สหรัฐอเมริกา

หมวดสหรัฐอเมริกา ได้ย้าย address ใหม่ โปรดคลิก 2 ครั้งที่ 

ผลงาน 2016
ทิศทาง American exceptionalism ของฮิลลารี คลินตัน
เมื่อผู้นำประเทศ ผู้นำการเมืองสหรัฐฯ เอ่ยถึง “American exceptionalism” คือช่วงเวลาที่เชิดชูความพิเศษโดดเด่นของอเมริกาว่าเหนือประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ การแสดงความรักนับถือต่อประเทศตัวเองเป็นเรื่องควรส่งเสริม ในขณะเดียวกัน ฮิลลารีไม่ต่างจากผู้นำคนอื่นๆ ในอดีต (ไมว่าจะพรรครีพับลิกันหรือเดโมแครท) ที่ระบุชัดว่าประเทศใดเป็นศัตรู หากฮิลลารีได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป คาดเดาได้ว่าอเมริกาจะยังอยู่ในสงครามต่อไป เป็นส่วนหนึ่งของความเป็น “American exceptionalism” ในตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา

หลักนโยบายของ‘ทรัมป์’ เหมือนหรือแตกต่าง
นโยบายปรับความสัมพันธ์กับรัสเซีย ให้ความสำคัญกับการจัดการผู้ก่อการร้าย IS มากกว่าล้มระบอบประธานาธิบดีอัสซาด เป็นประเด็นที่แตกต่างจากท่าทีเดิมของรีพับลิกัน นโยบายให้พันธมิตรนาโต เกาหลีใต้ช่วยแบกรับค่าใช้จ่าย นโยบายการค้ายุติธรรม (fair trade) เป็นเรื่องเก่าดำเนินมาแล้วหลายรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเก่าหรือใหม่ การหาเสียงของโดนัลด์ ทรัมป์มีเป้าหมายสำคัญคือมุ่งทำลายคะแนนของฮิลลารี คลินตัน เป็นส่วนหนึ่งของหลัก “อเมริกาต้องมาก่อน” ของทรัมป์


ผู้ที่เข้าใจมาตรการป้องกันก่อการร้ายของสหรัฐจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าข้อเรียกร้องของโดนัลด์ ทรัมป์ที่ให้ตรวจตราติดตามมุสลิมทุกคนเปล่าประโยชน์ เพราะตามกฎหมายแล้วใครก็ตามที่เข้าข่ายต้องสงสัยจะถูกตรวจสอบติดตามทันทีไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ ข้อเสนอของทรัมป์ช่วยให้เขาได้คะแนนนิยมทิ้งห่างผู้สมัครพรรคเดียวกัน ความจริงคือไม่ว่า “อิสลามหัวรุนแรง” เป็นภัยคุกคามจริงแท้เพียงไร ชาวอเมริกันที่ชื่นชอบพรรครีพับลิกันหลายคนเชื่อเช่นนั้น มุสลิมอเมริกัน 3 ล้านคนจึงกลายเป็นแพะรับบาปเพราะทรัมป์

โดนัลด์ ทรัมป์ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐไม่พลาดโอกาสนำเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ออร์แลนโด้มาสนับสนุนนโยบายกีดกันมุสลิมบางกลุ่มเข้าประเทศ เทคนิคการหาเสียงทรัมป์สรุปสั้นๆ ได้ว่า “เล่นกับความรู้สึก” ของคน โดยขยายความประเด็นนั้นๆ ให้รุนแรงที่สุด (สร้างความรู้สึกให้แรงสุด) โจมตีผู้สมัครคนอื่นว่าผิดหมด (ทำลายแนวทางเลือกอื่นๆ) พร้อมกับเสนอวิธีแก้ไขที่ไม่อาจสมเหตุผลแต่ตอบสนองความรู้สึกของผู้ที่มองแง่ลบต่อมุสลิมอยู่แล้ว

