บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2013

โทนเสียงที่เปลี่ยนไปของบารัก โอบามา

รูปภาพ
เมื่อคืนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ (ตามเวลาอเมริกา) ประธานาธิบดีบารัก โอบามากล่าวคำแถลงนโยบาย (State of the Union) ประจำปี 2013 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ห้าของการแถลงนโยบายที่กระทำเป็นประจำทุกปีต่อที่ประชุมรัฐสภา             สิ่งแรกที่ชัดเจนคือ ประธานาธิบดีโอบามาบรรยายสภาพเศรษฐกิจประเทศที่ฟื้นตัวจากภาวะถดถอย การจ้างงานเพิ่มขึ้น ชาวอเมริกันมีเงินซื้อรถยนต์มากกว่าเมื่อห้าปีก่อน ตลาดบ้านกำลังคึกคักอย่างคาดไม่ถึง ดัชนีตลาดหุ้นเป็นบวก ตอกย้ำสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่งสมัยที่สองเมื่อสามสัปดาห์ก่อน ไม่ต้องอ้างเหตุผลว่าเหตุที่เศรษฐกิจอ่อนแอเพราะอดีตประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันทิ้งไว้เป็นมรดกแก่ตน             จุดที่น่าสนใจที่สุดคือ ตลอดคำแถลงนโยบายประธานาธิบดีโอบามากล่าวให้ความสำคัญต่อพรรคคู่แข่งคือพรรครีพับลิกันเป็นระยะๆ เรียกร้องความร่วมมือจากพรรคฝ่ายค้านหลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะประเด็นภายในประเทศ ตั้งแต่เรื่องเศรษฐกิจ การตัดลดงบประมาณจนถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน) ประธานาธ...

อำนาจต่อรองของเปียงยางที่ร่อยหรอลงทุกที

รูปภาพ
เมื่อวันอังคาร (12 ก.พ.) ที่ผ่านมาทางการเกาหลีเหนือประกาศผลสำเร็จในการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ขนาดย่อส่วน เป็นการยืนยันความสำเร็จการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่สาม ก่อนหน้านี้ประสบผลสำเร็จมาแล้วสองครั้ง คือเมื่อปี 2006 กับ 2009             หลายคนไม่แปลกใจกับการทดลองครั้งนี้ เนื่องจาก สามสัปดาห์ก่อนทางการเปียงยางประกาศว่ามีแผนทดลองนิวเคลียร์และทดสอบการปล่อยจรวดเพิ่มเติมโดยมุ่งเป้าที่สหรัฐอเมริกา เพื่อตอบโต้สหประชาชาติขยายการคว่ำบาตรต่อเกาหลีเหนือ เหตุที่คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติขยายมาตรการคว่ำบาตรเป็นผลจากกรณีเกาหลีเหนือปล่อยจรวดขนส่งดาวเทียมที่ทางสหรัฐฯ กับพันธมิตรเชื่อว่าเป็นการทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกล             การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งนี้นอกจากประสบผลสำเร็จยังแสดงถึงความก้าวหน้าตรงที่มีขนาดความแรงถึง 6-7 กิโลตันมากกว่าการทดลองสองครั้งก่อน             หากผนวกเรื่องนี้กับการปล่อยจรวดขนส่งดาวเทียมอุนฮา-3 (Unha-3)...

มาเรียโน ราโคยถูกร้องข้อหาคอร์รัปชั่น

รูปภาพ
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศสเปนตกเป็นข่าวอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่เรื่องสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ อัตราคนว่างงานเพิ่มทะลุร้อยละ 26 หรือรัฐบาลประกาศแผนรัดเข็มขัดเพิ่มเติม ตัวนายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราโคยและแกนนำพรรค  Popular Party  หลายคนถูกกล่าวหามีส่วนกระทำทุจริตคอร์รัปชั่น              สำหรับชาวสเปนแล้วพวกเขาไม่แปลกใจเพราะประชาชนกว่าร้อยละ  85  เชื่อว่าประเทศมีการคอร์รัปชั่น “อย่างกว้างขวางมาก” หรือ “ค่อนข้างมาก”  ผลสำรวจของ  Center of Sociological Research  ที่กระทำเมื่อกลางปี  2011  ยังพบว่าอีกร้อยละ 0 .2  เท่านั้นที่เชื่อว่าประเทศมีคอร์รัปชั่นเพียงเล็กน้อย              ผลสำรวจข้างต้นสอดคล้องกับข้อมูลขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ( Transparency International)  ที่ให้คะแนนความเชื่อถือต่อพรรคการเมืองสเปนต่ำมาก  ระบุว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนักการเมืองขี้ฉ้อ ให้คะแนนคอร์รัปชั่นจากนักการเมือง 4.4 จากคะแนนสูงสุดท...

