อาเซียน

ติดต่อพูดคุยสอบถามได้ที่ไลน์ ห้องไลน์ สถานการณ์โลก

https://line.me/ti/g2/6rXIwiNZgKq21mhYLjKfBA?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default


คลิกอ่านที่หัวเรื่อง
ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2024

ประเทศไทย มาเลเซียและเวียดนามพยายามสัมพันธ์ดีกับมหาอำนาจทั้งหลาย ไม่อิงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจนเกินตัว มอง BRICS เป็นโอกาสใหม่

ต้องมุ่งสร้างคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจสังคมแก่ประชาคมโลก ไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สอดคล้องกับหลักนโยบายต่างประเทศไทย

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2023
ข้อตกลงล่าสุดส่งเสริมและอยู่ภายใต้กรอบอาเซียนอย่างชัดเจน ไม่อาจตีความว่ากระทบความมั่นคงอาเซียน ไม่น่าจะทำให้จีนกังวลเกินไปว่าเวียดนามเอนเอียงเข้าหาสหรัฐ

เอกภาพในความหลากหลายกับฉันทามติอาเซียน
การรวมตัวเป็นอาเซียนช่วยให้สมาชิกทั้ง 10 ประเทศไม่ตกเป็นเครื่องมือทำสงครามของมหาอำนาจและไม่ทำสงครามกันเอง เป็นเหตุผลหลักของการก่อตั้งอาเซียนตั้งแต่ต้น

มาร์กอส จูเนียร์ฟื้นสัมพันธ์ฟิลิปปินส์-จีน
สัมพันธ์ฟิลิปปินส์-จีนภายใต้รัฐบาลชุดนี้จะเป็นไปด้วยดีแต่ไม่ทิ้งสหรัฐ เพียงแต่รัฐบาลสหรัฐไม่อาจแทรกแซงข้อพิพาททะเลจีนใต้โดยยืมมือมาร์กอส จูเนียร์

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2022
นโยบายไบเดนต่ออาเซียนและอินโด-แปซิฟิก
รัฐมนตรีบลิงเคนเยือนอาเซียนตอกย้ำส่งเสริมเสรีประชาธิปไตยต่างแดนแบบลงลึกถึงองค์กร หน่วยงาน สื่อ จนถึงระดับปัจเจก เร่งพัวพันอาเซียนทุกด้านทุกมิติ

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2021
เมื่อโรฮีนจากลายเป็นเรื่องของอาเซียน
ปี 2015 เมื่อเรือผู้อพยพโรฮีนจาแล่นเข้าฝั่ง หลายประเทศใช้วิธีให้อาหารกับน้ำแล้วผลักดันกลับไป กลุ่มสิทธิมนุษยชนบางกลุ่มกล่าวหาว่าประเทศเหล่านี้ละเมิดสิทธิมนุษยชน

เรื่องสำคัญที่สุดคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังเผชิญโรคระบาดโควิด-19 ประเด็นทะเลจีนใต้ที่นับวันจะทวีความตึงเครียด ขอให้เมียนมาปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อของที่ประชุมผู้นำอาเซียน

มุมมองของลี เซียนลุงต่อสถานการณ์โลก
ขณะที่ชาติมหาอำนาจไม่ปะทะกันเอง แต่อาจสู้กันในพื้นที่อื่นๆ เป็นสงครามตัวแทน (proxy war) ดังนั้นประเทศทั้งหลายต้องระวังไม่ตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้งดังกล่าว

ประชาธิปไตยเมียนมาในวัยเตาะแตะ
ในมุมของกองทัพแผนสร้างประชาธิปไตยเมียนมาคือรัฐบาลพลเรือนที่กองทัพมีบทบาทร่วมดูแลบริหารประเทศ แต่ความเป็นประชาธิปไตยมีมากกว่าการเป็นรัฐบาลพลเรือนหรือเป็นรัฐบาลทหาร

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2020
RCEP ความสำเร็จของภูมิภาคเหนือความแตกต่างหลากหลาย
RCEP เป็นการริเริ่มของหลากหลายวัฒนธรรม หลากหลายการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาเร็วช้าต่างกัน บางประเทศเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยซ้ำ

นโยบายของเวียดนามต่อทะเลจีนใต้
ไม่ว่าจะอย่างไรเวียดนามต้องรักษาผลประโยชน์ในทะเลจีนใต้ พร้อมกับที่ต้องพยายามหาทางอยู่ร่วมกับชาติมหาอำนาจ มีความร่วมมืออยู่คู่ความขัดแย้ง หวังเพียงไม่ขัดแย้งจนควบคุมไม่ได้