วิพากษ์รายงานภัยคุกคามต่อสหรัฐ 2016
รายงานของผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองให้ภาพว่าสหรัฐถูกคุกคามด้วยอะไรบ้าง อะไรเป็นภัยคุกคามร้ายแรง ให้ภาพว่าสหรัฐเป็น “ฝ่ายถูกกระทำ” จึงต้องป้องกัน โต้ตอบ โดยปราศจากมุมมองของฝ่ายตรงข้าม เป็นการมองโลกผ่านมุมของตัวเองเท่านั้น และไม่ตรงข้อเท็จจริงทั้งหมด รายงานเช่นนี้เป็นประโยชน์ต่อพลเมืองอเมริกันมากน้อยเพียงใด

ทรัมป์เอาใจอิสราเอล จุดอ่อนประชาธิปไตย
เป็นหลักการที่ถูกต้องถ้าผู้พูดเลือกพูดประเด็นที่ผู้ฟังสนใจ ผู้ฟังจะชอบใจถ้าได้ฟังเรื่องที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อตน แต่การหาเสียงด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นการชี้นำสังคมไปผิดทิศผิดทาง ไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ที่ประกาศตัวอาสาเป็นตัวแทนประชาชนรับใช้ประเทศ กรณีทรัมป์หาเสียงเพื่อเอาใจพวกที่นิยมชมชอบอิสราเอลเป็นกรณีตัวอย่าง เป็นจุดอ่อนประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง

ผลงาน 2015


หลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” ที่ประกาศในสมัยประธานาธิบดีบุชนิยามว่าเป็นส่งกองทัพเข้ารุกรานอย่างเปิดเผย เป็นนิยามที่ไม่ครอบคลุม บิดเบือน จึงต้องกำหนดนิยามใหม่ อีกประเด็นที่ไม่ควรละเลยคือความเชื่อมโยงกับการส่งเสริมประชาธิปไตย การค้าเสรี คำถามที่สำคัญคือ รัฐบาลโอบามาได้ละทิ้งหลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” หรือไม่ หรือเป็นเพียงปรับตัวให้เข้ากับบริบท


ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศขึ้นกับผู้นำประเทศเป็นสำคัญ รัสเซียในยุคปูตินกำลังฟื้นตัวตามลำดับ ปูตินเป็นนายกฯ สมัยแรกในปี 1999 และเป็นประธานาธิบดีสมัยแรกในปี 2000 จากนั้นครองอำนาจมาโดยตลอด หากทุกอย่างราบรื่นท่านน่าจะชนะการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2018 ได้เป็นประธานาธิบดีถึงปี 2024 รัสเซียคงจะเจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้นอีกมาก ภายใต้มุมมองของรัฐบาลสหรัฐย่อมเห็นว่าเป็นภัยคุกคาม 


เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง พื้นที่ที่เป็นปัญหาในขณะนี้เป็นเพียงพื้นที่เล็กๆ เท่านั้น เป็นไปได้ว่ารัฐบาลโอบามาเห็นว่าจำต้องให้ความช่วยเหลือกองทัพยูเครนล้อมกรอบฝ่ายต่อต้านต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์บ่อนทำลายรัสเซีย คาดว่าจะต้องดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดัชนีราคาน้ำมันน่าจะเป็นตัวสะท้อนชี้ความขัดแย้งนี้

ผลงาน 2014
การประชุมสุดยอดผู้นำจีน-สหรัฐ 2014: งานประชาสัมพันธ์ชาติมหาอำนาจ
การประชุมผู้นำจีน-สหรัฐในปีนี้ จะเป็นอีกครั้งที่ผู้นำจีนประกาศจุดยืนต่อประชาคมโลก ว่าตนต้องการสันติภาพ ต้องการเป็นมิตรกับทุกประเทศ ส่วนรัฐบาลโอบามาไม่ว่าจะพูดกับจีนอย่างไร ยังคงเดินหน้าตามแผนเสริมกำลังรบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กองกำลังอีกส่วนที่กำลังปฏิบัติการโจมตีกองกำลังรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) ก็ยังคงเดินหน้าต่อ เช่นเดียวกับงานจารกรรมประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประเทศทั้งหลายต้องระวังที่จะไม่ก้าวข้ามเส้นต้องห้ามของจีน จีนยังต้องการเป็นมิตรในระยะนี้

