ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน้า 2

“ผลประโยชน์แห่งชาติ” : ไม่ว่ารัฐตั้งอยู่บนระบอบการปกครองรูปแบบใด บรรดารัฐทั้งหลายต่างถือว่าผลประโยชน์แห่งชาติคือปัจจัยหลักของการดำเนินนโยบายและการมีปฏิสัมพันธ์กับตัวแสดงอื่นๆ และเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้ว่า แนวคิดนี้ถูกต้องหรือไม่อย่างไร 
“นิยามผลประโยชน์แห่งชาติ”
            Donald E. Nuechterlein ผลประโยชน์แห่งชาติ คือ “สิ่งที่จัดว่าเป็นความต้องการและความมุ่งหวังของประเทศในการดำเนินความสัมพันธ์กับรัฐอธิปไตยอื่นๆที่ประกอบกันเป็นสภาวะแวดล้อมของชาติดังกล่าว” (อ้าง Donald E. Nuechterlein, America Overcommitted: United States National Interests in the 1980’s)
            Hans Morgenthau (1904-1980) กล่าวว่า เป้าหมายของการดำเนินนโยบายประเทศคือเพื่อให้ได้อำนาจ ดังนั้น สามารถนิยามผลประโยชน์แห่งชาติว่าคือการได้มาซึ่งอำนาจนั่นเอง
            คือ อะไรก็ตามที่ประเทศนั้นเห็นว่าสมควรแก่เพิ่มพูน รักษาและปกป้องไว้ ซึ่งอาจเป็นความมั่นคง การอยู่ดีกินดี ค่านิยมหรืออุดมการณ์ที่ยึดถือ เกียรติภูมิ
            เค.เจ.โฮลสติ กล่าวว่า ผลประโยชน์แห่งชาติ อาจหมายถึง
            1. สิ่งที่น่าจะเป็นหรือควรจะเป็น
            2. สิ่งที่แสวงหาอยู่ตลอดมา
            3. สิ่งที่ผู้กำหนดนโยบายบอกว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติ

· ระดับของผลประโยชน์
            เค.เจ.โฮลสติ แบ่งผลประโยชน์แห่งชาติเป็น 3 ระดับ
            1. ระดับแก่น คือ เรื่องการรักษาตัวรอด การป้องกันเขตแดนที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ ฯลฯ
            2. ระดับกลาง คือ การตอบสนองความ ข้อเรียกร้องของมหาชน ของเอกชน ผ่านการดำเนินการระหว่างประเทศ การเพิ่มเกียรติภูมิของรัฐและการขยายตัวในรูปแบบต่างๆ เช่น จักรวรรดินิยม เป็นต้น
            3. ระดับกว้าง คือ การเรียกร้องที่มีเป้าหมายทางแนวคิด ทัศนคติบางอย่าง เช่น ต้องการให้ประเทศอื่นๆพ้นจาก “ความด้อยพัฒนา”
            ตัวอย่าง ประเทศสหรัฐฯ ในปัจจุบัน เรียกร้องเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตย เนื่องจากสหรัฐฯ เชื่อว่าหากนานาชาติปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแล้ว สหรัฐฯ จะมีความมั่นคง ไม่เกิดความขัดแย้งกับลัทธิคอมมิวนิสต์ในสมัยสงครามเย็น ทำให้เศรษฐกิจประเทศมั่งคั่ง

· ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นตัวกำหนดนโยบายต่างประเทศ
            o นโยบายเกิดจากการตีความผลประโยชน์แห่งชาติและสร้างเป็นหลักคิดหรือแนวทางเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ
            · ไม่มีรัฐบาลใดออกนโยบายที่ขัดแย้งหรือไม่ตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติ
            o แต่ในระดับปฏิบัติ การดำเนินนโยบายต่างประเทศหลายอย่างไม่อยู่ในสายตาหรือการรับรู้ของประชาชนทั่วไป แต่อยู่ในกลุ่มเล็กๆ ที่เกี่ยวข้อง การดำเนินนโยบายบางครั้งอาจไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์แห่งชาติก็เป็นได้

            · ความสัมพันธ์ระหว่างผลประโยชน์แห่งชาติของแต่ละประเทศ ก่อเกิดเป็นความสัมพันธ์หลายรูปแบบ
            1. ร่วมมือกัน
            2. แข่งขันกัน เช่น การแข่งขันทางการค้า ต่างฝ่ายต่างต้องการขายสินค้าให้อีกประเทศหนึ่ง
            3. ขัดแย้งกัน ความขัดแย้งระหว่างประเทศบ่อยครั้งเกิดจากความขัดกันของผลประโยชน์แห่งชาตินี่เอง
            4. ไม่เกี่ยวข้องกัน คือ ต่างฝ่ายต่างไม่ได้ไม่เสียอะไร ต่างไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ จึงไม่มีการติดต่อสัมพันธ์กันในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือมีสัมพันธ์น้อย เป็นเพียงพิธีการ
            · รูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นพร้อมๆกัน
            o ประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง มีได้ทั้งความร่วมมือ ขัดแย้ง และไม่เกี่ยวข้องกัน ขึ้นว่าประเด็นว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่ อย่างไร
              · รูปแบบความสัมพันธ์ไม่คงที่ แปรเปลี่ยนได้เสมอ
            o ดังประโยคที่ว่า “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร”
เอกสารประกอบคำบรรยาย รหัสวิชา2551120
ชาญชัย คุ้มปัญญา
---------------------------

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุดมการณ์ทางการเมือง (1) นิยาม อุดมการณ์ทางการเมือง

อุดมการณ์ทางการเมือง (2) อุดมการณ์เสรีนิยม

กำเนิด “รัฐสมัยใหม่” ตัวแสดงเอกของโลก