ปุ่นต่อเองนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา กองทัพญี่ปุ่นจัดให้เรือดังกล่าวอยู่ในชั้นเรือพิฆาต แต่สามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จำนวน 9-14 ลำ และอาจบรรทุกเครื่องบินรบรุ่นใหม่ล่าสุด F-35 จึงมีข้อวิพากษ์ว่าญี่ปุ่นกำลังเสริมกำลังรบขนาดใหญ่หรือไม่ จะกระทบความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างไร
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1285

จากที่ลังเลใจมาตลอดหนึ่งปี พยายามเลื่อนการตัดสินใจว่าใครเป็นผู้ใช้อาวุธเคมีในซีเรีย เหตุการณ์การใช้อาวุธเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม กลายเป็นข้ออ้าง เป็นจุดเปลี่ยนนโยบายของโอบามาต่อซีเรีย สหรัฐคิดโจมตีกองทัพรัฐบาลอัสซาดด้วยตนเอง ด้วยไม่ฟังคำทัดทานจากหลายประเทศ เหตุผลหลักประการหนึ่งคือต้องการช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านรัฐบาล
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6145 วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1725892
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1733

รัฐบาลโอบามาใช้หลักฐานการโจมตีด้วยอาวุธเคมีเพียงครั้งเดียวกับอ้างหลักการว่าทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อโจมตีซีเรีย โดยละทิ้งกระบวนการของสหประชาชาติ กฎเกณฑ์ ระบบความมั่นคงของโลก
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6152 วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1730818

ข่าวการโจมตีซีเรียทำให้สังคมอเมริกาตื่นตัว ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เกิดประเด็นถกเถียงว่ารัฐบาลโอบมาเข้าใจความต้องการของประชาชนหรือไม่ หรือว่าคนอเมริกันต่างหากที่ต้องเข้าใจความเป็นไปของโลกให้มากกว่านี้ หรือว่าแท้ที่จริงแล้วการตัดสินใจของรัฐบาลขึ้นกับหลายปัจจัย คำว่า “เพื่อประชาชน” มีความหมายซับซ้อนกว่าที่คิด
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6159 วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1735643
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1746

48. อนาคตแบร์ลุสโกนี อนาคตการเมืองอิตาลี
นายแบร์ลุสโกนี อดีตนายกรัฐมนตรีสี่สมัยของอิตาลี กำลังถูกพิจารณาถอดถอนจากตำแหน่งวุฒิสมาชิก หลังจากที่ศาลสูงพิพากษาว่าเขามีความผิดในคดีฉ้อโกงภาษี เหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นจุดเริ่มให้นายแบร์ลุสโกนีในวัย 76 ปีได้เวลาวางมือทางการเมือง พร้อมกับการเมืองอิตาลีที่กำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กระเทือนทั้งอิตาลีและสหภาพยุโรป
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6166 วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1740296

ประธานาธิบดีโอบามาเห็นว่าในอนาคตจะมีประเทศที่เกิดเหตุจลาจล สังหารหมู่ประชาชน แต่ปัจจุบันขาดสถาบันทางการเมืองระหว่างประเทศที่เข้าจัดการอย่างมีประสิทธิ จึงเสนอความเห็นผ่านที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเพื่อสร้างองค์กรหรือระบบที่สามารถเข้าควบคุมจัดการ อันจะส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั้งหมดให้ดำเนินในมาตรฐานเดียวทั่วโลก
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6173 วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ.2556, http://thaipost.net/sunday/290913/79976
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1752

ปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณกลายเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อรัฐบาลโอบามากับพรรคฝ่ายค้านยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อให้ผ่านร่างงบประมาณ ส่งผลให้หน่วยงานราชการบางส่วนต้องปิดทำการชั่วคราว แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือรัฐบาลอเมริกันอาจต้องผิดนัดชำระหนี้หากไม่สามารถปรับเพิ่มเพดานหนี้ก่อนวันที่ 17 ตุลาคม แต่คาดว่าที่สุดแล้วสองฝ่ายจะบรรลุข้อตกลง
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6180 วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1749841
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1758

นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ประกาศข้อเสนอ 7 ยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์จีน- อาเซียน (China-Asean strategic partnership) เป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งของความสัมพันธ์จีน-อาเซียน และน่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ไม่น้อยในอีก 10 ปีข้างหน้า รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับชาติสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6187 วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1756043
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2556, http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=38959&filename=index
สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2556, http://www.thaizhong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=3965:-7-&catid=63:articlespecialorther-cat&Itemid=100

52. ประธานาธิบดีโรฮานีหวังเจรจาเพื่อยุติการคว่ำบาตรจากสหรัฐ
การคว่ำบาตรจากสหรัฐกับพันธมิตรต่อโครงการนิวเคลียร์อิหร่านพิสูจน์แล้วว่าได้ผล เศรษฐกิจสังคมอิหร่านได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ประธานาธิบดีโรฮานีชนะการเลือกตั้ง และมาพร้อมกับนโยบายสานสัมพันธ์ที่ดีกับทุกประเทศ เร่งเจรจาแก้ปัญหาการคว่ำบาตร การเจรจาจึงเป็นเรื่องสำคัญ กำหนดอนาคตอิหร่านและภูมิภาคตะวันออกกลาง
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6194 วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1759558

53. ความพยายามจัดระเบียบโลกอาหรับของซาอุดิอาระเบีย
ซาอุดิอาระเบียปฏิเสธเก้าอี้สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เมื่อศึกษาโดยละเอียดพบว่าทางการซาอุฯ ไม่พอใจการดำเนินนโยบายของรัฐบาลโอบามาต่อตะวันออกลาง ในยามที่ซาอุฯ กับมิตรประเทศอาหรับกำลังอยู่ระหว่างการจัดระเบียบตะวันออกกลาง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6201 วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1763847

54. ปฏิบัติการเปิดโปง NSA ของเอ็ดเวิร์ดสโนว์เดน
นับวันคนทั่วโลกจะรับทราบข้อมูลการสอดแนมของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐหรือ NSA และกลายเป็นที่วิพากษ์ว่าเหมาะสมหรือไม่ รัฐบาลหลายประเทศไม่อาจทนนิ่งเฉยต้องหากไม่ต่อต้านการสอดแนมก็คือต่อต้านการเปิดโปง เรื่องที่เกิดขึ้นมีข้อคิดหลายแง่มุม เช่น มีความจำเป็นเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนนับล้าน การกระทบต่อความมั่นคงของชาติ เรื่องของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนยังไม่จบเพียงเท่านี้
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6208 วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1768782
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1807

รัฐบาลจีนพยายามสร้างความสัมพันธ์กับเวียดนาม ชูประเด็นเศรษฐกิจเป็นตัวนำ เป็นธรรมดาที่ประเทศเล็กกว่ามีอำนาจน้อยกว่าจะต้องกังวลเมื่อจะร่วมมือกับประเทศที่ใหญ่กว่า อีกทั้งความร่วมมือย่อมก่อประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายหากได้พิจารณาบนผลประโยชน์ร่วมอย่างเท่าเทียม ได้ศึกษาผลดีผลเสียอย่างรอบคอบ เวียดนามอาจต้องการเวลาเพื่อพิจารณาเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสของจีนที่จะแสดงความจริงใจต่อไป
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1298

56. ภาวะผู้นำของเยอรมนีกับการต่อต้าน NSA
ในยามที่การสอดแนม การจารกรรมจาก NSA กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั่วโลก คุณอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมันได้ประกาศนโยบายต่อต้านการสอดแนมอันเกินกว่าเหตุ ด้วยการริเริ่มและการดำเนินอย่างจริงจัง ทำให้อีกหลายประเทศทั่วโลกต่างเข้ามาประสานพลัง ต่อต้านการสอดแนมจาก NSA และได้เห็นแบบอย่างภาวะผู้นำโลกของเยอรมนีในหลายด้าน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6215 วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1773801

