อุดมการณ์ทางการเมือง (4) อุดมการณ์สังคมนิยม
คำว่า สังคมนิยม หรือ Socialism มีผู้ใช้และอธิบายในหลายความหมายตามแต่ละยุคสมัย
แต่คำว่าสังคมนิยมที่คนปัจจุบันพูดถึง
นักวิชาการส่วนใหญ่จะหมายถึงสังคมนิยมตามแนวคิดของมาร์กซ์กับเฮเกล จาก คำปฏิญญาคอมมิวนิสต์
หรือ คำประกาศคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) เมื่อปี
ค.ศ.1848
คาร์ล
มาร์กซ (Karl Marx, 1818-1883)
ชาวเยอรมันเป็นผู้ให้กำเนิดอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ซึ่งมาร์กซได้รับอิทธิพลทางความคิดจากนักคิดชาวเยอรมันอีกท่านหนึ่งคือ จอร์จ
วิลเฮม เฟรดริก เฮเกล (George Wilhelm Fiddich Hegel, 1770-1831)
แนวคิดของมาร์กซ์กับเฮเกล
1.
ทฤษฎีวิภาษวิธี (dialectic)
เป็นแนวคิดของเฮเกล
ที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อมาร์กซ ใช้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมว่า
เป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดเวลาและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงล้วนเกิดขึ้นจากกระบวนการความขัดแย้งระหว่าง
“สิ่งที่มีอยู่ (thesis)” กับ “สิ่งที่ต่อต้านสิ่งที่มีอยู่ (anti-thesis)”
และกระบวนการความขัดแข้งที่เกิดขึ้นระหว่างสองสิ่งดังกล่าวทำให้เกิด “ข้อสรุปใหม่ (synthesis)”
ในเวลาต่อมา ข้อสรุปใหม่นี้จะประกอบด้วยสิ่งใหม่ที่ดีกับสิ่งเดิมที่ขัดแย้งกัน
ทำให้ข้อสรุปใหม่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นและสมบูรณ์กว่าเดิมเสมอ
แต่เพราะความสมบูรณ์ของข้อสรุปใหม่ที่เกิดขึ้นยังไม่ใช่ความสมบูรณ์สูงสุดจึงทำให้ข้อสรุปใหม่ที่เกิดขึ้นต้องกลายเป็นสิ่งที่มีอยู่
(thesis) ในอีกสภาวะหนึ่ง
และในขณะเดียวกันก็จะเกิดสิ่งที่ต่อต้านสิ่งที่มีอยู่ (anti-thesis) ขึ้นอีกครั้ง และทำให้เกิดข้อสรุปแห่งความขัดแย้ง (synthesis) ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกว่าได้สิ่งที่สมบูรณ์ที่สุดอย่างแท้จริงกระบวนการนี้จึงจะสิ้นสุดลง
ยกตัวอย่าง
ทฤษฎีวิภาษวิธี (dialectic)
เช่น
|
เมื่อรัฐบาลออกนโยบายอย่างหนึ่ง
|
“สิ่งที่มีอยู่ (thesis)”
|
เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง
ถูกประชาชนผู้เสียผลประโยชน์และฝ่ายค้านโจมตี
นักวิชาการออกมาวิจารณ์เสนอนโยบายที่ดีกว่ารัฐบาลพบข้อบกพร่องและเห็นว่านโยบายเดิมนั้นต้องแก้ไข
|
“สิ่งที่ต่อต้านสิ่งที่มีอยู่ (anti-thesis)”
|
|
รัฐบาลปรับปรุงนโยบายจากข้อบกพร่องและข้อเสนอแนะใหม่
สุดท้ายสังคมได้นโยบายที่ปรับปรุงใหม่
|
กระบวนการความขัดแข้งที่เกิดขึ้นระหว่างสองสิ่งดังกล่าวทำให้เกิด
“ข้อสรุปใหม่ (synthesis)”
|
|
หรือ
|
บริษัทรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งผลิตรถเก๋งรุ่นหนึ่งออกขายในตลาด
|
“สิ่งที่มีอยู่ (thesis)”
|
เมื่อขายไปได้สักระยะ
ฝ่ายวิจัยพบว่าสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นทั้งด้านเครื่องยนต์
และการออกแบบหน้าตาให้ผู้บริโภคยอมรับมากขึ้น
|
“สิ่งที่ต่อต้านสิ่งที่มีอยู่ (anti-thesis)”
|
|
หลังจากผ่านไป 4-5ปี
บริษัทรถยนต์ผลิตเก๋งรุ่นนั้นที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น
|
กระบวนการความขัดแข้งที่เกิดขึ้นระหว่างสองสิ่งดังกล่าวทำให้เกิด
“ข้อสรุปใหม่ (synthesis)”
|
2.
วัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Materialism)
ปรัชญาจิตนิยม (idealism, Idealist Philosophy) ของเฮเกลให้ความสำคัญกับความคิดของมนุษย์ในฐานะที่เป็นรากฐานแห่งการเปลี่ยนแปลงในสรรพสิ่งของสังคมมนุษย์
โดยถือว่าจิต (mind หรือ idea) เป็นตัวกำหนดวัตถุ (matter)
จึงอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมืองว่าล้วนเป็นผลมาจากความคิดเป็นสาเหตุสำคัญ
อย่างไรก็ตาม แม้มาร์กซ์ได้รับอิทธิพลความคิดมาจากเฮเกล
แต่มาร์กซ์ใช้ทฤษฎีวิภาษวิธี (dialectic)
จึงอธิบายเรื่องนี้ในทิศทางตรงข้ามว่า
การเปลี่ยนแปลงในสรรพสิ่งหาใช่มีจิตใจหรือความคิดของมนุษย์เป็นรากฐานอย่างที่เฮเกลกล่าวไว้
แต่เป็นเพราะวัตถุที่เป็นสิ่งกำหนดความคิด มาร์กซ์กล่าวว่า “ปรัชญาของเฮเกลเป็นการยืนกลับทิศทาง โดยเอาเท้าไปไว้ข้างบน
ส่วนศรีษะกลับนำมาไว้ข้างล่าง”
อธิบาย “วัตถุที่เป็นสิ่งกำหนดความคิด”
มาร์กซ์อธิบายว่า
-
วัตถุซึ่งเขาหมายถึง พลังการผลิต (Productive forces) ซึ่งประกอบด้วย
1. ปัจจัยการผลิต (means of production) เช่น เครื่องมือ โรงงาน วัตถุดิบ กับ 2. พลังแรงงาน
(labor power)
-เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ทางการผลิต
(relations of production) อันได้แก่
ระบบกรรมสิทธิ์ซึ่งจะกำหนดว่าในกระบวนการผลิตนั้น ใครเป็นเจ้าของอะไร
ใครต้องทำอะไร และใครจะได้ส่วนแบ่งอะไร เท่าไหร่
- ผลแห่งความสัมพันธ์ทางการผลิต
ทำให้เกิดระบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เช่น เป็นนายทุน กับเป็นผู้ใช้แรงงาน
ซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางสังคมและการเมือง เช่น เกิดชนชั้นทางสังคม
นายทุนเป็นผู้กุมอำนาจหรือชี้ทิศทางประเทศ
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
สังคม การเมือง คือสิ่งที่มาร์กซ์อธิบายว่าเป็น “ความคิด” อันเป็นภาพที่อยู่ในจิตใจของคนในสังคมการเมืองนั้น
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ล้วนมีจุดเริ่มต้นจากการถือครองวัตถุ ว่าใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
ใครเป็นพลังแรงงาน (ผู้ใช้แรงงาน)
ด้วยเหตุที่มาร์กซนำทฤษฎีวิภาษวิธีมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก
โดยมีกรอบปรัชญาที่ว่าด้วย “วัตถุเป็นตัวกำหนดความคิดและการเปลี่ยนแปลง” จึงเรียกวิธีการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของมาร์กซว่าเป็น “ลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์” (historical
materialism) โดย “วัตถุ” ในที่นี้มาร์กซหมายถึง ปัจจัยในการผลิต คือ ที่ดิน ทุน เครื่องจักร
ฉะนั้นทฤษฎีของมาร์กซจึงเป็นทฤษฎีความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีเศรษฐกิจเป็นตัวนำ (economic
determinism)
3.