รองประธานาธิบดีไบเดนชี้ว่าปัญหาวุ่นวายในซีเรียที่ยืดเยื้อกว่า 3 ปีครึ่ง ผู้คนล้มตายกว่า 200,000 คน มาจากพันธมิตรในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่ในอีกมุมหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลโอบามาประกาศนโยบายโค่นล้มรัฐบาลอัสซาด และยังยืนยันนโยบายจนถึงบัดนี้ นอกจากนี้ยังสนับสนุนฝ่ายต่อต้านเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลโอบามากำลังดำเนินนโยบายเพื่อคนอเมริกันหรือเพื่อใครกันแน่

ในโลกมุสลิมมีผู้เชื่อว่าซุนนีกับชีอะห์มีความขัดแย้ง และในขณะนี้มีผู้พยายามอ้างว่าสงครามในซีเรียกับอิรักคือสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์ โดยเชื่อมโยงว่า IS คือเครื่องมือของซุนนี แต่เมื่อองค์กร ผู้นำจิตวิญญาณอิสลามประกาศชัดว่า IS ไม่ใช่อิสลาม การอ้าง IS เป็นเหตุผลสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์จึงตกไป น่าแปลกใจที่รองประธานาธิบดีไบเดนกลับพยายามดึง IS เข้าไปอยู่ในอิสลาม ยังยืนยันว่า IS อยู่ในกลุ่มซุนนี กำลังทำสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์

รองประธานาธิบดีไบเดนอ้างว่ารัฐบาลตุรกี ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ ให้เงินและอาวุธกับผู้ก่อการร้าย รวมทั้งกลุ่ม IS แม้ว่าทำเนียบขาวจะชี้แจงว่าท่านไม่ได้ตั้งใจหมายความเช่นนั้นจริง แต่เป็นอีกข้อมูลอีกชิ้นที่ชี้ว่าชาติอาหรับให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย และเกิดคำถามว่าคำพูดของท่านสร้างความกระจ่างหรือสร้างความสับสนกันแน่

ก่อนหน้านี้รัฐบาลโอบามาไม่เห็นด้วยกับการให้อาวุธประสิทธิภาพสูงแก่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย ไม่สนับสนุนการจัดตั้งเขตห้ามบิน ชาวอเมริกันต่อต้านการใช้กำลังทางอากาศโจมตีกองทัพอัสซาด แต่บัดนี้ นโยบายต่อซีเรียเหล่านี้กลับกลายเป็นตรงข้าม รัฐบาลโอบามาอาศัยการต่อต้านการก่อการร้าย แนบนโยบายซีเรียที่ชาวอเมริกันเคยต่อต้าน เข้าไปอยู่ในส่วนหนึ่งของแผนต่อต้าน IS 

มีความเป็นไปได้ว่าผู้ก่อการร้ายที่อาจก่อเหตุในอนาคตจะเป็นพลเมืองอเมริกัน และชาวอเมริกันต้องอยู่กับภัยคุกคามนี้อีกนาน เป็นกระแสภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายรอบที่ 2 หลังจากเหตุ 9/11 เมื่อ 13 ปีก่อน หากเกิดเหตุวินาศกรรมครั้งใหญ่ไม่แพ้กรณี 9/11 เมื่อถึงคราวนั้นสังคมอเมริกาคงต้องตัดสินใจอีกครั้ง และต้องคอยดูว่าเมื่อถึงตอนนั้นผู้เป็นประธานาธิบดีจะตื่นตระหนกตกใจรีบเร่งส่งกองทัพเข้าสู่ตะวันออกกลางหรือไม่