เข้าใจอาเซียน ตอน: ควรเรียกพม่าหรือเมียนมา

หากย้อนอ่านตำราเรียนเมื่อหลายๆ ปีก่อน นักเรียนจะได้เรียนรู้จัก “ประเทศพม่า” หรือ “สหภาพพม่า” ทุกวันนี้สื่อละครโทรทัศน์ รายการวิทยุหลายแห่ง รวมทั้ง คนไทยหลายคนยังติดปากกับคำว่า “พม่า” ไม่คุ้นกับชื่อใหม่ “เมียนมาร์” อนึ่ง ราชบัณฑิตยสถานแนะใช้ "เมียนมา" ไม่ใช่ "เมียนมาร์" ดังนั้น ชื่อที่ถูกต้องที่สุดคือ "เมียนมา" (ออกรายการ “ ACE 2015 ” ของสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2013 และได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2556 http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid= 448 &filename=index_ 2 )             การสัมภาษณ์ในรายการ “ ACE 2015 ” ของสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2013

เข้าใจอาเซียน ตอน: การใช้ประโยชน์จากลักษณะวิถีอาเซียน

รูปภาพ
“ลักษณะวิถีอาเซียน” เป็นหลักคิดพื้นฐานสำคัญต่อผู้ศึกษาผู้ปรารถนาเข้าใจเรื่องราวของอาเซียน เพื่อประโยชน์ของผู้ศึกษา ผู้ตั้งใจใช้ลักษณะวิถีอา เซียนในการวิเคราะห์ทำความเข้าใจเรื่องราว ของอาเซียน มีข้อแนะนำบางประการที่เป็นประโยชน์ ดังนี้             1. ใช้เป็นความเข้าใจพื้นฐานที่สำคัญของอาเซียน             การจะเข้าใจเหตุการณ์เรื่องราวของอาเซียนจำต้องเข้าใจพื้นฐานอาเซียน ความรู้พื้นฐานอาเซียนมีหลายอย่างหลายด้าน ขึ้นกับประเด็นหรือหัวข้อศึกษา ลักษณะวิถีอาเซียนคือส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งที่จะช่วยเข้าใจวิธีคิด วิธีปฏิบัติ แนวทางการตัดสินใจของอาเซียน             การเข้าใจลักษณะวิถีอาเซียนจะช่วยตีความ ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเรื่องราวสำคัญๆ ของอาเซียนได้เป็นอันมาก             2. ตระหนักเรื่องการให้น้ำหนัก         ...

เข้าใจโรฮิงญา: ตอน บังคลาเทศไม่ต้อนรับโรฮิงญา

รูปภาพ
ประเทศบังคลาเทศเริ่มมีส่วนเกี่ยวข้องกับชาวโรฮิงญาอย่างจริงจังเมื่อชาวโรฮิงญาจากรัฐยะไข่ (หรือรัฐอะระกัน) จำนวนมากเริ่มอพยพเข้าประเทศบังคลาเทศในปี 1991 พอถึงเดือนกรกฎาคม 1992 จำนวนผู้อพยพสูงถึง 270,000 คน ผู้อพยพหลายคนให้การว่าทหารเมียนมาร์ละเมิดสิทธิมนุษยชนเพราะต้องการให้ชาวโรฮิงญาอพยพออกจากประเทศ             พรมแดนทางบกของบังคลาเทศถูกล้อมรอบด้วยประเทศอินเดียเกือบทั้งหมด ยกเว้นบริเวณติ่งทางตะวันออกเฉียงใต้มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเมียนมาร์ เป็นช่องทางบกที่ชาวโรฮิงญาใช้เวลาเดินไม่นาน  เป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาวโรฮิงญาเลือกอพยพเข้าบังคลาเทศ              เมื่อชาวโรฮิงญาอพยพมาถึงก็พบว่ารัฐบาลบังคลาเทศไม่ถือว่าโรฮิงญาเป็นพลเมือง แม้มีลักษณะหน้าตา ภาษาและนับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน โดยให้เหตุผลว่า พวกเขาอาศัยอยู่ในดินแดนของเมียนมาร์ตั้งแต่ยุคอาณานิคมแล้ว ก่อนก่อตั้งประเทศบังคลาเทศเสียอีก นอกจากนี้รัฐบาลบังคลาเทศไม่มีนโยบายดูแลผู้ลี้ภัยโรฮิงญาอย่างเต็มที่ โดยให้เหตุผลว่าบังคลาเทศยังไม่ได้ให...

คนหนุ่มสาวตกงาน ปัญหาเศรษฐกิจสเปน

รูปภาพ
ในยามที่เศรษฐกิจประเทศตกต่ำ ปัญหาเกิดขึ้นมากมายหลายประการ กระทบต่อแทบทุกคนในสังคม สเปนเป็นอีกประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่กำลังถูกกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสถาบันสถิติแห่งชาติสเปนรายงานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีที่แล้วหดตัวร้อยละ 1.37 มากกว่าที่ธนาคารแห่งชาติสเปนคาดการณ์ จีดีพีประจำไตรมาสสี่ลดลงร้อยละ 0.7 เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่หกแล้ว เป็นผลจากการตัดงบประมาณ คนว่างงานที่เพิ่มขึ้นและครัวเรือนรัดเข็มขัด เศรษฐกิจที่อ่อนแอกระทบต่อการจ้างงาน ข้อมูลล่าสุดอัตราคนว่างงานในสเปนมีมากถึงร้อยละ 26 ในจำนวนนี้ มากกว่าครึ่งหรือร้อยละ 55.13 คือคนหนุ่มสาวผู้มีอายุระหว่าง 16-25 ปี สภาพการว่างงานของคนหนุ่มสาวนั้นไม่ธรรมดา เพราะอัตราว่างงานกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ คือเพิ่มจากร้อยละ 18 ในปี 2007 มาเป็นกว่าร้อยละ 55 ในปัจจุบัน             เหตุผลคนหนุ่มสาวว่างงานจำนวนมาก เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ประการแรก ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจ ในช่วงปี 2007 สเปนประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย และภาวะฟองสบู่แตกของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมการก่อสร้างหดตัว...