การเมืองมาเลย์อยู่ในช่วงเลือกนายกฯ คนใหม่โดยมติของ ส.ส. ชุดปัจจุบัน ใครจะเป็นนายกฯ คนต่อไปขึ้นกับว่าใครรวม ส.ส. ได้ก่อน

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2019
แม่น้ำโขงมีเรื่องท้าทายที่ต้องจัดการมากขึ้น เหตุจากประชากรตามลุ่มน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โครงการลงทุนการก่อสร้างต่างๆ สภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เล็งถึงความสำเร็จของประชาคมอาเซียน

รัฐบาลสหรัฐกลับมาให้ความสนใจเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ คราวนี้มองมาที่จีนด้วยตามกรอบอินโด-แปซิฟิก อาเซียนเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง พัวพันกับการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ของมหาอำนาจในย่านนี้อีกครั้ง

มุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก
อาเซียนเสนอเอกสาร “มุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก” หวังนำอนุทวีปอินเดียเข้ามาเชื่อมต่อกับเอเชียแปซิฟิกให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น คงหลักอาเซียนเป็นแกนกลาง เน้นความร่วมมือแทนการทำลายล้าง

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2018
นางอองซาน ซูจีอาจไม่เห็นด้วยและไม่ได้ลงมือกดขี่ข่มเหงโรฮีนจา แต่เมื่อเป็นรัฐบาลย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยเฉพาะในเวทีระหว่างประเทศที่ตีตราแล้วว่าโรฮีนจาถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ความสงบสันติเท่านั้นจึงจะนำมาซึ่งการพัฒนา ชีวิตที่สงบสุข ผู้คนอยู่ดีกินดี คนทั่วโลกอยากเข้ามาท่องเที่ยว แต่จะได้มาเพราะเลือกสหายที่อยู่ไกลหรือมิตรที่อยู่ใกล้ เป็นคำถามที่ต้องตอบให้ชัด

อาเซียนก้าวหน้าอีกขั้นด้วยการเชิญออสเตรเลียเป็นสมาชิก เป็นการคิดนอกกรอบอีกครั้ง และน่าจะด้วยเหตุผลเดิม นั่นคือ ผลจากบริบทความมั่นคงระหว่างประเทศ

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2017
“การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” เป็นคำที่กดดันรัฐบาลเมียนมามากขึ้นทุกที หลายประเทศแสดงท่าทีให้รับคืนผู้อพยพทั้งหมด การกดดันรุนแรงมากขึ้นเป็นรูปธรรมมากขึ้น

หัวข้อการประชุมพูดถึงการเข้าพัวพันกับโลก เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ภายในหมู่ชาติสมาชิกที่ซับซ้อนลงรายละเอียดมากขึ้น การปฏิบัติตามแผนยังเป็นความท้าทายหลัก

อาเซียนแทรกแซงเมียนมาหรือเมียนมาแทรกแซงอาเซียน
นับแต่ก่อตั้งอาเซียนเมื่อ 50 ปีก่อน หลักไม่แทรกแซงกิจการภายในเป็นเสาหลักของกลุ่ม ประเด็นโรฮีนจาเป็นกรณีพิเศษที่อาเซียนละเมิดหลักการ แต่เพราะเมียนมาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน

โรฮีนจา ปัญหาของใคร
เนื่องจากไม่อาจมองว่าผู้อพยพโรฮีนจาเป็นปัญหาของเมียนมาเท่านั้น ถ้าพูดให้ครอบคลุมกว่านี้ ในโลกนี้มีอีกนับร้อยล้านคนที่รอความช่วยเหลือ จึงต้องเริ่มต้นด้วยการตอบว่าเป็นปัญหาของใคร

ชาติสมาชิกอาเซียนออกประณามรัฐบาลเมียนมาต่อกรณีโรฮีนจาอย่างเปิดเผย เหตุผลลึกที่สุดคือ ความมั่นคงของเมียนมาคือความมั่นคงของอาเซียน ส่วนเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเหตุผลรอง

โรฮีนจาทาง 2 แพร่งของอองซาน ซูจี
อองซาน ซูจี ในวัย 72 ปี กำลังเผชิญการตัดสินใจครั้งใหญ่ นางจะเลือกพรรคหรือเลือกสิทธิมนุษยชน

อาเซียนกับจีนบรรลุกรอบเจรจา COC นับจากนี้คือการเจรจาเพื่อให้ได้ COC แต่ยากจะตอบว่าจะแล้วเสร็จช้าหรือเร็ว เพราะ COC จึงไม่ใช่เรื่องพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้เท่านั้น ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองภายในของบางประเทศ ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างบางประเทศ การแข่งขันของมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาจเป็นมหากาพย์ที่ต้องติดตามอีกนาน

“ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้”(DOC) ที่มา ปัญหาและอนาคต
DOC เป็นข้อตกลงระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนทั้งหมดกับจีนในเรื่องเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความขัดแย้งระหว่างชาติสมาชิกอาเซียน จีนกับประชาคมอาเซียนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากขึ้นทุกที ปัญหาทะเลจีนใต้เป็นข้อพิพาทหนึ่งที่ไม่อาจละเลย แต่ไม่ควรนำข้อพิพาทนี้หักล้างความสัมพันธ์กับจีน

แถลงการณ์หลังประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนปีนี้เห็นถึงวาระต่างๆ มากมายของประชาคมอาเซียน ยังมีเรื่องเดิมที่ต้องจัดการพร้อมกับประเด็นใหม่ ความคิดริเริ่มใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับนานาชาติขยายตัวมากขึ้นๆ ประเด็นจีนใต้ยังเป็นเรื่องร้อน การจัดทำ COC จะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจับตา

การว่างงานไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่การมีงานทำอาจไม่หมายถึงมีงานทำเต็มที่ อายุขัยเฉลี่ยค่อนข้างสูง แสดงว่าระบบสาธารณสุขของทุกประเทศดีขึ้นมาก จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนสูงทุกประเทศ แสดงถึงสังคมที่สนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)

งานศึกษาล่าสุดของ Pew Research Center ให้ข้อสรุปว่า ในสายตาของประชาชนอินโดนีเซียกับฟิลิปปินส์ IS หรือกลุ่มที่ใกล้ชิดกับ IS เป็นภัยคุกคามประเทศที่ร้ายแรงที่สุดในขณะนี้ สอดคล้องกับข้อมูลหลายแหล่ง

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2016
นโยบายปรับสัมพันธ์รอบทิศของดูเตร์เต
ความสัมพันธ์ทวิภาคีฟิลิปปินส์-สหรัฐฯ เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อได้รัฐบาลนำโดย โรดริโก ดูเตร์เต เกิดวิวาทะระหว่าง 2 รัฐบาลเป็นระยะ ประธานาธิบดีดูต์เตใช้ถ้อยคำหยาบคายหลายครั้ง รัฐบาลฟิลิปปินส์ปรับลดความร่วมมือหลายอย่าง จากการวิเคราะห์พบว่าสิ่งที่รัฐบาลดูเตร์เตต้องการคืออยู่ระหว่างการปรับดุลความสัมพันธ์กับมหาอำนาจในภูมิภาค แท้จริงที่ยังต้องการสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ในทุกด้านต่อไป รวมทั้งความร่วมมือด้านการทหาร
ในยุคประธานาธิบดีอากีโนที่ 3 รัฐบาลยึดว่าพื้นที่พิพาทสการ์โบโรห์เป็นของฟิลิปปินส์ ดังนั้น ต้องปกป้องอธิปไตย มิฉะนั้นอาจเสียดินแดนมากกว่านี้ จึงดำเนินนโยบายใกล้ชิดสหรัฐ ผลคือจีนคว่ำบาตรเศรษฐกิจฟิลิปปินส์บางอย่าง เมื่อมาถึงสมัยประธานาธิบดีดูเตร์เต รัฐบาลใช้หลักคิดใหม่ เห็นว่าไม่ควรอยู่ท่ามกลางการเผชิญหน้าของ 2 มหาอำนาจ การเจรจากับจีนน่าจะให้ผลประโยชน์เศรษฐกิจที่จับต้องได้มากกว่า สัมพันธ์ทวิภาคีกับจีนจึงดีขึ้นอย่างชัดเจน ไม่ต้องเผชิญหน้าด้วยเรื่องอธิปไตยที่ต่างยอมให้กันไม่ได้อีกต่อไป

ในบริบททะเลจีนใต้ ไม่มีประเทศใดสามารถได้ทุกอย่างที่ต้องการ ประเทศเล็กกว่าต้องรู้จักนิยามคำว่า "ความมั่นคง" ให้เข้ากับสถานการณ์ ที่ผ่านมาอาเซียนทำได้ดี เป็นเหตุให้ประชาชนอยู่ในความสงบสุข บริบทระหว่างประเทศเอื้อต่อการพัฒนา ส่วนที่เหลือคือการจัดการภายในประเทศ วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 มีเนื้อหาเอ่ยถึงมากมาย สมาชิกอาเซียนซึ่งหมายถึงพลเมืองทุกคนและทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันทำให้วิสัยทัศน์กลายเป็นความจริง

