บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2010

ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ หน้า 7

รูปภาพ
ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ “ที่มาของหลักวิชารัฐศาสตร์ที่เรียนในประเทศไทย”             วิชาหลักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาในประเทศไทยอิงหลักรัฐศาสตร์ของประเทศตะวันตก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯ กับกลุ่มยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะสหราชอาณาจักร เนื่องจาก             1) ประเทศดังกล่าวมีสะสมองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการศึกษา ทำให้มีผู้สนใจศึกษาต่อที่นั่นและกลับมาเป็นอาจารย์สอนตามมหาวิทยาลัยในประเทศไทย หลักสูตรและองค์ความรู้ที่สอนจึงอิงประเทศตะวันตก             2) ความถนัดในภาษาต่างประเทศก็เป็นเหตุหนึ่งเช่นกัน เมื่อคนไทยส่วนใหญ่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง การศึกษาต่อหรือการอ่านตำราจึงมุ่งภาษาอังกฤษ             เป็นการดีที่จะมีผู้ศึกษารัฐศาสตร์ที่เสาะหาความรู้จากทั่วทุกแห่งหนทั่วโลก “เป้าหมายของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์”             คำถามนี้มีคำตอบได้หลายอย่าง ขึ้นกับผู้เรียนและผู้คาดหวัง เช่น ผู้เรียนอาจคาดหวังว่าเรียนเพื่อสอบให้ผ่านเท่านั้นเอง บา...

ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ หน้า 6

รูปภาพ
“ขอบเขต สาขาของวิชารัฐศาสตร์” ปัจจุบัน รัฐ เป็นศูนย์กลางของการศึกษา             เนื่องจากอำนาจการเมืองปัจจุบัน รัฐเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีอำนาจสูงสุดในตัวเอง ดังนั้น การศึกษาวิชารัฐศาสตร์จึงมีรัฐเป็นศูนย์กลางการศึกษา เนื้อหาวิชาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่ภายในรัฐ กระบวนการต่างๆ • หน่วยการเมืองอื่นๆ มีความสำคัญมากขึ้น             เหตุเนื่องจาก การพัฒนาทางการเมือง โดยเฉพาะการพัฒนาของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทำให้หน่วยทางการเมืองอื่นๆ ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนเช่นกัน โดยเฉพาะองค์กรระหว่างประเทศ หรือบรรษัทข้ามชาติ • เน้นการศึกษาเรื่องที่เป็นปัจจุบัน             รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเพื่อมุ่งตอบคำถามหรือแก้ปัญหาหรือเสนอแนะ แก่เรื่องหรือประเด็นที่เป็นปัจจุบัน ที่กำลังมีผลกระทบต่อรัฐชาติ             เรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์จึงมักปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ที่ออกมาในแต่ละวัน             แต่เพื่อให้เข้าใจรัฐศาสตร์ นักศึกษาต้อง...

ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ หน้า 5

รูปภาพ
“รัฐศาสตร์ คืออะไร” หมายถึง การศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อเข้าใจ การได้มาและการใช้อำนาจ ของหน่วยการเมือง (บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ)             “รัฐศาสตร์” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Political Science”             เข้าใจง่ายๆ ว่า หมายถึง การศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อเข้าใจ การได้มาและการใช้อำนาจ ของหน่วยการเมือง (บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ)             ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell, 1958) ให้นิยามว่า รัฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงเรื่องของการเมือง เพื่อดูว่า “ใครได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร” โดยคำว่า “ใคร” ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ตลอดจนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งต่างเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนทางการเมือง คำว่า “อะไร” หมายถึง สิ่งที่รัฐบาลได้กระทำหรือละเว้นไม่กระทำอันเป็นผลลัพธ์ของกระบวนทางการเมือง เช่น นโยบาย และคำว่า “อย่างไร” หมายถึง วิธีการที่ใช้ในกระบวนการทางการเมือง เช่น การลงคะแนนเลือกตั้ง การโน้มน้าวใจ (Lobby) การป...

ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ หน้า 4

รูปภาพ
“การเมืองการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัว”             อาณาจักรกรีซ (Greece) สมัยโบราณ สถานที่ซึ่งผู้คนอยู่รวมกันเรียกกว่า ‘polis’ แต่ polis เป็นมากกว่าดินแดนหรืออาณาบริเวณ แต่เป็นแนวคิดที่ว่าทั้งชุมชนหรือทั้งสังคมใน polis นั้น ไม่อาจแยกสังคม การเมือง เศรษฐกิจออกจากกัน อีกทั้งยังร่วมรับรู้ในประวัติศาสตร์และแสวงหาอนาคตร่วมกัน             o กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทั้งหมดผูกพันกันเกี่ยวข้องกันทั้งสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต             o ตัวอย่าง เช่น Sparta กับ Athens อย่างเป็นหนึ่ง polis ที่แยกออกจากกัน และเป็นตัวของตัวเอง • ทุกคนอยู่ภายใต้รัฐ ภายใต้การเมืองการปกครอง             ทุกวันนี้ ทุกตารางนิ้วที่มนุษย์คนหนึ่งอาศัยในโลก ล้วนเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐใดรัฐหนึ่ง เราจะเห็นว่าตั้งแต่แรกเกิดเราก็อาศัยอยู่ในรัฐแล้ว เป็นประชากรของรัฐ รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับเราตั้งแต่เป็นทารก มีกฎหมายที่ต้องปฏิบัติ เราจะหนีไปอยู่ใต้น้ำไม่ได้   ...

ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ หน้า 3

รูปภาพ
ตัวแสดง :  “ตัวแสดง-รัฐยังคงเป็นตัวแสดงหลักในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่”             · คำถามที่ว่า ตัวแสดง (Actor) รัฐในปัจจุบันยังเป็นตัวแสดงหลักในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างหรือไม่นั้น เกิดจาก             1. ปรากฎการณ์ที่อำนาจรัฐไม่อาจครอบงำประชาชนได้เต็มที่อย่างในอดีต             o สังเกตจากการที่ปัญหาหลายอย่างในปัจจุบัน รัฐไม่สามารถแก้ไขจัดการได้ดีเหมือนแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาคนว่างงาน ปัญหาชนกลุ่มน้อย ทำให้เกิดการประท้วง การแสดงถึงความไม่พอใจในหลายรูปแบบ พร้อมกับบทบาทของตัวแสดงมิใช่รัฐ (non-state actor) ที่เพิ่มมากขึ้น             o ประชาชนของรัฐหนึ่งติดต่อกับอีกรัฐหนึ่งได้โดยง่าย เป็นโลกไร้พรมแดน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ท             2. อำนาจอธิปไตยถูกสั่นคลอนหรือลดทอน             3. ตัวแสดงม...

ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ หน้า 2

รูปภาพ
“อำนาจ คืออะไร” :  อำนาจ (Power) คือ ความสามารถในการทำให้ผู้อื่นกระทำในสิ่งที่ผู้ใช้อำนาจต้องการ             ฮันส์ มอร์เก็นทาว ให้นิยาม อำนาจการเมือง ว่า “เป็นสัมพันธภาพทางจิตวิทยาระหว่างผู้ใช้อำนาจนี้กับผู้ที่เป็นเป้าของการใช้อำนาจนี้ อำนาจดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมความประพฤติปฏิบัติบางอย่างของผู้ที่เป็นเป้า โดยอาศัยอิทธิพลที่ฝ่ายแรกมีเหนือจิตใจของฝ่ายหลัง อิทธิพลที่ว่านี้มาจาก 3 แหล่งด้วยกันคือ การคาดหวังว่าจะได้ผลประโยชน์ ความกลัวที่จะเสียเปรียบเป็นเบี้ยล่าง และความเคารพนับถือหรือความรักต่อสถาบันหรือบุคคลต่างๆ” • สัมพันธภาพของอำนาจ             อำนาจมีมานานตั้งแต่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าในสังคมหรือรัฐที่เราอาศัยอยู่มีอำนาจ ความน่าสนใจอยู่ที่สัมพันธภาพของอำนาจในรัฐสมัยใหม่ที่มนุษย์เป็นผู้กำหนด             คำถามต่อมาคือใครควรเป็นผู้กำหนด Machiavelli แนะนำผู้ปกครองว่าต้องกำหนดและรักษาอำนาจของตนไว้ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด           ...

ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ หน้า 1

รูปภาพ
ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ :  บทนำ             ก่อนจะอธิบายว่า รัฐศาสตร์ คืออะไร เราจะพูดถึงคำที่ใกล้ตัวกว่าก่อน เช่น คำว่า การเมือง หมายถึงอะไร             แม้ว่าจะเข้าใจนิยามของคำว่าการเมืองหรือไม่ แต่เมื่อเราพาดหัวข่าว “ฝ่ายค้านอภิปรายรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อนในสภา” เราตอบกับตัวเองทันทีว่านี่คือข่าวการเมือง นี่คือเรื่องการเมือง หรือ “คุณทักษิณโฟนอินเข้ามาในที่ประชุม” เราก็ทราบอีกว่าเป็นเรื่องการเมืองเช่นกัน “การเมือง คืออะไร”             คำว่า การเมือง ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Politics             มีผู้ให้คำนิยามหลากหลาย อาทิ             นิโคโล มาเคียเวลลี่ (Niccolo Machiavelli, 1469-1527) ให้นิยามว่า การเมือง คือ การแสวงหาอำนาจ กิจกรรมทางการเมืองใดๆ ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ส่วนศีลธรรม จริยธรรม ความปรารถนาดี ความเมตตาล้วนเป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจเพียงประการเดียว เพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งอำนาจผู้ปกครองต้องพร้อมทำท...