เต็ง เส่งจับมือโอบามา ปฏิรูปเมียนมาร์สู่ประชาธิปไตย
26
พฤษภาคม 2013
ชาญชัย
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก”
ไทยโพสต์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6047 วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2556
และเผยแพร่ผ่าน “US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ,
http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1624)
และเผยแพร่ผ่าน “US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ,
http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1624)
วันที่ 20 พฤษภาคม 2013 เป็นอีกหนึ่งวันประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างประเทศเมียนมาร์กับสหรัฐอเมริกา เมื่อประธานาธิบดีเต็ง เส่งเยือนทำเนียบขาวพบประธานาธิบดีบารัก โอบามา อย่างเป็นทางการ หลังผู้นำเมียนมาร์ทิ้งห่างการเยือนทำเนียบขาวถึง 47 ปี มีการลงนามความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พร้อมกับคำมั่นสัญญาจากประธานาธิบดีโอบามาที่จะสนับสนุนการปฏิรูปประเทศ ประธานาธิบดีเต็ง เส่งกล่าวเปรียบเทียบว่าประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบันเป็นประเทศประชาธิปไตยเฉกเช่นสหรัฐอเมริกา
คำถามจากนักสิทธิมนุษยชน
ประเทศเมียนมาร์หรืออดีตสหภาพพม่าได้รับการตีตราจากชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่รัฐบาลกดขี่ข่มเหงประชาชน
มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด เป็นที่มาของการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจทางการเมืองต่อประเทศนี้
แต่ในเวลาเพียงสองสามปีสถานการณ์กลับเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อรัฐบาลเต็ง
เส่งประกาศปฏิรูปประเทศ แสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมหลายประการ รัฐบาลโอบามาจึงปรับความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
การปรับความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้เหล่านักสิทธิมนุษยชนตั้งคำถามว่ารัฐบาลอเมริกาให้ความสำคัญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์น้อยเกินไปหรือไม่
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อชาวโรฮิงญาเป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนว่าจนถึงทุกวันนี้เจ้าหน้าที่รัฐยังมีส่วนสนับสนุนหรือมีส่วนละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อโรฮิงญาในทางใดทางหนึ่ง
เช่นเดียวกับชนกลุ่มน้อยอีกหลายกลุ่มโดยเฉพาะพวกคะฉิ่น ชิน (Chin) และกะเหรี่ยงที่ถูกฆ่า ข่มขืน ทุบตี กักขัง คนเหล่านี้เป็นประชากรราวร้อยละ 35 ของประเทศ นายแฟรงค์ จานูซซี ประธานองค์กรนิรโทษกรรมสากล สำนักงานกรุงวอชิงตัน ให้ความเห็นว่าเวลานี้อาจเป็นเวลา
(ให้รัฐบาล) เฉลิมฉลองชั่วขณะ แต่การแก้ปัญหายังไม่บรรลุผลอย่างแท้จริง ยังมีนักโทษการเมืองถูกกุมขัง
ปัญหาโรฮิงญา ปัญหาชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่แม้จะทำข้อตกลงหยุดยิง
“แต่ยังไม่เป็นข้อตกลงถาวร”
นอกจากนี้
ยังมีผู้ตั้งคำถามว่าเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดในอดีตจะจัดการอย่างไร
ดูเหมือนว่ารัฐบาลโอบามาจะลืมเรื่องเหล่านี้เสียสนิท
คนเหล่านี้จะได้รับความยุติธรรมหรือไม่อย่างไร รวมถึงบรรดาคนที่เพิ่งถูกละเมิดเมื่อไม่นานนี้