รัฐบาลสหรัฐภายใต้ประธานาธิบดีโอบามารุกคืบเข้ามาพัวพันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นเป็นตอน “ข้อเสนอโครงสร้างเครือความมั่นคงเอเชียแปซิฟิก” เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์ที่ตั้งชื่อให้ฟังดูเป็นกลางว่า “ปรับสมดุล” เมื่อวิเคราะห์แล้วคือความต้องการเข้ามาจัดระเบียบภูมิภาคอย่างครอบคลุมทุกด้าน เป็นช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆ ทั้งอาเซียน จีนและอีกหลายประเทศต้อง “ปรับสมดุล” เช่นกัน


ความร่วมมือระหว่างประเทศสังคมนิยมเวียดนามกับทุนนิยมเสรีสหรัฐฯ เพื่อต้านจีนในปัจจุบัน หรือพูดในอีกมุมหนึ่งคือเวียดนามพยายามอยู่ร่วมกับสหรัฐฯ กับจีนโดยอาศัยการถ่วงดุลอำนาจ เป็นอีกหลักฐานบ่งชี้ว่าความแตกต่างด้านการเมืองการปกครองไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ใช้แยกความเป็นมิตรกับศัตรู สำหรับเวียดนามแล้วประเด็นสำคัญอยู่ที่ทำอย่างไรจึงสามารถสามารถดำรงอยู่ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน

ในสมัยสงครามเย็น นักวิชาการ ตำราจำนวนมากสอนว่าประเทศเสรีประชาธิปไตยเข้ากับสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ไม่ได้ มองคอมมิวนิสต์เป็นภัยคุกคามร้ายแรง แต่ปัจจุบันความแตกต่างด้านระบอบเศรษฐกิจการปกครองดูจะไม่เป็นปัญหาร้ายแรงดังเช่นอดีต ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนาม-สหรัฐในขณะนี้คือหลักฐาน การยึดถือว่าใครประเทศใดเป็นมิตรหรือศัตรูต่างหากที่เป็นเหตุสร้างความตึงเครียด สร้างสงครามทำลายล้างกัน

ภายใต้บริบทปัจจุบัน รัสเซียอยู่ในตำแหน่งที่เป็นมิตรและสามารถเป็นมิตรที่ดีของอาเซียน การประชุมสุดยอดผู้นำครั้งล่าสุดตอกย้ำทิศทางดังกล่าว เกิดความร่วมมือในทุกด้าน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจจะเพิ่มสูงขึ้น บทบาทรัสเซียในเอเชียแปซิฟิกจะเป็นประโยชน์ร่วมกับอาเซียน ส่งเสริมสถานภาพของอาเซียนในเวทีโลก

สันติวิธี ทางเลือกของฟิลิปปินส์ต่อปัญหาทะเลจีนใต้
นับตั้งแต่ข้อพิพาททะเลจีนใต้กลายเป็นประเด็นสำคัญ รัฐบาลฟิลิปปินส์ยึดหลักสันติวิธีเรื่อยมา แม้บางช่วงจะแสดงท่าทีแข็งกร้าวบ้าง เห็นความแตกแยกในอาเซียนบ้าง ความสัมพันธ์ทวิภาคีฟิลิปปินส์-จีนมีมากกว่าเรื่องทะเลจีนใต้ ทุกฝ่ายระวังที่จะไม่ให้ความขัดแย้งบานปลาย อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งยังคงอยู่ จีนยังรุกคืบแสดงความเป็นเจ้าของอย่างต่อเนื่อง

ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power) ในบริบทอาเซียน
ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจเป็นแนวคิดจากสำนักสัจนิยมที่ใช้กันแพร่หลาย ถ่วงดุลฝ่ายที่เป็นอริ ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายได้เปรียบ หวังเป็นเหตุไม่ให้คิดทำสงครามต่อกัน อาเซียนกำลังใช้ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจถ่วงดุลจีนกับฝ่ายสหรัฐ เพื่อชี้ชวนให้ทุกฝ่ายดำเนินนโยบายกับอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ แต่ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจมีจุดอ่อนเช่นกัน จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง


รัฐบาลนาจิบประกาศชัดว่าประเทศกำลังเผชิญภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้าย IS หลังเผชิญการคุกคามต่อเนื่อง ประกาศหลักหลักวะสะฏียะฮ์ ยึดความสมดุล ความพอดี ไม่สุดโต่งเป็นอุดมการณ์ต่อต้านอุดมการณ์ของผู้ก่อการร้าย อย่างไรก็ตามประเด็นหลักอิสลามเป็นเรื่องละเอียดอ่อน สำคัญที่เมื่อ IS ใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือ ฝ่ายต่อต้าน IS สามารถใช้และน่าจะมีพลังมากกว่า 
--------------------