ประธานาธิบดีโอบามาชี้ว่าวิธีต่อต้านผู้ก่อการร้าย IS ที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้คือใช้กำลังทางอากาศ สนับสนุนพันธมิตรและหุ้นส่วน เพิ่มการสนับสนุนกองกำลังประเทศอื่นๆ ที่เข้ารบทางภาคพื้นดิน เป็นการแสดงให้โลกเห็นถึงภาวะผู้นำของอเมริกา แต่จนบัดนี้ รัฐบาลโอบามายังไม่ใช้คำว่า “ทำสงครามกับ IS” ในขณะที่ IS แถลงอย่างชัดเจนให้สมาชิกสังหารชาวตะวันตกทุกประเทศที่เข้าร่วมโจมตี IS ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นทหารหรือพลเรือน ดังนั้น โอกาสที่ IS จะก่อความรุนแรงในประเทศอื่นๆ ย่อมมีตลอดเวลา

ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศแล้วว่า ภายในสิ้นปี 2014 สหรัฐจะยุติภารกิจรบ พร้อมกับถอนกำลังส่วนใหญ่ ให้เหลือเพียง 9,800 นาย และจะถอนทหารทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานภายในปี 2016 ทำให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลคาบูลในอนาคตจะมีความมั่นคงหรือไม่ สหรัฐประสบความสำเร็จในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายหรือ ในเมื่อฐานที่มั่นตอลีบันยังอยู่ พวกอัลกออิดะห์ขยายตัว กระจายตัวไปหลายประเทศ

เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแสดงสุนทรพจน์ที่เกี่ยวข้องนโยบายต่างประเทศมักจะมีการเอ่ยถึงAmerican exceptionalism หรือหลักการที่อยู่ภายในลัทธิหรือแนวคิดดังกล่าว แม้เป็นคำที่มีการพูดถึงแต่ในทางวิชาการเป็นที่ถกเถียงในความหมาย อีกทั้งพบว่าบ่อยครั้งผู้ใช้แต่ละคนจะใช้ในความหมายที่แตกต่างกันด้วยเหตุผลเฉพาะเจาะจง บทความนี้จะอธิบายความหมาย การนำไปใช้ ผลที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกด้านลบ และข้อวิพากษ์
หมายเหตุ: บทความนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอน

หลายประเทศทั่วโลกกำลังอยู่ระหว่างปรึกษาหารือจัดทำร่างข้อมติสมัชชาสหประชาชาติเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของบุคคล หวังป้องกันไม่ให้ทางการสหรัฐฯ ทำการสอดแนมจนเกินความจำเป็น ในอีกด้านหนึ่งเรื่องดำเนินในทิศทางว่าด้วยแรงกดันทางการเมืองระหว่างประเทศทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ จำต้องปรับการทำงานของ NSA เพื่อให้เรื่องราวอันเนื่องจากการเปิดโปงของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนจบลงด้วยดี

ผลงาน 2012-23

ปฏิบัติการเปิดโปง NSA ของเอ็ดเวิร์ดสโนว์เดน
นับวันคนทั่วโลกจะรับทราบข้อมูลการสอดแนมของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐหรือ NSA และกลายเป็นที่วิพากษ์ว่าเหมาะสมหรือไม่ รัฐบาลหลายประเทศไม่อาจทนนิ่งเฉยต้องหากไม่ต่อต้านการสอดแนมก็คือต่อต้านการเปิดโปง เรื่องที่เกิดขึ้นมีข้อคิดหลายแง่มุม เช่น มีความจำเป็นเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนนับล้าน การกระทบต่อความมั่นคงของชาติ เรื่องของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนยังไม่จบเพียงเท่านี้

จากโอบามาแคร์สู่การเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ
ปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณกลายเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อรัฐบาลโอบามากับพรรคฝ่ายค้านยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อให้ผ่านร่างงบประมาณ ส่งผลให้หน่วยงานราชการบางส่วนต้องปิดทำการชั่วคราว แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือรัฐบาลอเมริกันอาจต้องผิดนัดชำระหนี้หากไม่สามารถปรับเพิ่มเพดานหนี้ก่อนวันที่ 17 ตุลาคม แต่คาดว่าที่สุดแล้วสองฝ่ายจะบรรลุข้อตกลง

