ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 3
กรณีคะแนน electoral votes ไม่สามารถตัดสินว่าใครได้เป็นประธานาธิบดี
ดังได้กล่าวแล้วว่า
Electors (คณะผู้เลือกตั้ง)จำนวน 538 คน หรือคะแนน electoral
votes จำนวน 538
คะแนนนี้จะเป็นผู้เลือกและกำหนดว่าใครจะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อถึงวันที่ 6 มกราคม 2013 รัฐสภารวมสองสภาจะเปิดการประชุมร่วมเพื่อนับจำนวน electoral
votes โดยรองประธานาธิบดีซึ่งมีฐานะเป็นประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่งจะเป็นผู้รับผิดชอบการนับและประกาศผลการเลือกตั้งทั้งตำแหน่งประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดี
ถ้าไม่มีผู้สมัครตำแหน่งปธน.คนใดได้คะแนนเสียงข้างมาก คือจะต้องได้ 270 คะแนนหรือมากกว่า
(จากคะแนนรวม 538 คะแนน) รัฐธรรมนูญมาตรา 12 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ตัดสินใจว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี
โดยให้เลือกจากผู้สมัคร 3 คนแรกที่มีคะแนน electoral votes
สูงสุด และทำการลงคะแนนอีกครั้งโดยแต่ละรัฐจะมีสิทธิเพียง 1 เสียง ผู้ชนะจะต้องได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่ง
ในกรณีนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นผู้ตัดสินใจเลือกปธน.
ผลที่ออกมาอาจตรงหรือไม่ตรงกับผล electoral votes
หรือ popular votes ก็เป็นได้
และเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เช่นในปี 1824
สภาผู้แทนราษฎรเลือกนาย John Quincy Adams เป็นปธน. แม้ว่านาย
Andrew Jackson ได้คะแนน electoral votes กับ popular votes สูงกว่า
ในทำนองคล้ายกัน ถ้าไม่มีผู้สมัครตำแหน่งรองปธน.คนใดได้คะแนนเสียงข้างมาก
วุฒิสมาชิกจะเป็นผู้เลือกรองปธน. โดยเลือกจากผู้สมัคร 2 คนแรกที่มีคะแนน electoral
votes สูงสุด การลงคะแนนแต่ละรัฐมีสิทธิตามจำนวนวุฒิสมาชิกที่แต่ละคนมี 1 เสียง
คำถาม การเลือกตั้งปีนี้ (2012)
มีโอกาสที่ผู้สมัครจะไม่ได้คะแนน electoral votes
เกินกึ่งหนึ่งหรือไม่
คำตอบ คือไม่มี
เพราะไม่ปรากฎข่าวว่าผู้สมัครจากพรรคที่ 3 หรือพรรคขนาดเล็กมีความนิยมพอจะชนะการเลือกตั้งในรัฐใดรัฐหนึ่ง ดังนั้น คะแนน electoral votes
จะอยู่ในสองพรรคใหญ่เท่านั้น และจะมีพรรคหนึ่งที่มีคะแนนเกินกึ่งหนึ่งแน่นอน
กรณีที่ผู้สมัครจะไม่ได้คะแนน
electoral votes เกินกึ่งหนึ่ง จะเกิดในกรณีมีพรรคที่ 3 หรือพรรคขนาดเล็กชนะการเลือกตั้งบางรัฐ
และพรรคใหญ่ทั้งสองพรรคต่างไม่สามารถได้คะแนนกึ่งหนึ่ง
การเลือกตั้งเมื่อปี 1968 ผู้สมัคร George Wallace ในนามพรรค American
Independent ได้คะแนน electoral votes 46 คะแนน เป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่พรรคที่ 3
สามารถได้คะแนนดังกล่าว นับจากนั้นไม่เคยมีพรรคที่ 3
ที่ได้คะแนน electoral votes อีกเลย
ระบบพรรคการเมืองสหรัฐฯ ได้พัฒนาสู่ระบบสองพรรคมานานแล้ว
ยิ่งในระยะหลังบริบททางการเมืองกับยุทธศาสตร์การหาเสียงของสองพรรคใหญ่ไม่เกื้อหนุนให้ผู้สมัครพรรคเล็กมีโอกาสได้คะแนน
electoral votes เหตุผลสำคัญคือคนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่สนใจเลือกพรรคการเมืองขนาดเล็ก
เพราะเห็นว่าอย่างไรเสียผู้สมัครพรรคเล็กจะไม่มีโอกาสชนะการเลือกตั้งตำแหน่งปธน. ทำให้คะแนน
electoral votes กระจุกตัวอยู่กับสองพรรคใหญ่เท่านั้น
ดังนั้น แน่นอนว่าผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
สมัยต่อไปคือผู้สมัครจากสองพรรคใหญ่นั่นเอง
31 ตุลาคม 2012
(ปรับปรุง 9 พฤศจิกายน 2012)
(ปรับปรุง 9 พฤศจิกายน 2012)
ชาญชัย คุ้มปัญญา
---------------------------------
บรรณานุกรม:
1. Summary of Key Dates for the 2012 Presidential Election. http://www.archives.gov/federal-register/electoral-college/key-dates.html