เข้าใจโรฮิงญา: ตอน บังคลาเทศไม่ต้อนรับโรฮิงญา
ประเทศบังคลาเทศเริ่มมีส่วนเกี่ยวข้องกับชาวโรฮิงญาอย่างจริงจังเมื่อชาวโรฮิงญาจากรัฐยะไข่
(หรือรัฐอะระกัน) จำนวนมากเริ่มอพยพเข้าประเทศบังคลาเทศในปี 1991 พอถึงเดือนกรกฎาคม 1992 จำนวนผู้อพยพสูงถึง 270,000 คน ผู้อพยพหลายคนให้การว่าทหารเมียนมาร์ละเมิดสิทธิมนุษยชนเพราะต้องการให้ชาวโรฮิงญาอพยพออกจากประเทศ
พรมแดนทางบกของบังคลาเทศถูกล้อมรอบด้วยประเทศอินเดียเกือบทั้งหมด
ยกเว้นบริเวณติ่งทางตะวันออกเฉียงใต้มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเมียนมาร์ เป็นช่องทางบกที่ชาวโรฮิงญาใช้เวลาเดินไม่นาน
เป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาวโรฮิงญาเลือกอพยพเข้าบังคลาเทศ
เมื่อชาวโรฮิงญาอพยพมาถึงก็พบว่ารัฐบาลบังคลาเทศไม่ถือว่าโรฮิงญาเป็นพลเมือง
แม้มีลักษณะหน้าตา ภาษาและนับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน โดยให้เหตุผลว่าพวกเขาอาศัยอยู่ในดินแดนของเมียนมาร์ตั้งแต่ยุคอาณานิคมแล้ว
ก่อนก่อตั้งประเทศบังคลาเทศเสียอีก
นอกจากนี้รัฐบาลบังคลาเทศไม่มีนโยบายดูแลผู้ลี้ภัยโรฮิงญาอย่างเต็มที่
โดยให้เหตุผลว่าบังคลาเทศยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย (United
Nations Refugee Convention)
ผลคือ ในปี 2011 ผู้อพยพโรฮิงญาหลายหมื่นคนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านอาหาร
ไม่อนุญาตให้ทำงานหาเลี้ยงชีพ และยังต้องอยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ เพราะรัฐบาลเมียนมาร์ไม่รับกลุ่มคนดังกล่าวกลับประเทศ
ส่วนผู้อพยพที่ได้รับการจดทะเบียนแม้ได้รับความช่วยเหลือแต่อยู่ในสภาพที่ไม่มีอนาคต
หลายคนอยู่ในสภาพเช่นนี้มานานเป็นสิบปี (พวกที่มาตอนต้นทศวรรษ 1990)
ประวัติศาสตร์บังคลาเทศ
บันทึกแรกๆ ของชาวตะวันตกที่กล่าวถึงอาณาจักรเบงกอลโบราณคือเรื่องราวของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช
ขณะเมื่อพระองค์พากองทัพบุกมาถึงดินแดนที่เป็นอินเดียปัจจุบันและถามว่าดินแดนที่ถัดจากอินเดียโดยมีแม่น้ำคงคาเป็นตัวกั้นคืออะไร
กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ได้คำตอบว่าเป็นดินแดนของสองชนชาติ คือ Pharrasii กับ Gandaridai เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อราวก่อนคศ.
326
เรื่องราวของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์ที่นำเสนอเป็นเพียงข้อบ่งชี้ว่านักประวัติศาสตร์ตะวันตกบันทึกว่า
ในโบราณกาลฝั่งตะวันออกของแม่น้ำคงคาอันเป็นที่ตั้งของประเทศบังคลาเทศในปัจจุบันเคยมีอาณาจักรโบราณ
มีกษัตริย์ของตนปกครองอยู่
เมื่อมาถึงยุคล่าอาณานิคม อังกฤษได้ยึดครองดินแดนแถบนี้
รวมทั้งส่วนที่เป็นอินเดียกับปากีสถานในปัจจุบัน ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของบริติชราช
หรืออินเดียของบริเตน (British India)
ต่อมาในปี 1947
ปากีสถานตะวันตก (หรือประเทศปากีสถานในปัจจุบัน) กับเบงกอลตะวันออก (หรือประเทศบังคลาเทศในปัจจุบัน) แยกตัวออกจากอินเดียและกลายเป็นประเทศปากีสถาน โดยที่เบงกอลตะวันตกยังถือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย
ในระยะนี้ เบงกอลตะวันออกหรือปากีสถานตะวันออกมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศปากีสถาน
โดยมีประเทศอินเดียคั่นกลาง และด้วยระยะทางที่ทั้งสองดินแดนที่ห่างไกลกันถึง 1,600
กิโลเมตรทำให้ยากแก่การปกครอง อีกทั้งเบงกอลตะวันออกเรียกร้องปกครองตนเอง ในปี 1971
เบงกอลตะวันออกหรือปากีสถานตะวันออกจึงแยกตัวออกจากปากีสถานและตั้งชื่อว่าเป็นประเทศบังคลาเทศจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้น
ประเทศบังคลาเทศตามแนวคิดรัฐชาติสมัยใหม่จึงเพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 1971 คำว่า
“บังคลาเทศ” หมายถึง “ประเทศของเบงกอล” (Country of Bengal) มีเมืองหลวงชื่อธากา (Dhaka)
ผู้ที่อ้างว่าโรฮิงญาเป็นคนเบงกาลีหรือคนธากา (Dhaka) กำลังชี้ว่าพวกโรฮิงญาเป็นคนบังคลาเทศนั่นเอง
การอพยพในช่วงต้นทษศวรรษ 1990 ยุติเมื่อความกังวลในหมู่ประเทศมุสลิมทำให้สหประชาชาติเข้าแทรกแซง
องค์กรเอกชน Asia Watch
เชื่อว่าการที่โรฮิงญาไม่อพยพอีกไม่ใช่เพราะสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์ดีขึ้น
