บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2013

เข้าใจอาเซียน ตอน: ลักษณะวิถีอาเซียน

รูปภาพ
การจะเข้าใจอาเซียนจำต้องเข้าใจ “ลักษณะวิถีอาเซียน” เพราะคือหลักคิด หลักปฏิบัติ การตัดสินใจเรื่องราวสำคัญๆ ของอาเซียน เป็นหลักการสำคัญในการศึกษาทำความเข้าใจอาเซียนอย่างเป็นระบบ มีหลักยึดที่สอดคล้องกับความเป็นอาเซียน Taku Tamaki ได้ศึกษาวิถีอาเซียน ( ASEAN way ) และพบว่าการพยายามที่จะนิยามว่าอะไรคือวิถีอาเซียนนั้นมักจะก่อให้เกิดความสับสน วิธีที่ดีกว่าคือการตีความว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร Amitav Acharya ชี้ว่า “วิถีอาเซียน” มีต้นกำเนิดจากการพูดถึง “แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งและการสร้างความร่วมมือที่มีเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกอาเซียนที่แสวงหาสันติภาพและความมั่นคงภูมิภาค” Hadi Soesastro กล่าวถึงวิถีอาเซียนว่า “สมาชิกอาเซียนเห็นพ้องที่จะวางบรรทัดฐานแห่ง “วิถีอาเซียน” เพื่อเป็นแนวทางจัดการความขัดแย้งภายในกลุ่ม             งานวิชาการจำนวนมากพยายามศึกษาแยกแยะลักษณะเฉพาะของอาเซียนที่เป็นเอกลักษณ์ พอใจประมวลประเด็นสำคัญๆ ได้ดังนี้             1.ไม่แทรกแซงกิจการภายใน  (Non-inter...

เข้าใจอาเซียน ตอน: ความสำคัญของการศึกษาวิถีอาเซียน

รูปภาพ
หลายประเทศที่สัมพันธ์กับอาเซียน รวมทั้งนักวิชาการต่างประเทศจำนวนมากที่ศึกษาเรื่องราวของอาเซียนมักจะพบความประหลาดใจ ได้ประสบการณ์ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย เป็นลักษณะเฉพาะของอาเซียนและถูกขนานนามว่าเป็น “วิถีอาเซียน” (ASEAN way) Kasira Cheeppensook ชี้ว่าการศึกษาอาเซียนตามแนวทางอย่างเป็นเหตุเป็นผล ( rationalist approaches ) จะทำให้เข้าใจไขว้เขว เพราะการตัดสินใจของอาเซียนไม่ได้ดำเนินภายใต้สถาบันหรือกลไกที่มีหลักมีเกณฑ์แน่นอน             การตัดสินใจของอาเซียนไม่ได้หมายความว่าไม่เหตุผล แต่รูปแบบหรือลักษณะการคิดการตัดสินใจมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงไปตามบริบท ไม่ยึดกับหลักการหรือกฎเกณฑ์ชุดใดอย่างตายตัว                เรื่องราวความประหลาดใจอธิบายได้ง่ายๆ เหมือนชาวตะวันตกคนหนึ่งที่ไม่เคยรู้ใจเข้าใจวัฒนธรรมของชาติตะวันออก เมื่อเขาพยายามตีความพฤติกรรม ความคิดความอ่านของชาวตะวันออกจะรู้สึกสับสน หลักการที่มีอยู่ไม่อาจใช้กับชาวตะวันออกได้อย่างสมบูรณ์ ดังที่ Amitav Acharya ให้ข้อสร...

ก้าวย่างที่ถอยห่างออกจากอียูของเดวิด คาเมรอน

รูปภาพ
ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เดวิด คาเมรอน ที่สัญญาจะจัดทำประชามติภายในสิ้นปี 2017 เพื่อให้ชาวอังกฤษตัดสินใจว่าประเทศควรเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อหรือไม่กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรป             ใจความสำคัญคือ นายกฯ คาเมรอนต้องการปรับความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปเสียใหม่ ทางเลือกแรกคืออังกฤษเป็นสมาชิกอียูต่อไปแต่ปรับความสัมพันธ์ให้ถอยห่างมากขึ้น ทางเลือกที่สองคือถ้าอังกฤษตกลงกับอียูไม่ได้ อังกฤษจะถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกอียูถ้าผลประชามติออกมาเช่นนั้น             ถ้อยแถลงของนายกฯ คาเมรอนสร้างความไม่พอใจแก่เยอรมนีกับฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศเยอรมัน กีโด เวสเตอร์เวลลา ตำหนิว่าอังกฤษไม่ควรตัดสินใจทำอะไรง่ายๆ แบบนั้น “เยอรมนีต้องการให้สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกที่มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในสหภาพยุโรปต่อไป ... การตัดสินใจเลือกเอาเฉพาะส่วนที่ตนชอบนั้นทำไม่ได้ ” และกล่าวอีกว่า “ ยุโรปไม่ใช่ผลรวมของผลประโยชน์แห่งชาติแต่เป็นประชาคมที่มี...

