เข้าใจอาเซียน ตอน: กำเนิดอาเซียน
การจะเข้าใจอาเซียนหรือประชาคมอาเซียนอย่างถูกต้องจำต้องเข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งเหล่านี้ก่อน เพราะจะช่วยให้เกิดความเข้าใจว่าทำไมจึงเกิดความร่วมมือดังกล่าว อะไรเป็นเป้าหมายแรงจูงใจของสิ่งเหล่านี้ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น รวมทั้งแนวทาง ทิศทางพัฒนาการในอนาคต
บรรณานุกรม:
มีผู้พยายามอธิบายกำเนิดอาเซียนในหลายแง่มุมครอบคลุมทุกด้าน ทั้งเหตุผลจากการถอนตัวของอดีตชาติเจ้าอาณานิคม
การแก้ไขข้อพาทระหว่างกัน แม้กระทั่งความพยายามของบางประเทศที่ประสงค์เข้ามามีบทบาทนำในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในที่นี้เห็นว่าสงครามเย็นคือปัจจัยสำคัญที่สุด
ความคิดเบื้องแรกที่หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดจะรวมตัวกันเกิดจากภัยคุกคามอันเนื่องจากสงครามเย็น
(Cold War) อันเป็นการขับเคี่ยวระหว่างค่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยกับค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ทำให้เกิดการปะทะกันในหลายพื้นที่ ในช่วงทศวรรษ 1960 สงครามเวียดนามบานปลายใหญ่โต
กองทัพอเมริกันรบกับพวกเวียดนามเหนือโดยตรง เฉพาะที่ประเทศเวียดนามรัฐบาลอเมริกาส่งทหารไปร่วมรบถึง
4-5 แสนนาย ในขณะที่ขบวนการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์กำลังแพร่ขยายอย่างรวดเร็วทั้งในเวียดนาม
ลาว กัมพูชา สถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังอยู่ในภาวะสงครามหรือตึงเครียดระดับสงครามที่เดิมพันด้วยการรักษาระบอบอำนาจเดิมหรือการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
เมื่อสงครามในอินโดจีนทวีความรุนแรง
ขบวนการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เคลื่อนไหวในเวียดนาม ลาว กัมพูชามากขึ้น และเริ่มเข้ามาแพร่หลายในประเทศอื่นๆ
ในภูมิภาครวมทั้งประเทศไทย ทำให้รัฐบาลหรือผู้นำประเทศของกลุ่มประเทศที่โน้มเอียงไปทางสนับสนุนการปกครองแบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยตระหนักถึงภัยคุกคามร้ายแรงที่มาถึงหน้าประตูบ้านหรือโจรได้เข้ามาคุกคามบางส่วนของบ้านตัวเองแล้ว
หากปล่อยทิ้งไว้ย่อมสร้างความเสียหายร้ายแรงถึงขั้นผู้ปกครองต้องเสียอำนาจ
ประเทศเปลี่ยนการปกครอง ระบบศาสนาถูกกำจัด (สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้นต่อต้านศาสนาอย่างรุนแรง)
ความน่าหวาดวิตกยังเกิดจากการวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีโดมิโน (Domino theory) ของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกาที่ชี้ว่าหากประเทศอินโดจีน
คือ เวียดนาม ลาว กัมพูชาตกเป็นคอมมิวนิสต์แล้วประเทศที่เหลือในภูมิภาคจะพลอยกลายเป็นคอมมิวนิสต์ด้วย
ไม่ว่าทฤษฎีดังกล่าวจะสมเหตุผลเพียงใดรัฐบาลสหรัฐฯ กับรัฐบาลกลุ่มประเทศที่เหลือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างกังวลใจอย่างยิ่ง
เห็นความจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อต้านภัยคุกคามร้ายแรงดังกล่าว
หลังจากการปรึกษาหารือหลายรอบ
ที่สุดจัดตั้งเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association
of Southeast Asian Nations) หรือที่นิยมเรียกแบบสั้นๆ ว่า อาเซียน ภายใต้
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) หรือที่เรียกว่าปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่
8 สิงหาคม 1967 ณ เวลานั้นมีรัฐสมาชิกเริ่มต้นเพียง
5 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ทั้งห้าประเทศไม่สนับสนุนลัทธิสังคมนิยม ในมุมกลับกันคือการโน้มเอียงเข้าข้างฝ่ายทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ
โดยเฉพาะบางประเทศ เช่น ประเทศไทย
ดังนั้น
แม้ว่าวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียนตามปฏิญญากรุงเทพฯ จะมีหลายข้อ กล่าวถึงแทบทุกด้านอย่างครอบคลุม
เช่น ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค ฯลฯ แต่เหตุผลหลักในช่วงก่อตั้งนั้นคือรัฐบาลหรือผู้นำประเทศต้องการต่อต้านภัยคุกคามจากสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของอาเซียนเพื่อต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์เริ่มผ่อนคลายลงหลังจากที่สหรัฐอเมริกากับจีนเริ่มปรับความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ความตึงเครียดของสงครามเย็นลดน้อยลง
ประเทศทั้งหลายในโลกให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน บริบทโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากพร้อมกับภัยคุกคามแบบใหม่ที่เกิดขึ้น
การดำรงอยู่ของอาเซียนหรือประชาคมอาเซียนในปัจจุบันจึงไม่ตั้งอยู่บนวัตถุประสงค์ดั้งเดิมอีกต่อไป
กล่าวได้ว่ามวลหมู่ชาติสมาชิกอาเซียนได้ก้าวออกจากอดีตไปสู่อนาคตข้างหน้าแล้ว
23 ธันวาคม 2012
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2556 http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=402&filename=index_2)
(ได้รับการเผยแพร่ผ่าน ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2556 http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=402&filename=index_2)
----------------------
1. การศึกษา: การสร้างประชาคมอาเซียน
2558. http://www.bic.moe.go.th/th/images/stories/book/other/ASEAN/ed-building-ASEANcommunity.pdf
2. The Domino Theory. http://www.cbsd.org/schools/unami/departments/library/Documents/Domino%20Theory.pdf
3. The Cambridge History of the Cold War. Volume 2, Crises
and Détente. P.288-289, 293-295.
4. ASEAN Conception and Evolution by THANAT KHOMAN. http://www.asean.org/asean/about-asean/history/item/asean-conception-and-evolution-by-thanat-khoman
5. ASEAN: brief history and its
problems. http://www.zum.de/whkmla/sp/0607/seongmin/seongmin.html
6. Vietnam War (1/6) - The Beginning (1964-1965) http://www.youtube.com/watch?v=riNEBpt4r3Y
-----------------