บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2013

เกาะติดประเด็นร้อน “การชุมนุมประท้วงประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี แห่งอียิปต์”

รูปภาพ
สรุปสถานการณ์ :   (อัพเดท 30 มิ.ย. 8.0 0 น.)   วันนี้จะเป็นวันเริ่มการชุมนุมใหญ่อีกครั้งของฝ่ายต่อต้าน ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี แห่งอียิปต์ เป็นวันครบรอบ 1 ปีที่ประธานาธิบดีมอร์ซีกล่าวสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่ง             เหตุการณ์การเมืองภายในประเทศอียิปต์เป็นที่สนใจทั่วโลกตั้งแต่ปี 2011 เมื่อประชาชนจำนวน มากลุกฮือโค่นล้มรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัค ตามมาด้วยการเลือกตั้งอย่างเสรี พรรคการเมืองของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ( Muslim Brotherhood) เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง นาย โมฮัมเหม็ด มอร์ซี หัวหน้ากลุ่มขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอียิปต์คนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง             ความไม่พอใจของฝ่ายต่อต้านเริ่มต้น เมื่อรัฐบาลใหม่ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาเน้นหลักศาสนาอิสลาม ถูกกล่าวหาว่าพยายามรวบอำนาจทางทหาร ตุลาการ ประธานาธิบดีมอร์ซีถูกฝ่ายต่อต้านมองว่าเป็นพวกอำนาจนิยมมากกว่าเป็นผู้นำประชาธิปไตย เห็นว่ารัฐบาลไม่พยายามบริหารประเทศเพื่อประชาชนทั้งประเทศอย่...

รัฐ (3)

อำนาจอธิปไตย (sovereignty) หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ “อำนาจอธิปไตย ความหมาย”             Stanford Encyclopedia of Philosophy ชี้ว่าความหมายของอำนาจอธิปไตยเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามยุคสมัย แต่ทั้งหมดมีแก่นความหมายตรงกันว่า คือ สิทธิอำนาจสูงสุดในเขตแดน หรือ “supreme authority within a territory” New Columbia Encyclopedia ให้นิยามว่า “ สิทธิอำนาจสูงสุดของชุมชนการเมือง หรือ “the supreme authority in a political community” โดยรวมแล้วสรุปได้ว่า อำนาจอธิปไตย ( sovereignty ) หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ รัฐอธิปไตย (sovereign state) บางทีเรียกว่า รัฐเอกราช (independent state) คือรัฐที่การตัดสินใจว่าจะกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดจากการตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐหรือหน่วยการเมืองอื่น เมื่อตกเป็นเมืองขึ้นก็คือสูญเสียเอกราช สูญเสียอธิปไตย ไม่มีอิสระในการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คำว่า รัฐเอกราช เน้นใช้ถึงการยอมรับจากรัฐอื่นๆ          ...

รัฐ (2)

“ พัฒนาการ และรูปแบบรัฐ ”             คำว่า “ รัฐ ” ในที่นี้ไม่ได้มีนิยามตามนิยามคำว่ารัฐดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่เป็นคำศัพท์เพื่ออ้างถึงหน่วยปกครองที่ต้องการพูดถึงเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นเพียงชนเผ่าเล็กๆ หรือหมายถึงอาณาจักรจีนโบราณที่กว้างใหญ่ไพศาล ในตำรารัฐศาสตร์มีวิธีการแบ่งออกแตกต่างกันหลายวิธี และมีหลากหลายรูปแบบ  ในที่นี้จะกล่าวรัฐบางรูปแบบโดยเรียงลำดับพัฒนาการตามเวลาที่เราได้ศึกษาจากประวัติศาสตร์ ซึ่งบางรูปแบบอาจจะยังคงอยู่หรือไม่มีแล้วในปัจจุบัน ·       รัฐชนเผ่าหรือรัฐเผ่าชน ( Tribal State ) นักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า รัฐชนเผ่าน่าจะเป็นรัฐในรูปแบบยุคต้น เกิดจากการรวมตัวของครอบครัวหลายครอบครัว จึงมักมีความผูกพันใกล้ชิดทางสายโลหิต เรียกได้ว่าเป็นตระกูลด้วยกัน และบางเผ่าอาจเป็นการรวมตัวของหลายตระกูลที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกัน หรือมารวมตัวกันอยู่ในพื้นที่เดียวกัน จนพัฒนาการปกครองเป็นเผ่าเดียวกันในที่สุด เกิดหัวหน้าเผ่า มีภาษา หรือขนมธรรมเนียม วิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง ...