นโยบายโจมตีซีเรีย ประเด็นถกเถียงประชาธิปไตยอเมริกา
ข่าวการโจมตีซีเรียทำให้สังคมอเมริกาตื่นตัว ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เกิดประเด็นถกเถียงว่ารัฐบาลโอบมาเข้าใจความต้องการของประชาชนหรือไม่ หรือว่าคนอเมริกันต่างหากที่ต้องเข้าใจความเป็นไปของโลกให้มากกว่านี้ หรือว่าแท้ที่จริงแล้วการตัดสินใจของรัฐบาลขึ้นกับหลายปัจจัย คำว่า “เพื่อประชาชน” มีความหมายซับซ้อนกว่าที่คิด

รัฐบาลโอบามาใช้หลักฐานการโจมตีด้วยอาวุธเคมีเพียงครั้งเดียวกับอ้างหลักการว่าทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อโจมตีซีเรีย โดยละทิ้งกระบวนการของสหประชาชาติ กฎเกณฑ์ ระบบความมั่นคงของโลก


จากที่ลังเลใจมาตลอดหนึ่งปี พยายามเลื่อนการตัดสินใจว่าใครเป็นผู้ใช้อาวุธเคมีในซีเรีย เหตุการณ์การใช้อาวุธเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม กลายเป็นข้ออ้าง เป็นจุดเปลี่ยนนโยบายของโอบามาต่อซีเรีย สหรัฐคิดโจมตีกองทัพรัฐบาลอัสซาดด้วยตนเอง ด้วยไม่ฟังคำทัดทานจากหลายประเทศ เหตุผลหลักประการหนึ่งคือต้องการช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

ความก้าวหน้าเทคโนโลยีทำให้ Shale gas กับ tight oil กลายเป็นแหล่งปิโตรเลียมใหม่ของโลก มีผลต่อวงการอุตสาหกรรมน้ำมัน คาดว่าตลาดน้ำมันโลกจะมีผู้ผลิตรายใหม่เกิดขึ้น สหรัฐฯ อาจกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก บทบาทของโอเปกลดลง

จารกรรม สอดแนม สายลับพฤติกรรมอันดาษดื่น
การเปิดเผยเรื่องราวของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เป็นอีกครั้งที่ทำให้สังคมโลกตระหนักว่ารัฐได้ดำเนินการจารกรรม สอดแนม สายลับอย่างต่อเนื่อง และชี้ว่าสื่อโซเชียลมีเดีย เครือข่ายสังคมออนไลน์คือช่องทางการได้ข้อมูลตามการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี พัฒนาการของสังคมโลก

ข่าวการใช้อาวุธเคมีซารินในซีเรียกลายเป็นเรื่องจริง แต่ยังสับสนว่าฝ่ายใดเป็นผู้ใช้ ที่ผ่านมาซารินทำให้ผู้คนเสียชีวิตบาดเจ็บไม่มาก แต่กลับมีผลทางการเมืองระหว่างประเทศอย่างมากทั้งต่อซีเรียและชาติมหาอำนาจอย่างอเมริกา

แม้การเยือนอิสราเอลของประธานาธิบดีบารัก โอบามาจะไม่มีนโยบายใหม่แต่ประการใด ในอีกแง่มุมหนึ่งคือการตอกย้ำนโยบายเดิมว่ายังต้องการแก้ไขปัญหาโครงการนิวเคลียร์อิหร่านด้วยวิถีทางการทูตก่อน และจะไม่ยอมให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองเป็นอันขาด เป็นโอกาสที่สหรัฐกับอิสราเอลร่วมส่งสาสน์เตือนอิหร่านอีกครั้ง

ความร่วมมือสหรัฐกับจีนต้านภัยนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ
เวลากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนด้านความมั่นคงมักจะเป็นความขัดแย้งเสียมากกว่าแต่กรณีเกาหลีเหนือเป็นข้อยกเว้น สองมหาอำนาจสามารถร่วมมือกันได้ ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐบาลบารัก โอบามาเน้นแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางทูตไม่หวังยกระดับความขัดแย้ง


