บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2012

ชาติตะวันตกกับตัวเลือกสร้างเขตปลอดภัยหรือเขตห้ามบินในซีเรีย

29 สิงหาคม 2012 ชาญชัย สองสามสัปดาห์ก่อน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ นางฮิลลารี่ คลินตัน ได้หารือกับรัฐบาลตุรกีในเรื่องสถานการณ์ซีเรีย ข่าวรายงานว่าน่าจะเป็นการหารือเรื่องที่ สหรัฐฯ กับตุรกีอาจร่วมกันสร้างเขตห้ามบิน ( no-fly zones ) ตลอดพรมแดนระหว่างตุรกีกับซีเรีย             ความคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรียร้องขอมานานแล้ว และชาติตะวันตกเคยใช้วิธีนี้เพื่อโค่นล้มรัฐบาลกัดดาฟี่ ประเทศลิเบีย ล่าสุดรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส ลอรอนต์ แฟบิอุส  (Laurent Fabius) กล่างถึงการสร้างเขตกันชน ( buffer zone) หากสิ่งนี้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเขตห้ามบินหรือเขตกันชน สถานการณ์ในซีเรียจะพลิกผันให้ฝ่ายต่อต้านเป็นฝ่ายได้เปรียบทันที บทวิเคราะห์นี้จะอธิบาย คำสองคำดังกล่าวพร้อมวิเคราะห์ความแตกต่าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น 1. กรณีเขตห้ามบิน             ถ้ากำหนดใช้ เขตห้ามบิน ( no-fly zone ) หมายถึงการที่ชาติตะวันตกกำหนดเขตพื้นที่ห้ามไม่ให้อากาศยานหรือรถถ...

ประเด็นโลก ประเด็นร้อน 27 สิงหาคม – 2 กันยายน 2012

26 สิงหาคม 2012 ชาญชัย 1. กรีซขอเจรจาเพื่อยืดเวลา ไม่มีอะไรซับซ้อน สืบเนื่องจากนายกรัฐมนตรีกรีซ แอนโทนิส ซามาราส ( Antonis Samaras) ขอเจรจาเพื่อยืดเวลามาตรการรัดเข็มขัด โดยกล่าวผ่านสื่อว่า "ผมขอพูดแบบตรงไปตรงมา เราไม่ต้องการเงินเพิ่ม เรายึดมั่นในสัญญา ยึดมั่นในข้อเรียกร้องของเรา เราขอเร่งสร้างการเติบโต ... สิ่งเดียวที่เราต้องการคือมีที่ว่างหายใจเพิ่มอีกเล็กน้อยเพื่อให้เศรษฐกิจทำงาน ให้รัฐมีรายได้เพิ่ม" ( REUTERS )             ผู้นำเยอรมันกับฝรั่งเศสตอบกลับด้วยการพูดทำนองขอให้กรีซยึดมั่นในข้อตกลงเดิม แต่ได้เปิดท้ายว่าข้อเรียกร้องของกรีซจะต้องนำเสนอผ่านกลุ่มเจ้าหนี้ซึ่งประกอบด้วย  EU ECB และ IMF ที่เรียกว่า ทรอยก้า ( troika)             ฟังดูเผินๆ อาจดูเหมือนว่าเยอมนีกับฝรั่งเศสปฏิเสธข้อเรียกร้องของกรีซ แต่ความจริงคือ ผู้นำเยอรมนีกับฝรั่งเศสเพียงพูดเพื่อชี้ให้รัฐบาลกรีซทำตามขั้นตอน เป็นการพูดตามพิธีทางการทูต         ...

