การจะบอกว่ามีกี่รูปแบบการปกครอง (Forms of Government) และแต่ละรูปแบบเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจัด
ซึ่งพอจะมีวิธีแบ่งได้หลายแบบ เช่น เกณฑ์จำนวนผู้มีอำนาจปกครอง เกณฑ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน
เป็นต้น
“รูปแบบการปกครองที่ใช้เกณฑ์จำนวนผู้ปกครองและเป้าหมายของการปกครอง”
รูปแบบนี้นักวิชาการบางท่านเรียกว่า
รูปแบบการปกครองแบบกรีก (Greek Typology of Governments) โดยแบ่งออกเป็น
2 รูปแบบหลัก คือ
รูปแบบที่รัฐบาลมีเหตุผลและดำรงอยู่เพื่อความดีงามของรัฐ (polis)
กับรูปแบบตรงกันข้ามที่รัฐบาลไม่มีเหตุผลและดำรงอยู่เพื่อผลประโยชน์ของผู้ปกครองเท่านั้น
ในแต่ละรูปแบบหลักแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบย่อยตามจำนวนผู้ปกครอง
คือ 1 คน (one) จำนวนเล็กน้อย (few)
และ หลายคน (many)
Government
|
Pure Form
|
Impure Form
|
คนเดียว (of One)
|
ราชาธิปไตย (Monarchy)
|
ทรราชย์ (Tyranny)
|
จำนวนน้อย (of the Few)
|
อภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
|
คณาธิปไตย (Oligarchy)
|
จำนวนมาก (of the Many)
|
มัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity)
|
ประชาธิปไตย (Democracy)
|
รูปแบบการปกครองตามแนวทางนี้ แบ่งรูปแบบการปกครองที่ใกล้เคียงกับอุดมคติที่ออกกฎหมายด้วยเหตุผลและเพื่อความผาสุกของประชาชนคือแบบที่ดีที่สุดและลดหลั่นลงมา อธิบายในรายละเอียดได้ว่า
1. การปกครองโดยคน ๆ เดียว หมายถึง ระบบการปกครองที่คนๆ เดียวมีอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดเหนือบุคคลทั้งหลายโดยเด็ดขาด หากผู้ปกครองมีคุณธรรมเรียกกว่า “ราชาธิปไตย” (Monarchy) ซึ่งอริสโตเติลให้นิยามว่าเป็นการปกครองภายใต้กษัตริย์จอมปราชญ์หรือราชาปราชญ์ (philosopher-king) แต่หากเป็นกษัตรย์ที่กดขี่ข่มเหงราษฎร จะเรียกกว่า “ทุชนาธิปไตย” หรือ “ทรราช” (Tyranny) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ของผู้ปกครอง ตัวอย่างเช่น ฮิตเลอร์ในสมัยนาซี
ดังนั้น
รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดตามคตินิยมของกรีกคือ การปกครองแบบราชาธิปไตย
ในทางกลับกันรูปแบบที่แย่ที่สุดก็คือแบบทรราชย์ (มี “ย์“ ใช้กับรูปแบบการปกครอง ไม่มี “ย์” ใช้กับตัวบุคคล) ที่ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของส่วนตัวและพวกพ้อง
โดยไม่สนใจความทุกข์ยากของประชาชน ไม่ได้ปกครองเพื่อความผาสุกของพลเมือง
พึงระลึกว่า
1)
กษัตริย์จอมปราชญ์ของชาวกรีกต่างจากระบอบกษัตริย์แบบสมบูรณายาสิทธิราชตามคตินิยมของตะวันอินเดียโบราณหรือแบบของจีน
ซึ่งมหาราชาหรือจักรพรรดิ์ของจีนได้รับอำนาจจากเทพ หรือเป็นโองการของสวรรค์
ต่างจากของกรีกที่มาจากการคัดสรรคน
2)
การปกครองภายใต้คตินิยมอินเดียโบราณหรือจีนโบราณก็เป็นตามความเชื่อ
หลักศาสนา ของชนชาติในยุคสมัยนั้น เป็นความถูกต้องตามความเชื่อที่ยึดถือ
ผู้ปกครองจะสืบสันตติวงศ์หรือสืบสายโลหิต
ผู้ปกครองทำหน้าที่ทั้งเป็นประมุขของรัฐและเป็นหัวหน้ารัฐบาล
คำพูดของกษัริย์ถือเป็นกฎหมาย ดังนั้น จึงมีอำนาจเบ็ดเสร็จ (absolute
monarchy)
3)
ปัจจุบัน
ยังมีบางประเทศที่มีพระมหากษัตริย์หรือพระราชินี (เช่นกรณีของประเทศอังกฤษ)
อยู่ในฐานะประมุขของประเทศ แต่ไม่มีอำนาจในการบริหาร