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2015

WSJ กลายเป็นสื่อที่จุดประเด็นกล่าวหานายกฯ นาจิบทุจริตโอนเงินกองทุนรัฐเข้าบัญชีส่วนตัว เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองมาเลเซีย 58 ปีที่นายกฯ อาจขึ้นศาลเพราะทุจริตคอร์รัปชัน ณ ขณะนี้ยังไม่อาจคาดเดาผลลัพธ์ ที่แน่นอนคือสงครามข้อมูลข่าวสารกำลังดำเนินอย่างเข้มข้น ต่างฝ่ายต่างพยายามยึดครองความคิดความเข้าใจของคน เป็นลักษณะหนึ่งของการเมืองยุคดิจิตอล


            ประเด็นโรฮีนจา (Rohingya) เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและชาติสมาชิกอาเซียนอีกหลายประเทศโดยตรง มีผลต่อความเป็นไปของเมียนมาและกระทบต่อทั้งภูมิภาค เป็นเรื่องเก่าหลายทศวรรษ (หรือหลายศตวรรษ) และคงจะอยู่คู่กับอาเซียนอีกนาน จึงเป็นประเด็นที่ควรศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้
            “10 คำถาม โรฮีนจา” จะตอบคำถามหรือนำเสนอ 10 ข้อ 10 ประเด็น เริ่มจากการเรียกชื่อ ควรเรียก “โรฮีนจาหรือโรฮินญา” อธิบายต้นกำเนิดโรฮีนจา เป็นชาวเบงกาลีหรือไม่ เหตุผลเบื้องหลังรัฐบาลเมียนมาไม่ถือโรฮีนจาเป็นพลเมือง จากนั้นอธิบายเหตุปะทะเมื่อปี 2012 ซึ่งเป็นจุดเริ่มของความสนใจรอบใหม่ ความเกี่ยวข้องของขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ปัญหาชุมชนโรฮีนจาซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่อาจมองข้าม นโยบายและท่าทีของรัฐบาลเมียนมา โอบามาและมาเลเซีย สอดแทรกด้วยการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ ช่วยตอบโจทย์อนาคตของโรฮีนจา อนาคตประชาธิปไตยเมียนมาซึ่งมีผลกระทบต่ออาเซียนทั้งหมด

เหตุความรุนแรงในปี 2012 นำสู่การตีแผ่เรื่องราวโรฮีนจาสู่สายตาชาวโลก สมัชชาสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาร์มอบความเป็นพลเมืองแก่คนเหล่านี้ โรฮีนจากลายเป็นโจทย์เชื่อมโยงกับความเป็นประชาธิปไตย กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อธิปไตยของเมียนมาร์ ในอนาคตเรื่องราวโรฮีนจาจะกลับมาฉายซ้ำอีก จนว่าพวกเขาจะได้ฐานะพลเมือง 


เรือมนุษย์โรฮีนจา เรือมนุษย์บังคลาเทศไม่ใช่เรื่องใหม่ คนเหล่านี้อพยพทางเรือต่อเนื่องหลายปีแล้ว การที่ประชาชนรับรู้ในช่วงนี้เพราะสื่อหลายประเทศช่วยกันประโคมข่าว แต่ระดับเจ้าหน้าที่ ผู้มีหน้าที่รับรู้เรื่อยมา สิ่งที่ทำได้แน่นอนคือการเข้มงวดต่อต้านอาชญากรข้ามชาติ เป็นภาพสะท้อนความมั่นคงจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่อื่นๆ เรื่องเหล่านี้ “ใกล้ตัว” กว่าโรฮีนจามากนัก


            การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้สามารถเริ่มต้นด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศพม่า ตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ในอดีตได้ถักทอร้อยเรื่องราวของโรฮีนจาที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครอง เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ หลายเหตุการณ์แม้กระทั่งยุคล่าอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่ 2 จนพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับมาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง
            ข้อเขียนชิ้นนี้นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่ชนพื้นเมืองอาระกันยังไม่ถูกเรียกว่าโรฮีนจา เข้าสู่ความขัดแย้งหลายระลอก จนพม่าประกาศเอกราช เกิดการปฏิวัติ รัฐบาลทหารกำหนดว่าใครเป็นพลเมือง พร้อมกับเหตุผลข้อโต้แย้ง ประเด็นถกเถียงและคาดการณ์อนาคต