‘กรีซขอยืดเวลา’ กับความเป็นไปได้

บทความ 22 สิงหาคม 2012 ชาญชัย นายกรัฐมนตรีกรีซ แอนโทนิส ซามาราส ( Antonis Samaras) แสดงจุดยืนก่อนเจรจาผ่านสื่อว่า "ผมขอพูดแบบตรงไปตรงมา เราไม่ต้องการเงินเพิ่ม เรายึดมั่นในสัญญา ยึดมั่นในข้อเรียกร้องของเรา เราขอเร่งสร้างการเติบโต ... สิ่งเดียวที่เราต้องการคือมีที่ว่างหายใจเพิ่มอีกเล็กน้อยเพื่อให้เศรษฐกิจทำงาน ให้รัฐมีรายได้เพิ่ม" ( REUTERS )             ข้อเรียกร้องของรัฐบาลกรีซคือ ขอผ่อนคลายมาตรการรัดเข็มขัดออกไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากที่เศรษฐกิจประเทศถดถอยสู่ปีที่ 5 ประชาชนเกือบ 1 ใน 4 อยู่ในภาวะว่างงาน             คำถามคือ กลุ่มเจ้าหนี้ซึ่งประกอบด้วย  EU ECB และ IMF ที่เรียกว่า troika จะยอมหรือไม่ มีแนวทางที่สามารถเป็นไปได้ 3 แบบ อธิบายได้ใน 3 ฉากทัศน์ ( scenario ) ดังนี้ 1 ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมตามกรีซ             ในกรณีที่เจ้าหนี้ยืนยันคงข้อตกลงเดิม รัฐบาลกรีซกลับบ้านมือเปล่า ผลในระยะสั้นคือชาวกรีซบางส่ว...

ประเด็นโลก ประเด็นร้อน 20-26 สิงหาคม 2012

บทความ 19 สิงหาคม 2012 ชาญชัย 1. ราคาน้ำมันดิบพุ่งทะยานสู่ 100 ดอลลาร์             คนที่มีรถยนต์ส่วนตัวจะสังเกตได้ว่าราคาน้ำมันในช่วงไม่ถึงสองเดือนนี้ปรับเพิ่มขึ้นบ่อยครั้ง ข้อมูลพลังงานขายปลีกของบริษัท ปตท. ชี้ว่านับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมจนถึงวันนี้ ในเวลาเพียงเดือนครึ่ง ราคาปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว 7 ครั้ง (อ้างอิงราคาน้ำมัน E20, website ปตท. )             ราคาน้ำมันขายปลีกไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันดิบโลก ยกตัวอย่าง น้ำมันดิบ WTI ของสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ปิดที่ 96.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคมเป็นต้นมา ( Bloomberg )             ไม่ว่าปัจจัยพื้นฐานที่กล่าวอ้างจะเป็นเรื่องของดัชนีเศรษฐกิจบางตัวที่ดีขึ้น สถานการณ์รุนแรงในภูมิภาคตะวันออกลางหรือผลเกี่ยวเนื่องจากภัยแล้งสหรัฐฯ   ราคาน้ำมันดิบโลกสูงขึ้นต่อเนื่อง 3 เดือนแล้ว แม้โฆษกทำเนียบขาวจะออกมาให้ข่าวว่าเป็นนโยบา...

การกระตุ้นเศรษฐกิจควรสร้างความเจริญที่ยั่งยืน

บทความ 16 สิงหาคม 2012 ชาญชัย             เป็นเรื่องบังเอิญหรืออย่างไรไม่ทราบ ที่ขณะนี้ตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐในสามระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ สหรัฐฯ ยูโรโซนและจีน              โดยทั่วไปรัฐบาลทุนนิยมควรปล่อยให้ความเป็นไปของตลาดเป็นไปตามกลไกเสรีให้มากที่สุด แต่เนื่องจากระบบตลาดเงินตลาดทุนเป็นศูนย์รวมความมั่งของของประชาชนจำนวนไม่น้อย ทั้งนายทุนเล็กนายทุนใหญ่ อีกทั้งความเชื่อมั่นของตลาดส่งผลกระทบสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อการเมือง สังคมอีกทอดหนึ่ง รัฐบาลจึงไม่อาจมองข้ามความต้องการของตลาดได้             กลายเป็นว่า รัฐทุนนิยม (หรือกึ่งทุนนิยมกึ่งระบบตลาด) ต้องเข้าแทรกแซงกลไกการค้าเสรีเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ บางรัฐถึงกับยินดีเสียอธิปไตยบางส่วนเพื่อแลกกับความช่วยเหลือจากต่างชาติ จากองค์กรระหว่างประเทศ             แน่นอนว...