รัฐบาลเมียนมาร์ได้ให้ความยุติธรรมอย่างเพียงพอหรือไม่
รัฐบาลอเมริกันคิดถึงเรื่องเหล่านี้มากน้อยเพียงไร
คำตอบเรื่องสิทธิมนุษยชน
ทั่วโลกรับรู้ว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์ยังมีอยู่
แต่รัฐบาลอเมริกันไม่เห็นว่าเป็นอุปสรรคของการปรับความสัมพันธ์ ประธานาธิบดีบารัก
โอบามาให้เหตุผลว่า “ประเทศก้าวเข้าสู่การปฏิรูปทางการเมืองกับทางเศรษฐกิจ” เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม
เริ่มจากการที่เมื่อสองปีก่อนรัฐบาลเมียนมาร์ทยอยปล่อยนักโทษการเมือง
รวมทั้งนางอองซาน ซูจี และเธอได้เข้าสู่กระบวนการทางการเมือง การเลือกตั้งซ่อมที่ผ่านมามีตัวแทนจากหลายกลุ่มเข้าร่วม
อีกทั้งประธานาธิบดีเต็ง เส่งพยายามแก้ปัญหาชาติพันธุ์อย่างชาญฉลาดและเห็นด้วยที่จะเคารพสิทธิของประชาชน
รัฐบาลอเมริกันทราบดีว่าการปฏิรูปยังคงเปราะบางไม่แน่นอน จึงติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฮิลลารี คลินตัน (สมัยยังดำรงตำแหน่ง)
กล่าวว่ารัฐบาลโอบามารู้ดีว่าความจริงแล้วการปฏิรูปตอนนี้จำกัดอยู่ในเมืองหลวงกับเมืองใหญ่ๆ
เท่านั้น ทหารรัฐบาลยังต่อสู้กับพวกคะฉิ่น พบการละเมิดมนุษยชนต่อชาวโรฮิงญาอย่างเป็นขบวนการ
การให้โอกาส
การเห็นความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม คือคำตอบจากรัฐบาลโอบามา
ความจริงแล้วควรยอมรับว่าการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องง่าย
ยกตัวอย่างกรณีชาวโรฮิงญาที่ยังไม่เห็นคำตอบชัดเจน แม้กระทั่งนางอองซาน
ซูจีผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เมื่อถูกซักถามประเด็นโรฮิงญากลับไม่แสดงท่าทีชัดเจน ได้แต่กล่าวว่า
“ช่างเป็นเรื่องน่าเศร้าเพราะไม่มีประเทศใดยอมรับพวกเขาเช่นเดียวกับประเทศพม่า
พวกเขาไม่รู้สึกว่าเป็นคนของประเทศใด” และเห็นว่า “ต้องสร้างบรรยากาศแห่งความปลอดภัยแก่คนที่มีความเห็นแตกต่าง
ให้พวกเขาสามารถนั่งลงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และถกในประเด็นที่เห็นร่วม”
สำหรับนางซูจีแล้วคำตอบเพื่อการแก้ปัญหาโรฮิงญายังต้องค้นหาต่อไป
การที่โรฮิงญาจะเป็นพลเมืองเมียรมาร์หรือไม่นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง
แต่การไม่พยายามแตะเรื่องนี้อาจทำให้บางคนตีความว่าอองซาน ซูจีตีกรอบให้ความสำคัญแก่คนบางกลุ่มเท่านั้น
ไม่ปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนสากลอย่างครบถ้วน นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าทั้งนี้เป็นเพราะกังวลเรื่องผลกระทบทางการเมืองเนื่องจาก
‘ประชาชน’ ผู้สนับสนุนเธอจำนวนมากต่อต้านโรฮิงญา
เมื่อพูดถึง ‘ประชาชน’ ต้องกล่าวเสริมว่าคือเจ้าหน้าที่รัฐ
ทหารตำรวจเมียนมาร์ไม่ใช่ใครอื่น พวกเขาคือประชาชนธรรมดาคนหนึ่งที่สวมชุดข้าราชการ
มีสิทธิอำนาจตามกฎหมายกำหนด ถ้าหาก ‘ประชาชน’ คนเมียนมาร์ส่วนใหญ่ยังไม่เห็นว่าโรฮิงญาคือส่วนหนึ่งของประเทศ
เป็นพลเมืองที่ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองตามกฎหมาย
ก็ยากที่จะให้เจ้าหน้าที่รัฐกระทำตามบทบาทอย่างถูกต้อง
เพราะการจะเปลี่ยนแปลงทัศนคติคนไม่ใช่เรื่องง่าย ประธานาธิบดีเต็ง เส่งให้คำอธิบายได้ดี
กล่าวว่าประเทศ “เราดำเนินตามระบอบประชาธิปไตย”
แต่เนื่องจากเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยที่มีอายุเพียง 2 ปี จึงยังต้องเรียนรู้ต้องมีประสบการณ์อีกมาก
