ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ หน้า 2
“อำนาจ คืออะไร” : อำนาจ (Power) คือ ความสามารถในการทำให้ผู้อื่นกระทำในสิ่งที่ผู้ใช้อำนาจต้องการ
• สัมพันธภาพของอำนาจ
อำนาจมีมานานตั้งแต่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าในสังคมหรือรัฐที่เราอาศัยอยู่มีอำนาจ ความน่าสนใจอยู่ที่สัมพันธภาพของอำนาจในรัฐสมัยใหม่ที่มนุษย์เป็นผู้กำหนด
คำถามต่อมาคือใครควรเป็นผู้กำหนด Machiavelli แนะนำผู้ปกครองว่าต้องกำหนดและรักษาอำนาจของตนไว้ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด
คำถาม อำนาจการบริหารประเทศปัจจุบัน ใครเป็นผู้กำหนด
รัฐธรรมนูญไทยวางกรอบการใช้อำนาจ หรือสัมพันธภาพของอำนาจ คำถามที่น่าคิดคือใครเป็นผู้ร่างรธน.
• อำนาจ กับ อิทธิพล (influence)
อิทธิพล (influence) คือ อำนาจที่คงอยู่ แม้ว่าผู้มีอำนาจจะไม่ได้แสดงอำนาจต่ออีกคนหนึ่ง (ฝ่ายที่ถูกใช้อำนาจ ยอมรับการมีอยู่ของอำนาจ แม้ผู้มีอำนาจไม่ได้แสดงออกในขณะนั้นๆ)
เช่น เรายังให้ความเคารพ นับถือ เชื่อฟัง ครูชั้นประถมของเรา – ปัจจุบันท่านไม่ได้เป็นครูของเรา (เราไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังท่าน) เรามีการศึกษามากกว่าท่าน (ในแง่มุมของการเป็นผู้มีความรู้ เรารู้มากกว่าท่านอีก) แต่เรายังเคารพท่าน
เช่น ตำราจากชาติตะวันตก โดยเฉพาะอเมริกามีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองที่สอนในสถาบันการศึกษาระดับสูงส่วนใหญ่ของไทย ทำให้นักวิชาการไทยจำนวนไม่น้อยที่ยึดเอาแนวคิดของตะวันตกมาเป็นหลักคิด
• อำนาจ กับ สิทธิอำนาจ
คือ ระดับหรือขอบเขตอำนาจที่ดำรงอยู่เสมอตราบเท่าที่อยู่ในตำแหน่งแห่งอำนาจ และผู้ถูกใช้อำนาจยอมรับโดยปริยาย
เช่น ไม่ว่าใครจะดำรงตำแหน่งเป็นตำรวจจราจร ก็จะมีอำนาจในระดับและขอบเขตของตำแหน่งที่กฎระเบียบ กฎหมายมอบให้
สิทธิอำนาจมาจากบรรทัดฐาน (norms) หรือการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ในสังคม ซึ่งอาจมาจากกฎหมาย ศาสนา ความดีงามที่ยึดมั่น
เช่น วัฒนธรรมไทยเด็กจะต้องให้ความเคารพแก่ผู้ใหญ่ หรือ ศาสนาสอนให้ลูกต้องกตัญญูพ่อแม่ ลูกต้องเชื่อฟังพ่อแม่
• ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับอำนาจ
o อำนาจ เป็นกลางในตัวเอง แต่ที่ไม่ดีเพราะคนเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ดี ชาวกรีกโบราณเชื่อว่าอำนาจเป็นเพียงเครื่องมือ ส่วนจะให้ผลดีหรือร้ายขึ้นกับผู้ใช้ว่านำไปใช้ทางใดต่างหาก
o แต่บางคนพบว่า อำนาจมักถูกใช้ในทางที่ผิด เป็นที่มาของการฉ้อฉล ดังที่ Lord John Acton กล่าวว่า “power tends to corrupt and absolute power corrupts absolutely.”
โดยนัยยะของ Acton ท่านไม่ได้ปฏิเสธว่า ไม่ควรมีอำนาจหรือไม่ควรให้อำนาจทำงานตามกลไกของมัน แต่เตือนใจว่าอำนาจมักจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเสมอ และยิ่งมีอำนาจมากยิ่งทำผิดได้มากและถูกควบคุมได้ยากมากขึ้น
เอกสารประกอบคำบรรยาย รหัสวิชา2551120
ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์
ชาญชัย คุ้มปัญญา
---------------------------