เกาะติดประเด็นร้อน “การชุมนุมประท้วงประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี แห่งอียิปต์” (2)
สรุปสถานการณ์: (อัพเดท 2 ก.ค. 7.40 น.) ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา
ฝ่ายต่อต้านชุมนุมหลายครั้ง มีการปะทะบาดเจ็บล้มหลายอยู่เสมอ
แต่ที่สุดการชุมนุมก็ซาไปเอง แต่การชุมนุมครบรอบ 1 ปีนับจากประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด
มอร์ซีขึ้นรับตำแหน่ง ปรากฏว่าฝ่ายต่อต้านเตรียมการมาอย่างดี เกิดการประท้วงในหลายเมืองทั่วไปประเทศ
ผู้คนนับล้านเข้าร่วม ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลจะอ้างความชอบธรรมว่าปธน.มาจากการเลือกตั้ง
และยังมีประชาชนที่สนับสนุนหลายล้านคนเช่นเดียวกัน
สองวันที่ผ่านมา
ที่ชุมนุมของฝ่ายต่อต้านเรียกร้องให้ปธน.ลาออก (หมายถึงรัฐบาลลาออกทั้งชุด)
เพื่อจัดเลือกตั้งใหม่ เพราะความไม่พอใจต่อรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหายึดหลักอิสลามมากเกินไป
บริหารเศรษฐกิจบกพร่อง
คืบหน้าล่าสุด: (อัพเดท 2 ก.ค. 12.00 น.)
กองทัพอียิปต์ออกแถลงการณ์ยื่นคำขาดให้เวลารัฐบาลมอร์ซี 48 ชั่วโมงเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม
มิฉะนั้นกองทัพจะเข้าแทรกแซง ทางกองทัพยืนยันว่าตนไม่ใช่พรรคการเมืองหรือผู้บริหารประเทศ
แต่มีหน้าที่ต้องหาทางหาเพื่อความมั่นคงของชาติ
ก่อนหน้านี้ ทหารตามจุดตรวจต่างๆ
ได้ตรวจรถทุกคันที่มุ่งหน้าสู่กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้าน
เพราะได้ข่าวว่าฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลอาจก่อเหตุใช้ระเบิดรถยนต์ ผลการชุมนุม มีผู้เสียชีวิตแล้ว 16 คน บาดเจ็บเกือบ 800 คน
ล่าสุด รัฐบาลอียิปต์แสดงท่าทีปฏิเสธคำขาดของฝ่ายกองทัพ ประกาศว่า
ปธน.กำลังเจรจา “กับกลุ่มอำนาจทั้งหลายเพื่อให้มั่นใจว่า (ประเทศ) กำลังเปลี่ยนแปลงภายใต้ระบอบประชาธิปไตยและจะปกป้องเจตจำนงของประชาชน”
พร้อมกับยืนยันรักษารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยกล่าวว่า “อียิปต์ที่เป็นรัฐประชาธิปไตยของปวงชนคือความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของการปฏิวัติเมื่อ 25 มกราคม” จะไม่ยอมก้าวถอยหลังลงคลองเป็นอันขาด
ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีกล่าวว่าถ้าคนที่มาโดยชอบธรรมตามอำนาจรัฐธรรมนูญต้องก้าวลงจากอำนาจ แล้วให้อีกคนหนึ่งขึ้นแทน ผู้นำที่ขึ้นมาใหม่ก็จะได้รับการต่อต้านเช่นกัน จะถูกประท้วงเรียกร้องให้ลาออกเหมือนเช่นคนแรก ดังนั้นจึงไม่สามารถทำอะไรที่ต่อต้านความชอบธรรมจากรัฐธรรมนูญ “ประชาชนสามารถชุมนุมแสดงความคิดเห็นของเขา แต่เรื่องสำคัญคือต้องยึดและใช้รัฐธรรมนูญต่อไป”
ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีกล่าวว่าถ้าคนที่มาโดยชอบธรรมตามอำนาจรัฐธรรมนูญต้องก้าวลงจากอำนาจ แล้วให้อีกคนหนึ่งขึ้นแทน ผู้นำที่ขึ้นมาใหม่ก็จะได้รับการต่อต้านเช่นกัน จะถูกประท้วงเรียกร้องให้ลาออกเหมือนเช่นคนแรก ดังนั้นจึงไม่สามารถทำอะไรที่ต่อต้านความชอบธรรมจากรัฐธรรมนูญ “ประชาชนสามารถชุมนุมแสดงความคิดเห็นของเขา แต่เรื่องสำคัญคือต้องยึดและใช้รัฐธรรมนูญต่อไป”
ในขณะที่ฝ่ายต่อต้านกำลังประท้วงทั่วประเทศนั้น
กลุ่มผู้สนับสนุนปธน.มอร์ซีจำนวนหลายแสนคนชุมนุมอยู่นอกมัสยิด Rabaa
Al-Adawiya ห่างจากทำเนียบประธานาธิบดีราว 5 กิโลเมตร
เพื่อแสดงการสนับสนุน
ขณะที่รัฐมนตรีในชุดของรัฐบาลมอร์ซีประกาศลาออก 5 คนแล้ว ได้แก่รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยว
กระทรวงการสื่อสารและไอที กระทรวงกฎหมายและกิจการรัฐสภา (minister for