โทนเสียงที่เปลี่ยนไปของบารัก โอบามา
ตลอดคำแถลงนโยบายประธานาธิบดีโอบามากล่าวให้ความสำคัญต่อพรรคคู่แข่งคือพรรครีพับลิกันเป็นระยะๆ เรียกร้องความร่วมมือจากพรรคฝ่ายค้านหลายครั้งหลายหน

การเมืองในประเทศ ขวากหนามโอบามาขวากหนามอเมริกา
อุปสรรคสำคัญในการบริหารประเทศสมัยที่สองของประธานาธิบดีบารัก โอบามา คือปัญหาการเมืองภายในสหรัฐฯ ความแตกแยกระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกัน

ประเด็น Fiscal Cliff จึงไม่ใช่เพียงเรื่องจะควรขึ้นภาษีคนมีฐานะดี ปรับลดงบประมาณสวัสดิการหรือขึ้นเพดานเงินกู้ แต่รวมถึงหลักนโยบายเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน การขับเคี่ยวทางการเมืองที่พรรครีพับลิกันจะไม่อ่อนข้อให้

ความสำเร็จของสหรัฐฯ ในการพัฒนา shale gas กับ shale oil จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมน้ำมันโลก ต่อวงการน้ำมันโลกอย่างแน่นอน 

มีการวิพากษ์วิจารณ์หนาหูว่าเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาหวังจากความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก คือเพื่อสกัดกั้น ปิดล้อม อิทธิพลของจีนต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและต่อโลก

บทบาทของสหรัฐอเมริกาต่อการปฏิรูปทางการเมืองอียิปต์
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการโค่นล้มระบอบของประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค มีรัฐบาลอเมริกันเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ช่วยให้ประเทศอียิปต์ได้รัฐบาลใหม่ นำโดยประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ประธานาธิบดีโอบามากล่าวกับประธานาธิบดีมอร์ซี ว่าสหรัฐสนับสนุนประชาชนอียิปต์และการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เคารพสิทธิของประชาชนอียิปต์ทุกคน

Fiscal Cliff เป็นเพียงอาการแสดงออกอย่างหนึ่งของปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังนั้นเมื่อพูดถึงประเด็นนี้จึงหมายถึงการพูดถึงปัญหาเศรษฐกิจ

ประธานาธิบดีบารัก โอบามาได้ครองตำแหน่งต่ออีกสมัย ไม่ใช่ประธานาธิบดีมือใหม่ เป็นผู้นำประเทศที่มีฐานะเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลก แต่ใช่ว่าจะสามารถบันดาลทุกเรื่องทุกอย่างให้เป็นไปตามความประสงค์

นายรอมนีย์อาจชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนน popular votes ที่ต่ำกว่า เพราะท้ายที่สุดผู้ชนะการเลือกตั้งจะตัดสินจากคะแนน electoral votes เท่านั้น

นายรอมนีย์ก็เชื่อเช่นนั้น ครั้งหนึ่งถึงกับกล่าวว่าถ้าเขาชนะการเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤศจิกายน ความรู้สึกแง่บวกต่ออนาคตประเทศจะเกิดขึ้นทันที เงินทุนจะไหลกลับเข้ามา เศรษฐกิจจะถูกกระตุ้น ทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้ทำอะไรเลย

เหลือเวลาอีกสัปดาห์เศษก่อนวันเลือกตั้ง ประธานาธิบดีบารัก โอบามาชูประเด็นแก้ไขปัญหาหนี้สินประเทศเป็นประเด็นเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในการหาเสียง

และมาถึงวันนี้ หลังจากทำหน้าที่มาสี่ปี เดินทางมาแล้วเกือบ 1 ล้านไมล์ เยี่ยมเยือน 112 ประเทศ ทำให้ข้าพเจ้ายิ่งมีความเชื่อมั่นต่อประเทศของเรา…”

ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาล้วนเป็นประเด็นเด่นที่อยู่ในสื่อกระแสหลักของอเมริกามาอย่างต่อเนื่อง แต่ละประเด็นมีจุดเด่นในตัว