เดือนกันยายที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบที่ทางการญี่ปุ่นซื้อเกาะ 3 เกาะของหมู่เกาะเซนกากุ/เตียวหยู ณ วันนี้ทั้งสองประเทศยังยืนยังอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะดังกล่าว พร้อมกับระมัดระวังที่ไม่ยั่วยุให้เกิดเหตุรุนแรงบานปลายด้วยทั้งสองฝ่ายตระหนักผลเสียที่จะเกิดขึ้น แต่อีกมุมหนึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันของทั้งสองประเทศต่างเร่งระดมขยายขีดความสามารถทางการทหาร และผูกโยงกับชาติมหาอำนาจอื่นๆ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงควรติดตามอย่างใกล้ชิด
ตีพิมพ์ใน นิตยสารหนังสือข่าวทหารอากาศ. ปีที่ 73 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2556.

ณ บัดนี้สังคมโลกค่อนข้างมั่นใจแล้วว่าท่านถูกวางยาด้วยพอโลเนียม-210 แต่เวลา 9 ปีที่ผ่านมาไม่อาจลบล้างข้อสงสัยว่าใครเป็นลอบวางยาท่าน ข้อมูลที่ปรากฏจำนวนไม่น้อยชี้ว่าอิสราเอลต้องรับผิดชอบ ในขณะที่ทางการอิสราเอลปฏิเสธมาโดยตลอด นี่คืออีกหน้าประวัติศาสตร์ของโลกที่นายยัสเซอร์ อาราฟัต สัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ต้องจบชีวิตอย่างปริศนา
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6222 วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1779025

อินโดนีเซียกลายเป็นอีกประเทศที่มีปัญหากับการสอดแนมดักฟังโทรศัพท์ผู้นำประเทศ รัฐบาลยูโดโยโน แสดงท่าทีแข็งกร้าวทั้งทางวาจาอื่นๆ เพราะกระทบต่อความมั่นคง กระทบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ แต่รัฐบาลแอบบอตต์ยืนยันว่าการสอดแนมเป็นเรื่องปกติ ปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของตนเช่นกัน ท่ามกลางวิวาทะพบว่าทั้งสองรัฐบาลยังรักษาความร่วมมือส่วนใหญ่ไว้ และเป็นเรื่องการตอบสนองผลประโยชน์ทางการเมืองภายในประเทศมากกว่า
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6229 วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2556

ในมุมมองของอิสราเอล การขจัดภัยคุกคามนิวเคลียร์อิหร่านจะต้องควบคุมโครงการอิหร่านอย่างสมบูรณ์ ไม่ปล่อยให้มีโอกาสผลิตอาวุธได้แม้แต่น้อย เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐบาลอิสราเอลพร้อมที่จะละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ละเมิดสิทธิอันพึงมีของอิหร่าน อาศัยแรงกดดันทางการเมืองระหว่างประเทศ อิทธิพลของสหรัฐ กดดันให้อิหร่านยอมกระทำตามความต้องการของตน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6236 วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1788874

61. ออสเตรเลียดักฟังอินโดนีเซียเรื่องที่เปิดเผย-ปกปิด และข้อเสนอแนะ
รัฐบาลอินโดนีเซียกล่าวโทษเรื่องที่หน่วยข่าวกรองออสเตรเลียดักฟังโทรศัพท์ของประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญของรัฐบาล เรียกร้องการขอโทษและห้ามกระทำเช่นนี้อีก แต่ความจริงแล้วออสเตรเลียน่าจะดักฟังคนอื่นๆ อีกจำนวนมาก และไม่อาจโทษออสเตรเลียแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะต่างฝ่ายต่างมีหน่วยข่าวกรองด้วยกันทั้งสิ้น
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1301