รัฐ (1)

“ นิยามคำว่ารัฐ ”             ชีวิตของเราผูกพันกับรัฐอย่างมากตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เมื่อเกิดมาก็ต้องแจ้งเกิด และมีผลผูกพันกับรัฐในอีกหลายทาง จนสุดท้ายเมื่อเสียชีวิตก็ต้องให้ญาติพี่น้องแจ้งตายกับสำนักงานเขตหรืออำเภอด้วย             อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงคำว่า “ รัฐ ” นักวิชาการในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปเป็นนิยามที่เห็นร่วมกันได้ แม้รัฐนั้นมีอยู่จริงและทุกคนเข้าใจได้เมื่อพูดถึงคำว่ารัฐ             ดังนั้น เพื่อให้ง่ายที่จะทำความเข้าใจ จึงเริ่มด้วยการให้นิยามรัฐที่เข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อน มีคำสามคำที่มักจะพูดในความหมายเดียวกัน คือ คำว่า รัฐ ( state) ชาติ (nation) ประเทศ (country) ทั้งสามคำมักใช้แทนกันได้ แต่แท้จริงมีความหมายต่างกัน รัฐ ( state) หมายถึง เขตหรืออาณาบริเวณที่มีการปกครองด้วยตัวเอง มีอธิปไตย รัฐที่กำลังพูดถึงอยู่นี้เป็นรัฐสมัยใหม่ ที่เริ่มเกิดขึ้นจากทวีปยุโรป ส่วนรัฐ ( State- สังเกตุว่าเป...

เสียงเรียกร้องรัฐบาลอินโดนีเซียยุติอุดหนุนราคาน้ำมัน

รูปภาพ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียประกาศขึ้นราคาน้ำมัน ท่ามกลางเสียงสนับสนุน เสียงคัดค้าน การชุมนุมประท้วงนโยบายขึ้นราคาน้ำมันจากประชาชนบางกลุ่ม พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน   ประธานาธิบดีอินโดนีเซียให้เหตุผลว่า “เราต้องปกป้องเศรษฐกิจมหภาค” ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกร้องมานานแล้วให้รัฐบาลเลิกนโยบายอุดหนุนราคาน้ำมัน ซึ่งกินงบประมาณจำนวนมหาศาล ก่อผลเสียมากมาย นโยบายอุดหนุนราคาน้ำมัน             อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ดำเนินนโยบายอุดหนุนราคาน้ำมันต่อเนื่องยาวนาน คือตั้งแต่ปีค.ศ. 1967 รัฐบาลประกาศว่าเพื่อเพิ่มกำลังซื้อแก่ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งจะช่วยตรึงราคาสินค้าอื่นๆ ไปในตัว ในเวลาเกือบ 5 ทศวรรษ ประเทศผลัดเปลี่ยนรัฐบาลหลายชุด ผ่านสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศมากมาย ผ่านความผันผวนของราคาน้ำมันตลาดโลก บางช่วงรัฐบาลเพิ่มการอุดหนุน บางช่วงลดการอุดหนุน ปรับเปลี่ยนรูปแบบหลายครั้ง ปัจจุบันใช้วิธีตรึงราคาน้ำมันสำเร็จรูปหลายชนิด ดำเนินมาตรการอุดหนุนหลายอย่างเพื่อกดค่าไฟฟ้าจนต่ำกว่าราคาทุน   ...