บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2012

ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 3

รูปภาพ
กรณีคะแนน electoral votes ไม่สามารถตัดสินว่าใครได้เป็นประธานาธิบดี ดังได้กล่าวแล้วว่า Electors  (คณะผู้เลือกตั้ง ) จำนวน 538 คน หรือคะแนน electoral votes จำนวน 538 คะแนนนี้จะเป็นผู้เลือกและกำหนดว่าใครจะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อถึงวันที่ 6 มกราคม 2013 รัฐสภารวมสองสภาจะเปิดการประชุมร่วมเพื่อนับจำนวน electoral votes โดยรองประธานาธิบดีซึ่งมีฐานะเป็นประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่งจะเป็นผู้รับผิดชอบการนับและประกาศผลการเลือกตั้งทั้งตำแหน่งประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดี ถ้าไม่มีผู้สมัครตำแหน่งปธน.คนใดได้คะแนนเสียงข้างมาก คือจะต้องได้ 270 คะแนนหรือมากกว่า (จากคะแนนรวม 538 คะแนน ) รัฐธรรมนูญมาตรา 12 บัญญัติ ให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ตัดสินใจว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี โดยให้เลือกจากผู้สมัคร 3 คนแรกที่มีคะแนน electoral votes สูงสุด และทำการลงคะแนนอีกครั้งโดยแต่ละรัฐจะมีสิทธิเพียง 1 เสียง ผู้ชนะจะต้องได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่ง             ในกรณีนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นผู้ตัดสินใจ...

ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 2

รูปภาพ
ระบบ ‘winner-take-all’   ในตอนที่แล้วได้กล่าวถึงตัวละครสำคัญของการเลือกตั้งประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาว่าขึ้นอยู่กับบุคคลที่มีฐานะเป็น Elector   (คณะผู้เลือกตั้ง)  คนเหล่านี้เป็นผู้ลงคะแนนเลือกปธน.อย่างแท้จริง ในตอนนี้จะศึกษาให้เข้าใจหลักการหรือระบบที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกของ Elector เหล่านี้นั่นคือ หลักคิดหรือระบบที่เรียกว่า ‘winner-take-all’ แนวคิดของ ‘winner-take-all’ เกิดจากการมองรัฐ ( state) เหมือนรัฐ-ประเทศ ( State ) หนึ่งที่ต้องมีผู้ปกครองหนึ่งเดียวเพื่อการบริหารจัดการที่มีเอกภาพ (ทำนองเดียวกับประเทศมีประธานาธิบดีเพียงคนเดียวและมีอำนาจบริหารประเทศสูงสุด) ดังนั้น ในแต่ละรัฐ เมื่อได้ผู้สมัครที่ได้คะแนน popular vote สูงสุด Electors ทุกคนของรัฐนั้นจะเทคะแนนเลือกผู้สมัครคนนั้นๆ เพียงคนเดียว เป็นลักษณะที่เรียกกว่า ‘winner-take-all’ ยกเว้นสองรัฐ คือ รัฐเมนกับเนบรัสกาที่ไม่ใช้หลักการนี้             อธิบายง่ายๆ ว่า รัฐใดที่ผู้สมัครได้คะแนน popular vote ประจำรัฐนั้นสูงสุด จะได้คะแนน el...

ประเด็นโลก ประเด็นร้อน 29 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน

รูปภาพ
โรฮิงญา โจทย์ของรัฐบาลเมียนมาร์ที่กำลังปฏิรูปประเทศ             สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดการปะทะกันระหว่างมุสลิมชาวโรฮิงญา ชาวยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธและเจ้าหน้าที่รัฐอีกรอบ นายอซ็อก นีกัม หัวหน้าเจ้าหน้าที่สหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนประจำประเทศเมียนมาร์ กล่าวว่า “ล่าสุดมี 22,587คนที่ถูกไล่ที่ บ้านเรือน 4,665 หลังคาถูกทำลาย” ในจำนวนดังกล่าว 21,700 คนเป็นชาวมุสลิม ( Al Jazeera )              สำนักข่าวรอยเตอร์ให้ภาพของความขัดแย้งโดยอ้างแหล่งข่าวจากชาวโรฮิงญาหลายคนว่าพวกตนเป็นฝ่ายถูกกระทำทั้งจากชาวยะไข่กับทหาร บ้านเรือนถูกเผา ถูกประทุษร้ายด้วยมีด ทหารยิงปืนเข้าใส่ หญิงชาวโรฮิงญาวัย 63 ปีคนหนึ่งเล่าว่า “พวกยะไข่ทำร้ายเราด้วยมีด จุดไฟเผาบ้านของเรา พวกเราไม่มีทรัพย์สินอะไร ฉันหนีออกมาพร้อมกับเสื้อผ้าเพียงชุดเดียวที่กำลังใส่อยู่” ( Reuters )  เหตุการณ์ครั้งนี้รัฐบาลเมียนมาร์ภายใต้การนำของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง   ไม่อาจทนนิ่งเฉยได้อีก เพราะความสนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์ไม่จำก...

เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2012 โอบามาชูประเด็นหนี้สินอเมริกาเรียกคะแนนโค้งสุดท้าย

รูปภาพ
เหลือเวลาอีกสัปดาห์เศษก่อนวันเลือกตั้ง ประธานาธิบดีบารัก โอบามาชูประเด็นแก้ไขปัญหาหนี้สินประเทศเป็นประเด็นเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในการหาเสียง ด้วยความเชื่อว่าจะได้คะแนนจากลุ่มคนอิสระที่ไม่ฝักใฝ่พรรคใดพรรคหนึ่ง เป็นคะแนนชี้ขาดว่าใครจะชนะการเลือกตั้งในยามที่ผลโพลล์ระบุว่าประธานาธิบดีโอบามากับนายมิตต์ รอมนีย์มีคะแนนนิยมสูสีกันมาก ปัญหาหนี้สาธารณะอเมริกากำลังเผชิญกับประเด็นร้อนเฉพาะหน้าที่จะต้องปรับขึ้นภาษีพร้อมกับลดรายจ่ายหรือที่เรียกว่า ‘Fiscal Cliff’ ซึ่งจะเริ่มต้นทันทีโดยอัตโนมัติในวันที่ 2 มกราคม 2556 ที่ผ่านมามีความพยายามแก้ไขปัญหาจากพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกันที่เป็นผู้ครองที่นั่งในรัฐสภา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะมีนโยบายแก้ไขคนละทิศคนละทาง ทั้งยังติดนโยบายหาเสียงของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสองพรรค ประธานาธิบดีโอบามาต้องการแก้ไขด้วยการเพิ่มภาษีคนรวย ส่วนนายมิตต์ รอมนีย์ผู้ชิงตำแหน่งจากพรรครีพับลิกันต้องการปรับลดภาษีแก่ทุกกลุ่มคน เรื่องจึงยังตกลงกันไม่ได้             ล่าสุดประธานาธิบดีโอบามากลับมารุกใ...

ฮิลลารี คลินตัน หญิงแกร่งหญิงเก่ง

รูปภาพ
ทั่วโลกเริ่มรู้จักชื่อฮิลลารี ร็อดแฮม คลินตันในฐานะสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกาในปี 1993 เมื่อนายวิลเลียม เจฟเฟอร์สัน คลินตัน หรือที่มักรู้จักกันในนามบิล คลินตันได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ             ในฐานะสุภาพสตรีหมายเลข 1 เธอมีหน้าที่ต้องแสดงบทบาทสนับสนุนประธานาธิบดีหลายอย่าง แต่เรื่องที่เป็นข่าวดังทั่วโลกเมื่อเกิดเหตุอื้อฉาวทางเพศระหว่างตัวประธานาธิบดีคลินตันกับนักศึกษาหญิงที่มาฝึกงานในทำเนียบขาวคนหนึ่ง สื่อมวลชนนำเสนอข่าวความระหองระแหงระหว่างคู่สามีภรรยาอย่างต่อเนื่อง             แต่นั่นไม่เป็นเหตุให้เธอท้อแท้ ฮิลลารี คลินตัน ลงสมัครเลือกตั้งตำแหน่งวุฒิสมาชิกเป็นครั้งแรกและชนะการเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกมลรัฐนิวยอร์กในคราวเลือกตั้งปลายปี 2000 และชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2006 ได้เป็นวุฒิสมาชิกต่ออีกสมัย             เส้นทางการเมืองของเธอไม่ได้หยุดเพียงเท่านี้ ในปี 2007 เธออาจหาญประกาศลงชิงตำ...

ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 1

รูปภาพ
การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา คณะบุคคลที่เรียกว่า Electoral College จะเป็นคนเลือก โดยดูจากคะแนนเสียงของประชาชน และสามารถ “เลือกขัดแย้ง” กับเสียงประชาชน Electoral College ทำหน้าที่กลั่นกรองความต้องการของคนอเมริกันอีกชั้น  ตำแหน่งประธานาธิบดีมาจากการเลือกโดย Electors (Electoral College ) ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน             การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจได้โดยง่าย กระทั่งคนอเมริกันหลายคนยังเข้าใจผิด ไม่ครบถ้วน เหตุผลส่วนหนึ่งเกิดจากประวัติศาสตร์การเลือกตั้งที่ต้องย้อนยุคตั้งแต่สมัยก่อตั้งประเทศ รากฐานระบบการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นพร้อมกับรัฐธรรมนูญประเทศ แม้กฎหมายการเลือกตั้งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ระบบการเลือกตั้งปัจจุบันเป็นผลจากบริบทของสมัยนั้นซึ่งแตกต่างจากบริบทยุคปัจจุบัน             จนถึงทุกวันนี้ตำแหน่งปธน.กับรองปธน.สหรัฐฯ ไม่ได้รับเลือกโดยตรงจากคะแนนเสียงของประชาชนชาวอเมริกันโดยตรงอย่างที่หลายคนเข้าใจ แม้ว่าประชาชนจะกาเคร...

เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2012 ศึกอภิปรายนโยบายต่างประเทศ

รูปภาพ
และแล้วการอภิปรายตัวต่อตัวระหว่างประธานาธิบดีบารัก โอบามากับนายมิตต์ รอมนีย์ในรอบสุดท้ายเป็นอันสิ้นสุด ในรอบนี้มีลักษณะเด่นคือมุ่งพูดนโยบายต่างประเทศเป็นหลัก             ควรทำความเข้าใจก่อนว่า เมื่อพูดถึงนโยบายต่างประเทศต้องถือว่าประธานาธิบดีบารัก โอบามาเป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างชัดเจน เพราะตลอดเกือบ 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งย่อมได้เรียนรู้ ได้ข้อมูล เข้าใจตื้นลึกหนาบางของเรื่องราวระหว่างประเทศต่างๆ มากกว่านายมิตต์ รอมนีย์ ดังนั้น นายรอมนีย์ต้องระวังในการพูดประเด็นเหล่านี้             เรื่องต่อมา ชาวอเมริกันส่วนน้อยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหตุการณ์ระหว่างประเทศ และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะให้น้ำหนักน้อยกับนโยบายต่างประเทศ ยกเว้นบางช่วง บางเหตุการณ์ที่มีผลกระทบถึงตัวคนอเมริกันอย่างรุนแรง เช่น กรณีเหตุก่อวินาศกรรม 9/11 น้ำมันจากตะวันออกกลาง และชาวอเมริกันสูญเสียตำแหน่งงานให้กับคนจีน           ...

ประเด็นโลก ประเด็นร้อน 22 – 28 ตุลาคม 2012

รูปภาพ
ข่าวดีจากซีเรีย ความพยายามหยุดยิงรอบใหม่ ขณะนี้สหประชาชาติกำลังพยายามพูดคุยกับหลายฝ่ายเพื่อนำสู่การหยุดยิงชั่วคราวในประเทศซีเรีย นายลักคาร์ บราฮิมี ผู้แทนสหประชาชาติพบรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศซีเรีย นายวาลิด อัลเมาเล็ม เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งซีเรีย เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดยิง ( Reuters ) เบื้องต้นกำหนดให้หยุดยิงในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองอีดิลอัฎฮา   ของมุสลิมในสัปดาห์หน้า (ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม) คาดว่าจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อยๆ หลายประเทศแสดงท่าทีเห็นด้วยกับการหยุดยิงดังกล่าว เช่น ตุรกี อิหร่าน สหรัฐฯ ส่วนรัฐบาลซีเรียต้องการคำมั่นว่าฝ่ายต่อต้านจะไม่ฉวยโอกาสเคลื่อนไหว             ความพยายามเจรจาเพื่อให้ทุกฝ่ายหยุดยิงครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ในสมัยเมื่อนายโคฟี่ อานันเป็นทูตพิเศษสหประชาชาติได้ความพยายามมาแล้ว แต่ติดเงื่อนไขของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด เรียกร้องการรับประกันว่าฝ่ายต่อต้านทุกกลุ่มจะต้องหยุดยิงด้วย ในระหว่างการเจรจาก็ยังยิงกันไปมา ผลคือไม่เคยไม่มีการหยุดยิงตลอด 19 เดือนนับจากกระสุนนัดแร...

