ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน้า 6

กรณีศึกษาของตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กรณีศึกษา: British Petroleum กับ CIA ร่วมกันโค่นล้มรัฐบาล Mossadegh
            · ต้นทศวรรษ 1950 บรรษัทน้ำมันข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดในอิหร่านคือ Anglo-Iranian Oil Company [AIOC] ของประเทศอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อว่า British Petroleum Company หรือ “BP”
            · จุดเริ่มต้น คือ Mossadegh เป็นนักชาตินิยม และมีตำแหน่งเป็น chairman of the government's Oil Committee เห็นว่า AIOC เป็นสัญลักษณ์จักรวรรดินิยมของตะวันตก ขัดขวางอธิปไตยและความมั่งคั่งของชาติ เพราะร้อยละ 90 ของกำไรตกเป็นของบริษัทซึ่งขนออกนอกประเทศอิหร่านหมด เช่น ในปี 1950 รัฐบาลอิหร่านได้ส่วนแบ่งกำไรเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น (จากค่าสัปทาน) ซึ่งยังน้อยกว่าส่วนที่บริษัทต้องเสียภาษีให้รัฐบาลอังกฤษเสียเอง Mossadegh กับพวกจึงต่อสู้เรียกขอให้แบ่งประโยชน์ที่ได้จากน้ำมันระหว่างอิหร่านกับบริษัทเสียใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเป็นอันมาก และในเดือนถัดมาคือเมษายน 1951 เขาชนะการเลือกได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิหร่านด้วยความยินดีของประชาชน งานชิ้นแรกของนายกฯคนใหม่คือการออกพรบ. (Oil Nationalisation Bill) รัฐเข้าถือครองบ่อน้ำมันแทน AIOC

            · Mossadegh เป็นนักชาตินิยม ไม่ต้องการการแทรกแซงไม่ว่าจากประเทศตะวันตกหรือคอมมิวนิสต์ แต่เนื่องจากทำให้บรรษัทน้ำมัน AIOC เสียผลประโยชน์ที่ได้จากน้ำมันของอิหร่าน AIOC จึงติดต่อกับ British Secret Intelligence Service (หรือที่เรียกกว่า MI6) เพื่อโค่นล้มรัฐบาล Mossadegh เหตุการณ์ดำเนินต่อไปโดยทางด้านหน่วยข่าวกรองอังกฤษขอการสนับสนุนจาก CIA ประธานาธิบดี Eisenhower จึงยกข้ออ้างเรื่องเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ให้ CIA ปฏิบัติการโค่นล้ม Mossadegh

          o แนวทางหนึ่งที่อังกฤษคิดคือทำการรัฐประหาร ซึ่งในขณะนั้นผู้ที่สนับสนุนเรื่องนี้เป็นอย่างมากคือ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ Winston Churchill
          o ในเดือนกรกฎาคม 1953 สหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower เห็นด้วยกับแผนของรัฐบาลอังกฤษ ทั้งสองประเทศจึงร่วมกันก่อการเพื่อโค่นล้มรัฐบาล Mossadegh
            o วิธีการที่ CIA ทำ คือใช้กลุ่มการเมืองภายในอิหร่านเคลื่อนไหวต่อต้านการทำงานของรัฐบาล Mossadegh ซื้อสื่อเพื่อเขียนข่าวโจมตี รวมทั้งสื่ออย่าง BBC ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนด้วย ทำให้ Mossadegh สูญเสียความนิยมอย่างรวดเร็ว และกล่าวหาว่ารัฐบาล Mossadegh ตกอยู่ใต้อำนาจของคอมมิวนิสต์แล้ว 
            o ในวันที่ 19 กันยายน 1953 กองกำลังของกษัตรยิ์ Shah แห่งอิหร่าน (Mohammad Reza Pahlavi) ทำการรัฐประหารโค่นอำนาจของ Mossadegh ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐฯ กษัตริย์ Shah ได้ขึ้นสู่อำนาจ อิหร่านหวนกลับสู่การปกครองตามระบอบกษัตริย์อีกครั้ง
            o Mossadegh ถูกจับและถูกกักบริเวณเป็นเวลา 3 ปี ด้วยข้อหาพยายามโค่นล้มระบอบกษัตริย์

            · การต่อสู้ครั้งนี้จึงเป็นระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งของคือ รัฐอิหร่าน (ในบริบทหมายถึงรัฐบาล Mossadegh กับประชาชน) กับอีกฝ่ายคือ บรรษัทน้ำมัน BP กับประเทศมหาอำนาจตะวันตก 2 ประเทศ
            · เหตุการณ์ดังกล่าว บรรษัทน้ำมัน (ตัวแสดง-MNCs) เป็นฝ่ายชนะเพราะสามารถจูงใจประเทศอังกฤษและสหรัฐฯ (ตัวแสดง-รัฐ) สนับสนุนการโค่นล้มรัฐบาลอิหร่าน (ตัวแสดง-รัฐ)
เอกสารประกอบคำบรรยาย รหัสวิชา2551120 ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์
ชาญชัย คุ้มปัญญา
------------------------------

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุดมการณ์ทางการเมือง (1) นิยาม อุดมการณ์ทางการเมือง

อุดมการณ์ทางการเมือง (2) อุดมการณ์เสรีนิยม

กำเนิด “รัฐสมัยใหม่” ตัวแสดงเอกของโลก