legal and parliamentary affairs) กระทรวงทรัพยากรน้ำ (water
minister) และกระทรวงสิ่งแวดล้อม
ด้านประธานาธิบดีบารัก โอบามากล่าวว่า แม้ว่าปธน.มอร์ซีจะมาจากการเลือกตั้ง แต่จะต้องทำอะไรให้มากกว่านี้ “เพื่อทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเสียงคนตนนั้นได้รับฟัง” Patrick Ventrell โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ย้ำว่ารัฐบาลอเมริกัน “ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” ไม่ได้สนับสนุนฝ่ายใดเป็นการเฉพาะ
ด้านประธานาธิบดีบารัก โอบามากล่าวว่า แม้ว่าปธน.มอร์ซีจะมาจากการเลือกตั้ง แต่จะต้องทำอะไรให้มากกว่านี้ “เพื่อทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเสียงคนตนนั้นได้รับฟัง” Patrick Ventrell โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ย้ำว่ารัฐบาลอเมริกัน “ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” ไม่ได้สนับสนุนฝ่ายใดเป็นการเฉพาะ
วิเคราะห์: (อัพเดท
2 ก.ค. 12.00 น.)
ภาพที่ปรากฏทางสื่อในขณะนี้คือฝ่ายผู้สนับสนุนรัฐบาลเป็นผู้ถูกกระทำ
สำนักงานของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมถูกเผาทำลาย เป็นไปได้ว่าประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด
มอร์ซี อดีตผู้นำกลุ่มภราดรภาพมุสลิมระวังที่จะไม่ให้เกิดเหตุม็อบชนม็อบ
เพราะประเมินว่าจะยิ่งสร้างความเกลียดชัง สร้างความรุนแรง ทำให้นานาชาติไม่ยอมรับ
และกองทัพจะออกมาแทรกแซงตามที่ประกาศไว้
การที่กองทัพยื่นคำขาดให้เวลารัฐบาล 48 ชั่วโมงเพื่อทำตามข้อเรียกร้องของฝ่ายต่อต้าน
นับว่าเป็นการตัดสินใจที่รวดเร็วมาก เนื่องจากการชุมนุมใหญ่เพิ่งจะเริ่มได้เพียง 2
วันเท่านั้น ที่ผ่านมามีการปะทะกันบ้าง มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง ผู้บาดเจ็บหลายร้อยคน
อาคารบางแห่งถูกเผาโจมตี แต่เหตุการณ์โดยรวมยังสงบดี
อีกทั้งฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลยังมีจำนวนมาก
อย่างน้อยมีหลายแสนคนที่ปักหลักชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลเช่นกัน
สุดท้ายกองทัพทำหน้าที่เป็นกรรมการ ถ้ามองในแง่บวกคือป้องกันโอกาสม็อบชนม็อบที่นักวิเคราะห์หลายคนหวั่นเกรงเรื่องนี้มากที่สุด
ทำให้การชุมนุมสงบโดยเร็ว (ถ้ารัฐบาลมอร์ซียอมทำตามข้อเรียกร้อง)
ในแง่ลบคือ
นับจากนี้เป็นต้นไปกองทัพจะเข้าแทรกแซงการชุมนุมทางการเมือง กองทัพอาจตกเป็นเป้าให้ฝ่ายการเมืองเข้าครอบงำเพื่อสกัดการแทรกแซงดังกล่าว
ท้ายที่สุด ‘กองทัพ’
ยังคงเป็นตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ถ้าย้อนกลับไปเมื่อตอนโค่นล้มประธานาธิบดีมูบารัค
กองทัพวางตัวไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ครั้งนี้ฝ่ายกองทัพเปลี่ยนแปลงจุดยืน
เรื่องสำคัญที่ต้องไม่หลงประเด็นคือ คำประกาศของกองทัพไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าประธานาธิบดีมอร์ซีต้องทำอะไรบ้าง ดังนั้น การตอบสนองข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมจึงไม่เป็นต้องให้ปธน.มอร์ซีลาออก เลือกตั้งใหม่ แต่อาจเป็นเพียงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลดความเป็นอิสลาม ปรับแก้นโยบายบริหารประเทศที่รัฐบาลก็ยอมรับว่าทำผิดพลาดหลายอย่าง เปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีบางตำแหน่งเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาอื่นๆ ที่ประชาชนให้ความสำคัญ