การปรากฏตัวของ IS ก่อให้เกิดคำถามว่าจะส่งผลต่อประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาคตะวันออกกลางหรือไม่ พบว่าความสำเร็จของ IS มาจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ เริ่มจากประเทศเกิดเหตุวุ่นวาย ถูกแทรกแซง ความร่วมมือของคนท้องถิ่นเป็นเหตุให้กองกำลัง IS สามารถตั้งอยู่ในพื้นที่ การศึกษาติดตามสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางจะช่วยอธิบาย คาดการณ์อนาคตต่อภูมิภาคอื่นๆ

สมาชิกเอเปกประกาศว่า FTAAP จะยอมรับแนวทางเขตการค้าเสรีแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น TPP RCEP เท่ากับชี้ว่าที่ประชุมเอเปกปฏิเสธว่า TPP คือมาตรฐานเขตการค้าเสรีของภูมิภาค ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงให้เหตุผลว่าเขตการค้าเสรีอื่นๆ ที่กำลังเจรจาทั้งหมด ทั้งในระดับทวิภาคีหรือพหุภาคี ล้วนสนับสนุนเป้าหมายของ FTAAP 

ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนทั่วไปกำลังเตรียมรับการมาของ AEC แต่ถ้าไม่เกิด AEC ตามแผนที่กำหนดไว้เมื่อถึงสิ้นปี 2015 ย่อมส่งผลกระทบทางลบ ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ทุกฝ่ายจำต้องปรับความเข้าใจและปรับแผน ติดตามแผนพัฒนาประชาคมอาเซียนหลังปี 2015 ฉบับใหม่ที่น่าจะประกาศในเดือนพฤศจิกายนนี้ หรือไม่ก็เมษายนปีหน้า

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สังคมไทยให้ความสำคัญกับการมาถึงของประชาคมอาเซียนในปี 2015 หลายภาคส่วนทั้งเอกชน ราชการต่างเร่งเตรียมตัว เพื่อรองรับการมาถึงของประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บทความนี้ (แบ่งออกเป็น 2 ตอน) จะนำเสนอว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2015 อาจไม่เกิดประชาคมอาเซียน หรือเกิดประชาคมอาเซียนแต่จะไม่เป็นไปตามแผนเดิมที่ประกาศไว้

เมื่อประเทศถูกรุกราน ละเมิดอธิปไตย ประชาชนสมควรที่จะแสดงออกซึ่งความรักชาติ การชุมนุมประท้วงเป็นการแสดงพลังอย่างหนึ่ง ด้วยการรู้จักแยกแยะ ไม่เหมารวม นอกจากนี้การแสดงความรักชาติสามารถกระทำได้ในหลากหลายรูปแบบ ไม่จำต้องเป็นการชุมนุมประท้วงเพียงอย่างเดียว เป็นไปได้ไหมหากจะใช้พลังในทางสร้างสรรค์ ที่ก่อประโยชน์ทั้งต่อตัวเอง ต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

ถ้ามองว่าการติดตั้งแท่นขุดเจาะเป็นเรื่องของ “การละเมิดอธิปไตย” จะกลายเป็นโจทย์ยาก แต่ถ้ามองว่าความขัดแย้งรอบนี้มีต้นเหตุจาก “แท่นขุดเจาะ” จะกลายเป็นโจทย์ว่าย และหากมองว่าเป็นเรื่องการช่วงชิงอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคนั้นเป็นโจทย์ซับซ้อน ประเทศที่เกี่ยวข้องควรระมัดระวังผลต่อมุมมองของประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

สถานการณ์ตึงเครียดในทะเลจีนใต้จำต้องมองกรอบที่กว้างกว่าอาเซียน เกี่ยวข้องกับท่าทีของสหรัฐกับญี่ปุ่น ที่รัฐบาลอาเบะเพิ่งประกาศต้องการแสดงภาวะผู้นำเหนือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีนคงต้องการเตือนอาเซียนว่าอาเซียนควรร่วมมือกับจีน อยู่ร่วมกับจีนอย่างฉันท์มิตรมากกว่าที่จะเข้าพวกกับสหรัฐ ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในแนวทางต่อต้านยุทธศาสตร์ Pivot to Asia

รัฐบาลสหรัฐกับรัฐบาลมาเลเซียได้ตกลงยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีสู่ระดับ “ความเป็นหุ้นส่วนรอบด้าน” แต่ความรอบด้านมีความอ่อนไหวที่แฝงอยู่มากมาย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่มาเลเซียจะเป็นพันธมิตรสหรัฐ เว้นเสียแต่รัฐบาลสหรัฐจะยอมปิดตาข้างหนึ่ง ยอมให้รัฐบาลมาเลย์บริหารประเทศตามที่เห็นสมควร รวมทั้งเรื่อง “ภูมิบุตร”

การประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ หรือ ADIZ ของจีนเหนือน่านฟ้าทะเลจีนตะวันออก แม้อาเซียนไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ทำให้ชาติสมาชิกบางประเทศมีความกังวลไม่น้อย เมื่อคิดว่าในวันข้างหน้าจีนจะมีเขตแสดงตนในทะเลจีนใต้ อีกทั้งญี่ปุ่นพยายามดังอาเซียนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทางออกที่ดีของเรื่องนี้อยู่ที่การวางแนวปฏิบัติเพื่อลดความหวาดระแวง ป้องกันเหตุร้ายไม่คาดฝัน

อินโดนีเซียกลายเป็นอีกประเทศที่มีปัญหากับการสอดแนมดักฟังโทรศัพท์ผู้นำประเทศ รัฐบาลยูโดโยโน แสดงท่าทีแข็งกร้าวทั้งทางวาจาอื่นๆ เพราะกระทบต่อความมั่นคง กระทบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ แต่รัฐบาลแอบบอตต์ยืนยันว่าการสอดแนมเป็นเรื่องปกติ ปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของตนเช่นกัน ท่ามกลางวิวาทะพบว่าทั้งสองรัฐบาลยังรักษาความร่วมมือส่วนใหญ่ไว้ และเป็นเรื่องการตอบสนองผลประโยชน์ทางการเมืองภายในประเทศมากกว่า


นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ประกาศข้อเสนอ 7 ยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์จีน- อาเซียน (China-Asean strategic partnership) เป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งของความสัมพันธ์จีน-อาเซียน และน่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ไม่น้อยในอีก 10 ปีข้างหน้า รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับชาติสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ

ติมอร์-เลสเต จะเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 11หรือไม่
มีผู้ตั้งคำถามว่าติมอร์-เลสเต จะเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 11 หรือไม่ คำตอบเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับว่าประเทศติมอร์จะสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขการรับสมาชิกตามกฎบัตรอาเซียนหรือไม่ คำตอบที่ตรงประเด็นกว่านั้นคือขึ้นอยู่กับความพยายามของติมอร์-เลสเตในการสร้างประเทศให้เจริญรุ่งเรือง สมกับเป็นรัฐสมัยใหม่ที่พร้อมจะก้าวไปกับชาติสมาชิกอาเซียนอื่นๆ

ประเทศอินโดนีเซียดำเนินนโยบายอุดหนุนราคาน้ำมันเกือบ 5 ทศวรรษแล้ว ก่อให้เกิดปัญหาขาดดุลงบประมาณ รัฐต้องตัดงบประมาณเพื่อใช้พัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชนด้านการศึกษา การรักษาโรค สวัสดิการเพื่อสังคม ด้วยเป้าหมายช่วยเหลือคนจน แต่งานวิจัยจำนวนมากชี้ว่าคนรวยต่างหากที่ได้ประโยชน์มากกว่า
สังคมมาเลเซียมีการถกเถียงอย่างต่อเนื่องว่ารัฐบาลดูแลเอาใจใส่พลเมืองทุกเชื้อสายอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เป็นเหตุของการแข่งขันทางการเมือง สังคมแบ่งแยก ทั้งๆ ที่รัฐบาลยืนยันมาโดยตลอดว่ามีนโยบายส่งเสริมความเท่าเทียมแก่ทุกคน
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์กับรัฐบาลโอบามาขยับขึ้นอีกขั้น เมื่อประธานาธิบดีเต็ง เส่งเยือนทำเนียบขาวพบประธานาธิบดีโอบามา สองผู้นำยืนยันปฏิรูปเมียนมาร์สู่ประชาธิปไตย ท่ามกลางเสียงวิพากษ์จากนักสิทธิมนุษยชน

ความฮึกเหิมของแนวร่วมฝ่ายค้านมาเลเซียและข้อโต้แย้ง
ภายใต้การนำของนายอัลวาร์ อิบราฮิมทำให้แนวร่วมฝ่ายค้านให้ได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2008 เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ประชาชนที่สนับสนุนแนวร่วมฯ เชื่อว่าพวกเขามีโอกาสโค่นล้มการบริหารประเทศที่พรรคอัมโนเป็นแกนนำตลอด 56 ปี แต่ความหวังนั้นมีอุปสรรค ปัญหาหลายประการ