“ประชาชนของเราจำต้องคุ้นเคยกับบรรทัดฐาน
คุณค่าและวิถีปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตย” หากคิดอย่างเป็นธรรมแล้วแต่ละประเทศต้องใช้เวลายาวนานในการพัฒนาประชาธิปไตย (หรือพูดได้ว่าเป็นงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด) อเมริกาที่ก่อตั้งประเทศมาแล้วกว่า 200 ปียังมีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องจากสีผิวหรือเพศ ทำให้รัฐบาลจีนมีข้อตอบโต้ทุกครั้งเมื่อรัฐบาลอเมริกันกล่าวโทษการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีน
ประเด็นโรฮิงญา
ชนกลุ่มน้อยต่างๆ จึงเป็นขวากหนามทั้งแก่รัฐบาลเต็ง เส่งกับนางอองซาน ซูจี
และรัฐบาลโอบามา แต่หากไม่มีเหตุการณ์ที่กลายเป็นข่าวใหญ่
ให้นักสิทธิมนุษยชนได้วิพากษ์วิจารณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะดำเนินไปด้วยดี
การค้าการลงทุนจากนานาชาติจะดำเนินต่อไป
ในแง่มุมของรัฐบาลโอบามาคือตระหนักว่าการปฏิรูป การแก้ไขปัญหาต่างๆ
รวมทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชนจำต้องใช้เวลา
ขอเพียงเห็นการปฏิรูปก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมและทำตามข้อเรียกร้องบางประการที่รัฐบาลอเมริกันร้องขอ
เช่น เรื่องการปล่อยตัวนักโทษการเมือง ให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ก็ถือว่ารัฐบาลเมียนมาร์สอบผ่านในเบื้องต้นแล้ว
ส่วนในระยะยาวประธานาธิบดีโอบามาคาดหวังจะเห็นการแก้ไขรัฐธรรมให้เนื้อหาสาระสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย
เป็นประเทศของชนทุกชาติพันธุ์ การเลือกตั้งในปี 2015
น่าจะนำสู่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
ประโยชน์ที่เมียนมาร์ได้รับ
ช่วงที่เมียนมาร์ถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตร
มีเพียงจีนกับอีกไม่กี่ประเทศที่เข้าไปลงทุน การปฏิรูปการเมืองเปิดทางให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะจากแหล่งทุนตะวันตก
เรื่องนี้ย่อมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศอย่างยิ่ง
เปรียบเหมือนรัฐบาลเมียนมาร์เปิดประมูลสินค้า
แต่เดิมมีเพียงไม่กี่ประเทศเข้ามาประมูล
แต่นับจากนี้อีกหลายประเทศจะเข้ามาร่วมประมูลด้วย
ผลประโยชน์สูงสุดย่อมตกแก่เจ้าของสินค้าอันหมายถึงรัฐบาลเมียนมาร์นั่นเอง
ตัวเลขการลงทุนจากต่างชาติแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโต ปีที่แล้วนักลงทุนต่างชาติเพิ่มการลงทุนในเมียนมาร์ถึง
5 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 1.4
พันล้านดอลลาร์จากจำนวนทั้งสิ้น 94 บริษัท (เทียบกับปีก่อนหน้านั้นมีบริษัทต่างชาติเพียง 11 บริษัทลงทุน 300 ล้านดอลลาร์) การลงทุนส่วนใหญ่มาจากจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้และสิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้คือประเทศที่ลงทุนในเมียนมาร์อยู่ก่อนแล้วและเพิ่มการลงทุน
ดังนั้น เมื่อประเมินว่าอีกไม่นานเม็ดเงินบริษัทชาติตะวันตกจะหลั่งไหลเข้ามา เม็ดเงินการลงทุนจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
นอกจากประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับ
ยังมีผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่ประเมินค่าเป็นตัวเงินไม่ได้ รัฐบาลเต็ง