การประกาศ ADIZ หรือเขตแสดงตนของจีนนำมาซึ่งวิวาทะจากประเทศที่เกี่ยวข้อง บ้างเห็นว่าเขตแสดงตนของจีนผิดจากมาตรฐานสากล บ้างเห็นว่าเป็นการยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง บ้างเห็นว่าจีนต้องการแย่งชิงหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ แต่ความจริงแล้ว ADIZ ไม่มีมาตรฐานสากล สามารถเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการยั่วยุ กรรมสิทธิ์หมู่เกาะยังเป็นข้อถกเถียงอยู่ แต่ผู้นำประเทศของแต่ละรัฐบาลต้องหาทางออกที่เหมาะสม มีปัจจัยการเมืองภายในเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6243 วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1793446

63. การพัวพันของอาเซียนกับทางออกของ ADIZ
การประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ หรือ ADIZ ของจีนเหนือน่านฟ้าทะเลจีนตะวันออก แม้อาเซียนไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ทำให้ชาติสมาชิกบางประเทศมีความกังวลไม่น้อย เมื่อคิดว่าในวันข้างหน้าจีนจะมีเขตแสดงตนในทะเลจีนใต้ อีกทั้งญี่ปุ่นพยายามดังอาเซียนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทางออกที่ดีของเรื่องนี้อยู่ที่การวางแนวปฏิบัติเพื่อลดความหวาดระแวง ป้องกันเหตุร้ายไม่คาดฝัน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6250 วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1797652

10 ปีที่กองทัพสหรัฐฯ บุกโค่นล้มระบอบซัดดัม ช่วยสถาปนารัฐประชาธิปไตยอิรัก พบว่าจนบัดนี้อิรักยังไม่ได้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง กลายเป็นรัฐล้มเหลวที่ประกอบด้วยหลายกลุ่มอำนาจที่พยายามแย่งชิงผลประโยชน์ ก่อให้เกิดคำถามมากมายว่าอิรักในวันนี้ดีกว่ายุคซัดดัมหรือไม่ อะไรคือการปกครองที่ดี และจะพาอิรักออกจากสถานการณ์วุ่นวายในขณะได้อย่างไร ทั้งหมดนี้ประชาชนอิรักไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดต้องออกมาแสดงพลัง กำหนดอนาคตของตนเอง
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556, http://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1306

รัฐบาลซาอุฯ กำลังจัดระเบียบตะวันออกกลางกับแอฟริกาเหนือ หวังเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในซีเรียกับอิหร่าน แต่จุดยืนดังกล่าวขัดแย้งกับจุดยืนของรัฐบาลโอบามากับชาติตะวันตกหลายประเทศ ความพยายามของซาอุฯ ก่อให้เกิดคำถามว่ากำลังโดดเดี่ยวตนเองหรือไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุฯ กับอิสราเอลในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6257 วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1802239

ในอนาคตเชื่อว่าญี่ปุ่นจะต้องเพิ่มกำลังรบและแสดงบทบาทมากขึ้น ด้วยสามเหตุผลหลักคือ เหตุผลด้านความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ อำนาจการรบของจีนที่เพิ่มมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนกำลังรบสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หากสหรัฐฯ เลือกที่จะให้ญี่ปุ่นมีบทบาทมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเชิงนโยบายหรือเชิงยุทธวิธี ณ วันนี้จนถึงอีกหลายทศวรรษจากนี้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นเวทีการประชันกำลังของชาติมหาอำนาจกับอีกหลายประเทศ
(ตีพิมพ์ใน นาวิกศาสตร์ ปีที่ 96 เล่มที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2556

รัฐบาลจีนตั้งคำถามว่ายุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติญี่ปุ่นมีเพื่อสันติภาพจริงหรือไม่ คำถามนี้เป็นคำถามเดิมๆ ตั้งแต่นายชินโซ อาเบะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ รอบ 2 ที่ลึกกว่านั้นคือสะท้อนยุทธศาสตร์ความมั่นคงสหรัฐฯ ที่มีต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การตอบโต้จากจีนแท้ที่จริงแล้วคือการตอบโต้ต่อสหรัฐฯ ด้วย
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6264 วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1806638
-------------------------------