การต่อสู้ทางชนชั้น (Class Struggle)
จากความเชื่อในทฤษฎีวิภาษวิธีทำให้มาร์กซมองว่าการเมืองเป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น
(Social class)
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
มาร์กซ์ได้อธิบายประวัติศาสตร์ของมนุษย์ให้เห็นการต่อสู้ทางชนชั้นจากอดีตจึงปัจจุบัน
และคาบเกี่ยวอนาคต โดยใช้ลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์เป็นรากฐาน กล่าวคือ
1. ยุคบรรพกาล
เป็นยุคเริ่มต้นของสังคมมนุษย์ ในยุคนี้ทรัพย์สิน (ทรัพยากรธรรมชาติ)
จะเป็นสมบัติส่วนกลางที่มนุษย์ใช้ร่วมกัน ในสภาพที่สังคมมีปริมาณทรัพยากรมากเกินความต้องการของมนุษย์
ทำให้สังคมมนุษย์ปราศจากการแก่งแย่งเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร
ทุกคนในสังคมจึงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่มีชนชั้น
ปราศจากสำนึกในกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน
2. ยุคทาส
เป็นยุคที่เกิดขึ้นหลังจากที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิต
จากการเก็บของป่าและอยู่กันอย่างเรียบง่ายสู่การทำเกษตรกรรมขนาดใหญ่
ทำให้ผู้ที่มีความแข็งแรงและได้เปรียบทางสังคมใช้กำลังและความได้เปรียบทำการบังคับขูดรีดแรงงานจากผู้ที่ด้อยโอกาสและอ่อนแอกว่า
จากความสัมพันธ์ข้างต้นทำให้เกิดชนชั้นขึ้นในสังคม คือ ชนชั้นนายทาส
ผู้มีอำนาจเหนือกว่า กับชนชั้นทาส ผู้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของนายทาส
ความสัมพันธ์ของสองชนชั้นเป็นการเอารัดเอาเปรียบและกดขี่ข่มเหงที่ฝ่ายหนึ่งได้ผลประโยชน์ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียประโยชน์ (มนุษย์ที่เป็นทาสกลายเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนายทาส) ระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและระบบชนชั้นจึงได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคทาส
ซึ่งในเวลาต่อมาระบบทั้งสองได้มีการพัฒนาและก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นในรูปแบบใหม่ภายใต้เนื้อหาเดิม
คือ
ยังคงเป็นการเอารัดเอาเปรียบกดขี่ขูดรีดผู้ที่ด้อยกว่าโดยผู้ที่มีอำนาจและได้เปรียบทางสังคม
เพียงแต่รูปแบบของการขูดรีดได้รับการปรับปรุงให้สามารถขูดรีดได้อย่างแนบเนียนและบังเกิดผลสำเร็จได้มากกว่าที่เคยเป็นอยู่
3.