เรื่องสำคัญที่ต้องไม่หลงประเด็นคือ คำประกาศของกองทัพไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าประธานาธิบดีมอร์ซีต้องทำอะไรบ้าง ดังนั้น การตอบสนองข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมจึงไม่เป็นต้องให้ปธน.มอร์ซีลาออก เลือกตั้งใหม่ แต่อาจเป็นเพียงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลดความเป็นอิสลาม ปรับแก้นโยบายบริหารประเทศที่รัฐบาลก็ยอมรับว่าทำผิดพลาดหลายอย่าง เปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีบางตำแหน่งเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาอื่นๆ ที่ประชาชนให้ความสำคัญ
ล่าสุดรัฐบาลมอร์ซีได้ประกาศแล้วว่าไม่ยอมรับเส้นตาย 48 ชั่วโมงของกองทัพ ขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการเจรจากับทุกฝ่าย
เพื่อแก้ไขสถานการณ์ตามครรลองประชาธิปไตย ตามความต้องการของประชาชน ท่าทีของรัฐบาลคือปฏิเสธอำนาจของฝ่ายทหาร
และยืนยันว่าจะเป็นรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป เพียงแต่อาจมีการปรับแก้นโยบาย
หรือบางสิ่งบางอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
ในแง่มุมหนึ่ง
อาจดูเหมือนว่ารัฐบาลดึงดื้อต่อคำขาดของกองทัพ
แต่หากพิจารณาให้ดีจะพบว่ากองทัพก็ไม่ได้เรียกร้องให้รัฐบาลต้องลาออก ขณะนี้ทั้งรัฐบาลกับกองทัพพูดตรงกันว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้ตรงกับความต้องการของประชาชน
ซึ่งหมายถึงฝ่ายต่อต้านนั่นเอง
ตลอดหนึ่งปีของรัฐบาลมอร์ซี
ปัญหาใหญ่อยู่ที่สองฝ่ายต่างยึดมั่นว่ากำลังกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม
และสองฝ่ายต่างมีพลังสนับสนุนอย่างแข็งแรง
ไม่ว่าฝ่ายใดจะมีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่า แต่ต่างเป็นแนวร่วมที่เข้มแข็ง
48 ชั่วโมงต่อจากนี้ ต้องติดตามการตัดสินใจของประธานาธิบดีมอร์ซี การตอบสนองจากฝ่ายต่อต้าน
และกองทัพ
สถานการณ์ยังอยู่ในภาวะไม่นิ่ง
สามารถแปรเปลี่ยนได้หลายทิศทาง ทุกฝ่ายคงกำลังอยู่ระหว่างการเจรจา ประเมินกระแสต่างๆ
2 กรกฎาคม 2013
ชาญชัย คุ้มปัญญา
-------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง
(อัพเดท 30 มิ.ย. 8.00 น.) ตลอด 1 ปีที่ผ่านมานับจากประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีบริหารประเทศ
มีการชุมนุมประท้วงน้อยใหญ่เกิดขึ้นหลายครั้ง ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่ฝ่ายต่อต้านเตรียมการมาอย่างดี
หวังเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ในขณะที่ยังมีประชาชนอีกไม่ที่สนับสนุนรัฐบาล
บรรณานุกรม:
1. Egypt's military gives Morsi 48-hour ultimatum, AP,
2 July 2013, http://news.yahoo.com/egypts-military-gives-morsi-48-hour-ultimatum-230415249.html
2. Egypt's Mohamed Morsi remains defiant as fears of civil
war grow, The Guardian, 30 June 2013, http://www.guardian.co.uk/world/2013/jun/30/egypt-mohamed-morsi-defiant-civil-war
3. Millions of Egyptians turn out nationwide for anti-Morsi
rallies; 7 dead in violence, Ahram Online, 1 July 2013, http://english.ahram.org.eg/NewsContent/1/64/75361/Egypt/Politics-/Millions-of-Egyptians-turn-out-nationwide-for-anti.aspx
4. Egypt ministers resign amid unrest, Al
Jazeera, 1 July 2013, http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2013/07/201371122823125310.html
5. Egypt's presidency rejects army ultimatum, AFP, 2
July 2013, http://uk.news.yahoo.com/egypts-presidency-rejects-army-ultimatum-020430560.html
----------------------