การเมืองในประเทศ ขวากหนามโอบามา ขวากหนามอเมริกา

รูปภาพ
วั นที่ 21 มกราคม 2013 กลายเป็นวันประวัติศาสตร์ประเทศสหรัฐอเมริกาอีกวันหนึ่ง เมื่อบารัก ฮุสเซน โอบามา ที่  2  ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของอเมริกากล่าวสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง ท่ามกลางความยินดีของชาวอเมริกัน             สุนทรพจน์ครั้งนี้เมื่อเทียบกับครั้งเมื่อสี่ปีก่อนมีทั้งส่วนที่คล้ายกันและแตกต่างกัน โดยรวมแล้ว ให้ความสำคัญกับหลักประชาธิปไตย ยึดถือการอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นเป้าหมายการบริหารประเทศ สถานการณ์การการต่อสู้กับการก่อการร้ายกำลังดีขึ้น การเมืองระหว่างประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น สหรัฐฯ ยังคงเป็นชาติมหาอำนาจ เศรษฐกิจประเทศกำลังฟื้นตัว อัตราคนว่างงานน้อยลง ต้องยอมรับว่า หลายเรื่องดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับสี่ปีก่อน ส่วนหนึ่งคือผลงานของประธานาธิบดีบารัก โอบามา และเป็นเหตุให้ได้รับการเลือกอีกสมัย สำหรับสี่ปีต่อจากนี้ ประเด็นสำคัญที่สุดอาจไม่ใช่เฉพาะเรื่องความมั่นคงระหว่างประเทศ ไม่ใช่ปัญหาเศรษฐกิจโลก แต่รวมถึง ปัญหาการเมืองภายในสหรัฐฯ ความแตกแยกระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกัน ไม่...

Fiscal Cliff: หนังเก่าฉายซ้ำ

รูปภาพ
หลังผ่านการเจรจาต่อรองหลายรอบทั้งทางตรงทางลับระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกัน ผู้คนจำนวนมากทั่วโลกตั้งหน้าตั้งตารอข่าวว่าจะสามารถแก้ปัญหาทันสิ้นปีหรือไม่ ในที่สุดประธานาธิบดีบารัก โอบามาลงนามผ่านร่างกฎหมายเพื่อเลื่อนการตัดลดรายจ่ายและขึ้นภาษีบุคคลธรรมที่มีรายได้มากกว่า  4 แสนดอลลาร์ต่อปี หรือครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่า 4.5 แสนดอลลาร์ต่อปี เป็นเวลา 2 เดือน ขยายความช่วยแก่ผู้ว่างงานตลอดปี 2013              ที่สุดของความพยายามจากทั้งสองฝ่ายในรอบที่แล้วทำได้เพียงเลื่อนปัญหาออกไปอีก 2 เดือน ดังนั้นเส้นตายของ Fiscal Cliff รอบใหม่นี้คือต้นเดือนมีนาคม             มาถึงรอบนี้จุดยืนของพรรครีพับลิกันยังคงเดิมคือต้องการให้รัฐบาลกลางตัดลดงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณสวัสดิการช่วยเหลือผู้ว่างงานกับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเพื่อแลกกับการที่พรรครีพับลิกันจะยอมเพิ่มระดับเพดานเงินกู้ วุฒิสมาชิก มิช แม็คคอนเนล กล่าวว่า โอบามาจะต้อง “ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและเป็นเวลาดีที่จะแก้เพดานหนี้” โ...

ถอดรหัสสุนทรพจน์สองเลขาธิการอาเซียน

รูปภาพ
เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนที่เพิ่งดำรงตำแหน่งครบวาระ 5 ปีได้กล่าวสุนทรพจน์สุดท้าย พร้อมกับที่นายเล ลุงมินห์ เลขาธิการอาเซียนคนใหม่จากประเทศเวียดนามกล่าวสุนทรพจน์แรกเมื่อเริ่มเข้าทำงาน             สุนทรพจน์ทั้งสองได้กล่าวถึงหรือสะท้อนให้เห็นภาพอาเซียนบางอย่างที่สำคัญ ทำให้เห็นความคืบหน้า โอกาส อุปสรรคและปัญหาสำคัญๆ ของอาเซียน             บทความนี้ได้สังเคราะห์วิเคราะห์สุนทรพจน์ทั้งสอง และนำเสนอเรื่องราวทั้งหมดตาม 3 เสาหลักประชาคมอาเซียนพร้อมกับภาพรวม ดังนี้             ประการแรก ความท้าทายต่อเสาประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน             ในเรื่องทั่วๆ ไป เลขาธิการ เล ย้ำว่าจะพยายามขับเคลื่อนให้ชาติสมาชิกทุกประเทศลงนามข้อตกลงหรือปฏิบัติตามความร่วมมือต่างๆ ของอาเซียน เช่น   สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมื...

Shale gas กับ Shale oil ผู้ท้าทายวงการน้ำมันโลก

รูปภาพ
กระแสข่าวที่ภายในทศวรรษนี้สหรัฐอเมริกาจะลดการนำเข้าทรัพยากรน้ำมันจากต่างประเทศลงเรื่อยๆ และอาจไม่นำเข้าเลยก่อนสิ้นปี 2035 มีความชัดเจนมากขึ้น เหตุเนื่องจากสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (shale gas) และน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil) จำนวนมากจากแหล่งผลิตในประเทศที่ในอดีตมีข้อจำกัดทั้งด้านต้นทุนการผลิตกับปัญหามลพิษ Shale gas กับ Shale oil :             ทรัพยากรน้ำมันชั้นหินดินดานประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (shale gas) กับน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil)             shale gas คือก๊าซธรรมชาติที่ถูกกักไว้ในชั้นหินใต้ดิน มนุษย์ค้นพบ shale gas มานานแล้ว แต่ไม่สามารถนำมาใช้เพราะไม่อาจแข่งกับแหล่งก๊าซธรรมชาติประเภทอื่นๆ ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า มีปัญหาเรื่องมลพิษน้อยกว่า             จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการพัฒนากรรมวิธีการผลิตที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing และใช้เทคโนโลยีดังกล่าวร่วมกับเทคนิควิธีการขุดเจาะตามแนวนอนที่เรียกว่า H...