เส่งได้รับการยอมรับจากชาติตะวันตก ทำให้ประเทศอื่นๆ พลอยให้การยอมรับโดยปริยาย และย่อมเชื่อได้ว่าประชาชนทั่วไปจะได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปประเทศ
เมื่อหากมองย้อนหลัง 3-4 ปี จะเห็นว่านับจากรัฐบาลทหารเมียนมาร์ประกาศปฏิรูปประเทศ ประธานาธิบดีเต็ง
เส่งก้าวขึ้นสู่อำนาจ บรรลุข้อตกลงกับอองซาน ซูจี
ทำให้นางได้รับการปล่อยตัวและเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง จากนั้นรัฐมนตรีฮิลลารี
คลินตันเยือนประเทศเมียนมาร์เมื่อปี 2011 ตามมาด้วยประธานาธิบดีบารัก โอบามาในปี 2012 การเยือนของผู้นำสหรัฐทำให้รัฐมนตรี ผู้นำอีกหลายประเทศต่อแถวเยือนเมียนมาร์
เริ่มปรับความสัมพันธ์ทางการเมือง เจรจาเรื่องการค้าการลงทุน
ดังนั้นเมื่อประธานาธิบดีเต็ง เส่งเยือนสหรัฐพบประธานาธิบดีบารัก โอบามา
จึงคาดการณ์ต่อได้ว่าอีกไม่นานประธานาธิบดีเต็ง เส่งจะเยือนประเทศอื่นๆ
โดยเฉพาะกลุ่มประเทศยุโรป
สื่อต่างประเทศไม่ค่อยให้ความสำคัญการเยือนของประธานาธิบดีเต็ง
เส่งเมื่อเทียบกับการเดินทางไปประเทศต่างๆ ของนางอองซาน ซูจี
แต่หากวิเคราะห์จังหวะก้าวต่างๆ นับว่าเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของประธานาธิบดีเต็ง
เส่ง ของชนชั้นปกครองโดยแท้ ตอกย้ำการเปลี่ยนภาพลักษณ์เก่ามาสู่ภาพลักษณ์ใหม่
ที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่งถึงกับเปรียบเทียบว่าประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มประเทศประชาธิปไตยเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา
ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนยังจะคาใจหลายคนต่อไป
อีกประเด็นที่ควรตั้งคำถามคือการปฏิรูปการเมืองเศรษฐกิจนั้นประชาชนจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใด
เหล่านี้เป็นเรื่องที่ควรติดตาม และหากเมียนมาร์ปฏิรูประเทศสำเร็จ ต้องถือเป็นความดีความชอบของประธานาธิบดีเต็ง
เส่ง นางอองซาน ซูจีและประธานาธิบดีบารัก โอบามา ที่ทั้งสามได้ร่วมกันผลักดัน
---------------
บทวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง:
1. โรฮิงญาโจทย์ของรัฐบาลเมียนมาร์ที่กำลังปฏิรูปประเทศ
ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เข้าใจสถานการณ์เป็นอย่างดี ได้กล่าวว่า “ในขณะที่นานาชาติจับจ้องการการเปลี่ยนผ่านมาสู่ระบอบประชาธิปไตย ความวุ่นวายอาจทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสื่อมเสีย”
2. โรฮีนจา คนไร้รัฐ (Ookbee)
การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้สามารถเริ่มต้นด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศพม่า ตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ในอดีตได้ถักทอร้อยเรื่องราวของโรฮีนจาที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครอง เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ หลายเหตุการณ์แม้กระทั่งยุคล่าอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่ 2 จนพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับมาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง
ข้อเขียนชิ้นนี้นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่ชนพื้นเมืองอาระกันยังไม่ถูกเรียกว่าโรฮีนจา เข้าสู่ความขัดแย้งหลายระลอก จนพม่าประกาศเอกราช เกิดการปฏิวัติ รัฐบาลทหารกำหนดว่าใครเป็นพลเมือง พร้อมกับเหตุผลข้อโต้แย้ง ประเด็นถกเถียงและคาดการณ์อนาคต