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2012
            รวบรวมบทความบทวิเคราะห์ทั้งหมดของปี 2012 ที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อ หน่วยงาน องค์กรต่างๆ
            บทวิเคราะห์หลายบทในสยามธุรกิจจะใช้ฉบับที่ 1351 เนื่องจากเว็บไซต์อยู่ระหว่างปรับปรุง
1. ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5899 วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2555
สหรัฐฯ สามารถใช้ TPP เพื่อปิดล้อมจีนได้หรือไม่ 
http://www.ryt9.com/s/tpd/1558971 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/12/tpp.html

2. สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1351 ประจำวันที่ 10-11-2012 ถึง 13-11-2012
เศรษฐกิจจีน 2013: รู้เอาตัวรอดเป็นยอดดี 
http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413369719 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/12/2013.html

3. ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 5890 วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2555
ชินโซ อาเบะ ว่าที่นายกฯ สายเหยี่ยวไม่ดุอย่างที่เห็น
http://www.ryt9.com/s/tpd/1552876
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/12/blog-post_17.html

4. ไทยโพสต์ 16 December 2555 - 00:00
บทบาทของสหรัฐอเมริกาต่อการปฏิรูปทางการเมืองอียิปต์
http://thaipost.net/tabloid/161212/66663
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/12/blog-post.html

5. สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1351 ประจำวันที่ 10-11-2012 ถึง 13-11-2012
อิตาลีจะเป็นตัวปัญหาประเทศต่อไปหรือไม่ 
http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413369655 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/12/17-23-2012.html

6. สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1351 ประจำวันที่ 10-11-2012 ถึง 13-11-2012
Fiscal Cliff: ปัญหาที่รุนแรงและซับซ้อนกว่าที่คิด http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413369488 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/12/10-16-2012.html

7. สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1351 ประจำวันที่ 10-11-2012 ถึง 13-11-2012
ชินโซ อาเบะ ผู้หมายมั่นพิชิต Plaza Accord 
http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413369350 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/11/3-9-2012.html

8. ไทยโพสต์ 29 November 2555 - 00:00
เลือกตั้งคาตาโลเนีย ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของแคว้นและของสเปน? http://www.thaipost.net/news/291112/65880 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/11/26-2-2012.html

9. สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1351 ประจำวันที่ 10-11-2012 ถึง 13-11-2012
สถานการณ์การค้าจีน-ญี่ปุ่น ไม่แย่อย่างที่คิดและอาจไม่ดีอย่างที่หวัง http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413369287
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/11/blog-post_23.html

10. สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1351 ประจำวันที่ 10-11-2012 ถึง 13-11-2012
โอบามาไม่ได้ถือไม้กายสิทธิ์ 
http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413369217 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/11/blog-post.html

11. สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1349 ประจำวันที่ 3-11-2012 ถึง 6-11-2012
เศรษฐกิจอเมริกาจะดีขึ้นหรือไม่ หากมิตต์ รอมนีย์คือประธานาธิบดีคนต่อไป http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413368846 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/11/2012_2.html

12. สำนักประชาสัมพันธ์เขต กรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 1 พ.ย. 2555
ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 
http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=24852&filename=index 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/10/1.html

13. ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 
http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=24853&filename=index 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/10/2.html

14. ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 
http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=24854&filename=index 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/10/3.html

15. สยามธุรกิจ วันที่ 28 ต.ค. 2555
ปัญหาหนี้สินอเมริกา ประเด็นหาเสียงโค้งสุดท้าย http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413368507 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/10/2012_27.html

16. ประชาไท วันที่ 21 ต.ค. 2012
ข่าวดีจากซีเรีย ความพยายามหยุดยิงรอบใหม่ 
http://prachatai.com/journal/2012/10/43264 
หรือที่ http://www.chanchaivision.com/2012/10/22-28-2012.html
ชาญชัย คุ้มปัญญา
---------------

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุดมการณ์ทางการเมือง (1) นิยาม อุดมการณ์ทางการเมือง

อุดมการณ์ทางการเมือง (2) อุดมการณ์เสรีนิยม

กำเนิด “รัฐสมัยใหม่” ตัวแสดงเอกของโลก