หลายประเทศที่สัมพันธ์กับอาเซียน รวมทั้งนักวิชาการต่างประเทศจำนวนมากที่ศึกษาเรื่องราวของอาเซียนมักจะพบความประหลาดใจ ได้ประสบการณ์ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย เป็นลักษณะเฉพาะของอาเซียนและถูกขนานนามว่าเป็น “วิถีอาเซียน” (ASEAN way)
ประการที่สอง ช่วยให้เข้าใจข้อดีข้อเสียของอาเซียน
Kasira Cheeppensook ชี้ว่าการศึกษาอาเซียนตามแนวทางอย่างเป็นเหตุเป็นผล (rationalist
approaches) จะทำให้เข้าใจไขว้เขว เพราะการตัดสินใจของอาเซียนไม่ได้ดำเนินภายใต้สถาบันหรือกลไกที่มีหลักมีเกณฑ์แน่นอน
การตัดสินใจของอาเซียนไม่ได้หมายความว่าไม่เหตุผล แต่รูปแบบหรือลักษณะการคิดการตัดสินใจมีความยืดหยุ่น
เปลี่ยนแปลงไปตามบริบท ไม่ยึดกับหลักการหรือกฎเกณฑ์ชุดใดอย่างตายตัว
เรื่องราวความประหลาดใจอธิบายได้ง่ายๆ
เหมือนชาวตะวันตกคนหนึ่งที่ไม่เคยรู้ใจเข้าใจวัฒนธรรมของชาติตะวันออก
เมื่อเขาพยายามตีความพฤติกรรม ความคิดความอ่านของชาวตะวันออกจะรู้สึกสับสน
หลักการที่มีอยู่ไม่อาจใช้กับชาวตะวันออกได้อย่างสมบูรณ์
ดังที่ Amitav
Acharya ให้ข้อสรุปว่าวิถีอาเซียนคือชุดของความคิดที่ต่างจากแนวทางของชาติตะวันตก
ทางออกของเรื่องนี้จึงต้องศึกษาให้เข้าใจวัฒนธรรม ค่านิยม วิถีชีวิตของอาเซียนก่อน
ความสำคัญของการศึกษาวิถีอาเซียน
พอจะประมวลได้ดังนี้
ประการแรก
จำเป็นต่อการทำความเข้าใจอาเซียน
การศึกษาอาเซียนในฐานะองค์ระหว่างประเทศทั่วๆ
ไปองค์กรหนึ่งจะได้ความเข้าใจในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเรื่องราวความเป็นไปของอาเซียนมีลักษณะเฉพาะ
การศึกษาทำความเข้าใจตามแนวทางหรือหลักการทั่วไปไม่อาจเข้าใจอาเซียนได้อย่างครบถ้วน
จำต้องผสมผสานหลักการทั่วไปร่วมกับความเข้าใจในวิถีอาเซียนจึงจะสามารถเข้าใจอาเซียน
เรื่องราวต่างๆ ได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
นักวิเคราะห์หรือผู้เชี่ยวชาญองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ
เมื่อมาศึกษาอาเซียนจะพบประสบการณ์ใหม่และเห็นว่าอาเซียนมีลักษณะเฉพาะของตน
จำต้องศึกษาเรื่องนี้ให้เข้าใจเสียก่อน
ประการที่สอง ช่วยให้เข้าใจข้อดีข้อเสียของอาเซียน
การพูดถึงข้อดีข้อเสียขององค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่หยิบยกขึ้นมาพูดถึงเสมอ
เป็นหัวข้อหนึ่งที่ช่วยให้เข้าใจอาเซียนเพิ่มมากขึ้น
ช่วยให้เข้าใจว่าอะไรที่อาเซียนทำได้ ทำไม่ได้
อะไรที่ทำได้ดีหรือยังต้องพัฒนาอีกมาก
งานวิชาการหลายชิ้นเมื่อวิเคราะห์อาเซียนด้วยหลักทั่วไปได้ข้อสรุปว่าอาเซียนมีข้อเสียหลายประการ
เป็นองค์กรที่ไร้ประสิทธิภาพ แต่หากวิเคราะห์โดยใช้วิถีอาเซียนร่วมด้วย
ผลสรุปจะแตกต่างออกไป (รายละเอียดหัวข้อนี้จะนำเสนอในโอกาสต่อไป)
การจะตีความข้อดีข้อเสียของอาเซียนจำต้องเข้าใจบริบทของอาเซียนมากกว่ายึดหลักการตามแนวทางตะวันตก
ประการที่สาม ทำให้สามารถได้แนวทางพัฒนาอาเซียนที่ทำได้จริง
ที่สุดของการศึกษาองค์กรระหว่างประเทศคือการค้นหา
เสนอแนวทางเพื่อพัฒนาองค์กรให้สามารถบรรลุเป้าหมาย ตอบสนองผลประโยชน์ของชาติสมาชิกและประโยชน์ของประชาชน
ช่วยหาคำตอบว่าอาเซียนควรพัฒนาไปในทิศทางใด นโยบาย แนวทางการปฏิบัติควรเป็นอย่างไร
การศึกษาวิถีอาเซียนกล่าวได้ว่าคือหัวใจของการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจอาเซียน
สามารถอธิบายเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ช่วยให้เข้าใจคาดการณ์พฤติกรรมได้อย่างแม่นยำ
และสามารถเสนอแนะแนวทางเพื่อพัฒนาอาเซียนให้เป็นองค์กรที่สร้างผลประโยชน์สูงสุด
การศึกษาอาเซียนจึงจำต้องศึกษาวิถีอาเซียนก่อน
26 มกราคม 2013
ชาญชัย คุ้มปัญญา
-----------------------
บรรณานุกรม:
1. Kasira Cheeppensook, The ASEAN Way on Human Security, http://humansecurityconf.polsci.chula.ac.th/Documents/Presentations/Kasira.pdf
2. Taku Tamaki, Making Sense of ‘ASEAN
Way’: A Constructivist Approach, http://paperroom.ipsa.org/papers/paper_5293.pdf
----------------------