1. โรฮิงญาโจทย์ของรัฐบาลเมียนมาร์ที่กำลังปฏิรูปประเทศ
ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เข้าใจสถานการณ์เป็นอย่างดี ได้กล่าวว่า “ในขณะที่นานาชาติจับจ้องการการเปลี่ยนผ่านมาสู่ระบอบประชาธิปไตย ความวุ่นวายอาจทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสื่อมเสีย”
2. โรฮีนจา คนไร้รัฐ (Ookbee)
การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้สามารถเริ่มต้นด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศพม่า ตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ในอดีตได้ถักทอร้อยเรื่องราวของโรฮีนจาที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครอง เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ หลายเหตุการณ์แม้กระทั่งยุคล่าอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่ 2 จนพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับมาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง
ข้อเขียนชิ้นนี้นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่ชนพื้นเมืองอาระกันยังไม่ถูกเรียกว่าโรฮีนจา เข้าสู่ความขัดแย้งหลายระลอก จนพม่าประกาศเอกราช เกิดการปฏิวัติ รัฐบาลทหารกำหนดว่าใครเป็นพลเมือง พร้อมกับเหตุผลข้อโต้แย้ง ประเด็นถกเถียงและคาดการณ์อนาคต
สนใจอีบุ๊ค คลิกที่รูป |
บรรณานุกรม:
1. Remarks by President Obama and President Thein Sein of
Myanmar After Bilateral Meeting, The White House, 20 May 2013, http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2013/05/20/remarks-president-obama-and-president-thein-sein-myanmar-after-bilateral
2. As Thein Sein Visits White House, Calls for Caution on US
Military Ties, The Irrawaddy, 22 May 2013, http://www.irrawaddy.org/archives/35004
3. Freedom House: White House Welcome of President Thein
Sein is Premature, Freedom House, Press Release, 16 May 2013, http://www.freedomhouse.org/article/freedom-house-white-house-welcome-president-thein-sein-premature
4. Myanmar's White House bow: well done, but not mission
accomplished, Christian Science Monitor, 20 May 2013, http://news.yahoo.com/myanmars-white-house-bow-well-done-not-mission-213607562.html
5. Freedom in the World 2013, Freedom House, http://www.freedomhouse.org/report/freedom-world/2013/burma,
Accessed 21 May 2013
6. U.S. Policy Toward Burma, Statement Before the House
Committee on Foreign Affairs Subcommittee on Asia and the Pacific, April 25,
2012, http://www.state.gov/p/eap/rls/rm/2012/188446.htm
7. Human Rights in Burma, 28 February 2013, http://www.state.gov/j/drl/rls/rm/2013/205475.htm
8. Suu Kyi says Myanmar's Muslims must be made to feel
secure, Reuters, 17 April 2013,
http://uk.news.yahoo.com/suu-kyi-says-myanmars-muslims-must-made-feel-110324173.html
9. Foreign Investment Jumps Fivefold in Burma, The
Irrawaddy, 13 May 2013,
http://www.irrawaddy.org/archives/34427
-------------------------------