ยุคศักดินา
ความสัมพันธ์ในยุคศักดินาเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่มากยิ่งขึ้นของชนชั้นนายทาส
กล่าวคือ เมื่อผลผลิตที่ได้จากการกดขี่ขูดรีดชนชั้นทาสยังไม่เป็นที่พอใจของนายทาส
ชนชั้นนายทาสจึงแสวงหาวิธีการในการเพิ่มความได้เปรียบให้มากยิ่งขึ้น
โดยการปลดปล่อยทาสจากการเป็นผู้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยอำนาจของนายทาสสู่การเป็นผู้เช่าพื้นที่ทำกินบนที่ดินของเจ้าศักดินา
ทั้งนี้มิใช่เป็นไปเพื่อการปลดปล่อยให้ทาสได้รับอิสระ
แต่เป็นการปลดปล่อยเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าศักดินา
สังคมในยุคนี้ประกอบด้วยสองชนชั้น คือ ชนชั้นเจ้าศักดินา (Feudal lords) ผู้เป็นเจ้าของที่ดินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต
กับชนชั้นทาสติดดินหรือไพร่ (serfs)
ที่ปราศจากที่ทำกินอันเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ
ทำให้ทาสติดดินหรือไพร่เหล่านั้นต้องเข้ามาอาศัยทำกินบนที่ดินของเจ้าศักดินาโดยมีพันธสัญญาที่มิอาจปฏิเสธได้คือ
จะต้องส่งผลผลิตในจำนวนที่แน่นอนให้กับเจ้าของที่ดินตามที่เจ้าของที่ดินเป็นผู้กำหนด
และจะต้องตกเป็นทาสติดดินเช่นนี้ไปตลอดชีวิต
อันรวมทั้งผู้สืบสกุลของไพร่ที่จะเกิดมาในอนาคตด้วย
4. ยุคทุนนิยม หลังจากการผลิตได้พัฒนามาจนถึงการผลิตเพื่อการค้า
ประกอบกับความเจริญด้านอุตสาหกรรมที่มีสูงขึ้นภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ทำให้ความต้องการด้านแรงงานเพื่อทำงานในโรงงานเกิดขึ้นอย่างมาก
ส่งผลให้ไพร่หรือทาสติดดินได้รับการปลดปล่อยอีกครั้ง แต่ก็ยังคงเป็นการปลดปล่อยเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของชนชั้นผู้มีอำนาจ
มิใช่การปลดปล่อยเพื่อให้ผู้ด้อยกว่าได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรี
ทั้งหมดจึงเป็นไปเพื่อให้เกิดแรงงานเสรีในกลุ่มของมนุษย์ผู้ไม่มีปัจจัยการผลิตอื่นใดนอกจากแรงงาน
ทาสติดดินหรือไพร่ที่ถูกปลดปล่อยเหล่านี้จึงต้องขายแรงงานเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้สำหรับใช้ประทังชีวิต
การปลดปล่อยทาสติดดินจึงไม่ได้ทำให้ทาสติดดินเหล่านั้นสามารถเป็นอิสระเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้โดยปราศจากการถูกขูดรีด
แต่ตรงกันข้าม ทาสติดดินเหล่านั้นกลับต้องอยู่ในตลาดแรงงานเพื่อทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมโดยนายทุนพยายามกดค่าแรงให้ต่ำที่สุด
เพื่อให้เกิดมูลค่าส่วนเกิน (surplus value) สูงสุด อันเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง
ความสัมพันธ์ในสังคมจึงยังคงเป็นการกดขี่ทางชนชั้นเช่นเดิม
เช่นเดียวกับระบบชนชั้นที่ยังเป็นไปในลักษณะเดิม คือ มีชนชั้นกดขี่กับชนชั้นผู้ถูกกดขี่
เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากเจ้าศักดินาเป็นนายทุนหรือกระฎุมพี (capitalists
or bourgeoisie) และจากไพร่หรือทาสติดดินเป็นผู้ใช้แรงงานหรือกรรมาชีพ
(proletariat)
ต้นเหตุของปัญหา:
มาร์กซให้เหตุผลว่าเกิดจากการมองผลิตผลของกรรมการแยกออกจากตัวกรรมกร
ตัวกรรมการกลายเป็นเพียงปัจจัยการผลิตหนึ่งของผลิตภัณฑ์
ซึ่งเป็นการตีค่ามนุษย์ว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัจจัยการผลิตเท่านั้น
และมาร์กซได้พยากรณ์ว่าที่สุดแล้วระบบทุนนิยมจะขยายและกระจายทั่วโลก
ที่บางคนอาจเรียกว่าโลกาภิวัตน์ (Globalization) เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านกรรมวิธีการผลิต