แต่เนื่องจากตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 1992 เป็นต้นมา รัฐบาลเมียนมาร์ส่งทหารเฝ้าตลอดแนวพรมแดนสองประทศเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวโรฮิงญาอพยพเข้าไปในประเทศบังคลาเทศอีก
ไม่กี่เดือนต่อมาผู้อพยพมุสลิมเหล่านี้เริ่มกลับสู่ถิ่นฐานในเมียนมาร์
ข้อมูลจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน 1993 ผู้อพยพเกือบ 5 หมื่นคนได้กลับคืนถิ่นฐานเดิม
และในเดือนดังกล่าวรัฐบาลเมียนมาร์อนุญาตให้ UNHCR เข้าไปดูแลติดตามการกลับคืนถิ่นฐานดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม
ปัจจุบันยังมีผู้ลี้ภัยโรฮิงญาจำนวนหนึ่งในบังคลาเทศ
จากเรื่องราวที่นำเสนอจะพบว่า
การอพยพเข้าบังคลาเทศเป็นช่องทางที่ใกล้
แต่เนื่องจากรัฐบาลบังคลาเทศยังไม่มีนโยบายดูแลผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
อีกทั้งประกาศชัดเจนว่าโรฮิงญาไม่มีฐานะเป็นพลเมืองประเทศ
ชาวโรฮิงญาที่มาถึงบังคลาเทศจึงไม่ได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ และต้องอพยพช่องทางอื่นๆ
ตราบเท่าที่ยังไม่อาจอยู่ในประเทศเมียนมาร์อย่างเป็นปกติสุข
5 กุมภาพันธ์ 2013
ชาญชัย คุ้มปัญญา
------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง:
1.ประเด็นโลก
ประเด็นร้อน 29 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2012 โรฮิงญาโจทย์ของรัฐบาลเมียนมาร์ที่กำลังปฏิรูปประเทศ
2.โรฮีนจา คนไร้รัฐ (Ookbee)
การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้สามารถเริ่มต้นด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศพม่า ตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ในอดีตได้ถักทอร้อยเรื่องราวของโรฮีนจาที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครอง เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ หลายเหตุการณ์แม้กระทั่งยุคล่าอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่ 2 จนพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับมาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง
ข้อเขียนชิ้นนี้นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่ชนพื้นเมืองอาระกันยังไม่ถูกเรียกว่าโรฮีนจา เข้าสู่ความขัดแย้งหลายระลอก จนพม่าประกาศเอกราช เกิดการปฏิวัติ รัฐบาลทหารกำหนดว่าใครเป็นพลเมือง พร้อมกับเหตุผลข้อโต้แย้ง ประเด็นถกเถียงและคาดการณ์อนาคต
การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้สามารถเริ่มต้นด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศพม่า ตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ในอดีตได้ถักทอร้อยเรื่องราวของโรฮีนจาที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครอง เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ หลายเหตุการณ์แม้กระทั่งยุคล่าอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่ 2 จนพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับมาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง
ข้อเขียนชิ้นนี้นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่ชนพื้นเมืองอาระกันยังไม่ถูกเรียกว่าโรฮีนจา เข้าสู่ความขัดแย้งหลายระลอก จนพม่าประกาศเอกราช เกิดการปฏิวัติ รัฐบาลทหารกำหนดว่าใครเป็นพลเมือง พร้อมกับเหตุผลข้อโต้แย้ง ประเด็นถกเถียงและคาดการณ์อนาคต
สนใจอีบุ๊ค คลิกที่รูป |
บรรณานุกรม:
1. Myanmar: Muslims from Rakhine State: Exit and Return, 1
December 1993, http://www.unhcr.org/refworld/docid/3ae6a6bec.html
2. Myanmar: Storm Clouds on the
Horizon, Crisis Group Asia Report, 12 November 2012, http://www.crisisgroup.org/~/media/Files/asia/south-east-asia/burma-myanmar/238-myanmar-storm-clouds-on-the-horizon.pdf
3. Rohingya in Bangladesh: Maintaining the Status Quo;
Squandering a Rare Opportunity, 10/30/2012, http://www.refintl.org/sites/default/files/103012_Rohingya_In_Bangladesh%20letterhead.pdf
4. F J Monahan, The Early History Of Bengal (UK:
Oxford University Press Humphrey Milford, 1925).
5. The CIA World Factbook 2011.
6. Encyclopedia of World History, vol 6 (NY: Infobase
Publishing, 2008).
----------------------------