พระมหากษัตรยิ์ทรงอยู่ในฐานะที่ได้รับการยกย่องในเชิงสัญลักษณ์ (symbolic) และไม่ถือว่าประเทศดังกล่าวอยู่ใต้การปกครองแบบ Monarchy
2. การปกครองโดยคณะบุคคล
หมายถึง ระบบการปกครองที่บุคคลจำนวนหนึ่งที่มีความสามารถ มีสติปัญญา มีคุณธรรมสูงส่ง
เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ทางการเมืองและบริหารประเทศ
(อาจเทียบกับระบบคณะกรรมการในปัจจุบัน)
เพื่อป้องกันการตัดสินใจผิดพลาดของความเป็นมนุษย์และความไม่สมบูรณ์ของคนอันเป็นธรรมดาของมนุษย์
ซึ่งหากมีจุดมุ่งหมายเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนก็จะเป็นรูปการปกครองแบบ
“อภิชนาธิปไตย” (Aristocracy) แต่หากมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขของพรรคพวกก็จะเป็นรูปการปกครองแบบ
“คณาธิปไตย” (Oligarchy) ในปัจจุบันยังมีบางประเทศที่มีลักษณะการปกครองแบบนี้
เช่น ประเทศเอล ซัลวาดอร์ กัวเตมาลา โคลอมเบีย ฮอนดูรัส ที่การตัดสินใจนโยบายของรัฐบาลขึ้นอยู่กับผู้มีอิทธิพลไม่กี่กลุ่มในประเทศเหล่านี้
3. การปกครองโดยคนทั้งหมดหรือเสียงส่วนใหญ่
หมายถึง ระบบการปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย (แต่ไม่ได้หมายถึงว่าทุกคนต่างได้เข้าไปบริหารประเทศ ดังนั้น
ไม่ใช่ทุกคนเป็นผู้ปกครอง) รูปแบบการปกครองที่อริสโตเติลเรียกว่า มัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนรวมอย่างยั่งยืน (ไม่ใช่เพื่อประชาชน-ดูต้นฉบับ Politics Book 3 เล่มที่ 3
บทที่ 7) การใช้คำว่าเพื่อคนส่วนรวมอย่างยั่งยืน
ก็เพราะต้องการเน้นว่าเป็นการมองที่เน้นองค์รวมของสังคม
มากกว่าการเน้นที่ประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่ง
และไม่ใช่เพียงเพราะความสุขชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น
คำถามเพื่อการอภิปราย
จงยกตัวอย่างนโยบายของรัฐบาลที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนกลุ่มหนึ่ง
แต่กลับสร้างความเสียหายแก่สังคมโดยรวม
แต่หากมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำตามใจตนเอง
ไม่เห็นแก่ส่วนรวม ไม่เห็นแก่ความยั่งยืน ก็จะแปรเปลี่ยนเป็นการปกครองโดย “ประชาธิปไตย” (Democracy) หรือ “ฝูงชน” (Mob-rule) หรือ “มวลชนเป็นใหญ่” (rule of the masses) ซึ่งทุกคนมุ่งที่ประโยชน์ของตนเอง
ประเทศไปตามมติของเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งอาจเป็นทางก่อให้เกิดผลดีหรือเสียก็ได้
ความมีจริยธรรมศีลธรรมหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้มีสิทธิออกเสียง ซึ่งอริสโตเติลเห็นว่าการปกครองโดยคนจำนวนมากไม่น่าจะดี
เพราะมองจากสภาพคนในสมัยนั้นที่คนส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจในปัญหาบ้านเมือง
การตัดสินใจของคนส่วนใหญ่จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เข้าใจประเด็นบ้านเมืองอย่างถ่องแท้
มุ่งรักษาผลประโยชน์เฉพาะหน้าของตนเองเป็นหลัก
คำถามเพื่อการอภิปราย
ภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตยตามความหมายดังกล่าว เป็นไปได้หรือไม่ว่า
จะได้กฎหมายที่สวนทางกับความถูกต้องตามหลักศาสนา
เอกสารประกอบคำบรรยาย รหัสวิชา2551120 อุดมการณ์ทางการเมือง
ฉบับเดือนมีนาคม 2553
ชาญชัย คุ้มปัญญา
-----------------------------