การสื่อสารที่รวดเร็ว จึงรวมทุกชาติเข้าเป็นอารยธรรมเดียว
ความวุ่นวายของยุคทุนนิยม
แต่ความเจริญของทุนนิยมมีปัญหา
เพราะลักษณะของทุนนิยมเอง ที่การลงทุนจะเพิ่มมากขึ้นเพื่อกำไรและการอยู่รอดของทุน (บริษัท) ทำให้อุปทานเพิ่มมากขึ้นเรื่องจนอุปสงค์รับไม่ไหว
เกิดผลผลิตส่วนเกินมากมาย เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ ผลตามมาคือเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
บริษัทโรงงานล้มละลาย เลิกจ้างคนงาน ทำให้อุปสงค์ลดลงจากคนที่ถูกเลิกจ้าง
เป็นวัฎจักรอย่างนี้ จนถึงจุดๆหนึ่งที่อุปทานแท้จริงพอดีกับอุปสงค์ ทำให้บริษัทโรงงานที่อยู่รอดสามารถประกอบกิจการต่อไป
เศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติ และเริ่มต้นฟื้นตัวอีกครั้ง แล้วกลับไปสู่วัฎจักรเดิมอีก
ซึ่งกลุ่มผู้ได้ผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มผู้ใช้แรงงานนั่นเอง
คำถามเพื่อการอภิปราย
ทำไมเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้ใช้แรงงานจึงเป็นผู้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด
|
4.การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ (Proletarian Revolution)
มาร์กซ์คาดว่าที่สุดแล้วสังคมทุนนิยมจะพังทลายด้วยเหตุที่ทุนจะรวมตัวเป็นก้อนใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ
และกระจุกตัวอยู่ในหมู่คนรวยที่นับว่าจะรวยมากขึ้นแต่จำนวนลดน้อยลง ในทางกลับกับคนจนจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยพร้อมกับช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
ความขัดสน
ความคับแค้นใจของชนชั้นกรรมาชีพที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ มีชีวิตที่ยากลำบาก
ทำให้กรรมกรเกิดสำนึกทางชนชั้น (Class consciousness)
ขึ้นเองตามธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าสังคมได้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ๆ
อย่างน้อย 2 ครั้ง คือ การปฏิวัติในรัสเซียเมื่อปี ค.ศ.1917 ของเลนิน กับการปฏิวัติในจีนเมื่อปี ค.ศ.1949
โดยเหมาเจ๋อตุง การปฏิวัติทั้งสองครั้งเป็นการปฏิวัติแบบใช้ความรุนแรง
มีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้น ผู้คนล้มตายนับล้านคน
แนวคิดการปฎิวัติ
แม้ว่าสุดท้ายสังคมมนุษย์จะต้องเข้าสู่ยุคคอมมิวนิสต์
แต่เพื่อการเร่งการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ไปสู่ยุคคอมมิวนิสต์เร็วขึ้น
การปฏิวัติจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อการล้มล้างรัฐที่ให้การปกป้องและช่วยเหลือนายทุนเสมอมา
ซึ่งในประเด็นนี้ถือเป็นความแตกต่างระหว่างอุดมการณ์คอมมิวนิสต์กับอุดมการณ์สังคมนิยม
เพราะอุดมการณ์สังคมนิยมไม่นิยมความรุนแรงในการปฏิวัติ
แต่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ให้การสนับสนุนการปฏิวัติที่เรียกว่า “สงครามปลดแอก” (war of national liberation) อันถือเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้
แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมาจะเคยมีการต่อสู้ระหว่างชนชั้น
(class struggle) เกิดขึ้นในสังคม แต่การต่อสู้ที่เกิดขึ้น
แต่การต่อสู้ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงการเปลี่ยนถ่ายระบบการถือครองกรรมสิทธิ์จากชนชั้นปกครองกลุ่มหนึ่งไปยังชนชั้นปกครองอีกกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
มิได้เป็นการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มระบบกรรมสิทธิ์และระบบชนชั้นแต่อย่างใด
