บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2012

ชาวอเมริกันจะได้ประโยชน์หรือไม่เมื่อประเทศลดการพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลาง

รูปภาพ
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าภายในทศวรรษนี้สหรัฐฯจะลดการพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลางลงครึ่งหนึ่ง และอาจไม่นำเข้าเลยก่อนสิ้นปี 2035 สืบเนื่องจากสามารถหาน้ำมันจากแหล่งภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นและคนอเมริกันบริโภคน้ำมันลดลง แต่เรื่องดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าชาวอเมริกันจะได้ซื้อน้ำมันในราคาถูกเสมอไป             ณ วันนี้ ด้วยผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันสามารถดึงน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันบางประเภทที่อดีตทำไม่ได้ เช่น จาก shale-rock จากทรายน้ำมัน แหล่งน้ำมันประเภทนี้มีอยู่ในสหรัฐฯและหลายแห่งทั่วโลก สามารถแก้ไขปัญหาต้นทุนสูง แก้ปัญหาบางอย่างในกระบวนการผลิต เช่นเกิดกำมะถันในปริมาณสูงเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเหตุที่สหรัฐฯจะบริโภคน้ำมันน้อยลง เพราะสามารถผลิตรถยนต์ที่กินน้ำมันน้อย จากสองปัจจัยดังกล่าวจึงคาดว่าก่อนปี 2035 สหรัฐฯแทบจะไม่ต้องพึ่งการนำเข้าน้ำมันจากแหล่งตะวันออกกลางอีกต่อไป เป็นไปตามเป้าหมายที่สหรัฐฯหวังไว้นานแล้ว คือต้องการได้แหล่งน้ำมันที่มีความแน่นอน แหล่งที่มีความผันผวนน้อยกว่าตะวันออกกลาง  อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯยังจะ...

สัญญาณอันตรายจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสเปน

รูปภาพ
สเปนกลับมาเป็นปัญหาอีกรอบ เมื่อวันนี้ (19 มิ.ย.) รัฐบาลสเปนต้องขายพันธบัตรอายุ 12 เดือนในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.07 กับพันธบัตรอายุ 18 เดือนด้วยด้วยเบี้ยร้อยละ 5.11 อัตราดอกเบี้ยของทั้งคู่เพิ่มขึ้นราว 200 basis points เมื่อเทียบกับการขายพันธบัตรชนิดเดียวกันเมื่อเดือนก่อน หรือเท่ากับว่า ในเวลาเพียงเดือนเดียว ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 2% จากเดือนก่อนที่จ่าย 3% เดือนนี้กลายเป็น 5% แม้จะมีส่วนที่เป็นข่าวดีอยู่ด้วยคือ รัฐบาลสเปนสามารถขายได้ตามเป้าหมายที่ราว 3 พันล้านยูโร             ส่วนพันธบัตรรัฐบาลที่ขายเมื่อวานชนิดอายุ 10 ปี ต้องขายในอัตราดอกเบี้ยกว่าร้อยละ 7 ได้ส่งสัญญาณลบแก่ระบบการเงินโลกก่อนแล้ว             ผลการขายพันธบัตรระยะยาวเมื่อวานกับระยะสั้นวันนี้ สะท้อนว่าตลาดการเงินกังวลต่อตลาดเงินสเปนเป็นอย่างยิ่ง             สะท้อนอีกว่า สิ่งที่ชาติสมาชิกยูโรโซนสัญญาว่าจะให้รัฐบาลสเปนกู้เงิน 100 พันล้านยูโรเพื่อเพิ่มสภาพคล...

ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน้า 6

รูปภาพ
กรณีศึกษาของตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กรณีศึกษา: British Petroleum กับ CIA ร่วมกันโค่นล้มรัฐบาล Mossadegh             · ต้นทศวรรษ 1950 บรรษัทน้ำมันข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดในอิหร่านคือ Anglo-Iranian Oil Company [AIOC] ของประเทศอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อว่า British Petroleum Company หรือ “BP”             · จุดเริ่มต้น คือ Mossadegh เป็นนักชาตินิยม และมีตำแหน่งเป็น chairman of the government's Oil Committee เห็นว่า AIOC เป็นสัญลักษณ์จักรวรรดินิยมของตะวันตก ขัดขวางอธิปไตยและความมั่งคั่งของชาติ เพราะร้อยละ 90 ของกำไรตกเป็นของบริษัทซึ่งขนออกนอกประเทศอิหร่านหมด เช่น ในปี 1950 รัฐบาลอิหร่านได้ส่วนแบ่งกำไรเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น (จากค่าสัปทาน) ซึ่งยังน้อยกว่าส่วนที่บริษัทต้องเสียภาษีให้รัฐบาลอังกฤษเสียเอง Mossadegh กับพวกจึงต่อสู้เรียกขอให้แบ่งประโยชน์ที่ได้จากน้ำมันระหว่างอิหร่านกับบริษัทเสียใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเป็นอันมาก และในเดือนถัดมาคือเมษายน 1951 เขาชนะการเลือกได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิหร...

ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน้า 5

รูปภาพ
ตัวอย่างประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ :  สงครามเย็น โลกาวิวัตน์ และภาวะโลกร้อน “สงครามเย็น”             · สงครามเย็น (Cold War) หมายถึง สภาพที่มีความตึงเครียด การแข่งขันระหว่างค่ายประชาธิปไตยที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำ กับค่ายคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ             o เกิดขึ้นช่วงปี 1945 - 1991            o เป็นสภาวะที่อภิมหาอำนาจทั้งสองมีความขัดแย้ง แต่ไม่ได้ถึงกับทำสงครามต่อกันโดยตรง             o แต่ต่อสู้ด้วยวิถีทางอื่นๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การแข่งขันพัฒนากองทัพ การให้ความช่วยเหลอทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่เป็นพวก           o แต่มี “สงครามร้อน” ซึ่งดำเนินไปในลักษณะของสงครามตัวแทน (Proxy warfare) โดยอภิมหาอำนาจทั้งสองจะสนับสนุนกำลังทหารและอาวุธ ในกรณีที่เกิดการรบระหว่างฝ่ายนิยมประชาธิปไตยกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในประเทศที่สาม เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม            · หลังสงครามโลกค...

ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน้า 4

รูปภาพ
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ “ลักษณะแนวคิดหรือทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ”             ประการแรก ไม่มีแนวคิดหรือทฤษฎีใดที่สามารถใช้ครอบคลุมกับทุกเหตุการณ์             ประการที่สอง แต่ละแนวคิดหรือทฤษฎีมีความบกพร่องหรือความไม่สมบูรณ์ในตัวเอง             จนทุกวันนี้ ในแวดวงนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านทฤษฎียังถกเถียงกันอยู่เสมอถึงความบกพร่องหรือความไม่สมบูรณ์กันอยู่เสมอ             ประการที่สาม เหตุการณ์บางเรื่องไม่สามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิดหรือทฤษฎีใดๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน             กลายเป็นความท้าทายของนักทฤษฎีที่จะค้นคว้าและสร้างทฤษฎีใหม่ๆเพื่ออธิบาย วิเคราะห์ คาดการณ์เหตุการณ์เหล่านั้นต่อไป “สัจนิยม”             · สัจนิยมเป็นสำนักความคิด (school of thought) ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นมุมมองที่สำคัญที่สุดในทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ              ·...

ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน้า 3

รูปภาพ
ตัวแสดง :  “ตัวแสดง-รัฐยังคงเป็นตัวแสดงหลักในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่”             · คำถามที่ว่า ตัวแสดง (Actor) รัฐในปัจจุบันยังเป็นตัวแสดงหลักในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างหรือไม่นั้น เกิดจาก             1. ปรากฎการณ์ที่อำนาจรัฐไม่อาจครอบงำประชาชนได้เต็มที่อย่างในอดีต             o สังเกตจากการที่ปัญหาหลายอย่างในปัจจุบัน รัฐไม่สามารถแก้ไขจัดการได้ดีเหมือนแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาคนว่างงาน ปัญหาชนกลุ่มน้อย ทำให้เกิดการประท้วง การแสดงถึงความไม่พอใจในหลายรูปแบบ พร้อมกับบทบาทของตัวแสดงมิใช่รัฐ (non-state actor) ที่เพิ่มมากขึ้น             o ประชาชนของรัฐหนึ่งติดต่อกับอีกรัฐหนึ่งได้โดยง่าย เป็นโลกไร้พรมแดน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ท             2. อำนาจอธิปไตยถูกสั่นคลอนหรือลดทอน             3. ตัวแสดงม...

ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน้า 2

รูปภาพ
“ผลประโยชน์แห่งชาติ” :  ไม่ว่ารัฐตั้งอยู่บนระบอบการปกครองรูปแบบใด บรรดารัฐทั้งหลายต่างถือว่าผลประโยชน์แห่งชาติคือปัจจัยหลักของการดำเนินนโยบายและการมีปฏิสัมพันธ์กับตัวแสดงอื่นๆ และเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้ว่า แนวคิดนี้ถูกต้องหรือไม่อย่างไร  “นิยามผลประโยชน์แห่งชาติ”             Donald E. Nuechterlein ผลประโยชน์แห่งชาติ คือ “สิ่งที่จัดว่าเป็นความต้องการและความมุ่งหวังของประเทศในการดำเนินความสัมพันธ์กับรัฐอธิปไตยอื่นๆที่ประกอบกันเป็นสภาวะแวดล้อมของชาติดังกล่าว” (อ้าง Donald E. Nuechterlein, America Overcommitted: United States National Interests in the 1980’s)             Hans Morgenthau (1904-1980) กล่าวว่า เป้าหมายของการดำเนินนโยบายประเทศคือเพื่อให้ได้อำนาจ ดังนั้น สามารถนิยามผลประโยชน์แห่งชาติว่าคือการได้มาซึ่งอำนาจนั่นเอง             คือ อะไรก็ตามที่ประเทศนั้นเห็นว่าสมควรแก่เพิ่มพูน รักษาและปกป้องไว้ ซึ่งอาจเป็นความมั่นคง การอยู่ดีกินดี ค่านิยมหรืออุดมการณ์ที่ยึดถือ เกีย...

ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน้า 1

รูปภาพ
ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่งประเทศ “ความสำคัญของวิชา” วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้รับความสนใจอย่างมากภายหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ความปรารถนาที่จะสร้างสันติภาพให้แก่มวลมนุษยชาติ โดยหวังว่าความรู้ในศาสตร์นี้จะสามารถตอบคำถาม อธิบาย และนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างประเทศ · โลกเราแคบลงทุกวัน โลกยุคนี้นับวันแต่แคบลงและใกล้ชิดกันมากขึ้น ข้าวไทยส่งออกทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆของโลก คนไทยมีโอกาสดูภาพยนต์จากฮอลีวูดที่อยู่คนละซีกโลกกับประเทศไทย · ประเทศไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยว การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย การปิดประเทศไม่ติดต่อกับประเทศอื่นๆ ไม่น่าจะเป็นนโยบายที่ดี แต่เราต้องติดต่อค้าขาย รัฐบาลไทยชุดแล้วชุดเล่าพยายามหาช่องทางค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น บางประเทศที่ยังไม่ได้ค้าสินค้านั้นๆก็ต้องดั้นด้นหาทางติดต่อซื้อขาย · การติดต่อกับต่างประเทศมีผลต่อวิถีชีวิตของเรา ถ้าเราไม่ติดต่อกับต่างประเทศ วันนี้เราอาจจะยังไม่มีรถไฟฟ้าทั้งแบบบนดินใต้ดิน ไม่มีอินเตอร์เน็ท ฯลฯ แต่ทั้ง...