รมต.ฮิลลารี คลินตัน กล่าวแสดงความรับผิดชอบว่า ดิฉันเป็นผู้รับผิดชอบ ดิฉันบริหารกระทรวงการต่างประเทศที่มีเจ้าหน้าที่กว่า 6 หมื่นคนในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก 275 แห่ง

ต่างฝ่ายต่างหยิบยกจุดที่อีกฝ่ายจะเสียคะแนนขึ้นมาพูด และต่างฝ่ายได้เตรียมคำตอบแก้ไว้ก่อนแล้ว

หนึ่งในเรื่องสำคัญที่สังคมอเมริกันกำลังให้ความสนใจคือเรื่องการปรับขึ้นภาษีพร้อมกับลดรายจ่าย ที่เรียกว่า ‘Fiscal Cliff’

การอภิปรายรอบนี้เป็นรอบแรก คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นการหยั่งเชิงอีกฝ่ายว่าจะหยิบยกประเด็นใด พูดอย่างไร เพื่อแก้หรือตอบโต้ในรอบต่อไป

ต้องไม่ลืมว่า ณ ขณะนี้สหรัฐฯ กำลังทำสงครามกับอัลกออิดะห์ ประเทศอัฟกานิสถาน ชายแดนปากีสถานยังเป็นสมรภูมิรบอยู่

ประธานาธิบดีโอบามาตระหนักว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะสถิติการเลือกตั้งประธานาธิบดีชี้ว่าถ้าอัตราว่างงานเกินร้อยละ 7 ผู้ที่เป็นปธน.อยู่แล้วจะมีโอกาสแพ้การเลือกตั้งถึงร้อยละ 75 

สำหรับบางคนมีความหมายมากเป็นพิเศษ แต่ไม่น่าจะมีความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) เท่าไรนัก

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกครั้งนักวิชาการ นักวิเคราะห์ สื่อมวลชนไทยและทั่วโลกจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะนโยบายสหรัฐฯ (บางอย่าง) มีผลต่อกระทบกว้างขวางระดับโลก 

ถ้าจะออกมาตรการกระตุ้นก็ด้วยวัตถุประสงค์เพิ่มการจ้างงาน และเนื้อหาของมาตรการฯ ไม่ว่าจะเรียก QE3 หรือไม่น่าจะแตกต่างจาก QE หรือมาตรการที่ผ่านมา

โฆษกทำเนียบขาวจะออกมาให้ข่าวว่าเป็นนโยบายของประธานาธิบดีโอบามา ที่การระบายน้ำมันจากคลังสำรองยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve) เป็นหนึ่งในวิธีแก้ไขปัญหาน้ำมันแพง

ภัยแล้งสหรัฐฯ ไม่ใช่ปัจจัยลบเพียงข้อเดียวที่กระทบต่อราคาอาหารโลก แต่เป็นตัวจุดชนวนให้ทั่วโลกต้องสนใจกับสถานการณ์ราคาอาหารและสินค้าที่เกี่ยวข้องว่ากำลังจะไปทิศทางใด

เป็นไปได้ไหมว่า QE3 คือสัญญาณชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังอยู่ในภาวะขับเคี่ยวระหว่างการฟื้นตัวกับการถดถอยรอบใหม่ หรือกำลังตอกย้ำว่าสหรัฐฯยังไม่ได้ผ่านพ้นวิกฤติ 2008

รัฐบาลโอบามาที่มีนโยบายชัดเรื่องหวนคืนเอเชีย การเสริมสร้างกำลังทหารในภูมิภาคนี้ และนโยบายถือจีนเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งที่ดำเนินมาหลายปีแล้ว

การที่สหรัฐฯสามารถผลิตน้ำมันดิบใช้เองมากขึ้นในอนาคต ไม่ได้หมายความว่าคนอเมริกันจะได้ใช้น้ำมันราคาถูกเสมอไป เหตุเพราะภายใต้กลไกการค้าเสรี ราคาน้ำมันดิบเป็นราคาที่เชื่อมโยงกันทั้งโลก
--------------