จึงกล่าวได้ว่า
การปฏิวัติที่แท้จริงยังไม่เคยเกิดขึ้นแม้แต่ครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
เพราะการปฏิวัติที่แท้จริงต้องเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างระบบนายทุน
เพราะเมื่อสังคมปราศจากชนชั้นนายทุนและปัจจัยในการผลิตถูกโอนเป็นสมบัติของส่วนรวมแล้ว
การขูดรีดระหว่างชนชั้นก็จะถึงจุดจบ
5. สังคมคอมมิวนิสต์ (Communism)
หรือยุคคอมมิวนิสต์ตามอุดมการณ์ของมาร์กซ์ เป็นยุคสุดท้ายของมนุษย์
สังคมในยุคนี้จะเต็มไปด้วยความเสมอภาค
ไม่มีชนชั้น ไม่มีการกดขี่ข่มเหง และไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ (exploitation) อีกต่อไป ระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะถูกยกเลิก
และให้ทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกันในฐานะเป็นสมบัติส่วนกลางที่ทุกคนสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน
เมื่อทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน มนุษย์ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสะสมทรัพย์สินส่วนตัว
ในสังคมของยุคคอมมิวนิสต์มนุษย์ทุกคนจะมีงานทำ โดยแต่ละคนจะได้รับผลประโยชน์จากการทำงานตามความจำเป็นของตน
นั่นหมายความว่า การได้รับผลตอบแทนจากการทำงาน
มิได้ใช้เกณฑ์ของความสามารถในการทำงานเป็นเงื่อนไข แต่ใช้เกณฑ์ความจำเป็นของแต่ละคนเป็นเครื่องตัดสินว่าบุคคลนั้นควรจะได้รับผลตอบแทนจากการทำงานมากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม
เพื่อให้ช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านจากยุคทุนนิยมไปสู่ยุคคอมมิวนิสต์สามารถผ่านพ้นไปด้วยดี
การมีรัฐบาล “เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ” (dictatorship of the proletariat) ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงหลังการปฏิวัติ
ดังจะเห็นได้ในหมู่ประเทศที่ปกครองแบบอุมดการณ์คอมมิวนิสต์ไม่ว่าจะเป็นอย่างอดีตสหภาพโซเวียต
หรือจีนในยุคเหมาเจอตุง
ซึ่งในทางอุดมการณ์แล้วเมื่อสังคมบรรลุถึงยุคคอมมิวนิสต์แล้วรัฐบาลที่แม้เป็นรัฐบาลของชนชั้นกรรมาชีพก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ในสังคมอีกต่อไป
นั่นหมายความว่า ท้ายสุดแล้ว
อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ก็มีเป้าหมายเพื่อการอยู่อย่างไม่มีรัฐเช่นเดียวกับแบบอรัฐนิยม
สังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democracy) เป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของสังคมนิยม
ที่มีนักคิดสังคมนิยมรุ่นใหม่ที่ยอมรับในปัญหาความไม่เท่าเทียมทางชนชั้นของสังคม
แต่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติสังคมที่ใช้ความรุนแรง
ที่ต้องเห็นการแตกแยกทางสังคมอย่างรุนแรง
เกิดสงครามกลางเมืองที่คนชาติเดียวกันต้องมาประหัตประหารเสียชีวิตจำนวนมาก
เพื่อล้มระบอบการปกครองเดิม
นักสังคมนิยมประชาธิปไตยเชื่อว่า
เมื่ออุดมการณ์สังคมนิยมของตนนั้นดีจริง เป็นประโยชน์แก่มวลชนจำนวนมาก
ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเสรีนิยมที่มีการเลือกตั้งโดยเสรี คนจำนวนมาก (โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
ผู้มีรายได้น้อย) น่าจะให้การสนับสนุนพรรคการเมืองที่ยึดถือแนวทางสังคมนิยมที่เน้นการให้ความสำคัญกับชนชั้นกรรมาชีพ
หรือซึ่งเป็นชนชั้นล่าง ดังนั้น
หากลงเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองน่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน
ดังนั้น
สังคมนิยมประชาธิปไตย
จึงเป็นอุดมการณ์ที่ต้องการให้ระบอบการเมืองการปกครองเป็นไปในแนวทางตามสมัครใจของประชาชน
ให้ประชาชนเป็นผู้เลือกว่าต้องการรัฐบาลจากพรรคการเมืองที่ยึดอุดมการณ์แบบใด
หรือแนวทางใด
ทางด้านเศรษฐกิจ
สังคมนิยมประชาธิปไตยใกล้เคียงกับอุดมการณ์เสรีนิยมสมัยใหม่ (Modern
Liberalism)
เป็นแนวคิดที่ยังรักษาให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กลไกตลาดเพียงอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ
รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น
เพื่อให้ความช่วยเหลือปกป้องปัจเจกชนที่อ่อนแอ
รัฐต้องสนใจดูแลผู้มีรายได้ต่ำมากกว่าการปล่อยให้ดำเนินชีวิตตามยถากรรม
ปัจจุบัน
มีหลายประเทศในกลุ่มยุโรปที่มีพรรคการเมืองที่ยึดถืออุดมการณ์สังคมนิยมประชาธิปไตย
เช่น พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมนี (German Social Democratic Party ใช้ตัวย่อว่า SPD) มีเจตจำนงค์หรือเป้าหมายสร้างสังคมประชาธิปไตย
(social democracy) โดยเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในเรื่องเสรีภาพ
(freedom) กับความยุติธรรมทางสังคม (social justice) ในด้านเสรีภาพทางการเมืองนั้นพรรคมีนโยบายไม่แทรกแซงอธิปไตยส่วนบุคคล (the
sovereignty of an individual) โดยการใช้ความก้าวร้าวรุนแรง
ในทางด้านเศรษฐกิจ พรรคเห็นว่าทรัพยากรต้องกระจายอย่างเท่าเทียม
และระบบเศรษฐกิจมีเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน
เพื่อประกันว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจพรรคมีนโยบายให้เป็นรัฐสวัสดิการ (welfare state) พรรคมีจุดยืนสนับสนุนสิทธิพลเมือง (civil rights) และการเป็นสังคมเปิด (open society)
ในด้านการต่างประเทศพรรคมีนโยบายธำรงรักษาสันติภาพของโลกด้วยการถ่วงดุลผลประโยชน์โลกด้วยวิถีประชาธิปไตย
SDP ของประเทศอังกฤษ มีอุดมการณ์ว่า “SDP
เป็นพรรคการเมืองหนึ่งที่ยึดมั่นในการสร้างความอยู่ดีกินดี (wellbeing) แก่สมาชิกทุกคนในสังคม
พรรคไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากสหภาพหรือธุรกิจรายใหญ่ใดๆ
นโยบายของพรรควางอยู่บนหลักการดังกล่าว
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในช่วงหลังสิ้นสุดสงครามเย็น
·
การปฏิวัติในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
1989-1991
o เช่น โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเชค โรมาเนีย บัลแกเรีย อัลบาเนีย
·
การรวมประเทศของเยอรมันตะวันตกกับตะวันออก
ในปี 1990
·
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
1917-1991
o ก่อนที่สหภาพโซเวียตจะล่มสลาย โซเวียต (Soviet
Union ) เป็นหนึ่งในสองประเทศมหาอำนาจ (Superpower) เป็นคู่อริของสหรัฐฯ
o อดีตสหภาพโซเวียตดำรงอยู่จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 1991
·
การเปลี่ยนแปลงในสาธารณรัฐประชาชนจีน
(The People’s Republic of China )
o จีนค่อยๆ คลายความเป็น totalitarianism แบบคอมมิวนิสต์
หลังการสิ้นชีวิตของประธานเหมา เจ๋อ ตง ในปี 1976 การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป
โดยเน้นเรื่องการผ่อนคลายทางเศรษฐกิจ เช่น
จัดให้มีเขตเศรษฐกิจพิเศษตามเมืองแนวชายฝั่งตอนใต้ (เช่น เมืองเซี่ยงไฮ้)
เพื่อให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ในรูปแบบเศรษฐกิจเสรีทุนนิยม
เอกสารประกอบคำบรรยาย รหัสวิชา2551120 อุดมการณ์ทางการเมือง
ฉบับเดือนมีนาคม 2553
ชาญชัย คุ้มปัญญา