จัดการข้อพิพาททะเลจีนใต้ จัดการข้อพิพาทอาเซียน
ข้อพิพาททะเลจีนใต้ (ฟิลิปปินส์) เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกยืดเยื้อมานานหลายทศวรรษ ในมุมหนึ่งอาจมองว่าไม่ค่อยมีความคืบหน้า เป็นการเจรจาที่ไร้ที่สุดสิ้น แต่ภายใต้สภาพดังกล่าวชาติสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันอย่างสันติ อยู่กับจีนอย่างสงบสุข เป็นการบริการจัดการข้อพิพาททั้งภายในอาเซียนด้วยกันและระหว่างอาเซียนกับจีน

สุนทรพจน์ของเลขาธิการอาเซียนคนเก่ากับคนปัจจุบันมีความเหมือนและต่างกันอย่างไร ให้คิดสำคัญประการใด

สหรัฐฯ สามารถใช้ TPP เพื่อปิดล้อมจีนได้หรือไม่
มีการวิพากษ์วิจารณ์หนาหูว่าเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาหวังจากความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก คือเพื่อสกัดกั้น ปิดล้อม อิทธิพลของจีนต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและต่อโลก

ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เข้าใจสถานการณ์เป็นอย่างดี ได้กล่าวว่า ในขณะที่นานาชาติจับจ้องการการเปลี่ยนผ่านมาสู่ระบอบประชาธิปไตย ความวุ่นวายอาจทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสื่อมเสีย

การสร้างความสนิทสนมระหว่างบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีย่อมช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี แล้วสิ่งดีๆ อื่นๆ จะตามมา

------------------------------
รายชื่อบทความชุดเข้าใจอาเซียน
            บทความชุด เข้าใจอาเซียน นำเสนอเรื่องราวของอาเซียนหลากหลายแง่มุม มุ่งให้เข้าใจอย่างเป็นระบบ เหมาะสำหรับผู้สนใจทั่วไป ผู้สนใจเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวของอาเซียนอย่างจริงจัง เลือกประเด็นที่น่าสนใจและควรเข้าใจเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในระดับวิชาการ
            หากท่านใดมีข้อเสนอแนะหรือสนใจประเด็นใดสามารถติดต่อผ่าน Facebook ที่ Chanchai CK

            รายชื่อบทความ: บทความจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จัดเรียงลำดับตามเนื้อหาก่อนหลัง

อาเซียนก่อตั้งมาเกือบ 50 ปีแล้ว อาเซียนมีความร่วมมือหลากหลายด้าน แต่อะไรเป็นจุดเริ่มต้นหรือวัตถุประสงค์สำคัญเมื่อเริ่มแรกก่อตั้ง
ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2556 http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=402&filename=index_2
ทุกคนทราบว่าอาเซียนมีชาติสมาชิกสิบประเทศ แต่แรกเริ่มมีเพียงห้าประเทศ ต่อมารวมเอาประเทศในภูมิภาคเข้ามาอีกห้าประเทศ อะไรคือเหตุผลของการเพิ่มจำนวนสมาชิก
บทความนี้อธิบายว่าทำไมอาเซียนจึงไม่ขยายจำนวนมากกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งๆ ที่มีประเทศขอเข้าร่วมกลุ่มบทความ เข้าใจอาเซียน ตอนความสำคัญของการศึกษาวิถีอาเซียน
อาเซียนมีลักษณะเฉพาะของตน ถูกขนานนามว่าเป็น “วิถีอาเซียน” (ASEAN way) การศึกษาอาเซียนควรเข้าใจวิถีอาเซียนก่อน บทความนี้อธิบายความสำคัญของการศึกษาวิถีอาเซียน
บทความนี้อธิบายจำแนกลักษณะวิถีอาเซียน อธิบายแต่ละลักษณะโดยสังเขป
บทความนี้อธิบายการใช้ประโยชน์จากลักษณะวิถีอาเซียน โดยเฉพาะเพื่อการศึกษา วิจัย
คนจำนวนมากยังติดปากเรียกว่า “พม่า” แม้รัฐบาลเมียนมาร์ขอให้เรียกชื่อประเทศตนว่า “เมียนมาร์” แต่บางคนบางประเทศยืนยันเรียกชื่อเดิม เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
------------------------------------------------

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุดมการณ์ทางการเมือง (1) นิยาม อุดมการณ์ทางการเมือง

อุดมการณ์ทางการเมือง (2) อุดมการณ์เสรีนิยม

กำเนิด “รัฐสมัยใหม่” ตัวแสดงเอกของโลก