ประเด็นโลก ประเด็นร้อน 12-19 สิงหาคม 2012

บทความ 12 สิงหาคม 2012 ชาญชัย 1. ภัยแล้งสหรัฐฯ กำลังกระทบราคาสินค้าหลายชนิดทั่วโลก             ภัยแล้งสหรัฐฯ ที่ดำเนินมาราว 2 เดือนแล้วกำลังเป็นภัยที่โลกต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประเมินผลผลิตข้าวโพดปีนี้อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา เช่นเดียวกับราคาถั่วเหลืองที่ปรับสูงขึ้นมาก ( WSJ )             ไม่เพียงแต่ราคาอาหารที่เกี่ยวข้องกับธัญพืชจะต้องปรับราคาขึ้น ราคาเนื้อสัตว์ปีหน้าจะต้องปรับสูงขึ้นด้วยจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่อากาศร้อนทำให้วัวโตช้า หญ้าสดหายากต้องให้กินหญ้าแห้งแทน ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตวย์แพงขึ้น ทั้งหมดทั้งปวงนี้ส่งผลให้ราคาเนื้อสัตว์ปีหน้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ( CNBC )             ผลผลิตข้าวโพดร้อยละของสหรัฐฯ 40 ถูกใช้เพื่อผลิตเอทานอล ดังนั้น ราคาข้าวโพดที่เพิ่มสูงจึงกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตเอทานอลสหรัฐฯ โดยตรง แม้มีผู้ยื่นเรื่องให้ประธาน...

ข้อสังเกตจากจำนวนประชากรในเมืองอเลปโป้

บทความ 8 สิงหาคม 2012 ชาญชัย             ผู้ที่ติดตามข่าวความขัดแย้งในประเทศซีเรียจะมีความเห็นอย่างหนึ่งว่า ความขัดแย้งในซีเรียเกิดขึ้นมาแล้วคือนานกว่า 17 เดือน เนื่องจากฝ่ายรัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดี บาชาร์ อัลอัสซาด ยืนหยัดปราบปรามฝ่ายต่อต้านแม้เผชิญแรงกดดันจากหลายชาติในภูมิภาคตะวันออกกลาง จากชาติตะวันตก ขณะที่ฝ่ายต่อต้านที่ได้รับการสนับสนุนภายนอกประเทศก็ต่อสู้อย่างแข็งขัน ประกาศว่าจะต้องโค่นล้มระบอบของประธานาธิบดีอัสซาดให้จงได้             จุดสนใจขณะนี้อยู่ที่เมืองอเลปโป้ ( Aleppo ) เมืองเศรษฐกิจและสำคัญเป็นอันดับสองรองจากเมืองหลวงดามัสกัส มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังว่าเป็นเมืองสำคัญตั้งแต่สมัยจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเมืองเศรษฐกิจตั้งแต่อดีตสมัยเพราะเป็นเมืองสำคัญของเส้นทางสายไหม             ข้อมูลปี 2012  ซีเรียมีประชากรรวม 22.5 ล้านคน ส่วนพลเมืองในเมืองอเลปโป้ พลโท บาบาคาร์ กาย ( Babacar Gaye ) หัวหน้าทีมสังเ...

ยูโรโซน: เมื่อความจริงเหลือเพียงความฝันให้หวังต่อไป

บทความ 3 ส.ค. 2012 ชาญชัย จากคำพูดของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) นายมาริโอ้ ดรากี้   ที่จะกระทำทุกอย่างเพื่อรักษาเสถียรภาพของยูโรโซน กับแถลงการณ์ร่วมของผู้นำเยอรมันกับฝรั่งเศสที่ทวนย้ำคำพูดของนายดรากี้ เมื่อวานได้ข้อสรุปแล้วว่า นายดรากี้ยังพูดทำนองเดิมแต่ขาดมาตรการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ‘ ความหวัง ’ ของตลาดจึงกลายเป็นเพียง ‘ ความฝัน ’ ECB ยอมรับว่า “อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังอ่อนแอ” แต่ยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ .75 และไม่มีมาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม นายดร้ากี้ยังทิ้ง ‘ ความหวัง ’ เพื่อให้ ‘ ฝัน ’ ต่อไป โดยกล่าวว่า ‘ ในหลายสัปดาห์จากนี้เราจะคิดหาทางแก้ไขที่เหมาะสม ’ ผมตีความระหว่างบรรทัดจากคำพูดของนายดร้ากี้ในบางประเด็นเช่น ‘ ที่ประชุมได้หารือและมีความเห็นร่วมในหลายเรื่อง ’ แปลว่า ยังมีหลักการหรือรายละเอียดที่ตกลงกันไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถออกมาตรการที่เป็นรูปธรรมในวันนี้   ‘ ในหลายสัปดาห์จากนี้เราจะคิดหาทางแก้ไขที่เหมาะสม ’ แปลว่า การพูดคุยภายในชาติสมาชิก ECB ยังไม่จบสิ้น บางประเทศอาจยังพยายามผลักดันให้เกิดผลอันเป็นรูปธรรมตามแบบที่ตนต้องก...