สหรัฐฯ เชิญเมียนมาร์มาร่วมงานคอบร้าโกลด์ โอกาสกระชับความสัมพันธ์

รูปภาพ
วันนี้ (19 ต.ค.) มีข่าวว่าสหรัฐฯ เชิญเมียนมาร์ร่วมสังเกตการณ์การฝึกคอบร้าโกลด์ เป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกต่อฝ่ายกองทัพเมียนมาร์ที่สหรัฐฯ เห็นว่ามีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ( Reuters )             นักวิเคราะห์บางคนให้ความเห็นว่าการที่สหรัฐฯ เกี่ยวสัมพันธ์กับฝ่ายทหารอีกครั้ง เพื่อแยกเมียนมาร์ออกห่างจากจีน             ผมวิเคราะห์ว่า เป้าหมายเบื้องต้นน่าจะเป็นเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ตามปกติ ทำความรู้จักระหว่างตัวบุคคล เป็นการทูตของฝ่ายทหารด้วยกัน และช่วยปูทางสู่การสัมพันธ์ในระดับที่ลึกซึ้งขึ้น ผ่านช่องทางอื่นๆ ต่อไป             การสร้างความสนิทสนมระหว่างบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีย่อมช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี แล้วสิ่งดีๆ อื่นๆ จะตามมา             การเชิญแม่ทัพนายกองเมียนมาร์มาประเทศไทยเพื่อสังเกตการณ์การฝึกทางทหารจึงมีความสำคัญ  ...

เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2012 ความผิดพลาดทั้งหมด รมต. คลินตันขอรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

16 ตุลาคม 2012 ชาญชัย จากเหตุเผาสถานกงสุลสหรัฐอเมริกา ประจำเมืองเบงกาซี เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ นายคริสโตเฟอร์ สตีเว่นส์ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันอีก 3 คนเสียชีวิตในบริเวณสถานกงสุล ในตอนแรกประธานาธิบดีบารัก โอบามากับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน กล่าวเชื่อมโยงเหตุดังกล่าวกับเหตุมุสลิมประท้วงภาพยนตร์ลบหลู่ศาสนาที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน แต่ เรื่องกลับไม่ถูกต้อง เมื่อเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ให้การต่อกรรมาธิการรัฐสภาว่า กระทรวงการต่างประเทศไม่เคยสรุปว่าการโจมตีเผาสถานกงสุลสหรัฐฯ ที่ลิเบียเกิดจากภาพยนตร์ลบหลู่ศาสนา และสถานกงสุลเป็นเป้าต่อการโจมตีมานานแล้ว ( AP ) อีกทั้งก่อนเกิดเหตุเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ทำเนียบขาวเพื่อขอเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยแก่สถานกงสุล แต่ได้รับการปฏิเสธ ล่าสุด รมต.ฮิลลารี คลินตัน กล่าวแสดงความรับผิดชอบว่า “ดิฉันเป็นผู้รับผิดชอบ ดิฉันบริหารกระทรวงการต่างประเทศที่มีเจ้าหน้าที่กว่า 6 หมื่นคนในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก 275 แห่ง ท่านประธานาธิบดีกับรองปธน.ไม่รับรู้การตัดสินใจใดๆ ที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง” (...

ประเด็นโลก ประเด็นร้อน 15 – 21 ตุลาคม 2012

โยนดุ้นฟืนใส่ความขัดแย้งระหว่างตุรกีกับซีเรีย 14 ตุลาคม 2012 ชาญชัย วันพุธที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อเครื่องบินรบของตุรกีบังคับให้เครื่องบินพลเรือนซีเรียที่บินจากรัสเซียไปซีเรียร่อนลงจอดที่ตุรกี แล้วเจ้าหน้าที่ตุรกีเข้าไปค้นเครื่องบินด้วยข้อกล่าวหาทำผิดระเบียบการบินที่ต้องแจ้งก่อนผ่านน่านฟ้าหากขนสินค้าต้องห้าม ทางการตุรกีเชื่อว่าเครื่องบินลำดังกล่าวได้บรรทุกอุปกรณ์ทางทหารมาด้วย ฝ่ายรัสเซียที่ถูกพาดพิงถึงว่าเป็นผู้จัดหาอาวุธให้กับฝ่ายรัฐบาลซีเรียออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวทันที สำนักข่าวอินเตอร์แฟ็กซ์ของรัสเซียอ้างแหล่งข่าวจากหน่วยงานส่งออกอาวุธของรัสเซียว่า “ บนเครื่องบินโดยสารดังกล่าวปราศจากทั้งอาวุธหรือระบบ หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ใดๆ ที่เป็นอุปกรณ์ทางทหาร ” ( AFP ) ทางการซีเรียออกมาปฏิเสธเช่นกัน การสกัดกั้นเครื่องบินพลเรือนที่ทำผิดระเบียบการบินนั้นเรื่องหนึ่ง แต่ที่เพิ่มความบาดหมางระหว่างสองประเทศยิ่งขึ้นเมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศตุรกี นายอาเหม็ด ดาวูโตกรู กล่าวต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “ เราตัดสินใจที่จะควบคุมการขนย้ายอาวุธไปให้กับ รัฐบาลที่สังหารพลเรือนอย่างโห...

เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2012 ศึกษาอภิปรายรองปธน.กับผู้ท้าชิง ควรค่าสมราคา

12 ตุลาคม 2012 ชาญชัย             การบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตยแบบสหรัฐอเมริกานั้นให้ความสำคัญกับบุคคลที่เป็นประธานาธิบดีมากจริงๆ เพราะยึดว่าปธน.คือหัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็นหัวใจของประเทศในทุกนโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ถือว่าเป็นเหมือนเลขาช่วยงานเท่านั้น             ทำนองเดียวกับ ตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่ยามปกติจะไม่มีบทบาทสำคัญ เพราะไม่มีอำนาจตัดสินใจตามกฎหมายอย่างเช่นปธน. ยกเว้นยามที่ประเทศอยู่ในภาวะไม่ปกติ จึงทำให้ผู้คนไม่ค่อยสนใจกับผู้ดำรงตำแหน่งนี้มากนัก             เมื่อพูดเฉพาะเจาะจงเรื่องการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ตำแหน่งรองปธน.อยู่ในฐานะเป็นผู้ช่วยหาเสียง หรือเสริมบทบาทของตำแหน่งปธน.เป็นหลัก นโยบายที่หาเสียงย่อมขึ้นกับสิ่งที่ปธน.หรือผู้ท้าชิงตำแหน่งนี้ ทำให้หลายคนไม่เห็นความสำคัญของการอภิปรายระหว่างรองปธน.กับคู่แข่งขัน             แต่การอภ...

Fiscal Cliff การตัดสินใจครั้งสำคัญของสหรัฐฯ

10 ตุลาคม 2012 ชาญชัย             หนึ่งในเรื่องสำคัญที่สังคมอเมริกันกำลังให้ความสนใจคือเรื่องการปรับขึ้นภาษีพร้อมกับลดรายจ่าย ที่เรียกว่า ‘Fiscal Cliff’             Fiscal Cliff เป็นมรดกทางเศรษฐกิจทางการเมืองจากรัฐบาลอเมริกันชุดก่อนๆ ประกอบด้วยมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หลายอย่าง เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้ทั่วไปสำหรับคู่สมรส มาตรการยกเลิกภาษีมรดก และมาตรการผ่อนปรนภาษีร้อยละ 2 จากรายได้ของผู้ที่มีเงินเดือนประจำ มาตรการเหล่านี้จะหมดอายุในวันที่ 2 มกราคมปีหน้า เป็นช่วงเวลาเดียวกับเริ่มมาตรการปรับลดงบประมาณจำนวน 100 พันล้านดอลลาร์ต่อปีเพื่อยับยั้ง การก่อหนี้ภาครัฐที่กำลังจะเกินเพดานหนี้ที่ 16.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปลายปีนี้ (หรือต้นปีหน้า)             การยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีพร้อมกับตัดลดงบประมาณภาครัฐ เป็นการเสริมแรงกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างรุนแรง มีการคาดการณ์จากหลายแหล่ง เช่น สำนักงบประมาณรั...